
12/03/2025
รู้จัก กิ้งกือมังกรสีชมพู หนึ่งเดียวในไทยและในโลก ผลิตสารไซยาไนด์เองได้ 🪱🐍
กิ้งกือมังกรสีชมพู สัตว์ดึกดำบรรพ์ที่ยังมีชีวิตอยู่ในป่าประเทศไทย และเป็นสัตว์ที่พบได้แห่งเดียวบนโลก ลำตัวสีชมพูโดดเด่นแบบนี้ น่ารักแต่แฝงไปด้วยพิษร้ายแรง
#กิ้งกือมังกรสีชมพู (Shocking Pink Millipede) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Desmoxytes purpurosea ถูกค้นพบในปีพ.ศ. 2550 โดย ศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญหา จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งการค้นพบครั้งนั้น กลายเป็นการค้นพบสัตว์ชนิดใหม่ของโลก และได้ถูกตั้งชื่อว่า "กิ้งกือมังกรสีชมพู" ในเวลาต่อมา และเมื่อวันที่ 23 พฤษาภาคม 2551 สถาบันไอไอเอสอี (International Institute of Species Exploration : IISE) แห่งมหาวิทยาลัยรัฐแอริโซนา สหรัฐอเมริกา ได้ประกาศยืนยันให้กิ้งกือมังกรสีชมพู ที่หุบป่าตาด นี้เป็นสุดยอดของการค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ อันดับที่สามของโลก
ลักษณะเด่นของกิ้งกือ
สิ่งที่โดดเด่นที่สุดและไม่เหมือนใครของกิ้งกือเหล่านี้คือสีประจำตัวที่เป็นสีชมพู ที่กลายมาเป็นชื่อ Shocking pink ลำตัวมีปุ่มหนามและลวดลายคล้ายมังกร เลยจัดอยู่ในวงศ์กิ้งกือมังกร หรือ พาราดอกโอโวมาติเดีย (Paradoxosomatidea) เมื่อกิ้งกือตัวโตเต็มวัย จะมีความยาวประมาณ 7 เซนติเมตร มีปล้อง 20-40 ปล้อง
พบได้ที่ไหน?
เราสามารถเจอะเจอกับเจ้ากิ้งกือได้แค่สถานที่เดียว นั่นคือ หุบเขาป่าตาด ป่าดึกดำบรรพ์ที่ตั้งอยู่ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำประทุน ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 (นครสวรรค์) มีเนื้อที่ประมาณ 4 ไร่ ตั้งอยู่ที่บ้านชายเขา หมู่ที่ 3 ตำบลทุ่งนางาม อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี
ข้อควรระวัง
กิ้งกือ แม้จะดูเป็นสัตว์ขนาดเล็กที่ไม่มีอันตรายใด ๆ แต่ไม่ใช่สำหรับกิ้งกือมังกรชมพู เพราะกิ้งกือมังกรชมพูมีระบบป้องกันตนเองจากศัตรู ด้วยการปล่อยสารพิษประเภทไซยาไนด์ ออกมาจากต่อมขับพิษข้างลำตัว
ที่มาข้อมูล : ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
#ปัณฑาเพื่อการศึกษา #สัตว์ป่า #สัตว์ป่าคุ้มครอง #กิ้งกือ #กิ้งกือสีชมพู #สัตว์ดึกดำบรรพ์ #สัตว์เลื้อยคลาน #กิ้งกือมังกร #มังกรสีชมพู