ความคิดเห็น
#มีแล้วแบ่งปัน เพื่อการศึกษา
เมื่อวันที่ 17 ม.ค.65 มทบ.11 โดย พัน.ร.มทบ.11 ได้นำสิ่งของ และสิ่งอุปกรณ์ทางการศึกษา ที่มีผู้ร่วมบริจาคมาจัดทำเป็น “ถุงยังชีพเพื่อการศึกษา ให้กับเด็กนักเรียนในโรงเรียนต้นแบบตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในพระราชูปถัมภ์ฯ จำนวน 2 โรงเรียน ตามนโยบายของผู้บัญชาการทหารบก ในพื้นที่ จังหวัดปทุมธานี
#กองพันทหารราบ มณฑลทหารบกที่11
“สี” รถยนต์พระที่นั่ง และเลขทะเบียน “ร.ย.ล.” มาจากไหน?
.
เคยสังเกตหรือไม่ว่า ในขบวนเสด็จพระราชดำเนินทางรถยนต์ ทำไมรถยนต์บางคันถึงใช้สีแดง? ทำไมรถยนต์บางคันถึงใช้สีเหลืองอ่อนหรือสีงาช้าง? และทำไมรถยนต์ถึงใช้เลขทะเบียน “ร.ย.ล.”? ประเด็นเหล่านี้จึงนำมาสู่คำถามที่ว่า “สี” รถยนต์ในขบวนเสด็จฯ และเลขทะเบียน “ร.ย.ล.” มาจากไหน? ใครเป็นผู้คิดค้น?
รถยนต์ เป็นสิ่งประดิษฐ์สำคัญอย่างหนึ่งในช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรมที่มีขึ้นราวศตวรรษที่ 19 ก่อนจะถูกนำเข้ามาในสยามช่วงปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5) ซึ่งเริ่มนิยมใช้ในหมู่เจ้านายและชนชั้นสูงก่อนจะแพร่หลายทั่วไป ปรากฏว่าการเข้ามาของรถยนต์ได้ก่อให้เกิดอุบัติเหตุหรือปัญหาบนท้องถนน เนื่องจากความไร้ระเบียบวินัยและความคับคั่งของรถยนต์บนถนน ดังนั้น จึงได้มีการออกพระราชบัญญัติรถยนต์ ร.ศ. 128 (พ.ศ. 2452)
พระราชบัญญัติรถยนต์ ร.ศ. 128 เป็นกฎหมายเกี่ยวกับรถยนต์ฉบับแรกของประเทศ เพื่อควบคุมเจ้าของพาหนะ ยานพาหนะ การจดทะเบียน และการออกใบอนุญาต ฯลฯ พระราชบัญญัติฉบับนี้คือจุดเริ่มต้นของการมีเลขทะเบียนรถเป็นครั้งแรกในสยาม
ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.6) พระงองค์ทรงแต่งตั้งให้พระยาประสิทธิศุภาการ หรือ หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ (ภายหลังคือเจ้าพระยารามราฆพ) เป็นผู้สำเร็จราชการมหาดเล็ก โดยหม่อมหลวงเฟื้อฯ ได้เข้ามาบริหารจัดการกิจการมหาดเล็กหลายประการ ที่สำคัญคือกิจการเกี่ยวกับรถยนต์พระที่นั่ง หม่อมหลวงเฟื้อฯ ได้ริเริ่มให้จัดสีรถยนต์ตามประเภท และให้ใช้เลขทะเบียน “ร.ย.ล.” เป็นครั้งแรก จัดให้มีสีต่าง ๆ กันตามประเภท รถยนต์พระที่นั่งใช้สีเหลืองอ่อนหรือสีงาช้าง รถขบวนตามเสด็จใช้สีแดง รถพระประเทียบใช้สีเหลืองแก่ รถยนต์หลวงในสมัยนั้นไม่ต้องใช้เลขหมาย จึงเกิดการปลอมแปลงให้เหมือนรถยนต์หลวง จึงให้รถยนต์หลวงใช้เครื่องหมาย ร.ย.ล. ๑ (และเลขต่อ ๆ ไป)
ดังนั้น รถยนต์ในขบวนเสด็จพระราชดำเนินในปัจจุบัน จึงมีแบบแผนปฏิบัติสืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 โดยเฉพาะในส่วนของ “สี” และ “เลขทะเบียน” ที่หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ เป็นผู้คิดค้นขึ้น
คำถามที่หลายคนอาจสงสัย “ทำไมต้องโจมตีสถาบันพระมหากษัตริย์”
วัยรุ่น เยาวชน นักศึกษา คนวัยทำงาน นักการเมือง และนักวิชาการ ที่เต็มไปด้วยอุดมการณ์อาจจะอาสาโจมตีด้วยใจที่รักอุดมการณ์นั้น แต่หากมองการเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ชุมนุมทั้งบนท้องถนนและในโลกออนไลน์ คงปฏิเสธไม่ได้ว่า #ถ้าไม่มีผู้สนับสนุนทางการเงิน และ #สนับสนุนทางกลยุทธ์ สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นอย่างรุนแรงและต่อเนื่องไม่ได้ แล้วคำถามที่ตามมา #ใครกันจะยอมเสียเงินเพื่อโจมตีสถาบันฯ ที่มีความเข้มแข็งที่สุดของประเทศไทย #หากไม่ได้รับผลประโยชน์ตอบแทน มาถึงจุดนี้หลายคนอาจจะมองไม่ออกว่า #ผลประโยชน์ตอบแทน นั้นคืออะไร? อะไรที่เป็นเหตุให้ก่อสงครามตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมากที่สุด? คำตอบก็คือ #ดินแดน คำตอบเดียวที่ตรงประเด็นที่สุด
แล้วมันเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ยังไง
มันเกี่ยวกับมาตรา 1 ในรัฐธรรมนูญ ที่มีเนื้อหาว่า "ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักร ไม่สามารถแบ่งแยกได้" ความหมายคือ ประเทศไทย = ประเทศที่มีราชา + แบ่งแยกไม่ได้ หมายความว่าถ้าต้องการแบ่งแยกดินแดน ต้องเอาสถาบันฯ ออกจากมาตรา 1 เพื่อให้ประเทศไทยแบ่งแยกได้
.
การโจมตีสถาบันฯ จะเห็นว่าใช้วิธีโจมตีโดยสร้างเงื่อนไขว่า
>> สถาบันฯ อยู่ร่วมกับประชาธิปไตย ไม่ได้ >>หลักการปฏิวัติภาคประชาชน
ในหลวงรัชกาลที่ 10 พระราชทานที่ดิน 300 ไร่ ก่อสร้างสวนสัตว์แห่งใหม่
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร (ร.10) ได้พระราชทานโฉนดที่ดิน คลอง 6 อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี เนื้อที่จำนวน 300 ไร่ ให้องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (อสส.) เพื่อใช้ประโยชน์เป็นสถานที่ก่อสร้างสวนสัตว์แห่งใหม่ และสถานที่ทำงานขององค์การสวนสัตว์ฯ
โดยพื้นที่ดังกล่าวใหญ่กว่าปัจจุบันถึง 3 เท่า และตั้งอยู่ในทำเลที่เป็นศูนย์กลางของแหล่งเรียนรู้หลากหลายสาขา โดยคำนึงถึงความสำคัญในด้านต่าง ๆ อาทิ เช่น การวางโครงสร้างพื้นที่สวนสัตว์แห่งใหม่ การจัด Landscape ที่เหมาะสมกับความเป็นอยู่ภายใต้หลักการส่งเสริมพฤติกรรมสัตว์และสวัสดิภาพสัตว์เป็นสำคัญ เพื่อให้สัตว์นานาชนิดมีคุณภาพชีวิตที่ใกล้เคียงธรรมชาติตามหลักมาตรฐานสากล
การได้รับพระราชทานที่ดินดังกล่าว ถือเป็นโอกาสอันดีที่องค์การสวนสัตว์ฯ จะได้มีโอกาสพัฒนาสวนสัตว์แห่งใหม่ให้มีความทันสมัย และมีความพร้อมที่จะให้การบริการนักท่องเที่ยว และเป็นแหล่งเรียนรู้ในรูปแบบห้องเรียนตามธรรมชาติที่สามารถตอบสนองความต้องการให้กับเด็กและเยาวชนได้อย่างเหมาะสม
หน่วยฉีดวัคซีนพระราชทาน แก่ปวงชนชาวไทย
ในสมัย พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (ร.9) ช่วงปี พ.ศ. 2501 - 2502 ประเทศไทยเกิดอหิวาตกโรคระบาดอย่างหนัก เชื้อโรคได้แพร่ระบาดอย่างรวดเร็วไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ
ครั้งนั้นโรคระบาดอยู่ประมาณ 1 ปี 6 เดือน กินพื้นที่ทั้งหมดทั่วประเทศ 38 จังหวัด มีผู้ป่วยทั้งสิ้น 19,359 ราย เสียชีวิตไป 2,372 ราย (ในสมัยนั้นจำนวนประชากรมีจำนวนน้อยกว่าในปัจจุบัน) สาเหตุการเกิดโรคนั้นไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่ามาจากที่ใด
ขณะที่มีผู้ป่วยเสียชีวิตจำนวนมาก แต่รัฐบาลไม่สามารถผลิตวัคซีนป้องกันได้ทัน และขาดแคลนอุปกรณ์รักษา ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานพระราชทรัพย์แก่สถานเสาวภา สถาบันพยาธิวิทยา กรมแพทย์ทหารบก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และโรงพยาบาลศิริราช เพื่อช่วยกันผลิตอุปกรณ์และวัคซีนป้องกัน พระราชทานพระราชทรัพย์จัดตั้ง “ทุนปราบอหิวาตกโรค”
ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงโปรดให้จัดตั้งหน่วยฉีดวัคซีนพระราชทานสำหรับบริการแก่ประชาชนขึ้น บริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต วังไกลกังวล จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดอื่น ๆ ในภูมิภาคต่าง ๆ อีกมากมาย และทุกครั้งที่ทรงเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมเยือนพสกนิกร ก็ทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการจัดหน่วยฉีดวัคซีนตามเสด็จไปให้บริการแก่ประชาชนไปด้วยทุกครั้ง
(ข้อมูลจากหนังสือ อนุสรณ์กระทรวงสาธารณสุขครบ 20 ปีพ.ศ. 2485 - 2505, กระทรวงสาธารณสุข ,พิมพ์ปี พ.ศ. 2505)
#หน่วยฉีดวัคซีนพระราชทาน
พระกรุณาธิคุณและพระวิสัยทัศน์ สู่โครงการ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก”
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ได้มีโอกาสตามเสด็จ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ไปทรงเยี่ยมราษฎรอยู่เสมอ ทรงซึมซับแนวคิดของสมเด็จพระอัยยิกาเจ้า ในการมอบชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่ราษฎร จึงตั้งพระทัยมั่นในการสืบสานและต่อยอดพระราชกรณียกิจของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในแนวทางที่พระองค์มีความถนัด คือ การสร้างสรรค์งานศิลปะและการออกแบบแฟชั่น ยามว่างเว้นจากพระกรณียกิจ
พระองค์ได้เสด็จเยี่ยมชุมชนทอผ้าในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ เพื่อพระราชทานกำลังใจในการมุ่งมั่นสร้างสรรค์ผลงานที่ได้มาตรฐาน พระราชทานคำแนะนำในการพัฒนาผืนผ้าให้มีความร่วมสมัย มีความเป็นสากล
แนวคิดของโครงการ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” คือ ความสุขที่ได้เลือกใช้ศิลปหัตถกรรมไทย เพื่อสร้างรายได้กลับเข้าสู่ชุมชน เป็นวงจรเศรษฐกิจเชิงมหภาค และส่งเสริมกระตุ้นผ้าไทยให้ทันสมัยสู่สากล เป็นที่นิยมในทุกเพศทุกวัยและทุกวาระโอกาส ตลอดทั้งเพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติแก่ผู้สืบทอดภูมิปัญญาผ้าไทย เพื่อวิถีชุมชนที่ยั่งยืน อันเป็นที่มาของโครงการ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก”
#ผ้าไทยใส่ให้สนุก