Geoparks Thailand

Geoparks Thailand อุทยานธรณีประเทศไทย
(5)

25/08/2023

ผู้ผลิต : ร้านไข่ไดโนเสาร์เวียงเก่าที่ตั้ง : ต.เมืองเก่าพัฒนา อ.เวียงเก่า จ.ขอนแก่นผู้ประสานงาน : นางภัควดี หา...

25/08/2023
25/08/2023
25/08/2023
25/08/2023
https://www.facebook.com/100063772982959/posts/756383746497385/?mibextid=cr9u03
25/08/2023

https://www.facebook.com/100063772982959/posts/756383746497385/?mibextid=cr9u03

"อพวช. ค้นพบมดชนิดใหม่ของโลกในอุทยานธรณีโลกสตูล"
นักวิชาการของ อพวช. ทำการสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพของพืชและสัตว์บริเวณอุทยานธรณีสตูล จังหวัดสตูล ในวันที่ 21 เมษายน 2565 นักวิชาการพบมดสีเหลือง ๆ สร้างรังอยู่ในกิ่งไม้ขนาดเล็กแห้งคาต้นของไม้พุ่มในป่าละเมาะใกล้กับถ้ำอุไรทอง และป่าละเมาะใกล้คลองห้วยบ้า อำเภอละงู จังหวัดสตูล หลังจากทำการศึกษาพบว่ามดชนิดนี้อยู่ในสกุลมดบาก (Genus Vombisidris) และเป็นมดชนิดใหม่ของโลก หลังจากนั้น คุณทัศนัย จีนทอง ดร.วียะวัฒน์ ใจตรง (อพวช.) และ รศ.ดร.วัฒนชัย ตาเสน คระวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ร่วมกันบรรยายลักษณะและตีพิมพ์เผยแพร่เป็นมดชนิดของโลกในวารสาร Tropical Natural History ฉบับที่ 23 (ปี พ.ศ. 2566) โดยให้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า 𝑉𝑜𝑚𝑏𝑖𝑠𝑖𝑑𝑟𝑖𝑠 𝑠𝑎𝑡𝑢𝑛𝑒𝑛𝑠𝑖𝑠 Jeenthong, Jaitrong & Tasen, 2023 ท้ายที่สุดมดชนิดใหม่นี้ได้มีชื่อไทยอย่างเป็นทางการว่า “มดบากจีนใจ” ” โดย ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ เป็นผู้ตั้งชื่อไทยเพื่อเป็นที่ระลึกในพิธีเปิดนิทรรศการสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ New Species of Life เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2566 ณ อาคารพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา
มดบากจีนใจ เป็นมดขนาดเล็ก มีความยาวลำตัว 2.64 มิลลิเมตร ส่วนหัวและลำตัวมีสีเหลือง ส่วนท้องสีน้ำตาลเข้ม ขาทั้งสามคู่สีเหลืองอ่อนกว่าลำตัว ส่วนหัวมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส พื้นผิวด้านหน้าของหัวเป็นลายตาข่าย ด้านข้างหัวมีลักษณะเป็นร่องแคบ 1 เส้น ยาวคาดจากส่วนท้ายหัวผ่านมาชิดขอบล่างตารวม (compound eyes) และยาวไปถึงด้านข้างปาก (Subocular groove) และบริเวณส่วนอกซึ่งหลอมรวมกับท้องปล้องแรกมีหนาม (Propodeal spine) 1 คู่ มีลักษณะตรง หนา และสั้น ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญที่แตกต่างจากมดบากชนิดอื่น
หากสนใจรู้จักกับสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ที่นักวิชาการของ อพวช. คนพบ สามารถเยี่ยมชมได้ในนิทรรศการสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ New Species of Life ที่จัดแสดงอยู่ด้านใน และสามารถอ่านรายละเอียดได้ที่ https://www.nsm.or.th/nsm/th/node/54375?fbclid=IwAR3kDafw-Va0WzxRMboGSwon6Wq0qaEx4gS0RrGjRarq5WMYWpwdI1Bu1lw

Khorat UNESCO Global Geopark
13/07/2023

Khorat UNESCO Global Geopark

10/07/2023

Phu Wiang Dino Valley

#อุทยานธรณีขอนแก่น

10/07/2023
10/07/2023

สัตว์สงวน 20 ชนิดของประเทศไทย
สัตว์สงวน คือสัตว์ป่าหายาก ใกล้สูญพันธุ์ หรือสูญพันธุ์ไปแล้ว จึงต้องมีกฏหมายเพื่อการอนุรักษ์เอาไว้ และป้องกันการล่า ค้า ครอบครอง และการเพาะเลี้ยง ทั้งสัตว์ที่ยังมีชีวิตหรือซาก

ซากของสัตว์สงวน จะมีครอบครองได้เฉพาะผู้มีหน้าที่และเพื่อการศึกษา และการเพาะเลี้ยงก็มีเฉพาะภาครัฐเท่านั้นที่สามารถกระทำได้

ปัจจุบันสัตว์สงวนในประเทศไทยมีอยู่ถึง 20 ชนิด ได้แก่
1 แรด
2 กระซู่
3 สมเสร็จ
4 กูปรี หรือ โคไพร
5 ควายป่า
6 เลียงผา
7 กวางผา
8 สมัน
9 ละอง ละมั่ง
10 เก้งหม้อ
11 วาฬบรูด้า
12 วาฬโอมูระ
13 พะยูน
14 แมวลายหินอ่อน
15 นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร
16 นกแต้วแล้วท้องดำ
17 นกกระเรียน
18 เต่ามะเฟือง
19 ฉลามวาฬ
20 นกชนหิน

10/07/2023

5 DINOSAURS OF KHONKAEN GEOPARK

10/07/2023

🦕 #เส้นทางสถานที่ท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติภูเวียง 🦕
🌻อุทยานแห่งชาติภูเวียงมีแหล่งท่องเที่ยวมากมาย แบ่งออกเป็น 3 โซน
ที่เปิดให้เที่ยวชม
1.เส้นทางศึกษาธรรมชาติเฉลิมพระเกียรติหลุมขุดค้นไดโนเสาร์
- หลุมขุดค้นที่ 1,2,3,9
- ผากาลเวลา
2. ตาดฟ้า
- ผาชมตะวัน
- น้ำตกวังสักสิ่ว
- ลานกางเต็นท์ตาดฟ้า
- น้ำตกตาดฟ้า
- รอยตีนไดโนเสาร์
- เส้นทางศึกษาธรรมชาติต้นยางใหญ่
- เส้นทางศึกษาธรรมชาติผาชมตะวัน
- ทุ่งใหญ่เสาอาราม
3.อุทยานไดโนเสาร์ศรีเวียงเฉลิมพระเกียรติฯ
🏕 เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 08.30 - 16.30 น. ⛺️⛺️⛺️
📌ไม่ทิ้งขยะ 📌ไม่ขับรถเร็ว 📌ขับขี่ปลอดภัยสวมใส่หมวกกันน็อก
🌥🌥 หมายเหตุ: ผาชมตะวันเปิดให้เข้าชมตั้งแต่ตี 5.30 น. ค่ะ

22/06/2023
21/06/2023
📣 วันนี้ … เวลา 14.30 น.  ขอเชิญติดตามรับชมรายการ "เคลียร์คัด ชัดเจน👩‍💼 โดย นางอรนุช หล่อเพ็ญศรี อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี 🎤...
29/05/2023

📣 วันนี้ … เวลา 14.30 น. ขอเชิญติดตามรับชมรายการ "เคลียร์คัด ชัดเจน

👩‍💼 โดย นางอรนุช หล่อเพ็ญศรี อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี

🎤 ประเด็น ยูเนสโก รับรอง "โคราชจีโอพาร์ค"เป็นอุทยานธรณีโลก แห่งที่สองของประเทศไทย

🌐 สถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย NBT

27/05/2023

UPDATE: อุทยานธรณีโคราช และอีก 17 แห่งทั่วโลก ได้รับการรับรองให้เป็น ‘อุทยานธรณีโลก’ จาก UNESCO
ขอแสดงความยินดีกับจังหวัดนครราชสีมา กับการรับรองอย่างเป็นทางการ
การประชุมคณะกรรมการบริหารองค์การยูเนสโก ครั้งที่ 216 (216th session of the Executive Board) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 10-24 พฤษภาคม 2023 ที่ผ่านมา ณ องค์การยูเนสโก สำนักงานใหญ่ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส ได้มีมติรับรองให้ อุทยานโคราช หรือ Khorat Geopark และอุทยานอื่นๆ ทั้งหมด 17 แห่ง เข้าเป็นส่วนหนึ่งของสมาชิกอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก (UNESCO) หรือ UNESCO Global Geoparks อย่างเป็นทางการ
Khorat Geopark หรืออุทยานธรณีโคราช มีพื้นที่ทั้งหมด 3,167.38 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุม 5 เขต และ 3 ภูมิภาคในพื้นที่ลุ่มน้ำลำตะคอง ได้แก่ อำเภอสีคิ้ว, สูงเนิน, ขามทะเลสอ, เมืองนครราชสีมา และเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งมีภูมิประเทศเขาเควสตา (เขารูปอีโต้) และฟอสซิล 3 ยุค ในหนึ่งเดียว เชื่อมโยงกับระบบนิเวศป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง และวิถีชีวิตผู้คนกว่า 4,000 ปี
UNESCO Global Geoparks หรืออุทยานธรณีโลก เป็นโครงการด้านการอนุรักษ์มรดกทางธรณีวิทยา โบราณคดี นิเวศวิทยา และวัฒนธรรม ขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) ซึ่งพื้นที่ที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในสมาชิกนี้ต้องมีคุณสมบัติประกอบด้วยแหล่งคุณค่าด้านธรณีวิทยา โบราณคดี นิเวศวิทยา และวัฒนธรรม มีการบริหารจัดการแบบองค์รวมระหว่างการอนุรักษ์ การให้ความรู้ การศึกษาวิจัย และการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ส่งเสริมและเปิดโอกาสให้ชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการ
การประกาศรับรองครั้งนี้ทำให้จังหวัดนครราชสีมากลายเป็น Korat The UNESCO Triple Heritage City รวม 3 แห่ง ประกอบด้วย 1. มรดกโลกป่าดงพญาเย็น เขาใหญ่ 2. พื้นที่สงวนชีวมณฑลสะแกราช 3. โคราชจีโอพาร์ค
สำหรับอุทยานอื่นๆ อีก 17 แห่ง สามารถเข้าไปดูลิสต์ได้ที่ www.unesco.org/en/articles/unesco-names-18-new-global-geoparks
ภาพ: Shutterstock
อ้างอิง:
https://www.unesco.org/en/articles/unesco-names-18-new-global-geoparks
https://www.facebook.com/KhoratGeopark/

Congratulation to 18 new UNESCO Global Geoparks
24/05/2023

Congratulation to 18 new UNESCO Global Geoparks

CONGRATULATIONS TO THE NEW UNESCO GLOBAL GEOPARKS !
The UNESCO Executive Board has endorsed the recommendations made by the Council to accept 18 new additions to the UNESCO Global Geoparks Network.
The newest geoparks include:
🇧🇷 Brazil:
• Caçapava
• Quarta Colônia
🇬🇷 Greece:
•Lavreotiki
🇮🇩 Indonesia:
•Ijen
•Maros Pangkep
•Merangin Jambi
•Raja Ampat
🇮🇷 Iran:
•Aras
•Tabas
🇯🇵 Japan:
•Hakusan Tedorigawa
🇲🇾 Malaysia:
•Kinabalu
🇳🇿 New Zealand:
•Waitaki Whitestone
🇳🇴 Norway:
•Sunnhordland
🇵🇭 Philippines:
•Bohol
🇰🇷 Republic of Korea:
•Jeonbuk West Coast
🇪🇸 Spain:
•Cabo Ortegal
🇹🇭 Thailand:
•Khorat
🇬🇧 UK:
•Mourne Gullion Strangford

🇨🇱 Chile:
•Kütralkura (Extension)
The Bohol Island Geopark (Philippines) and The Waitaki Whitestone Geopark (New Zealand) are the first UNESCO Global Geoparks in their countries!
These new additions bring the total number of UNESCO Global Geoparks to 195 in 48 countries.

24/05/2023

📣 ขอเชิญเข้าร่วมการประกวดแข่งขัน ภายในงานมหกรรมจีโอพาร์คและฟอสซิล Geopark and Fossil Festival 2023

📌 8 มิถุนายน 2566
👉 การประกวดการแต่งกายเชิงสร้างสรรค์ ด้วยแนวคิดจีโอพาร์คและฟอสซิล (Creative Fashion : Geopark & Fossil Cosplay)

📌 9 มิถุนายน 2566
👉 การแข่งขัน “สร้างของเล่น...จนเป็นเรื่อง จากฟอสซิลดินแดนอีสาน” (Toy Story of Isan Fossil)
👉 การแข่งขัน “สุดยอดอาหารจากดินแดนจีโอพาร์คและพื้นที่การอนุรักษ์ทางธรรมชาติ”

📌 10 มิถุนายน 2566
👉 การแข่งขัน “สุดยอดไอเดีย...ผลิตภัณฑ์ชุมชนจีโอพาร์คโกกรีน” (Geo Product Go Green)
👉 การแข่งขันตอบคำถาม “TOP FAN!! : Khorat Fossil” ระดับมัธยมศึกษา
👉 การแข่งขันตอบคำถาม “TOP FAN!! : Thailand Geopark” ระดับมัธยมศึกษา

📝 สมัครได้ที่ >> https://bit.ly/3BGg0zy
🌳🦣🦕🦖🌳

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
📱 081-955-2606 คุณน้ำ
📱 080-163-7992 คุณเจน

📅 วันที่ 8 - 10 มิถุนายน 2566

📍 ณ Korat Hall ชั้น 4 ศูนย์การค้าเซ็นทรัล โคราช

💁‍♀️ เครือข่ายอุทยานธรณีประเทศไทย โคราชจีโอพาร์ค สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหิน สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ ร่วม...
24/05/2023

💁‍♀️ เครือข่ายอุทยานธรณีประเทศไทย โคราชจีโอพาร์ค สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหิน สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ ร่วมกับภาคีเครือข่ายจีโอพาร์คและพิพิธภัณฑ์ในอีสาน ขอเชิญทุกท่านร่วมงาน "มหกรรมจีโอพาร์คและฟอสซิลนครราชสีมา" และการประชุมเครือข่ายอุทยานธรณีประเทศไทยครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 8 - 10 มิถุนายน 2566 ณ โคราชฮอลล์ เซ็นทรัลโคราช จังหวัดนครราชสีมา 🥳🥳
🎡พบสิ่งน่าสนใจมากมาย🎡
🦖 พาตะลุยแดน DINO ISAN
🦕 เที่ยวไทยไปกับ GEOPARK
🦖 การประกวดแข่งขัน TOP FAN GEOPARK
🦕 นิทรรศการอุทยานธรณีและฟอสซิล
🦖 การจับคู่ธุรกิจของอุทยานธรณี
🎪 มาร่วมเฉลิมฉลอง Khorat Global Geopark และ 555 ปี เมืองโคราช ✨️
⬇️⬇️⬇️
ข้อมูลเพิ่มเติม
🌐 https://khoratfossil.org/tgn2023/

20/05/2023

เกลือหิน (rock salt) ตามศัพท์บัญญัติในพจานานุกรมศัพท์ธรณีวิทยา ฉบับบราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง แร่แฮไลต์หรือเกลือโซเดียมคลอไรด์ที่เกิดเป็นมวลผลึกหยาบๆ ในหิน แหล่งเกลือที่เกิดสะสมตัวในยุคต่างๆ ของธรณีกาล พบตั้งแต่ยุคไซลูเรียนจนถึงปัจจุบัน และมักเกิดเป็นมวลชั้นต่อเนื่อง ในประเทศไทยพบมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือในบริเวณแอ่งสกลนคร และแอ่งโคราช

ข้อมูล : กองทรัพยากรแร่

#กรมทรัพยากรธรณี #เกลือหิน #ศัพท์ #ศัพท์ธรณีวิทยาน่ารู้

🎉🎉🎉 Khorat Unesco Global Geopark 🎉🎉🎉
19/05/2023

🎉🎉🎉 Khorat Unesco Global Geopark 🎉🎉🎉

17/05/2023

“เกลือไดโนเสาร์ ขุมทรัพย์จากบรรพกาล แห่งอุทยานธรณีขอนแก่น”

หน้าดินในบริเวณบ้านบ่อ อ.เวียงเก่า นี้มีขุมทรัพย์จากโลกบรรพกาลซ่อนอยู่ ในผืนดินแถบนี้ตั้งอยู่บนโดมเกลือขนาดใหญ่ที่มักจะซึมออกมาบนหน้าดิน จากการประมาณการพบว่าบ่อเกลือเหล่านี้มีอายุกว่า 70 ล้านปี ชาวบ้านในบริเวณนี้ได้ใช้ประโยชน์ จากเกลือในหลายด้าน เช่น สมัยก่อนชาวบ้านจะต้มเกลือไปขาย ไปแลกกับข้าวของเครื่องใช้หรืออาหารจากต่างเมือง นอกจากนั้น ยังใช้เกลือในการถนอมอาหารอย่าง "ปลาร้า" รสนัวอีกด้วย

การผลิตเกลือสินเธาว์นี้ จึงนับเป็นวิถีชีวิตและอัตลักษณ์ของคนในชุมชนบ้านบ่อมานานนับศตวรรษ ก่อนจะมีการทำเกลือในช่วงก่อนฝนแรกของทุกปี ชาวบ้านจะทำการบวงสรวง "เจ้าปู่บ่อเกลือ" เพื่อความเป็นสิริมงคล โดยเกลือนี้จะสามารถผลิตได้แค่ในฤดูแล้ง (ช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน) ของปีเท่านั้น

การทำเกลือ ชาวบ้านจะกวาดหน้าดินที่มีเกลือซึมออกมาแล้วผสมกับน้ำจากบ่อ แล้วทดสอบความเค็มด้วยการวางกิ่งไม้ลงบนน้ำเกลือที่ได้ หากไม้จมลงแสดงว่าความเค็มยังไม่ได้ที่ แต่หากไม้นั้นลอยแสดงว่าน้ำมีเกลือละลายอยู่พอใช้ได้ จากนั้นจึงเข้าสู่กระบวนการต้ม เมื่อน้ำเริ่มระเหยออกจะทำให้เกลือเริ่มตกผลึก ชาวบ้านจะตักเกลือที่ได้ออกมาผึ่งให้แห้งและแบ่งใส่บรรจุภัณฑ์ต่อไป กระบวนการนี้ นอกจากจะสร้างรายได้ให้ชุมชนจากธรรมชาติแล้ว ยังเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ควรค่าแก่การสืบสานอนุรักษ์อีกด้วย

อ้างอิง : อุทยานธรณีขอนแก่น. (2564). ท่องเที่ยวอุทยานธรณีขอนแก่น. (พิมพ์ครังที่1). ขอนแก่น: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ซีดี คอนแทคท์.

ข้อมูล : กองธรณีวิทยา

#กรมทรัพยากรธรณี #อุทยานธรณีขอนแก่น #เกลือ

17/05/2023
17/05/2023

📢📢📢 ขอเชิญชวน ร่วมกิจกรรมฝึกอบรม หนักสูตร "นักเล่าเรื่องแหล่งมรดกธรณีเพื่อการท่องเที่ยว รุ่นที่ 1" ณ ศูนย์ศึกษาวิจัยและพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น ระหว่าง📆วันที่ 22 - 24 พฤษภาคม 2566📆 📢📢📢

📌ห้ามพลาด กับนิทรรศการพิเศษ📌
เรื่อง "ไดโนเสาร์สายพันธุ์ไทยท่องไปกับวาฬอำแพง @อุทยานธรณีขอนแก่น"
📆วันที่ 22 พฤษภาคม - 22 มิถุนายน 2566📆

09/05/2023

นักวิจัย จุฬา-มหิดล ค้นพบฟอสซิลปลาเพชรบูรณ์ดึกดำบรรพ์
อายุ 275 – 265 ล้านปี
ซากดึกดำบรรพ์ปลาเป็นอีกหนึ่งซากดึกดำบรรพ์ที่ได้รับความสนใจไม่แพ้ไดโนเสาร์ เนื่องจากมีวิวัฒนาการและบันทึกฟอสซิลมาอย่างน้อย 400 กว่าล้านปี ประเทศไทยเป็นหนึ่งในพื้นที่สำคัญที่มีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ปลาเป็นจำนวนมาก โดยจังหวัดเพชรบูรณ์เป็นจุดหมายสำคัญของการศึกษาปลาโบราณซึ่งมีการค้นพบในแอ่งเทอร์เชียรี อำเภอวิเชียรบุรี อายุประมาณ 10 ล้านปี (สมัยไมโอซีน) แต่ถ้าหากเราลองสืบค้นให้ลึกอีกจะพบว่าพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์นั้นมีการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมตลอดยุคทางธรณีกาล ย้อนกลับไปถึง 280 ล้านปี พื้นที่เพชรบูรณ์เคยเป็นแนวทะเลน้ำตื้นมาก่อน และเมื่อเร็วๆนี้ได้มีการค้นพบสัตว์ทะเลที่สำคัญชิ้นหนึ่ง...
ทีมนักวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ได้ตีพิมพ์รายงานการศึกษาซากดึกดำบรรพ์ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) คล้ายสกุล พาเลโอนิสคัม (cf. Palaeoniscum sp.) ถูกค้นพบในชั้นหินปูนเนื้อโคลน พื้นที่บ้านวังปลา อ.บึงสามพัน จ.เพชรบูรณ์ ชั้นหินที่พบนี้เป็นส่วนหนึ่งของหมวดหินตากฟ้า (Tak Fa Formation) กลุ่มหินสระบุรี (Saraburi Group) อายุประมาณ 275–265 ล้านปี (ยุคเพอร์เมียนตอนต้นถึงตอนกลาง) ซากดึกดำบรรพ์ที่พบนี้ประกอบด้วยเกล็ดแบบกานอยด์ (Ganoid) คือ เป็นรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด แม้ซากดึกดำบรรพ์ไม่ได้มีความสมบูรณ์ครบถ้วน แต่จากลักษณะของเกล็ดจึงสามารถเทียบได้กับสกุลพาเลโอนิสคัมอายุเพอร์เมียนที่พบในฝั่งยุโรป ได้แก่ เยอรมนี, ทางตอนเหนือของอังกฤษ, รัสเซีย และรวมถึงทางตะวันออกของกรีนแลนด์
การค้นพบในครั้งนี้จึงเป็นการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ปลายุคเพอร์เมียนเป็นครั้งแรกของประเทศไทยและถือได้ว่าเป็นซากดึกดำบรรพ์ปลาที่เก่าแก่ที่สุดของจังหวัดเพชรบูรณ์ ข้อมูลจากการศึกษานี้จะช่วยส่งเสริมข้อมูลนิเวศบรรพกาลของพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ และยังช่วยส่งเสริมคุณค่าแหล่งธรณีวิทยาประเทศไทยที่มีความสำคัญในระดับโลก
ตรวจสอบข้อมูลโดย : สถาปัตย์ คุ้มพิทักษ์
เรียบเรียงและนำเสนอโดย : สาระบรรพชีวิน
อ้างอิง : Kumpitak, S., Hongsresawat, S., Paejaroen, P. and Suraprasit, K. (2023). The First Record of a Ray-finned Fish (Actinopterygii, Palaeoniscidae) from the Lower to Middle Permian of Tak Fa Formation in Phetchabun, Central Thailand. Tropical Natural History. 7, 139–150.

09/05/2023
03/05/2023

กรมทรัพยากรธรณี เปิดให้ชมฟอสซิล “วาฬอำแพง” อายุ 3,380 ปี
ครั้งแรกในไทย กรมทรัพยากรธรณี เชิญชมนิทรรศการ ฟอสซิลวาฬตัวแรก“วาฬอำแพง” อายุ 3,380 ปี ซากดึกดำบรรพ์ลำดับที่ 88 ที่ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียน

กรมทรัพยากรธรณีเปิดให้ประชาชนเข้าชมนิทรรศการ ‘วาฬอำแพง’ จัดแสดงในระหว่างวันที่ 1-29 พฤษภาคม 2566 ณ กรมทรัพยากรธรณี โดยซากดึกดำบรรพ์วาฬอำแพง ค้นพบในช่วงปลายปี 2563 ที่ตำบลอำแพง อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร พบซากดึกดำบรรพ์จำนวนกว่า 90% เรียงตัวอย่างต่อเนื่อง มีความยาว 12.5 เมตร ซึ่งถือว่าเป็นการสำรวจขุดค้นซากดึกดำบรรพ์วาฬอย่างเป็นระบบครั้งแรกในประเทศไทย และมีความสมบูรณ์มากที่สุดในประเทศไทย มีอายุ 3,380 ปีก่อน และเป็นวาฬสายพันธุ์วาฬบรูด้า (Balaenoptera edeni) ซึ่งถือว่ามีความสำคัญในการศึกษาประวัติโลก บรรพชีวินวิทยา และลำดับชั้นหิน และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศบรรพกาล จึงได้รับการประกาศให้เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่ขึ้นทะเบียน ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ พ.ศ. 2551 เมื่อปี พ.ศ. 2565 จำนวน 141 ชิ้นตัวอย่าง ซึ่งเป็นซากดึกดำบรรพ์ลำดับที่ 88 ที่ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียน
กรมทรัพยากรธรณี ขอเชิญชมนิทรรศการ ‘วาฬอำแพง’ จัดแสดงในระหว่างวันที่ 1-29 พฤษภาคม 2566 ณ กรมทรัพยากรธรณี ภายในงานจะมีหุ่นจำลองวาฬอำแพงขนาดจริง และนิทรรศการเรื่องราวของวาฬอำแพง เปิดให้ชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.30-16.00 น. เปิดรับชมเป็นหมู่คณะ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม เบอร์โทรศัพท์ 02 621 9500 และ พิพิธภัณฑ์ แร่-หิน
#วาฬอำแพง #ซากดึกดำบรรพ์ #กรมทรัพยากรธรณี

เร็วๆ นี้คนไทยเตรียมลุ้น...โคราชขึ้นแท่นเมืองท่องเที่ยวอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก  #โคราชจีโอพาร์ค
11/04/2023

เร็วๆ นี้คนไทยเตรียมลุ้น...โคราชขึ้นแท่นเมืองท่องเที่ยวอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก #โคราชจีโอพาร์ค

01/04/2023

ฐานข้อมูลถ้ำกรมทรัพยากรธรณี
ประกอบด้วย ชั้นข้อมูลการสำรวจถ้ำ (CAVE_SURVEY) ชั้นข้อมูลแนวโถงถ้ำ (LINE_SUR) ชั้นข้อมูลแผนผังถ้ำ (CAVE_MAP) และชั้นข้อมูลขอบเขตระบบถ้ำ (KARST_SYST) โดยมีการเผยแพร่ข้อมูลสู่สาธารณะเพื่อประโยชน์ในการใช้ข้อมูลแก่ประชาชนที่สนใจบนเวปไซต์ “ระบบฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศทรัพยากรธรณี” (https://gis.dmr.go.th/DMR-GIS/) และมีการนำเสนอข้อมูลระบบภูมิสารสนเทศประยุกต์เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรธรณีของระบบสรุปข้อมูลเชิงพื้นที่ (ถ้ำ) (Dashboard) https://gisportal.dmr.go.th/portal/home/index.html) ซึ่งเป็นการนำเสนอภาพรวมข้อมูลเชิงพื้นที่ของถ้ำในประเทศไทย นำไปสู่การบริหารจัดการทรัพยากรธรณีประเภทถ้ำต่อไปในอนาคต

ชั้นข้อมูลการสำรวจถ้ำ
การนำเข้าชั้นข้อมูลการสำรวจถ้ำสู่ระบบฐานข้อมูลของกรมทรัพยากรธรณี มีการจัดเก็บในรูปแบบข้อมูลภูมิสารสนเทศแบบจุด (point) ซึ่งในการเก็บข้อมูลภาคสนามได้มีการกำหนดหัวข้อ
ที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่
1) ชื่อทางการของถ้ำ (CAVE NAME)
2) รหัสถ้ำ (CODE_NAME) : กำหนดโดยคณะอนุกรรมการด้านวิชาการในคณะกรรมการ
นโยบายบริหารจัดการถ้ำแห่งชาติ ประกอบด้วย เลขรหัสขอบเขตระบบถ้ำ+รหัสจังหวัด+รหัสอำเภอ+
รหัสตำบล+เลขรันอัตโนมัติ (AUTO 3 หลัก)
3) รหัสขอบเขตระบบถ้ำ (CODE CK) และชื่อขอบเขตระบบถ้ำ (CK NAME) : กำหนดโดยคณะอนุกรรมการด้านวิชาการในคณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการถ้ำแห่งชาติ (ข้อมูลดังกล่าว
ยังอยู่ระหว่างดำเนินการ) ในระบบฐานข้อมูลของกรมทรัพยากรธรณีในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จึงใช้
รหัสขอบเขตระบบถ้ำ เป็น “CK0001” และชื่อขอบเขตระบบถ้ำ เป็น “ขอบเขตระบบถ้ำ 1”
4) พิกัดตำแหน่งของปากถ้ำ ประกอบด้วย
- ระบบพิกัดกริดแบบยูทีเอ็ม (Universal Transverse Mercator coordinate system :
UTM) ซึ่งเป็นระบบพิกัดหลักที่ใช้ในระบบฐานข้อมูลของกรมทรัพยากรธรณี โดยมีการกำหนดให้เป็นระบบพิกัดกริดแบบยูทีเอ็ม โซน 47 ทั้งระบบ
- ระบบพิกัดทางภูมิศาสตร์แบบละติจูดและลองจิจูด (LATITUDE, LONGITUDE)
- ระดับน้ำทะเลปานกลาง (ELEVATION)
- เลขระวางแผนที่ (MAP SHEET) และชื่อระวางแผนที่ (SHEET NAME)
5) ที่ตั้งของถ้ำ ประกอบด้วย ชื่อหมู่บ้าน (VILLAGE), หมู่ที่ (MOO), ตำบล (TAMBON), อำเภอ (DISTRICT), จังหวัด (PROVINCE) และภาค (REGION)
6) สถานะการสำรวจถ้ำ (SURVEYING) ประกอบด้วย
- สำรวจแล้ว : หลักฐานของสถานะการสำรวจถ้ำว่า “สำรวจแล้ว” ต้องประกอบด้วย
รูปถ่าย 1) รูปถ่ายปากทางเข้าถ้ำ 2) ทางออกถ้ำ (ลายเซ็นถ้ำ) และ 3) ความโดดเด่นของถ้ำ อย่างน้อย 3 รูปดังที่กล่าวไว้ข้างต้น
- ยังไม่สำรวจ
7) ประเภทถ้ำจากการเกิด (CAVE TYPE) ประกอบด้วย ถ้ำที่เกิดจากการละลาย, ถ้ำที่เกิดจากรอยแตก, ถ้ำทะเล, ถ้ำหินทราย และถ้ำที่เกิดจากปัจจัยอื่น ซึ่งถ้ำหนึ่งถ้ำสามารถมีการเกิดที่มากกว่า
1 ประเภท เช่น ถ้ำพระขยางค์ เป็นถ้ำที่เกิดจากการละลายร่วมกับการพัฒนาจากรอยแตก เป็นต้น
8) สถานะถ้ำ (CAVE STATUS) ประกอบด้วย ถ้ำตาย, ถ้ำเป็น และถ้ำกึ่งเป็นกึ่งตาย
ซึ่งเป็นการบอกภาพรวมวิวัฒนาการของถ้ำโดยดูจากการเกิดใหม่ของประติมากรรมถ้ำ
- หากประติมากรรมถ้ำมีการเกิดใหม่เกิน 70% ให้ถือว่าเป็น “ถ้ำเป็น”
- หากประติมากรรมถ้ำมีการเกิดใหม่น้อยกว่า 70% แต่ยังคงมีการเกิดใหม่
ของประติมากรรมถ้ำ ให้ถือว่าเป็น “ถ้ำกึ่งเป็นกึ่งตาย”
- หากประติมากรรมถ้ำไม่มีการเกิดใหม่หรือไม่มีวิวัฒนาการเพิ่มเติมหรือมีวิวัฒนาการในภาพรวมของถ้ำน้อยมาก ให้ถือว่าเป็น “ถ้ำตาย”
9) แหล่งน้ำภายในถ้ำ (WATER STATUS) ประกอบด้วย มีน้ำตลอดปี, มีน้ำตามฤดูกาล, ไม่มีน้ำ และมีจุดน้ำขังภายในถ้ำ
10) วัตถุประสงค์การใช้ (OBJECTIVE) : การใช้ประโยชน์จากถ้ำ ประกอบด้วย ท่องเที่ยว, วัด (สำนักสงฆ์), งานวิจัย และอื่นๆ
11) ผู้ดูแลรับผิดชอบ (OWNER) : ข้อมูลเจ้าของพื้นที่หรือผู้ดูแลพื้นที่ เช่น กรมป่าไม้,
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, วัด และองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นต้น
12) อายุทางธรณีวิทยา (ROCK AGE) : ยุคทางธรณีวิทยา
13) ซากดึกดำบรรพ์ (FOSSIL) : ข้อมูลซากดึกดำบรรพ์ที่พบในถ้ำที่สำรวจ หากไม่พบ
ให้กรอกข้อมูลว่า “ไม่พบ”
14) ความโดดเด่น (SPECIAL) : ความโดดเด่นที่พบภายในถ้ำ เช่น ประติมากรรมถ้ำ
ที่สวยงาม, มีทางเข้าถ้ำมากกว่า 1 ทาง
15) สถานะการทำผังถ้ำ (MAP STATUS) ประกอบด้วย
- มีผังถ้ำ : มีการจัดทำผังถ้ำ
- ไม่มีผังถ้ำ : ไม่มีการจัดทำผังถ้ำ และไม่มีการวัดความยาวของโถงถ้ำ
- การตรวจวัดระยะในเบื้องต้น (วัดระยะคร่าว ๆ) : เป็นการเข้าพื้นที่แล้ววัดความยาวของโถงถ้ำในเบื้องต้น และไม่มีผังถ้ำ
16) เกรด/ชั้นในการสำรวจทำผังถ้ำ (SURVEY GRADE) : ข้อมูลความละเอียดในการจัดทำแผนผังถ้ำ (British Cave Research Association, 2002)
- ระดับ 1 : เป็นการวาดภาพร่างซึ่งมีความถูกต้องต่ำ และไม่ได้ทำการวัดใด ๆ
- ระดับ 2 : เป็นวิธีที่อาจนำมาใช้ถ้าจำเป็น เป็นการอธิบายรายละเอียดของภาพร่างซึ่งมีความถูกต้องระหว่างระดับ 1-3
- ระดับ 3 : มีการวัดทิศทางด้วยเข็มทิศอย่างหยาบ ๆ ความละเอียดของการวัดมุม
ทั้งแนวราบและแนวดิ่งประมาณ 2.5 องศา และความละเอียดของระยะทางภายใน +/- 50 เซนติเมตร ความคลาดเคลื่อนของจุดหรือสถานีวัด น้อยกว่า +/- 50 เซนติเมตร
- ระดับ 4 : เป็นวิธีที่อาจนำมาใช้ถ้าจำเป็น เป็นการอธิบายการสำรวจที่มีความละเอียดเกือบถึงระดับ 5 แต่ถูกต้องมากกว่าระดับ 3
- ระดับ 5 : มีการวัดทิศทางด้วยเข็มทิศที่มีความละเอียดของการวัดมุมทั้งแนวราบและแนวดิ่งประมาณ 1 องศา และความละเอียดของระยะทางภายใน +/- 10 เซนติเมตร ความคลาดเคลื่อนของจุดหรือสถานีวัด น้อยกว่า +/- 10 เซนติเมตร
- ระดับ 6 : มีการวัดทิศทางด้วยเข็มทิศ ความละเอียดมากกว่าระดับ 5
- ระดับ X : เป็นการสำรวจด้วยกล้อง Theodolite
17) จำนวนโถง (PASSAGE) : จำนวนโถงทั้งหมดของถ้ำที่สำรวจ
18) ความยาวโถงหลัก (MAIN PASSAGE : เมตร)
19) ความยาวโถงย่อย (MINOR PASSAGE : เมตร) : เป็นความยาวรวมของโถงย่อยทุกโถง
20) ความยาวรวมของโถง (TOTAL PASSAGE : เมตร) : เป็นผลรวมของความยาวโถงหลักและความยาวโถงย่อย
21) ทิศทางการวางตัวของถ้ำ (CAVE DIRECTION)
22) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (PALEOCLIMATE) : การเก็บตัวอย่างหรือชื่อตัวอย่างที่เก็บเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
23) ชื่อโครงการ/ชื่อโครงการประจำปีงบประมาณ (PROJECT)
24) ผู้สำรวจ/ทีมสำรวจ (SURVEY BY)
25) วันที่สำรวจ (DATE SURVEY) : กรอกข้อมูลเป็น เดือน/วันที่/ปี ค.ศ. เช่น สำรวจเก็บข้อมูลในวันที่ 3 เดือนสิงหาคม 2564 ให้กรอกข้อมูลเป็น 8/3/2021
26) ระบบคาสต์ (KARST) : ลักษณะภาพรวมของภูมิประเทศบริเวณที่สำรวจ ประกอบด้วย Karst และ Non-Karst
27) ภูมิสัณฐานระบบคาสต์ (KARST FEATURE) ประกอบด้วย wall karst, stromatolitic karst, pinnacle, cone/tower, k**b, karren/lapies, stone forest, polje, sinkhole/doline, karst spring/karst seepage, karst waterfall, karst lake, cave และ other (Thepju et al., 2017)

ที่อยู่

Bangkok
10400

เวลาทำการ

จันทร์ 09:00 - 16:00
อังคาร 09:00 - 16:00
พุธ 09:00 - 16:00
พฤหัสบดี 09:00 - 16:00
ศุกร์ 09:00 - 16:00

เบอร์โทรศัพท์

+6626219634

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ Geoparks Thailandผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง Geoparks Thailand:

วิดีโอทั้งหมด

แชร์

ตำแหน่งใกล้เคียง บริการภาครัฐ


องค์กรของรัฐ อื่นๆใน Bangkok

แสดงผลทั้งหมด
#}