Thai Classic ข้อมูลการติดต่อ, แผนที่และเส้นทาง,แบบฟอร์มการติดต่อ,เวลาเปิดและปิด, การบริการ,การให้คะแนนความพอใจในการบริการ,รูปภาพทั้งหมด,วิดีโอทั้งหมดและข่าวสารจาก Thai Classic, จุดสังเกตและสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์, Bangkok.

หลากหลายเรื่องราวทั้งเก่าใหม่ ทั้งไทยและเทศ ย่อมมีทั้งที่คุณชอบและไม่ชอบเป็นสัจธรรมของโลก (ขอบคุณต้นฉบับภาพ/ข้อมูล ที่ได้นำมาเผยแพร่เป็นวิทยาทานแก่สาธารณชนคนรุ่นหลัง)

คำมั่นสัญญาของหม่อมคัทริน “…หม่อมฉันจะไม่หงุดหงิดเจ้าอารมณ์ใส่ฝ่าบาทในเวลาที่ฝ่าบาททรงมีพระประสงค์ที่จะทรงงานหรืออ่านหนั...
13/06/2025

คำมั่นสัญญาของหม่อมคัทริน

“…หม่อมฉันจะไม่หงุดหงิดเจ้าอารมณ์ใส่ฝ่าบาท
ในเวลาที่ฝ่าบาททรงมีพระประสงค์ที่จะทรงงาน
หรืออ่านหนังสือพิมพ์ หม่อมฉันจะไม่เซ้าซี้ให้ฝ่าบาท
ต้องเสด็จกลับจากกระทรวงมาเสวยพระกระยาหาร
กลางวัน หรือเสวยชาที่วังพร้อมกับหม่อมฉันอีกต่อไป
หม่อมฉันเพียงกราบทูลขอให้ฝ่าบาทรักและซื่อสัตย์
จริงใจต่อหม่อมฉันเหมือนอย่างที่เคยเป็นมาตลอด…”

เป็นข้อความตอนหนึ่งในจดหมายที่
หม่อมคัทริน เดสนิตสะกี้ หม่อมชาวรัสเซีย
ของจอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์
ภูวนาถ ที่มีถึงพระสวามีขณะแยกกันอยู่ชั่วคราว
อันเนื่องแต่เกิดปัญหาพระสวามีทรงปันพระทัยให้สตรีอื่น

เรื่องราวความรักของสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ฯ
พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ประสูติแต่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ
กับหม่อมคัทรินเป็นเรื่องราวที่ทำให้ราชสำนัก
ทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายในสมัยนั้นแตกตื่น
โจษขานกันไม่รู้จบ เพราะเป็นเรื่องที่ไม่มีผู้ใด
คาดฝันว่าจะเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะเกิดกับ
พระราชโอรสที่ทรงมีสิทธิในราชบัลลังก์

สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ฯ ทรงพบรักกับ
คัทริน เดสนิตสะกี้ ระหว่างที่เสด็จไปศึกษา
วิชาการทหารบกที่ประเทศรัสเซีย

เมื่อแรกเริ่มรักกันนั้น คัทรินมิได้ตระหนัก
ถึงอุปสรรคอันเกิดจาก เชื้อชาติ ศาสนา ประเพณี
ชีวิตความเป็นอยู่ ตลอดจนกำแพงแห่งฐานันดร
เท่าใดนัก เธอไม่รู้จักแม้แต่เมืองสยาม
ที่เธอจะต้องมาใช้ชีวิตอยู่ เธอรู้จักแต่เพียง “เล็ก”
พระนามที่เธอใช้เรียกขานชายผู้ที่เธอรัก
และหวังจะฝากชีวิตไว้

ในส่วนสมเด็จฯ เจ้าฟ้า แม้จะทรงล่วงรู้
ถึงอุปสรรคต่างๆ เป็นอย่างดีว่าหนักหนามหึมาปานใด
แต่ด้วยความรักที่อัดแน่นอยู่เต็มพระทัย
ทำให้ทรงเห็นอุปสรรคหนักหนานั้นเป็นเรื่องน้อยนิด

ทรงคาดว่าเวลาจะช่วยให้อุปสรรคนานาประการ
คลี่คลายไปในทางที่ดี และเหตุการณ์ก็เกือบจะเป็นไป
ตามที่ทรงคาดไว้ เพราะเมื่อทรงพาหม่อมชายา
กลับมาถึงสยามท่ามกลางความไม่พอพระทัย
ของทั้งพระบรมราชนกชนนี

ทรงพยายามอย่างอดทนทุกวิถีทาง
ที่จะทำให้ทั้งสองพระองค์โปรดปรานหม่อม
และพระราชทานอภัยให้ หม่อมคัทรินเอง
ก็พยายามปรับตัวให้เข้ากับวิถีชีวิตใหม่
นับแต่การแต่งกายแบบนางใน
รู้จักวิธีการหมอบกราบคลานเข่าเข้าเฝ้า
พูดภาษาไทยชัดถ้อยชัดคำ
เพ็ดทูลราชาศัพท์ได้อย่างคล่องแคล่ว

แต่มีเพียงสิ่งเดียวที่เธอไม่สามารถที่จะปรับตัว
ยอมรับได้ นั่นคือประเพณีมีภรรยาหลายคน
ของชายไทย เธอขอร้องพระสวามีให้มีรักเดียวใจเดียว
ซึ่งพระสวามีก็ทรงยินยอมโอนอ่อนปฏิบัติตามคำร้องขอ

น่าจะเนื่องมาจากความรักและความสงสาร
ที่เธอต้องจากบ้านเมืองมาอยู่ท่ามกลางคนแปลกหน้า
แปลกทั้งภาษาและขนบประเพณี ทำให้หม่อมคัทริน
มีความสุข ดังที่เธอพรรณาไว้ในจดหมายที่มีไปถึงพี่ชาย
เล่าชีวิตความเป็นอยู่ของเธอในกรุงสยาม
ความตอนหนึ่งว่า

“…ที่กรุงเทพฯ นี้เราสองคนอยู่กันอย่างมีความสุข…
เราสามารถปรับตัวเข้าหากันและกันได้เร็วกว่าที่คิด
ไม่มีอะไรในโลกที่สำคัญกว่านี้อีกแล้ว…”

ยิ่งเมื่อหม่อมให้กำเนิดพระโอรส
คือพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ซึ่งนับเป็นพระราชนัดดา
พระองค์แรกในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ
พระราชนัดดาพระองค์แรกนี้เองที่ทำให้สถานการณ์ต่างๆ
คลี่คลายไปในทางที่ดี

สมเด็จพระบรมราชินีนาถทรงออกพระโอษฐ์
ชมพระสุณิสาเมื่อเห็นภาพถ่ายว่า “ยิ้มน่ารักดี”

และโปรดพระราชทานผ้าไหมสีสวยสดงดงาม
สำหรับตัดแต่งเป็นชุดไทย ในส่วนสมเด็จพระบรมราชชนก
ก็มีพระทัยอ่อนลง พระราชทานเมตตา เช่น มีรับสั่ง
ให้สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ฯ นำไก่เลกฮอร์น
ไปพระราชทานหม่อม

“…ได้ข่าวว่าที่บ้านเล็กชอบเลี้ยงไก่เลกฮอร์นเหมือนกัน…”

พระสุณิสาก็มักส่งดอกกุหลาบที่ปลูกเอง
ในวังปารุสกวันไปถวายสมเด็จพระบรมราชินีนาถเสมอๆ
ยิ่งเมื่อได้ทอดพระเนตรพระราชนัดดาครั้งแรก
ก็ยิ่งแสดงให้เห็นถึงสถานการณ์ที่ดีขึ้น
เพราะมีพระราชดำรัสกับสมเด็จพระบรมราชินีนาถว่า

“…วันนี้ฉันได้พบกับหลานชายเธอ ดูน่ารักน่าเอ็นดูเหมือนพ่อ
ฉันรู้สึกรักและหลงใหลหลานคนนี้ตั้งแต่แรกเห็น
เพราะถึงอย่างไรนี่ก็เป็นสายเลือดเชื้อไขของฉันเอง…”

แต่โชคไม่เข้าข้างหม่อมคัทริน เพราะการเสด็จสวรรคต
ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทำให้หลายสิ่งหยุดชะงักและเปลี่ยนแปลง

แม้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
จะทรงยอมรับหม่อมคัทรินเป็นสะใภ้หลวง
แต่เวลาเดียวกันนั้นเองความเปลี่ยนแปลงบางอย่าง
เริ่มเกิดขึ้นในพระทัยของสมเด็จเจ้าฟ้าชาย
อันเนื่องมาจากเมื่อเวลาผ่านไปทรงเริ่มประจักษ์
ถึงอุปนิสัยบางประการของหม่อมคัทริน
ดังที่ทรงบรรยายไว้ว่า

“…คราใดที่เธอเกิดไม่พอใจเรื่องอะไรขึ้นมา
ก็จะมาลงเอาที่ฉันทุกครั้ง เป็นเรื่องยากที่จะเอาใจเธอ
ให้เธอมีความสุข…”

และ “…เธอไม่เพียงต้องการให้ทุกคนทำอย่างที่เธอ
ต้องการ แต่ยังให้ทุกคนต้องคิดอย่างที่เธอคิดด้วย…”

ในขณะที่ความรู้สึกเช่นนี้ค่อยทวีขึ้น
ก็พอดีกับที่หม่อมคัทรินมีประสงค์จะกลับไปเยี่ยมเยียน
บ้านเกิดที่รัสเซียความรู้สึกของสมเด็จเจ้าฟ้า
เมื่อหม่อมห่างไกลจึงกลายเป็นว่า

“…มาในคราวนี้ที่แคทยาไม่อยู่
ฉันรู้สึกว่าทุกอย่างดีขึ้น พักผ่อนได้อย่างแท้จริง…”

ครั้งนั้นทรงเปิดวังปารุสกวันที่เคยประทับเป็นส่วนพระองค์
กับพระชายาออกต้อนรับพระญาติสนิทรุ่นราวคราวเดียวกัน
มีการพบปะสังสรรค์เล่น กีฬา ลีลาศกันอย่างสนุกสนาน
ไม่เว้นแต่ละวัน นับเป็นความรู้สึกแปลกใหม่ที่ไม่เคยทรงพบ
ขณะทรงอยู่ร่วมกับหม่อมคัทริน

และความรู้สึกเป็นสุขแปลกใหม่ก็เพิ่มขึ้น
เมื่อทรงได้พบกับหม่อมเจ้าหญิงชวลิตโอภาส
ธิดากรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเชษฐาต่างพระมารดา
ซึ่งมีชันษาเพียง ๑๕ ปี

ทรงพอพระทัยในทุกสิ่งที่เป็นองค์หม่อมเจ้าหญิง
ไม่ว่าจะเป็นความร่าเริงแจ่มใสอากัปกิริยาที่ปราดเปรียว
ว่องไวน่ารักในยามที่ทรงพรสรวลจนตัวงอเวลา
ได้ยินเรื่องที่ถูกพระทัย

เมื่อนานเข้าความพอพระทัยในพระอัธยาศัยค่อยๆ
กลายเป็นความสัมพันธ์อันลึกซึ้ง จนถึงกับมีพระดำริ
เปรียบเทียบระหว่างพระชายาคนไทยที่เข้าใจกันยิ่งกว่า
ชายต่างชาติ

เมื่อหม่อมคัทรินเดินทางกลับมายังสยามอีกครั้ง
ก็พบว่าทุกสิ่งทุกอย่างรวมทั้งน้ำพระทัยและความรู้สึก
ของพระสวามีที่เคยมีต่อเธอนั้นเปลี่ยนแปลงไป
จนหมดสิ้น ทรงแสดงให้หม่อมชายารู้สึกว่า

“…ไม่ทรงสามารถที่จะละจากท่านหญิงชวลิตฯ ได้…”

แม้หม่อมชายาจะได้ต่อรองขอร้องวิงวอนประการใด
ก็ไม่อาจที่จะยื้อยุดทั้งพระทัยและพระวรกาย
ของพระสวามีให้คืนกลับมาได้ดังเดิม
แม้หม่อมคัทรินจะหยุดทบทวนวัตรปฏิบัติของตน
พบข้อบกพร่องอันจะเป็นเหตุให้พระสวามีทรงเบื่อหน่าย
ถึงแก่มีจดหมายมาถวาย ข้อความในจดหมายเป็นการ
ให้คำมั่นสัญญาที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อบกพร่องของตน
ความว่า

“…หม่อมฉันจะไม่หงุดหงิดเจ้าอารมณ์ใส่ฝ่าบาท
ในเวลาที่ฝ่าบาททรงมีพระประสงค์ที่จะทรงงาน
หรืออ่านหนังสือพิมพ์ หม่อมฉันจะไม่เซ้าซี้ให้ฝ่าบาท
ต้องเสด็จกลับจากกระทรวงมาเสวยพระกระยาหารกลางวัน
หรือเสวยชาที่วังพร้อมกับหม่อมฉันอีกต่อไป
หม่อมฉันเพียงกราบทูลขอให้ฝ่าบาทรักและซื่อสัตย์จริงใจ
ต่อหม่อมฉันเหมือนอย่างที่เคยเป็นมาตลอด…”

แต่เหตุการณ์และน้ำพระทัยของพระสวามีได้ทรงเตลิด
โลดแล่นไปไกลเกินกว่าที่จะทรงหันกลับไปสู่เส้นทางเดิมได้
เสียแล้ว จึงเป็นอันสุดสิ้นชีวิตรักที่ยาวนานมาถึง ๑๓ ปี
ของ “หม่อมแหม่ม” คนแรกในราชสำนักสยาม

เนื้อหา
วาทะเล่าประวัติศาสตร์
: ศิลปวัฒนธรรม ฉบับตุลาคม 2554
เขียนโดย ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย

ภาพ
หม่อมคัทริน เดสนิตสะกี้
ภาพต้นฉบับ : "Madame de Phitsanulok"
จาก Pattarapol Piewnim

เครดิต fb : กัปป์ กัลป์

พระราชทานพระโกศราชวงศ์ประกอบศพ ท่านผู้หญิงพันธุ์สวลี กิติยากร(เดิมหม่อมเจ้าพันธุ์สวลี ยุคล)ถึงแก่อนิจกรรม ๑๐ มิถุนายน ๒๕...
11/06/2025

พระราชทานพระโกศราชวงศ์
ประกอบศพ ท่านผู้หญิงพันธุ์สวลี กิติยากร
(เดิมหม่อมเจ้าพันธุ์สวลี ยุคล)
ถึงแก่อนิจกรรม ๑๐ มิถุนายน ๒๕๖๘ (๙๑ ปี)

โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า
กรมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปในการพระราชทาน
น้ำหลวงอาบศพท่านผู้หญิงพันธุ์สวลี กิติยากร

ณ ศาลาบัณณรศภาค วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
วันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๖๘ เวลา ๑๗.๑๕ น. ที่ผ่านมา

ท่านผู้หญิงพันธุ์สวลี กิติยากร
เป็นพระมารดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี
กรมหมื่นสุทธนารีนาถ

เป็นพระอัยยิกา (ยาย) ในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ
เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี
กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา

โกศแปดเหลี่ยมประกอบศพพลเอก สุจินดา คราประยูร อดีตนายกรัฐมนตรีวันนี้ 11 มิ.ย. 68 เวลา 17.00 น.พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา องคมน...
11/06/2025

โกศแปดเหลี่ยมประกอบศพ
พลเอก สุจินดา คราประยูร อดีตนายกรัฐมนตรี

วันนี้ 11 มิ.ย. 68 เวลา 17.00 น.
พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา องคมนตรี
เป็นประธานพิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ
วางพวงมาลา และสวดพระอภิธรรม
พล.อ. สุจินดา คราประยูร
อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 19
อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ที่ถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคชรา
สิริอายุ 91 ปี 10 เดือน 4 วัน

ณ ศาลา 5 วัดโสมนัสราชวรวิหาร
เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ

ในงานมีบุคคลสำคัญเข้าร่วมพิธี อาทิ
นายอานันท์ ปันยารชุน
พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายอนุทิน ชาญวีรกูล
นางนวลพรรณ ล่ำซำ

ขณะที่นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
ได้ส่งพวงหรีดมาแสดงความอาลัย

ทั้งนี้ มีกำหนดสวนพระอภิธรรม
ตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ 12- 16 มิถุนายน 2568
เวลา 18.00 น.

และพระราชทานเพลิงศพ
วันอังคารที่ 17 มิถุนายน 2568
เวลา 16.00 น.

ที่มาภาพ
ThaiPBS
Themomentum
เดลินิวส์ออนไลน์
MGR PHOTO

หนังสือ เกิดวังปารุสก์ (ฉบับรวมเล่ม ๑ -๒)สามารถสั่งซื้อได้ที่ ”ช้อปปี้“ ครับhttps://s.shopee.co.th/5VJUG8SBPg
11/06/2025

หนังสือ เกิดวังปารุสก์ (ฉบับรวมเล่ม ๑ -๒)
สามารถสั่งซื้อได้ที่ ”ช้อปปี้“ ครับ
https://s.shopee.co.th/5VJUG8SBPg

ในหนังสือเรื่องเกิดวังปารุสก์พระนิพนธ์ในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ทรงเล่าเหตุการณ์ช่วงสมเด็จพระศรีพัชรินทรา...
11/06/2025

ในหนังสือเรื่องเกิดวังปารุสก์
พระนิพนธ์ในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์
ทรงเล่าเหตุการณ์ช่วงสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถพระบรมราชชนนีพันปีหลวง สวรรคต ตอนหนึ่งว่า

“ข้าพเจ้าคงไปนอนค้างพญาไททุก ๆ คืนวันเสาร์ เวลาโรงเรียนเปิด เมื่อข้าพเจ้าไปถึงตอนค่ำวันเสาร์ที่ ๑๔ ตุลาคม มีผู้บอกว่าย่าไม่สู้จะทรงสบาย ขออย่าให้พวกเราเด็ก ๆ ทำเสียงเอ็ด

ครั้นข้าพเจ้าเข้าไปนอนเบื้องหลังพระแท่น ท่านก็บรรทมหลับอยู่ เมื่อข้าพเจ้าออกมาจากห้องบรรทมในเวลาเช้าวันอาทิตย์ก็ยังบรรทมหลับ จึงมิได้ทูลลา

ข้าพเจ้ากลับถึงบ้าน พ่อถามว่าสมเด็จย่าทรงเป็นอย่างไร ข้าพเจ้าก็ทูลว่าไม่สู้จะทรงสบาย

ทั้งพ่อและข้าพเจ้าก็ไม่ตกใจเป็นพิเศษอย่างใดเพราะย่าท่านไม่ทรงสบายอยู่บ่อย ๆ อย่างที่เราเรียกกันว่าสามวันดีสี่วันไข้ ฉะนั้นเมื่อวันรุ่งขึ้นวันจันทร์ที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๒ ข้าพเจ้าตื่นแต่เช้าเพื่อไปโรงเรียนตามธรรมดา.

เวลาที่ข้าพเข้ากำลังกินอาหารกลางวันอยู่ที่โรงเรียน โดยนั่งที่โต๊ะพิเศษของวังพญาไทตามธรรมดา มหาดเล็กของพ่อคือปลัดกรมพ่วง [ขุนมาตย์หริภุญไชย (พ่วง จุลเสวก)] ได้เดินเข้ามาหาข้าพเจ้า สีหน้าดูยิ่งตึงเครียดผิดธรรมดา มาบอกกับข้าพเจ้าว่า "ทูลกระหม่อมรับสั่งให้เชิญฝ่าบาทเสด็จกลับวังเดี๋ยวนี้" แล้วก็ไม่แถลงเหตุผลอย่างไร

แต่แรกข้าพเจ้าก็ตกใจนึกว่าตนไปทำความผิดอย่างร้ายกาจอย่างใดเข้าแล้ว พ่อคงจะกริ้วมาก ถึงกับจะต้องทรงเอ็ดทันที จะรอจนตอนค่ำก็ไม่ได้ ครั้นถึงวังปารุสก์พอลงจากรถยนตร์ ก็แลเห็นมหาดเล็กยืนหน้าบึ้งกันอยู่เป็นอันมาก และทุกๆ คนมีผ้าพันแขนดำไว้ทุกข์

ไม่ต้องมีใครบอกข้าพเจ้าอย่างใดก็เดาได้ทันทีว่าข้าพเจ้าสิ้นย่าของข้าพเจ้าเสียแล้ว ของอันไม่น่าเชื่อว่าจะเกิดขึ้นได้ก็ได้เกิดขึ้นแล้ว

ข้าพเจ้าขึ้นไปยังห้องของข้าพเจ้าชั้นบน พบชมกำลังร้องไห้อยู่และชมบอกว่าย่าสวรรคตเสียแล้ว ข้าพเจ้าตะลึง ใจอัดอั้น
ตัวชาไปหมด แต่นัยน์ตาแห้งรู้สึกว่าทำอะไรไม่ได้ จึงเอนตัวลงนอนนิ่งอยู่บนเก้าอี้ยาว.

ราวสองชั่วโมงภายหลังพ่อจึงเสด็จกลับ ข้าพเจ้าวิ่งไปรับเสด็จที่หัวบันไดชั้นบนตามเคย เสียงรองพระบาทกับเดือยยังหนักแน่นอยู่ตามเคย แต่ดูทรงพระดำเนินช้าลงกว่าธรรมดา ครั้นถึงชั้นบน

พ่อแลเห็นข้าพเจ้าเข้าท่านก็ผวาเข้าหา ทรงกอดข้าพเจ้าเข้าไว้พลางทรงกันแสงอย่างรุนแรง ข้าพเข้าก็เลยพลอยร้องให้โฮใหญ่ คราวนั้นจะเป็นครั้งเดียวในชีวิตที่ข้าพเจ้าได้เห็นพ่อทรงพระกันแสง

ค่ำวันนั้นเราไปที่พระบรมมหาราชวัง ในการสรงน้ำพระบรมศพ ซึ่งได้ถูกเชิญไปที่นั่นจากวังพญาไท ห้องสรงน้ำพระบรมศพนั้น ก็คือห้องน้ำเงินที่ข้าพเจ้าเคยกินอาหารเมื่อไปอยู่กับย่าที่ในวังหลวง คนที่ไปในงานแต่งเต็มยศทั้งสิ้น

เมื่อไปถึงนั้นพระบรมศพอยู่ในห้องบรรทม ในไม่ช้าก็หามท่านออกมาที่ห้องน้ำเงิน โดยใช้พระเก้าอี้หามซึ่งเคยใช้มาเมื่อยังทรงมีพระชนม์อยู่ พระบรมศพทรงดำอย่างที่ท่านได้ทรงไว้ทุกข์ทูลหม่อมปู่เรื่อยมา

เขาคลุมพระพักตร์ด้วยแพรดำอันบาง เมื่อวางพระบรมศพลงบนพระแท่นจึงเลิกผ้าออก ดูย่าเหมือนบรรทมหลับอยู่แต่ดูทรงงามกว่าธรรมดาอีก พิธีสรงน้ำและบรรจุในพระบรมโกศก็เป็นไปตามธรรมดา ข้าพเจ้าจำได้ว่าทูลหม่อมลุง (รัชกาลที่ ๖) นั้นพระพักตร์แดงก่ำ เข้ากับสีฉลองพระองค์เต็มยศแดงทหารมหาดเล็ก

เนื่องด้วยย่าเป็นสมเด็จพระพันปีจึงไม่มีใครรดน้ำที่พระหัตถ์ในพิธีนั้นรดที่พระบาทกันทั้งสิ้น ข้าพเจ้าจำได้ว่าทรงรองพระบาทหนังดำมัน พอถึงที่ข้าพเจ้าก็ดูเปียกโชก

ข้าพเจ้าใจคอตื้นตันหมดเมื่อถึงเวลารดน้ำอดร้องไห้น้ำตาไหลไม่ได้ทั้งรู้สึกแปลกที่ต้องถวายบังคมพระบรมศพสามที แทนการหมอบกราบย่าอย่างเร็วๆ ครั้งหนึ่ง เมื่อเข้าเฝ้าท่านเวลายังมีพระชนม์อยู่

ข้าพเจ้าได้เห็นพิธีบรรจุพระบรมโกศตั้งแต่ต้นจนจบ รู้สึกหวาดเสียวและสังเวชใจอย่างยิ่งในเรื่องการมัดและคลุมพระบรมศพ แต่ต้องขอย้ำว่าเจ้าหน้าที่ภูษามาลาเขาพยายามตั้งอกตั้งใจทำด้วยความเคารพและละมุนละม่อมที่สุด

ทูลหม่อมลุงในฐานเป็นพระโอรสองค์ใหญ่ได้หวีพระเกษา พอเขาเอาหน้ากากทองสวมพระพักตร์ ก็เป็นอันแน่ว่าจะไม่ได้เห็นพระพักตร์อันเต็มเปี่ยมไปด้วยพระเมตตากรุณา อันสดชื่นนั้นอีกต่อไปในชีวิตนี้

เมื่อบรรจุลงพระลองเงินแล้วนายทหารมหาดเล็กก็เชิญไปยังพระราชยาน ทูลหม่อมอาเอียดกับพ่อประคองพระโกศ ทูลหม่อมลุงและคนอื่น ๆ ตามแห่กระบวนน้อยไปยังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เสียงปี่ชวา แตรฝรั่ง กลองชนะดังวังเวงจับใจอย่างหาคำใดจะมาอธิบายได้ยาก.

พระบรมศพได้ตั้งประดิษฐานอยู่ที่ดุสิตมหาปราสาท มีพระบรมโกศทองใหญ่ประกอบ มีเศวตฉัตร ๗ ชั้น ของพระบรมราชินี แขวนอยู่เบื้องบน มีฉัตรพัดใหญ่น้อย ตั้งวางรอบข้างมณฑปตามพระเกียรติยศ

นับตั้งแต่วันนั้นก็มีการทำบุญทุก ๆ ๓ วัน มีทำบุญ ๕๐ วัน และ ๑๐๐ วัน ตามธรรมดาทูลหม่อมลุงเสด็จทุกครั้ง และแม้ตามหมายกรมวังจะบ่งว่าต้องแต่งครึ่งยศหรือเต็มยศ ทูลหม่อมลุงทรงผ้าขาวในฐานเป็นลูกทุก ๆ คราว

งาน ๕๐ วันกับ ๑๐๐ วัน นั้น มีกงเต๊ก พระญวนและจีนที่ทำกงเต๊กเดินนำขึ้นสะพาน ทูลหม่อมลุงทรงพระราชดำเนินตาม แล้วจึงถึงพ่อ ทูลหม่อมอาเอียด ทูลหม่อมอาติ๋ว ทูลหม่อมอาเอียดน้อย ส่วนข้าพเจ้านั้นยืนอยู่ในหมู่หม่อมเจ้า

จึงรู้สึกแปลกใจมากที่มีกรมวังมาเรียกบอกว่าทูลหม่อมลุงรับสั่งให้ข้ามสะพานด้วย ข้าพเจ้าก็เลยได้เดินข้ามสะพานตามเสด็จเจ้านาย มีทูลหม่อมปู่น้อย ทูลหม่อมลุงบริพัตร ทูลหม่อมอาแดง และข้าราชการผู้ใหญ่ยืนดู

ในที่สุดก็ได้มีการถวายพระเพลิงพระบรมศพที่พระเมรุท้องสนามหลวงในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๓ ทำเป็นการใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ทุลหม่อมปู่สวรรคตราว ๑๐ ปีก่อนนั้น พระเมรุนั้นเสด็จปู่นริศฯ ได้ทรงออกแบบอย่างงดงาม

ในงานพระเมรุ คราวนั้นเป็นครั้งแรกที่ข้าพเจ้าได้เห็นพระมหาพิชัยราชรถที่ใช้เชิญพระบรมโกศทั้งราชรถอีกสามคันสำหรับพระอ่านพระธรรม ทูลหม่อมอาเอียดทรงโปรยดอกไม้เงินทอง พ่อทรงชักพระบรมศพ ครั้งนั้นเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวที่ข้าพเข้าได้เห็นพ่อทรงมงกุฎ

งานถวายพระเพลิงมีเหตุที่ทูลหม่อมลุงกับพ่อทรงขัดกันอีก ทูลหม่อมลุงทรงเห็นว่างานถวายพระเพลิงนั้น เมื่อจบเป็นพิธีในตอนเย็นแล้วก็ควรจะจบกัน ใคร ๆ ควรกลับบ้าน เหลือแต่ภูษามาลาซึ่งเมื่อเขาชักม่านปิดพระเมรุแล้ว เขาก็จัดการถวายพระเพลิงจริงตามลำพังของเขา

พ่อไม่ทรงเห็นเช่นนั้น ทรงเห็นว่าญาติที่สนิทเช่นลูกหลาน ควรจะกลับไปดูการถวายพระเพลิงจริง ๆ อีก

ทูลหม่อมลุงตกลงพระทัยว่าจะไม่เสด็จ ทั้งเจ้าพระยาธรรมาฯ เสนาบดีกระทรวงวังได้เชิญ พระบรมราชโองการแจ้งแก่พระบรมวงศานุวงศ์ว่าการที่เจ้านายจะเสด็จไปในการถวายพระเพลิงจริงนั้นไม่ต้องด้วยพระราชนิยม

แต่พ่อก็ยังขืนจะเสด็จจนได้ ไปทรงกางเต็นท์ทหารบรรทมอยู่ตลอดคืน น้อง ๆ ของท่าน คือทูลหม่อมอาทั้งสามพระองค์ก็เสด็จด้วย รวมทั้งเสด็จปู่สวัสดิ์และข้าพเจ้าด้วย.

เมื่อก่อนย่าสวรรคต เสด็จลุงกรมราชบุรีประชวรหนัก จึงเสด็จไปรักษาพระองค์ที่ยุโรป เพราะมหายุทธสงครามได้จบลงแล้ว

ตามที่ข้าพเจ้าทราบปรากฏว่าท่านหญิงชวลิตฯ ไม่สู้จะสบายพระทัยที่วังเสด็จพ่อ แต่ทูลหม่อมลุงก็ยังไม่ยอมพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้พ่อทรงทำการเสกสมรสกับท่านหญิงชวลิตฯ ย่าก็ลังเลอยู่ไม่ขัดทำประทานที่วังพญาไท จนในที่สุดเลยเสด็จสวรรคตเสียก่อน

ครั้นย่าสวรรคตแล้วพ่อก็เลยตกลงจะทำให้แตกหักกันเสียเลย ท่านไปรับเอาท่านหญิงชวลิตฯ มาอยู่เป็นชายาที่วังปารุสก์

ในจดหมายเหตุรายวันที่ตกมาอยู่ในอารักขาของข้าพเจ้า ท่านทรงอ้างว่าสำหรับเจ้านายนั้นการเสกสมรสตามกฎหมายไม่เป็นของจำเป็น ทรงอ้างว่าทูลหม่อมปู่กับย่าก็มิได้เคยทรงทำพิธีเสกสมรส หรือจดทะเบียนอย่างใดเลยถึงกระนั้นย่ายังได้เป็นสมเด็จพระบรมราชินีได้

ท่านหญิงชวลิตฯ ก็ย่อมเป็นชายาของท่านได้โดยไม่มีพิธีเสกสมรสเช่นเดียวกัน การที่ท่านหญิงชวลิตฯ มาอยู่วังปารุสก์มิได้เปลี่ยนแปลงชีวิตของข้าพเจ้าอย่างใด

ท่านหญิงชวลิตฯ มิได้เข้าครอบครองการดูแลวังอย่างใดเลย พ่อได้ทรงควบคุมการดูแลบ้าน ทรงทำบัญชีเองทุก ๆ วัน เช่นเดียวเมื่อแม่ไม่อยู่ครั้งไปญี่ปุ่นและคานาดาและเมื่อแม่ได้ออกไปเมืองจีนภายหลังการหย่าร้าง.

เมื่อเสร็จการถวายพระเพลิงย่าแล้ว พ่อได้กราบถวายบังคมลาพักผ่อนจากราชการชั่วคราว ทั้งนี้เพราะท่านทรงทำงานหนัก มิได้หยุดพักมานานแล้ว การมหาสงครามก็ได้จบลง ทหารอาสาทั้งกองบินและกองรถยนตร์ก็ได้กลับบ้านโดยเรียบร้อย

พ่อก็ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต จึงได้ตกลงจะเสด็จไปเมืองสิงคโปร์โดยเรือ แล้วจะเดินทางกลับขึ้นมาทางแหลมมลายูผ่านดินแดนไทยปักษ์ใต้โดยรถไฟ กลับกรุงเทพฯ โดยทางนั้น พ่อได้ทรงกะที่จะพาท่านหญิงชวลิตฯ กับข้าพเจ้าไปด้วย."

กรมพระจันทบุรีนฤนาถ – กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถพระอัยกา (ตา) และพระปัยกา (ทวด) ในรัชกาลที่ 10มหาอำมาตย์เอก นายพลตรี นายกองเ...
11/06/2025

กรมพระจันทบุรีนฤนาถ – กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ
พระอัยกา (ตา) และพระปัยกา (ทวด) ในรัชกาลที่ 10

มหาอำมาตย์เอก นายพลตรี นายกองเอก
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ
(8 มิถุนายน 2417 – 27 พฤษภาคม 2474)(57 ปี)
พระนามเดิมพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์
ต้นราชสกุลกิติยากร

ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 12
ในรัชกาลที่ 5 กับเจ้าจอมมารดาอ่วม (สกุลพิศลยบุตร)

ทรงดำรงตำแหน่งสำคัญหลายตำแหน่ง
ได้แก่ อภิรัฐมนตรี องคมนตรี สมุหมนตรี
ราชองครักษ์พิเศษ เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ

___________________

พลเอก พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ
(4 มกราคม 2441 – 11 กุมภาพันธ์ 2496)(55 ปี)
เมื่อแรกประสูติมีพระอิสริยยศที่
หม่อมเจ้านักขัตรมงคล

เป็นพระโอรสองค์ที่ 3
ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ
ประสูติแต่หม่อมเจ้าอัปสรสมาน เทวกุล

เป็นพระราชชนก (พ่อ) ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
สถาปนาขึ้นเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านักขัตรมงคล
และพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ ตามลำดับ

ทรงดำรงตำแหน่ง
เลขานุการเอกประจำสถานเอกอัครราชทูตไทย
ประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา
อัครราชทูตประจำราชสำนักเซนต์เจมส์ สหราชอาณาจักร
อัครราชทูตประจำประเทศเดนมาร์ก และฝรั่งเศส

หม่อมเจ้าพันธุ์สวลี-หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์พระราชปนัดดา (เหลนทวด) ร.5หม่อมเจ้าพันธุ์สวลี ยุคล(24 กันยายน 2476 - 10 มิถุนาย...
11/06/2025

หม่อมเจ้าพันธุ์สวลี-หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์
พระราชปนัดดา (เหลนทวด) ร.5

หม่อมเจ้าพันธุ์สวลี ยุคล
(24 กันยายน 2476 - 10 มิถุนายน 2568)(91 ปี)

เป็นพระธิดาองค์ใหญ่
ในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล
กับหม่อมหลวงสร้อยระย้า สนิทวงศ์

เป็นพระนัดดา (หลานปู่)
ในสมเด็จเจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร
กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ ต้นราชสกุลยุคล
พระราชโอรส ร.5
_________________

หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร
(สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
พระบรมราชชนนีพันปีหลวง)
(12 สิงหาคม 2475 – ปัจจุบัน)(92 พรรษา)

เป็นธิดาในหม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร
กับหม่อมหลวงบัว สนิทวงศ์

เป็นพระนัดดา (หลานปู่)
ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์
กรมพระจันทบุรีนฤนาถ ต้นราชสกุลกิติยากร
พระราชโอรส ร.5
_________________

หม่อมหลวงสร้อยระย้า สนิทวงศ์
กับหม่อมหลวงบัว สนิทวงศ์
เป็น “ลูกพี่ลูกน้อง” กัน
โดยเป็นหลานปู่ของพระวรวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ พระราชนัดดาในรัชกาลที่ 2)
_________________

แม้จะเป็นสายพระโลหิตชั้นเหลน ร.5 เช่นเดียวกัน
แต่มีสกุลยศหรือพระชาติกำเนิดต่างกัน

สมเด็จพระพันปีหลวง
พระราชสมภพเป็น ”หม่อมราชวงศ์“
เนื่ิองจากพระบิดาเป็น “หม่อมเจ้า”

มีลำดับดังนี้
ชั้นทวด - ร.5 + เจ้าจอมมารดาอ่วม
ชั้นปู่ย่า - พระองค์เจ้ากิติยากรฯ + ม.จ.อัปสรสมาน เทวกุล
ชั้นพ่อแม่ - ม.จ.นักขัตรมงคล + ม.ล.บัว สนิทวงศ์

_________________

ในขณะที่พระบิดาของหม่อมเจ้าพันธุ์สวลี
มีพระสกุลยศสูงกว่า
นับแต่ชั้นปู่ย่าซึ่งเป็นเจ้าฟ้ากับพระองค์เจ้า
(เจ้าฟ้ายุคลฯ กับพระองค์เจ้าเฉลิมเขตรฯ)
ในชั้นพระบิดาจึงเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า
ท่านหญิงพันธุ์สวลี จึงประสูติเป็น “หม่อมเจ้า”

มีลำดับดังนี้
ชั้นทวด
ร.5 + พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ฯ

ชั้นปู่ย่า
เจ้าฟ้ายุคลฯ + พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรฯ

ชั้นพ่อแม่
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์ภาณุพันธุ์ยุคล + ม.ล.สร้อยระย้า
สนิทวงศ์

_________________

หม่อมเจ้าพันธุ์สวลี
เสกสมรสกับหม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร
พระเชษฐาในสมเด็จพระพันปีหลวง

มีธิดา 2 คน คือ
หม่อมหลวงโสมสวลี กิติยากร
หม่อมหลวงสราลี กิติยากร

หม่อมหลวงโสมสวลี
ได้รับการสถาปนาเป็น
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี
พระวรชายา ในรัชกาลที่ 10
(เมื่อครั้งเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ)

(ทั้งสองพระองค์จึงมีศักดิ์เป็น ”ลูกพี่ลูกน้อง“)

ประสูติพระธิดา 1 พระองค์ คือ
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ
กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา

งามสมพระบรมราชินีเสด็จฯ ทอดพระเนตรการแสดงดนตรี กาชาดคอนเสิร์ต ครั้งที่ ๕๑ พุทธศักราช ๒๕๖๘ “ทะเลที่ทำให้เกิดความรัก ความส...
11/06/2025

งามสมพระบรมราชินี

เสด็จฯ ทอดพระเนตรการแสดงดนตรี
กาชาดคอนเสิร์ต ครั้งที่ ๕๑ พุทธศักราช ๒๕๖๘

“ทะเลที่ทำให้เกิดความรัก ความสามัคคี ความภาคภูมิ
อันเกิดมาจากความกล้าหาญของลูกทะเลแห่งราชนาวีไทย”

ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
เมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๖๘ เวลา ๑๙.๔๖ น. ที่ผ่านมา

“บ้านสยามธามันโญ”ของนพ.ชลน่าน ศรีแก้ว อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2568 เพจ หมอชลน่าน...
10/06/2025

“บ้านสยามธามันโญ”

ของนพ.ชลน่าน ศรีแก้ว
อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.)

เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2568 เพจ หมอชลน่านFcไม่มีดราม่า มีการเผยแพร่ภาพทำบุญขึ้นบ้านใหม่ของ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และภรรยา โดยทางเพจระบุว่า

"วันที่ 6 เดือน 6 บ้านสยามธามันโญ ทวีวัฒนา ทำบุญเลี้ยงพระ บ้านสไตล์นีโอเรเนอซองส์สถาปัตยกรรมยอดนิยมในสมัย ร.5 และที่ดินผืนนี้มีเอกสารสิทธิ 'ตราแดง รศ.๑๑๔' คู่ทรัพย์มา พวกเราหมอชลน่าน หมอก้อย หลังจากใช้เวลารีโนเวทบ้านเก่าหลังนี้จนเข้าอยู่อาศัยได้ จึงทำบุญเพื่อเป็นสิริมงคล"

ซึ่งบ้านหลังดังกล่าวไม่ทราบประวัติการสร้าง มีรูปแบบสถาปัตยกรรมนีโอเรเนอซองส์คล้ายกับที่นายมาริโอ ตามาญโญ สถาปนิกชาวอิตาลีในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ออกแบบไว้

“บ้านสยามธามันโญ” จึงตั้งชื่อพ้องเสียงเพื่อให้เกียรติและระลึกถึงนายมาริโอ ตามาญโญ โดยธามันแปลว่า อาณาจักรเทพเจ้า

เดิมบ้านหลังดังกล่าวถูกยึดทรัพย์บังคับคดีขายทอดตลาด และถูกทิ้งร้างมานานกว่า 30 ปี จนมีสภาพเป็นป่า และผู้ถือครองกรรมสิทธิ์ซึ่งเป็นชาวจีนได้ประกาศขาย หมอชลน่านและภรรยาจึงได้นำทรัพย์มรดกมาซื้อบ้านหลังนี้ไว้และซ่อมแซมปรับปรุงอนุรักษ์ให้คงอยู่ในสภาพเดิมและเพื่อจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ต่อไป

ที่มา fb : หมอชลน่านFcไม่มีดราม่า

เมื่อเจ้าฟ้าจักรพงษ์ฯ ทรงหย่า กับหม่อมคัทรินพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์พระโอรสของสมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ...
10/06/2025

เมื่อเจ้าฟ้าจักรพงษ์ฯ ทรงหย่า กับหม่อมคัทริน

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์
พระโอรสของสมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ
กับหม่อมคัทริน ได้ทรงบันทึกไว้
ในหนังสือเกิดวังปารุสก์ ตอนหนึ่งว่า

“เหตุการณ์ได้แตกหักลงในเวลาที่โรงเรียนนายร้อยกำลังปิดหยุดพักจากการเรียน ข้าพเจ้าลงไปในสวนเวลาเช้าวันหนึ่ง พบสุนัขอาลเซเซียน ลอร์ กำลังเดินเล่นอยู่ตัวเดียวอันเป็นของแปลก เพราะในตอนหลัง ๆ นั้น ลอร์ มักจะอยู่กับแม่เสมอ ชม (พี่เลี้ยง) บอกว่าแม่ได้ไปเมืองนอกอีกแล้ว

ต่อมาแม่ปั้มมาจากพญาไท อธิบายว่าพ่อกับแม่ได้หย่ากันแล้ว ข้าพเจ้ามึนหมดไม่ทราบว่าเกิดอะไรกัน ได้แต่เฝ้าคิดสงสัยว่าแม่ไปเมืองนอกคราวนี้จะเป็นเวลานานสักเท่าใด

ของที่แปลกมากก็คือ พ่อไม่ได้ทรงบอกข้าพเจ้าเลยว่าท่านกับแม่ได้หย่ากัน ท่านทรงทำเฉย ๆ เมื่อเช่นนั้นนั้นข้าพเจ้าก็
ทำเฉย ๆ เหมือนกัน

ข้าพเจ้ามาได้ทราบเรื่องราว ตั้งแต่ต้นจนปลายต่อเมื่อหลายปีภายหลัง เนื่องด้วยการหย่าร้างต่อกันระหว่างพ่อกับแม่ของข้าพเจ้านั้น ปรากฏว่ามีคนเอาใจใส่ถึงมิใช่น้อย แต่มักจะเข้าใจผิดไม่ทราบเรื่องราวละเอียด จับต้นชนปลายไม่ถูก

ฉะนั้นข้าพเจ้าจึงเห็นว่าควรจะบรรยายให้ทราบโดยสังเขป ให้ถูกต้องเป็นการยุติธรรมแก่ทั้งพ่อและแม่ เรื่องราวเป็นดังนี้

นับตั้งแต่แม่ยังอยู่ที่ญี่ปุ่นและคานาคา ได้มีผู้ที่ถือตนว่าเป็นเพื่อนของแม่ มีจดหมายไปเล่าว่าดูพ่อสนิทสนมกับท่านหญิงชวลิตฯ มากนัก ทางกรุงเทพฯ ก็มีคนพูดซิบกันมาก ต่างพากันสงสัยไปในทางไม่ดี ฉะนั้นเมื่อแม่กลับมากรุงเทพ ฯ นั้น ไม่สบายใจอยู่แล้ว จึงได้มีสีหน้าโศกเศร้าในเวลาดูละครที่โรงเรียนนายร้อย

แม่ได้ทูลถามพ่อเมื่อมีโอกาสถามได้ พ่อทรงตอบว่าไม่มีอะไรเลยเป็นแต่รักกันอย่างอากับหลานเช่นเดียวกับพี่พิมพ์ (หม่อมเจ้าพิมพ์รำไพ รพีพัฒน์)

ท่านหญิงชวลิตฯ ก็ยังคงมาที่วังปารุสก์อย่างบ่อย ๆ เช่นเดิม จนวันหนึ่งจึงบ่นกับพ่อว่า แม่ทำหน้าตาบูดเบี้ยวเมื่อเห็นเข้า นับตั้งแต่วันนั้นท่านหญิงชวลิตฯ ก็ไม่มาที่วังปารุสก์อีก.

นับตั้งแต่วันนั้นพ่อก็ไปหาท่านหญิงชวลิตฯ ที่วังเสด็จลุงกรมราชบุรีฯ แม่จึงขอให้หย่ากันเสียจะดีกว่า

ข้าพเจ้าได้อ่านลายพระหัตถ์พ่อมีถึงแม่ไม่ทรงเห็นด้วยเลยในการที่จะหย่าต่อกัน ท่านยังยืนยันว่ารักกันอย่างอากับหลาน ฉะนั้นจึงไม่จำเป็นจะต้องเลิกไปหาท่านหญิงชวลิตฯ ต่างฝ่ายจึงต่างยันต่อกัน ไม่ยอมแพ้ต่อกัน

ตามกฎหมายไทยในสมัยนั้น ภรรยาจะหย่าสามีเพราะสตรีอื่นไม่ใด้ แต่สามีจะหย่าภรรยาเพราะผู้ชายอื่นได้ เมื่อเช่นนั้นก็ต้องหย่ากันโดยวิธียินยอมกันทั้งสองฝ่าย

แม่มีทนายอังกฤษ มร.ไรท์ ส่วนทนายของพ่อนั้น คือเสด็จปู่สวัสดิ์ เมื่อตกลงหย่ากันแล้วก็มีเรื่องเงินรายจ่ายของแม่ ในชั้นต้นแม่บอกว่าไม่ต้องการเงินจากพ่อเลย เพราะแค้นใจอย่างยิ่งจึงไม่อยากจะรับเงินจากพ่อ

แต่ มร.ไรท์ มีใจดีอธิบายกับแม่ว่าการโกรธแค้นเคืองนั้นแม้จะรุนแรงมากในปัจจุบันทันด่วนก็จริง นานๆ เข้าแล้วมักจะคลายลง เมื่อหายโกรธแล้วไม่มีเงินเลยจะลำบากอย่างยิ่ง ในที่สุดแม่จึงยอมรับเงินทุน ๕ พันปอนด์สเตอร์ลิง และรายได้ประจำปีๆ ละ ๑,๒๐๐ ปอนด์

ของเพชรพลอยที่ย่าได้พระราชทานแม่เป็นอันมากเพราะเคยโปรดมากนั้น ย่าได้ทรงสั่งให้แม่ปั้มไปหาแม่ อธิบายว่าของเพชรเหล่านั้นเป็นของไทย แม่ไม่ควรเอาไปด้วย

ถ้าถวายคืนแก่พระองค์ท่านแล้ว ท่านจะพระราชทานแก่ข้าพเจ้าผู้เป็นลูกโดยตรง แม่ยินยอมถวายคืนโดยดี

แต่พ่อเมื่อทรงทราบเสียพระทัยมาก ข้าพเจ้าได้อ่านลายพระหัตถ์ที่มีถึงแม่ ทรงขอโทษแม่แทนพระมารดาของท่านที่ท่านว่าทรงทำผิด

ของเพชรพลอยเหล่านั้นได้พระราชทานกับแม่เป็นของส่วนตัว เมื่อแม่กับพ่อได้หย่าร้างกัน โดยแม่มิได้เคยมีความผิดอย่างใดเลย พ่อทรงเห็นว่าย่าไม่ควรจะทรงเรียกของเพชรเหล่านั้นคืน

บรรดาเข้าของอย่างใดที่พ่อได้ประทานแม่เป็นส่วนตัว ก็ได้ทรงอ้อนวอนขอให้แม่ไม่คืนแก่ท่านขอให้เอาไปใช้หรือเก็บไว้ตามใจ แม่ก็เอาไปบ้างพอสมควร เฉพาะอย่างยิ่งเข้าของบางสิ่งที่แม่รักหรือชอบเป็นพิเศษ ของที่แม่ทิ้งไว้กับพ่อก็มีเป็นอันมาก.

ย่านั้นทรงเกี่ยวข้องกับการหย่ากันครั้งนั้นโดยตรงแต่ก็น้อย แต่ข่าวเรื่องการหย่าอันสำคัญนั้นทำให้ไม่สบายพระทัย ฉะนั้นจึงอาจจะทำให้ไม่ทรงสบายทางพระกายมากขึ้นด้วยก็ได้

เมื่อกลับมาจากญี่ปุ่นและคานาดาใหม่ๆ แม่ก็ไปเฝ้าย่าบ่อยๆ ตามธรรมดา

วันหนึ่งแม่ได้ทูลบ่นถึงเรื่องพ่อกับท่านหญิงชวลิตฯ ย่าไม่ทรงเชื่อ หาว่าแม่ได้คิดไกลไปเช่นนั้นเอง พ่อกับท่านหญิง
ชวลิตฯ รักกันอย่างอากับหลาน

แม่ไม่ยอมเห็นด้วย ต่างฝ่ายต่างเถียงกัน ในที่สุดแม่จนปัญญาเลยโกรธและลุกขึ้นเดินออกจากห้องลืมที่จะหมอบกราบทูลลาและคลานออกจากห้องตามธรรมดา นับตั้งแต่วันนั้นแม่ก็มิได้ไปเฝ้าย่าอีกเลย

เมื่อแม่ไปแล้ว ย่าได้ทรงเรียกข้าพเจ้าไปเฝ้า จนใกล้บนพระแท่น ได้ทรงกอดจูบข้าพเจ้า แล้วรับสั่งว่าข้าพเจ้าไม่ต้องตกใจที่แม่ได้ไปเสียแล้ว พระองค์ท่านจะทรงรักและเลี้ยงดูข้าพเจ้าเองแทนแม่.

เมื่อแม่ออกไปจากเมืองไทย ก็ไปเมืองเซี่ยงไฮ้ ในประเทศจีน ทั้งนี้เพราะที่นั่นมิชนชาติรุสเซียที่หลบหนีภัยปฏิวัติมามากมายหลายแสนคน ภายในไม่ช้าแม่ก็ได้รับเลือกเป็นนายกสมาคมสงเคราะห์คนรุสเซียทั้งหลาย ทำงานหนักเพื่อช่วยเหลือคนเหล่านั้น

แช่ม คนใช้สนิทของแม่อยากจะติดตามไปด้วย แต่แม่ต้องห้ามไม่ให้ไปเพราะแช่มไม่สบายเลย แม้เมื่อครั้งที่ไปญี่ปุ่น
และคานาดากับแม่ แช่มก็ไม่สบายอยู่เกือบตลอดเวลาจนทำความลำยากให้กับแม่อยู่มาก ครั้นแม่ไปคราวนี้ก็มีคนใช้คนใหม่ชื่อ ส้วน อาสาไปด้วย แม่กับส้วนไปเช่าห้องอยู่ในบ้านที่เขาให้เช่าเป็นห้อง ๆ แต่กินอาหารรวมกัน

แต่แรกแม่คิดว่าถ้าทางรุสเซียมีสงครามกลางเมืองมีฝ่ายขาวจะพยายามต่อสู้ปราบปรามฝ่ายแดง คือ คอมมูนิสต์ แม่อาสาจะไปเป็นนางพยายาลช่วยในกองทัพของฝ่ายขาว แต่การสงครามกลางเมืองก็จบลงในไม่ช้าเพราะทางฝ่ายคอมมูนิสต์ชนะ เมื่อมีงานทำที่เซี่ยงไฮ้ ในการช่วยชาวรุสเซียที่ได้หนีมาจากภัยปฏิวัติ แม่ก็ค่อยสบายใจ

อีกประการหนึ่งการอยู่เมืองจีนนั้นแปลว่าได้อยู่ใกล้พี่ชายของแม่ คือลุงอิวาน ซึ่งได้เป็นคนใหญ่คนโตในวงการรถไฟจีน ทำงานอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ในการหย่ากับพ่อและออกเดินทางไปต่างประเทศ แม่มิได้เคยคิดที่จะพาข้าพเจ้าไปด้วยเลย ทั้งนี้เพราะแม่รู้สึกว่าข้าพเจ้าเกิดมาเป็นไทย ทั้งเป็นเจ้า จึงควรจะได้รับการอบรมอย่างคนไทย ส่วนแม่เองนั้นมิใช่แต่จะออกไปต่างประเทศเท่านั้น แม้ประเทศของตนเองก็ไม่มีที่จะไปอยู่.

ข้าพเจ้าทราบว่าการหย่ากันระหว่างพ่อกับแม่ครั้งนั้น ได้ทำให้คนโดยมากตื่นเต้นและประหลาดใจกันทั่วไป ทั้งนี้ เพราะใคร ๆ พากันคิดว่าพ่อเป็นบุรุษที่วิเศษ มีเมียคนเดียว และภายในเวลานานถึงเกือบสิบสามปี เกือบจะมิได้เหลียวแลผู้หญิงอื่นเลย ซึ่งส่วนมากก็เป็นความจริง มีบางคนรวมทั้งเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ที่เห็นว่าการหย่ากับแม่นั้นเป็นของดี

ข้าพเจ้าจำได้ว่าคืนหนึ่งข้าพเข้าได้ยินย่าท่านเล่ากับคนที่มาเฝ้าว่า เสด็จปู่เทวะวงศ์นั้นดีพระทัยมาก ได้รับสั่งว่า "เมื่อท่านกลับทรงนึกถึงพระราชวงศ์เสียได้เช่นนั้นก็เป็นของดีมาก" แต่ย่าดูเฉยๆ ไม่ทรงเอออวยด้วย ทูลหม่อมลุง (รัชกาลที่ 6) นั้นเมื่อแม่ไปทูลลาได้ทรงแสดงความเสียพระทัย ในหนังสือหย่านั้น เสด็จปู่สวัสดิ์ในฐานะเป็นทนายของพ่อ ได้ขอให้แม่คืนตราแลเหรียญรัตนาภรณ์ แม่ก็เซ็นว่ายอมคืน แต่ทูลหม่อมลุงกลับพระราชทานคืนให้กับแม่อีก

ครั้นเมื่อแม่ไปแล้วพ่อก็แสดงพระประสงค์ว่าจะแต่งงานกับท่านหญิงชวลิตฯ แต่ทูลหม่อมลุงไม่พระราชทานพระบรมราชานุญาตเลยทำให้ทูลหม่อมลุงกับพ่อนั้นเกิดตึงเครียดกันขึ้น ย่านั้นเข้ากับพ่อ เมื่อทูลหม่อมลุงไปเฝ้าย่า ซึ่งจะกลายเป็นครั้งสุดท้าย ย่าหันพระขนอง (หันหลัง) ให้เสียไม่ยอมรับ ทูลหม่อมลุงประทับคอยอยู่นานเท่าใด ย่าก็ไม่หันมาพบในที่สุดทูลหม่อมลุงก็ทูลลากลับ แม่กับลูกท่านก็มิได้พบกันอีก คงจะเป็นที่สลดพระทัยแก่ทูลหม่อมลุงเป็นที่สุด

ข้อที่แปลกมากก็คือ แม้ย่าจะพลอยกริ้วหม่อมลุงและเข้ากับพ่อ ครั้นพ่อทรงออกความเห็นว่าย่าควรจะแต่งท่านกับท่านหญิงชวลิตฯ ที่พญาไท ย่าท่านก็ทรงฟังแล้วก็คงนิ่งๆ อยู่เสีย นับแต่มีเรื่องนั้นขึ้น ย่ายังมิได้ทรงโปรดให้พ่อนำท่านหญิงชวลิตฯ เข้าเฝ้าเลย ดูประหนึ่งท่านยังทรงลังเลพระทัย ยังไม่สามารถจะตกลงพระทัยว่าจะรับรองการผันแปรทั้งหลายเหล่านั้นอย่างไร

แต่ข้อที่สำคัญในชีวิตของข้าพเจ้าก็คือ นับตั้งแต่แม่ได้ออกเดินทางไปแล้ว ทั้งย่าและพ่อได้ทรงเอาพระทัยใส่ ทรงรักและเอ็นดูในตัวข้าพเข้ายิ่งขึ้นอีกเป็นอันมาก อนึ่งเมื่อแม่ออกเดินทางไปแล้ว ท่านหญิงชวลิตฯ ก็มาที่วังปารุสก์อีกทุก ๆ วัน โดยที่พ่อไปรับเมื่อเสร็จราชการตอนเย็น แต่ไม่ได้มาค้างที่วังปารุสก์ ทั้งนี้ น่าจะเป็นเพราะพ่อยังคอยการเสกสมรส ซึ่งท่านได้ทูลขอให้ย่าทรงจัดทำที่พญาไท แต่ย่าท่านก็ยังทรงนิ่งอยู่เสียเฉยๆ.

ภายหลังจากที่แม่ไปเมืองนอก ได้มีอุบัติเหตุอันน่าหวาดเสียว ทั้งน่าสังเวชบังเกิดขึ้นที่วังปารุสก์

คือในเวลาเช้าเมื่อข้าพเจ้าลงบันไดมาขึ้นรถยนตร์จะไปโรงเรียน ได้เห็นคนพากันชุมนุมชุลมุนกันอยู่มาก มีรถพยาบาลจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มาจอดอยู่ มีเปลหามวางอยู่ริมถนน ที่เปลหามนั้นมีแช่มคนใช้สนิทของแม่นอนครางอยู่ เพราะเขายังไม่ทันได้หามเปลขึ้นใส่ในรถพยายาล เคราะห์ดีที่เขาได้เอาผ้าคลุมตัวแช่มไว้ ข้าพเจ้าจึงไม่เห็นว่าถูกบาดเจ็บอย่างใด

คือข้าพเจ้าได้ทราบภายหลัง ว่า แช่มได้ขึ้นไปบนตำหนักถึงชั้นสามแล้วจึงกระโดดลงมาแต่เคราะห์ร้ายที่ไม่ตายทันที ข้าพเข้าจึงได้พบกำลังนอนครางอยู่ ได้ทราบว่าไปตายที่โรงพยายาล

การที่แช่มกระโดดหน้าต่างตายนี้ คนโดยมากว่าเป็นเพราะเสียใจที่แม่ไม่สามารถพาไปเมืองจีนด้วย จนได้พูดกับคนอื่น ๆ ว่าจะไม่ยอมรับใช้ท่านหญิงชวลิตฯ แทนรับใช้แม่ เรื่องแช่มกระโดดหน้าต่างตายพ่อกริ้วมาก เมื่อข้าพเจ้าทูลถามท่านภายหลังว่าเพราะเหตุใดแช่มจึงได้ทำเช่นนั้น ท่านพระพักตร์บึ้งพลางทรงตอบว่า "เพราะแกเป็นบ้า"

ท่านผู้หญิงพันธุ์สวลี กิติยากร (เดิมหม่อมเจ้าพันธุ์สวลี ยุคล)สิ้นชีพิตักษัย 10 มิถุนายน 2568 ชันษา 91 ปีประสูติเมื่อวันท...
10/06/2025

ท่านผู้หญิงพันธุ์สวลี กิติยากร
(เดิมหม่อมเจ้าพันธุ์สวลี ยุคล)
สิ้นชีพิตักษัย 10 มิถุนายน 2568 ชันษา 91 ปี

ประสูติเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2476
เป็นพระธิดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล
กับหม่อมหลวงสร้อยระย้า ยุคล

เป็นพระมารดา
ในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี
กรมหมื่นสุทธนารีนาถ

เป็นพระอัยยิกา
ในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา
นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร
มหาวัชรราชธิดา

ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์
เมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2499
เพื่อสมรสกับหม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร
พระเชษฐาในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

มีธิดา 1 พระองค์กับ 1 คน คือ
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี
กรมหมื่นสุทธนารีนาถ (เดิมหม่อมหลวงโสมสวลี กิติยากร)
และหม่อมหลวงสราลี กิติยากร

เมนูพระกระยาหาร รัชกาลที่ 5 เสวยร่วมกับชาวบ้านครั้งเสด็จประพาสต้นรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสต้น 2 ครั้งครั้งแรกวันที่ 14 กรก...
10/06/2025

เมนูพระกระยาหาร รัชกาลที่ 5
เสวยร่วมกับชาวบ้านครั้งเสด็จประพาสต้น

รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสต้น 2 ครั้ง

ครั้งแรก
วันที่ 14 กรกฎาคม - 7 สิงหาคม 2447
รวมระยะเวลา 25 วัน
เสด็จฯ ยังเมืองต่าง ๆ อาทิ ราชบุรี
สมุทรสงคราม เพชรบุรี ฯลฯ

ครั้งที่ 2
วันที่ 27 กรกฎาคม - 29 สิงหาคม 2449
รวมระยะเวลา 34 วัน
คราวนี้เสด็จฯ ยังเมืองต่าง ๆ
เช่น นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ฯลฯ

ทรงสำราญพระราชหฤทัยเป็นอย่างมาก
เพราะเป็นไปตามพระราชประสงค์ทุกประการ
ทรงสามารถประทับปะปนกับราษฎร
โดยที่ราษฎรไม่รู้ตัว ทำให้ทรงทราบ
ถึงความเป็นอยู่และทุกข์สุขที่แท้จริง
ของพสกนิกรในพระองค์

นริศ จรัสจรรยาวงศ์ กล่าวถึงพระกระยาหาร
รัชกาลที่ 5 เมื่อคราวเสด็จประพาสต้น
ไว้ในหนังสือ “ตำรับสร้าง(รส)ชาติ” ว่า

ครั้งแรก พระองค์เสวยพระกระยาหาร
สำรับชาวบ้าน 3 มื้อ คือ มื้อแรกที่บ้านยายผึ้ง
หม้อข้าวกับกระบะไม้ไผ่ใส่ชามกะลา
มีผักกาดผัดหมู ปลาเค็ม น้ำพริก

มื้อ 2 เจ้าคุณสุนทรเทศาเมืองนครปฐม
แกงไก่มาเข้าร่วมสำรับกับพระองค์

และมื้อที่ 3 ที่บ้านนายช้างกับยายพลับ
ซึ่งไม่ได้ระบุอาหาร แต่ยายพลับ
ได้เข้าร่วมทำครัวกับคนของรัชกาลที่ 5 ด้วย

ส่วนการเสด็จประพาสต้นครั้งที่ 2
มีบันทึกพระกระยาหารไว้ 3 มื้อเช่นกัน
คือ มื้อแรกชาวบ้านทำขนมจีน
กับหมี่เลี้ยงที่พระราชวังบางปะอิน

มื้อ 2 ยายพลับกับลูกสาว
ทำแกงบะฉ่อกับแกงไก่เลี้ยง

และมื้อที่ 3 ภรรยาข้าราชการ
และผู้ดีในเมืองกำแพงเพชร
ทำสำรับเลี้ยงหลายสิบสำรับ

จะเห็นได้ว่า พระกระยาหาร รัชกาลที่ 5
เมื่อครั้งเสด็จประพาสต้นนั้น
เป็นอาหารที่ราษฎรกินกันโดยทั่วไป
และหลายเมนูก็ยังนิยมแพร่หลายมาถึงปัจจุบัน

เนื้อหา เว็บไซต์ศิลปวัฒนธรรม
ภาพ fb: raihangstory

ที่อยู่

Bangkok

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ Thai Classicผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

แชร์