
05/12/2020
เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
5 ธันวาคม 2563
น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ 🙏🏻
#วันพ่อแห่งชาติ
#วันชาติ
#วันดินโลก
สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน ปี พ.ศ. 2515 มีการประกาศจัดตั้งกรมวิชาการเกษตรขึ้น โดยรวมกรมกสิกรรมและกรมการข้าวเข้าด้วยกัน ในการแบ่งส่วนราชการนี้ กำหนดให้ กองค้นคว้าและทดลอง เปลี่ยนเป็น กองพืชไร่
ปี พ.ศ. 2525 ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมวิชาการเกษตรใหม่ ตามโครงการวิจัยเกษตรแห่งชาติ กองพืชไร่ได้ปรับโครงสร้างและเปลี่ยนชื่อเป็นสถาบันวิจัยพืชไร่ โดยแบ่งเป็นหน่วยงานส่วนกลางมี 3 ฝ่าย และส่วนภูมิภาค มี 8 ศูนย์วิจัยพืชไร่ และ 12 สถานีทดลองพืชไร่
ปี พ.ศ. 2545 มีการปฏิรูประบบราชการใหม่ กรมวิชาการเกษตรได้ปรับโครงสร้างเพื่อให้อำนาจการบริหารไปสู่ส่วนภูมิภาค โดยศูนย์วิจัยและสถานีทดลองพืชไร่เปลี่ยนไปสังกัดสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตต่างๆ และสถาบันวิจัยพืชไร่ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานประสานงานแผนงานวิจัยในระดับประเทศและต่างประเทศ ในพืชไร่ที่มีความสำคัญเชิงพาณิชย์
ปี พ.ศ.2552 กรมวิชาการเกษตร ปรับโครงสร้างใหม่ให้ศูนย์วิจัยพืชไร่ 6 แห่ง และศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมัน 2 แห่ง ทั้งพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน
ปี พ.ศ. 2555 เปลี่ยนชื่อเป็นสถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน เพิ่ม ศูนย์วิจัยพืชไร่เพชรบูรณ์ และศูนย์วิจัยพืชไร่สงขลา เป็นหน่วยงานภายใต้ความรับผิดชอบ
ปี พ.ศ. 2556 แยกศูนย์วิจัยเมล็ดพันธุ์พิษณุโลก อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของกรมฯ ปัจจุบัน สวร. มีหน่วยงานส่วนกลาง และส่วนภูมิภาคประกอบด้วย ศูนย์วิจัยพืชไร่ 8 แห่ง และศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมัน 2 แห่ง
เปิดเหมือนปกติ
เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
5 ธันวาคม 2563
น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ 🙏🏻
#วันพ่อแห่งชาติ
#วันชาติ
#วันดินโลก
วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน 2563 เวลา 10.00 น.
นางประพิศ วองเทียม ผู้เชี่ยวชาญด้านพืชไร่ พร้อมด้วยนางสาวน้ำผึ้ง ชมภูเขียว นักกีฏวิทยาปฏิบัติการ สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน กรมวิชาการเกษตร เข้าร่วมการเยี่ยมคารวะของ นายเจฟฟรีย์ ควินตัน มิตเชลล์ ดอยจ์ (H.E. Mr. Geoffrey Quinton Mitchell Doidge) เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ประจำประเทศไทย
เพื่ออำลาในโอกาสพ้นจากตำแหน่ง โดยมีผู้แทนหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เข้าร่วม โดยทั้ง 2 ฝ่ายได้ร่วมหารือถึงความร่วมมือของทั้ง 2 ประเทศ ซึ่งประเทศไทยพร้อมให้การสนับสนุนองค์ความรู้ทางด้านการเพาะปลูกข้าวและยางพาราแก่สาธารณรัฐแอฟฟริกาใต้ อีกทั้งยังพร้อมที่จะเปิดตลาดการค้าของทั้ง 2 ประเทศมากขึ้น ณ ห้องรับรองกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
DOAAlbum
วันที่ 18 พฤศจิกายน 2563 นางสาวอิงอร ปัญญากิจ รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ร่วมประุชมอนุคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์มันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ปี พ.ศ.2563 -2567 ครั้งที่ 1/2563 โดยมีนายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เป็นประธาน ณ ห้องประชุม1601 ชั้น16 อาคารกรมการค้าต่างประเทศ
นายอนุวัฒน์ จันทรสุวรรณ นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ รักษาการผู้อำนวยการกลุ่มวิชาการ เข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ครั้งที่ 11/2563 (งวดที่ 1) วันที่ 13 พฤศจิกายน 2563 เวลา 9.30 น. ณ ห้องประชุม 20610 ชั้น 6 กรมการค้าภายใน มีนายวัฒนศักดิ์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน เป็นประธานที่ประชุม มีประเด็นสำคัญ ได้แก่ การกำหนดราคาราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง งวดที่ 1 ประจำวันที่ 20 พฤศจิกายน 2563 เท่ากับ 8.05 บาทต่อกิโลกรัม ชดเชยกิโลกรัมละ 0.45 บาท มีเกษตรกรผู้ได้รับสิทธิ์ จำนวน 141,520 ครัวเรือน 213,844 แปลง 2,343,180 ไร่
กรมวิชาการเกษตร-thaidoa
นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร แจ้งเตือนเกษตรกรผู้ปลูกถั่วเขียวให้เฝ้าระวังการระบาดของโรคใบด่างถั่วเขียว เนื่องจากขณะนี้พบการระบาดในพื้นที่ปลูกถั่วเขียวที่สำคัญของประเทศแล้ว 6 จังหวัด ได้แก่ จ.เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ ชัยนาท อุทัยธานี พิจิตร และสุโขทัย รวมพื้นที่การระบาดทั้งหมดจำนวนกว่า 180,000 ไร่ โดยถั่วเขียวที่พบเป็นโรคใบด่างใบจะมีลักษณะด่างเหลือง การออกดอกและติดฝักน้อย หากเป็นโรคนี้แล้วจะทำให้ผลผลิตถั่วเขียวลดลงมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์หรือทำให้เกษตรกรไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เลย
.
สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือ พื้นที่พบการระบาดของโรคซึ่งเกษตรกรได้เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว และในส่วนที่กำลังจะเก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงกลางเดือนและปลายเดือนพฤศจิกายนนี้ ขอย้ำว่าให้นำผลผลิตที่เก็บเกี่ยวแล้วไปใช้ในอุตสาหกรรมการแปรรูปเพื่อการบริโภคเท่านั้น ไม่ควรนำเมล็ดจากแปลงที่เป็นโรคไปใช้เป็นเมล็ดพันธุ์เพื่อปลูกต่อในครั้งต่อไปอีก และไม่ควรปลูกซ้ำในพื้นที่เดิมที่มีการระบาดของโรค เพื่อตัดวงจรการแพร่ระบาดของโรค สำหรับผู้ประกอบการที่รับซื้อผลผลิตจากแปลงของเกษตรกรที่พบการระบาดของโรคก็เช่นกันไม่ควรนำเมล็ดมาจำหน่ายเพื่อขายเป็นเมล็ดพันธุ์อีกต่อไป
.
ขณะนี้กรมวิชาการเกษตรอยู่ระหว่างดำเนินการจำแนกชนิดไวรัสใบด่างถั่วเขียวที่ห้องปฏิบัติการสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืชเพื่อให้ทราบชื่อและชนิด เพื่อยืนยันลักษณะทางพันธุกรรมของเชื้อทั้งทางด้านชีววิทยา การถ่ายทอดโรค สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ผลกระทบ เพื่อจะได้ออกมาตรการในการป้องกันกำจัดโรคที่เหมาะสมต่อไป รวมทั้งยังได้ร่วมกับกรมส่งเสริมการเกษตรดำเนินการสำรวจโรคใบด่างถั่วเขียวโดยแบ่งพื้นที่สำรวจเป็น 2 ระยะ คือ ระยะต้นกล้า และระยะออกดอกติดฝัก โดยวางแผนการตรวจให้กระจายทั่วพื้นที่ปลูกถั่วเขียวในแต่ละอำเภอ
.
กรมวิชาการเกษตรกำลังวางแผนหามาตรการเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคใบด่างถั่วเขียวทั้งการตรวจสอบศัตรูพืชของเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวที่นำเข้าจากต่างประเทศ ตรวจคัดกรองเชื้อไวรัสใบด่างในเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวก่อนนำไปปลูก เพื่อสร้างความมั่นใจให้เกษตรกร และดำเนินการเฝ้าระวัง สร้างการรับรู้ถึงวิธีการป้องกันโรคใบด่างถั่วเขียวให้แก่เกษตรกร ผู้ประกอบการรับซื้อผลผลิตถั่วเขียว เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งผู้นำชุมชนภายในจังหวัดที่พบการระบาดของโรคใบด่างถั่วเขียว ให้ตื่นตัวและร่วมกันปฏิบัติตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร
.
อย่างไรก็ตาม ในระยะนี้ขอแจ้งเตือนและเน้นย้ำให้เกษตรกรเฝ้าระวังและหมั่นสำรวจแปลงปลูกถั่วเขียวอย่างสม่ำเสมอ สำหรับแปลงที่พบโรคยังสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตก่อนการไถกลบได้ แต่ต้องไม่เก็บเมล็ดจากแปลงที่เป็นโรคไปใช้เป็นเมล็ดพันธุ์ ควรปลูกพืชหมุนเวียน ใช้เมล็ดพันธุ์สะอาด และทำความสะอาดอุปกรณ์เครื่องมือและเครื่องจักรกลทางการเกษตรที่ใช้ในการเก็บเกี่ยวผลผลิตทุกครั้ง หากพบต้นถั่วเขียวมีลักษณะคล้ายเป็นโรคใบด่างสามารถแจ้งได้ที่หน่วยงานในส่วนภูมิภาคของกรมวิชาการเกษตร ได้แก่ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตร ศูนย์วิจัยพืชไร่ และศูนย์วิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืช ที่อยู่ใกล้บ้านของท่าน หรือ สายด่วนเฝ้าระวังโรคใบด่างถั่วเขียว โทรศัพท์ 06 1415 2517
กรมวิชาการเกษตรเตือนภัยโรคใบด่างถั่วเขียวระยะนี้ l คู่ข่าวเสาร์ อาทิตย์ 8 พ.ย.63 ช่อง9 MCOT HD - YouTube
โรคราน้ำค้างในข้าวโพด
ระวังโรคราน้ำค้างในข้าวโพด
เตือนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด ให้หมั่นสังเกตอาการของโรคราน้ำค้าง มักพบแสดงอาการในระยะที่เริ่มเพาะปลูกถึงระยะที่ต้นข้าวโพดมีอายุประมาณ 30 วัน ซึ่งในระยะนี้ต้นข้าวโพดจะอ่อนแอต่อโรคนี้มาก โดยอาการของโรคจะพบได้ตั้งแต่ข้าวโพดเริ่มงอก เริ่มแรกจะพบจุดเล็กๆ สีเขียวฉ่ำน้ำ บนใบอ่อน ต่อมาใบข้าวโพดบริเวณยอดมีสีเหลืองซีด หรือใบลายเป็นทางสีเขียวอ่อนสลับเขียวแก่ ในเวลาเช้าที่มีอากาศค่อนข้างเย็นและความชื้นสูง ด้านใต้ใบมักพบส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อราเป็นผงสีขาวจำนวนมาก บางครั้งพบยอดข้าวโพดแตกเป็นพุ่ม ต้นแคระแกร็น เตี้ย ข้อถี่ ไม่มีฝักหรือมีฝักขนาดเล็ก ก้านฝักมีความยาวมากหรือมีจำนวนฝักมากกว่าปกติ แต่ฝักจะไม่สมบูรณ์ เช่น มีจำนวนเมล็ดน้อย หรือไม่มีเมล็ดเลย
สำหรับแหล่งที่เคยมีการระบาดของโรค หากสภาพแวดล้อมเหมาะสม คือ มีอุณหภูมิต่ำ และมีความชื้นในอากาศสูง เมื่อข้าวโพดมีอายุ 5-7 วัน เกษตรกรควรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชไดเมโทมอร์ฟ 50% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 20-30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารเมทาแลกซิล 25% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30-40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพ่นทุก 7 วัน และพ่นติดต่อกัน 3-4 ครั้ง
นอกจากนี้ ในฤดูเพาะปลูกข้าวโพดถัดไป เกษตรกรควรเลือกใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดที่ต้านทานโรค และคลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูกด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชเมทาแลกซิล 35% ดีเอส อัตรา 7-10 กรัมต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม หรือสารเมทาแลกซิล-เอ็ม 35% อีเอส อัตรา 3.5 มิลลิลิตรต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม หลีกเลี่ยงการเพาะปลูกข้าวโพดในฤดูฝนที่มีสภาพอากาศเหมาะสมต่อการระบาดของโรครุนแรง กรณีพบเริ่มระบาด ให้ถอนต้นกล้าข้าวโพดที่แสดงลักษณะอาการของโรคไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกทันที เนื่องจากเชื้อสาเหตุโรค สามารถเข้าทำลายต้นข้าวโพดได้ตั้งแต่ในระยะที่ข้าวโพดเริ่มงอก ซึ่งการพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชหลังจากต้นข้าวโพดอายุ 20 วันขึ้นไป จะไม่สามารถป้องกันกำจัดโรคนี้ได้
นางประพิศ วองเทียม ผู้เชี่ยวชาญด้านพืชไร่ และนายชูศักดิ์ คุณุไทย นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ เข้าร่วมประชุมคณะทำงานป้องกันและเฝ้าระวังการเผาเศษซากพืชหรือวัชพืชและเศษวัสดุทางการเกษตรในพื้นที่การเกษตร ครั้งที่ 3/2563 โดยมี ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2563 เวลา 14.00 ณ ห้องประชุม 135 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อพิจารณากำหนดพื้นที่เป้าหมายและมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่เกษตรกรรม
สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร
พบถั่วเขียวต้องสงสัยโรคใบด่าง เกษตรฯ เร่งสกัดก่อนลุกลาม วางแผนสำรวจพื้นที่ปลูกทั่วประเทศ
กรมวิชาการเกษตร ลุยตรวจแปลงถั่วเขียวเมืองชาละวัน และมะขามหวาน หลังพบอาการใบด่างเหลืองแปลงถั่วเขียวจังหวัดชัยนาทและนครสวรรค์ 6,000 ไร่ ดึงกรมส่งเสริมการเกษตรเป็นแนวร่วม ปูพรมสำรวจพื้นที่ปลูกถั่วเขียวทั่วประเทศ ชี้ความรุนแรงโรคขั้นสุดเก็บผลผลิตไม่ได้ เตือนเกษตรกรตื่นตัวหากพบอาการต้องสงสัยใบด่างแจ้งสายด่วนทันที
นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ เจ้าหน้าที่จากศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ และสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร ได้ลงพื้นที่สำรวจแปลงปลูกถั่วเขียวของเกษตรกรที่จังหวัดชัยนาทและนครสวรรค์ เนื่องจากได้รับรายงานพบถั่วเขียวมีลักษณะใบด่างเหลือง จึงได้เก็บตัวอย่างใบ ยอด ของถั่วเขียวที่แสดงอาการใบด่างคล้ายไวรัส นำกลับมาตรวจวินิจฉัยภายในห้องปฏิบัติการของสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช ซึ่งผลการตรวจวินิจฉัยในเบื้องต้นพบว่า เกิดจากเชื้อไวรัส 2 วงศ์ คือ Geminiviridae : Begomovirus และ Potyviridae : Potyvirus โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการจำแนกชนิดของเชื้อสาเหตุ เพื่อให้ทราบชื่อและชนิด เพื่อยืนยันลักษณะทางพันธุกรรมของเชื้อทั้งทางด้านชีววิทยา การถ่ายทอดโรค สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ผลกระทบ และมาตรการในการป้องกันกำจัดโรค
สถานการณ์การระบาดในขณะนี้พบถั่วเขียวแสดงอาการคล้ายไวรัสที่ อำเภอตากฟ้า และอำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ ประมาณ 4,000 ไร่ อำเภอลานสัก และ อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี พบประมาณ 2,000 ไร่ โดยลักษณะอาการที่พบคือใบมีลักษณะด่างเหลือง การออกดอกและติดฝักน้อย ซึ่งอาการนี้จะพบในทุกระยะการเจริญเติบโต กรณีติดฝัก ฝักจะมีลักษณะโค้งงอ เล็กลีบ ดังนั้นจึงต้องมีการสำรวจและเก็บตัวอย่างลักษณะอาการใบด่างของถั่วเขียวในแหล่งปลูกถั่วเขียวในประเทศไทย และกำหนดมาตรการในการป้องกันกำจัด เพื่อเป็นการจำกัดขอบเขตของโรคนี้ไม่ให้ลุกลามไปยังแหล่งปลูกถั่วเขียวอื่น ๆ ที่ยังไม่มีการระบาดของโรค โดยขณะนี้กรมวิชาการเกษตรได้เร่งสำรวจพื้นที่ปลูกถั่วเขียวเพิ่มเติมที่ อำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตร ซึ่งมีพื้นที่ปลูกถั่วเขียวทั้งหมดจำนวนประมาณ 26,000 ไร่ อำเภอวิเชียรบุรี และอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ พื้นที่ปลูกทั้งหมดจำนวนประมาณ 155,000 ไร่ โดยขณะนี้ยังไม่ได้รับรายงานการระบาดในเขตพื้นที่ปลูกถั่วเขียวภาคเหนือตอนบน
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการเฝ้าระวังการระบาดของโรคไม่ให้แพร่กระจายจนส่งผลกระทบในวงกว้าง กรมวิชาการเกษตรได้จัดทำแผนปฏิบัติงานฉุกเฉินกรณีตรวจพบโรคใบด่างถั่วเขียวในประเทศไทยโดยจัดประชุมชี้แจงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมส่งเสริมการเกษตร และผู้ประกอบการที่รับซื้อ รวมทั้งยังได้ร่วมกับกรมส่งเสริมการเกษตรดำเนินการสำรวจโรคใบด่างถั่วเขียวพื้นที่ปลูกถั่วเขียวในประเทศไทย โดยแบ่งพื้นที่สำรวจเป็น 2 ระยะ คือ ระยะต้นกล้า (15-20 วันหลังปลูก) และระยะออกดอกติดฝัก (35-45 วันหลังปลูก) พร้อมกับวางแผนการสำรวจตามคู่มือของกรมวิชาการเกษตรโดยให้กระจายทั่วพื้นที่ปลูกในแต่ละอำเภอ
ในระยะนี้ขอแจ้งเตือนเกษตรกรให้เฝ้าระวังและหมั่นสำรวจแปลงปลูกถั่วเขียวอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากหากเกิดการระบาดของโรคจะทำให้ผลผลิตลดลงมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์หรือไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เลย สำหรับแปลงที่พบโรคยังสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตก่อนการไถกลบได้ แต่ต้องไม่เก็บเมล็ดจากแปลงที่เป็นโรคไปใช้เป็นเมล็ดพันธุ์ ควรปลูกพืชหมุนเวียน ใช้เมล็ดพันธุ์สะอาด และควรทำความสะอาดอุปกรณ์เครื่องมือและเครื่องจักรกลทางการเกษตรที่ใช้ในการเก็บเกี่ยวผลผลิตทุกครั้ง หากพบแปลงปลูกใดมีใบลักษณะด่างเหลือง ออกดอกและติดฝักน้อย ฝักมีลักษณะโค้งงอเล็ก ลีบ ขอให้แจ้งสายด่วนเฝ้าระวังโรคใบด่างถั่วเขียว 06 1415 2517 หรือ กลุ่มวิจัยการกักกันพืช กรมวิชาการเกษตร โทรศัพท์ 0 2561 2145 ต่อ 101
โรคใบด่างถั่วเขียว
นางสาวตรียนัย ตุงคะเสน นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ และนายชูศักดิ์ คุณุไทย นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ และการพัฒนาแนวทางการควบคุมการเผาในพื้นที่เพาะปลูกเพื่อร่วมแก้ไขปัญหา PM2.5 .ในประเทศไทย
วันที่ 27 ตุลาคม 2563 เวลา 8.30 – 12.30 น.
ณ ห้องประชุม cosmos ชั้น 4 โรงแรมเบสท์ เวสเทิร์น พลัส แวนดา แกรนด์ แจ้งวัฒนะ จังหวัดนนทบุรี จัดโดยสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อรวบรวมข้อมูล สถานการณ์ และแนวทางการแก้ไขปัญหาการเผา แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น มุมมอง จากกลุ่มเกษตรกรในระดับพื้นที่ และหน่วยงานภาครัฐในระดับนโยบายต่อโอกาส และความท้าทายเชิงนโยบายและการปฏิบัติในการลดและควบคุมการเผาภาคการเกษตร
นางเพียงใจ จินดายะพานิชย์ ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารโครงการวิจัย รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน พร้อมด้วยข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และพนักงานราชการ ร่วมทำกิจกรรมบำรุงรักษาต้นไม้ ด้วยการกำจัดวัชพืช พรวนดิน ใส่ปุ๋ย ตัดแต่งกิ่งไม้ และรดน้ำต้นไม้ บริเวณพื้นที่สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน กรมวิชาการเกษตร เนื่องในโอกาส "วันรักต้นไม้ประจำปีของชาติ พ.ศ. 2563 เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหกรุณาธิคุณของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และเป็นการสร้างจิตสำนึกให้เกิดความรักความหวงแหนทรัพยากรป่าไม้ของชาติ
นางสาวสุรีรัตน์ ทองคำ และ นายชูศักดิ์ คุณุไทย ร่วมเป็นตัวแทนกรมวิชาการเกษตร ถวายพวงมาลาในกิจกรรมน้อมรำลึกเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
วันปิยมหาราช 23 ตุลาคม 2563
ณ บริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 5
กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ถนนพหลโยธิน กรุงเทพฯ
นางสาวตรียนัย ตุงคะเสน นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ เข้าร่วมประชุมทบทวนแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง”ฯ วันที่ 21 ตุลาคม 2563 เวลา 9.00 – 12.00 น. ณ ห้องประชุม 301 กรมควบคุมมลพิษ ชั้น 3 ถนนพหลโยธิน เขตพญาไท กรุงเทพฯ มีนายเถลิงศักดิ์ เพชร์สุวรรณ รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ เป็นประธานที่ประชุม เพื่อทบทวน แก้ไข เพิ่มเติม แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” ประเด็นการเผาในที่โล่ง ภาคการเกษตร
คนเชียงราย ปลูกอ้อยไข่ ไม่ได้เอาน้ำตาล แต่กินเป็นผัก...แปลกจริง
อ้อยไข่ ท่านผู้อ่านคงจะแปลกใจในชื่อไม่น้อย ที่มาของชื่อ …
นายอนุวัฒน์ จันทรสุวรรณ นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ รักษาการผู้อำนวยการกลุ่มวิชาการ เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการอ้อยครั้งที่ 6/2563 (งวดที่ 11) วันที่ 15 ตุลาคม 2563 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ชั้น 1 ถนนพระราม 6 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ โดยมี นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นประธานที่ประชุม ประเด็นสำคัญ ได้แก่
1. การดำเนินการตามมติคณะกรรมการอ้อยเรื่องการเพิ่มหรือลด โครการพัฒนาด้านอ้อย และการติดตามผลการดำเนินงาน
2. พิจารณาต้นทุนการผลิตอ้อยปีการผลิต 2563/64 จากการเก็บข้อมูลตามวิธีการทางสถิติของคณะวิจัยจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น
3. การเสนอวิธีการคำนวณต้นทุนการผลิตอ้อยแบบใหม่โดยการแบ่ง cluster เพื่อให้เกิดความถูกต้องใกล้เคียงกับข้อมูลจริง
นายอนุวัฒน์ จันทรสุวรรณ นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ รักษาการผู้อำนวยการกลุ่มวิชาการ เข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ครั้งที่ 10/2563 (งวดที่ 11) วันที่ 15 ตุลาคม 2563 เวลา 9.30 น. ณ ห้องประชุม 20610 ชั้น 6 กรมการค้าภายใน มีนายวัฒนศักดิ์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน เป็นประธานที่ประชุม มีประเด็นสำคัญ ได้แก่
1. ความคืบหน้าผลการดำเนินงานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2562/63 งวด ที่ 10
2. การกำหนดราคาราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงเท่ากับ 8.45 บาท ชดเชยแก่เกษตรกรกิโลกรัมละ 0.05 บาท
3. พิจารณาหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2563/64 โดยใช้แนวทางดำเนินการเช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา กำหนดผลผลิตต่อไร่เท่ากับ 713 กิโลกรัม และใช้ข้อมูลเนื้อที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ของจังหวัดที่เป็นแหล่งผลิตสำคัญ 10 อันดับแรกเพื่อถ่วงน้ำหนักในการพิจารณาการชดเชยต่อไป
วันที่ 6 ตุลาคม 2563 นางเพียงใจ จินดายะพานิชย์ รักษาการผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน พร้อมด้วยผู้บริหารสถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน (เข้าร่วมผ่านระบบ VDO Conference)
ให้การต้อนรับ นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร และนำเสนอภารกิจ แผน ผลการดำเนินงานภาพรวม ณ ห้องประชุม 107 สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน
วันที่ 11 กันยายน 2563 สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน นำโดย ดร. วารีย์ ทองมี ผู้แทนกรมวิชาการเกษตร เข้าร่วมประชุมสรุปผลการสำรวจภาวะการผลิตและการค้ามันสำปะหลัง ฤดูการผลิตปี 2563/2564 ในพื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังในภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูกมันสำปะหลังจำนวน 51 จังหวัด ซึ่งดำเนินการสำรวจ ครั้งที่ 1 วันที่ 30 กรกฎาคม -1 สิงหาคม ครั้งที่ 2 วันที่ 8-12 สิงหาคม และครั้งที่ 3 วันที่ 6-11 กันยายน 2563
สรุปผลการสำรวจได้ดังนี้
- พื้นที่เก็บเกี่ยวคาดว่าเพิ่มขึ้นจากปี 2562/2563 จาก 8.701 ล้านไร่ เป็น 9.003 ล้านไร่ หรือ ร้อยละ 3.47
- ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ คาดว่าเพิ่มขึ้นจาก 2.908 ตัน เป็น 3.145 ตัน หรือร้อยละ 8.15
- ผลผลิตรวม คาดว่าเพิ่มขึ้นจาก 25.304 ล้านตัน เป็น 28.319 ล้านตัน หรือร้อยละ 11.91
วันที่ 8 กันยายน 2563 นางสาวเสริมสุข สลักเพ็ชร์
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ให้เกียรติเป็นประธาน
ในพิธีเปิดการประชุมวิชาการสถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน ประจำปี 2563 ในหัวข้อ การบริหารจัดการงานวิจัยและงานผลิตพันธ์ุพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน ระหว่างวันที่ 8-9 กันยายน 2563
ณ ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี อ. อู่ทอง
จ. สุพรรณบุรี
สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน's cover photo
กลุ่มงานวิจัยการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช
🐛🐛🐛ดักแด้ของหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด Spodoptera frugiperda (J.E. Smith) ที่ระบาดอย่างรุนแรงในอำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์ ได้เริ่มทยอยออกจากดักแด้แล้วค่ะ
📌📌📌นี่เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งที่เก็บตัวอย่างมาจากพื้นที่ประมาณ 1 ตารางเมตรเท่านั้น ขอขอบคุณพี่สาวคนสวยของเรา พี่นุ๊ก จากกรมส่งเสริมการเกษตร ที่กรุณาเก็บตัวอย่างมาให้ค่ะ
ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท
🌱🌱🌱🌧🌧🌧📢📢📢ถั่วเขียว พันธุ์ชัยนาท 3 เริ่มจำหน่ายในวันที่ 17 สิงหาคม 2563 กรุณามาซื้อด้วยตนเอง ไม่มีการจองหรือฝากซื้อ เนื่องจากเกษตรกรให้ความสนใจและต้องการเมล็ดพันธุ์จำนวนมาก🌱🌱🌱🌧🌧🌧📢📢📢
เกษตรฯ เร่งตัดวงจรโรคใบด่างมันสำปะหลัง
ก.เกษตรฯ สั่งยกระดับโรคใบด่างมันสำปะหลัง หลังระบาดเพิ่มหลายจังหวัด เร่งทำลาย-ควบคุมเคลื่อนย้ายท่อนพันธุ....
สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน's cover photo
ขอพระองค์ทรงพระเจริญ
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า ข้าราชการ และพนักงานราชการ สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน
สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร
กะเพรา โหระพา แมงลัก ระวังแมลงหวี่ขาวยาสูบระบาด
อุณหภูมิสูงในเวลากลางวัน และอุณหภูมิต่ำในเวลากลางคืนมีความชื้นในอากาศสูง กะเพรา โหระพา แมงลัก ในระยะเก็บเกี่ยว ระวังแมลงหวี่ขาวยาสูบ โดยตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบ มักพบบริเวณหลังใบ ส่วนกลางของลำต้น นอกจากนี้ยังเป็นพาหะนำเชื้อไวรัส ที่ให้เกิดโรคด่างเหลือง
แนวทางป้องกันกำจัด
๑. หมั่นสำรวจแปลงปลูก โดยเดินสำรวจแบบสลับฟันปลา สัปดาห์ละครั้ง
๒. ถ้าพบตัวอ่อนแมลงหวี่ขาวยาสูบมากกว่า ๒ ตัวต่อใบ พ่นด้วยสารฆ่าแมลง บูโพรเฟซิน ๔๐% เอสซี อัตรา ๒๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร หรือ อิมิดาโคลพริด ๗๐% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา ๑๒ กรัมต่อน้ำ ๒๐ ลิตร หรือ ไทอะมีทอกแซม ๒๕% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา ๑๒ กรัมต่อน้ำ ๒๐ ลิตร หรือ ไดโนทีฟูแรน ๑๐% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา ๒๐ กรัมต่อน้ำ ๒๐ ลิตร หรือ ปิโตรเลียมสเปรย์ออยล์ ๘๓.๙% อีซี อัตรา ๑๕๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร เลือกใช้สารเคมีชนิดใดชนิดหนึ่ง โดยพ่นสารติดต่อกัน ๒-๓ ครั้ง ห่างกัน ๗ วัน
**** ไม่ควรพ่นสารชนิดใดชนิดหนึ่ง ติดต่อกันหลายครั้ง เพราะจะทำให้แมลงหวี่ขาวยาสูบต้านทานต่อสารฆ่าแมลงได้
Bangkok
10900
จันทร์ | 08:30 - 16:30 |
อังคาร | 08:30 - 16:30 |
พุธ | 08:30 - 16:30 |
พฤหัสบดี | 08:30 - 16:30 |
ศุกร์ | 08:30 - 16:30 |
รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงานผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา
Soil Science Research Group DOA
กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา 50 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักรSEAFDEC - Southeast Asian Fisheries Developme
50 Surassawadee Bld., Department of Fisheries, Kasetsart UniversityNetwork of Aquaculture Centres in Asia-Pacifi
Suraswadi Building, Department of Fisheriesคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
50 ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักรForest Management ภาควิชาการจัดการป่าไม้
ภาควิชาการจัดการป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 50 ถนนงามวงศ์วาน ลาดยาว จตุจักรศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเส
ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตรศูนย์ปฏิบัติการเศรษฐกิจการเกษตร - AEOC
50 ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แขวงลาดยาว เขตจตุจักรกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธ
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ อาคารเอ ชั้น 9กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
990 ถ.พระราม 4 สีลม บางรัก