กองส่งเสริมโครงการพระราชดำริ การจัดการพื้นที่และวิศวกรรมเกษตร

กองส่งเสริมโครงการพระราชดำริ การจัดการพื้นที่และวิศวกรรมเกษตร หน่วยงานภายใต้กรมส่งเสริมการเกษตร
2143/1 ถ.พหลโยธิน ลาดยาว จตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทร. 025793804

กลุ่มพัฒนาพื้นที่พิเศษ************************    วันที่ 10-11 มิถุนายน 2568 นายวุฒิศักดิ์ เพชรมีศรี ผู้อำนวยการกองส่งเส...
11/06/2025

กลุ่มพัฒนาพื้นที่พิเศษ
************************
วันที่ 10-11 มิถุนายน 2568 นายวุฒิศักดิ์ เพชรมีศรี ผู้อำนวยการกองส่งเสริมโครงการพระราชดำริ การจัดการพื้นที่และวิศวกรรมเกษตร มอบหมายให้เจ้าหน้าที่กลุ่มพัฒนาพื้นที่พิเศษ เข้าร่วมงานประชุมวิชาการด้านความหลากหลายทางชีวภาพกับการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ในหัวข้อ "Biodiversity & Bioeconomy Forum 2025" : ธรรมชาติเพื่อชีวิต เศรษฐกิจเพื่อการอนุรักษ์" โดยมี ดร. เกษมสันต์ จิณณวาโส ประธานกรรมการสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ เป็นประธาน มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากฐานทรัพยากรชีวภาพ และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ชุมชน และหน่วยงานภาคการศึกษา ณ โรงแรมเซ็นทารา ไลฟ์ ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ
นอกจากนี้ ภายในงานมีการนำเสนอผลงานทางวิชาการ การจัดเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การนำเสนอการยกระดับบริการระบบฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย การบูรณาการองค์ความรู้ร่วมกับเยาวชน ความร่วมมือกับภาคธุรกิจ และการจัดนิทรรศการแสดงผลงานของชุมชนเครือข่าย/วิสาหกิจชุมชน เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้ที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน รวมทั้งยังสร้างความตระหนักรู้ถึงคุณค่าของทรัพยากร ยกระดับการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่ชุมชนท้องถิ่นและเป็นโอกาสการเติบโตทางเศรษฐกิจต่อไป

ข้อมูล : กลุ่มพัฒนาพื้นที่พิเศษ กพวศ.
ภาพ : กลุ่มพัฒนาพื้นที่พิเศษ กพวศ.
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ สพภ.

กลุ่มเกษตรชลประทาน*********************************          วันที่ 4 มิถุนายน 2568 นายวุฒิศักดิ์ เพชรมีศรี ผู้อำนวยการก...
05/06/2025

กลุ่มเกษตรชลประทาน
*********************************

วันที่ 4 มิถุนายน 2568 นายวุฒิศักดิ์ เพชรมีศรี ผู้อำนวยการกองส่งเสริมโครงการพระราชดำริ การจัดการพื้นที่และวิศวกรรมเกษตร ในฐานะผู้แทนกรมส่งเสริมการเกษตร(คณะทำงาน) พร้อมด้วยนางวิจิตรา เชาวะเจริญ ผู้อำนวยการกลุ่มเกษตรชลประทาน เข้าร่วมการประชุมคณะทำงานอำนวยการบริหารจัดการน้ำส่วนหน้า (ชั่วคราว) ในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออกและลุ่มน้ำบางปะกง ครั้งที่ 1/2568 ผ่านระบบ Webex Application

การประชุมครั้งนี้ ดำเนินการเพื่อเตรียมความพร้อมในการแก้ไขปัญหาจากอิทธิพลของมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกันมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ทำให้บริเวณภาคตะวันออกมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมาก อาจส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำท่วมขังได้ จึงจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก และลุ่มน้ำบางปะกง ตามมาตรการที่ 6 ซักซ้อมแผนเผชิญเหตุตั้งศูนย์ส่วนหน้าก่อนเกิดภัยและฟื้นฟูสภาพให้กลับสู่สภาพปกติ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ติดตามประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำและอำนวยการหน่วยงานในพื้นที่บริหารจัดการมวลน้ำในช่วงฤดูฝนให้เกิดความเป็นเอกภาพจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลายโดยเร็ว โดยผู้แทนกรมส่งเสริมการเกษตรร่วมเป็นคณะทำงาน

คณะทำงานฯ มีหน้าที่และอำนาจในการติดตามและประสานแก้ไขปัญหาอุปสรรคในพื้นที่ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออกและลุ่มน้ำบางปะกง บูรณาการเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศทรัพยากรน้ำจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อคาดการณ์และวิเคราะห์สภาพอากาศ ปริมาณน้ำในลำน้ำ แหล่งเก็บน้ำ พื้นที่น้ำหลาก และประชาสัมพันธ์ข้อมูลสถานการณ์น้ำในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง อำนวยการ บูรณาการ ติดตาม และตรวจสอบการบริหารจัดการน้ำและประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขสถานการณ์น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่มและอุทกภัยในพื้นที่ให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว และสนับสนุนข้อมูลการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในกับ กนช. และศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่มอย่างต่อเนื่อง

สถานการณ์ฝนและการคาดการณ์บริเวณลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก ในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน อาจมีพายุลมแรงมีฝนตกเป็นบริเวณกว้าง มีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่และคลื่นลมมีกำลังแรง สถานการณ์ระดับน้ำปัจจุบันยังไม่มีระดับน้ำล้นตลิ่ง สถานการณ์ในอีก 7 วันข้างหน้าอาจมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักในบางแห่งในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี และตราด สถานการณ์อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย สถานการณ์อ่างเก็บน้ำขนาดกลางมีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำปกติ สถานการณ์น้ำท่าในพื้นที่ลุ่มน้ำบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรามีฝนตกบริเวณแม่น้ำบางปะกงแต่ยังอยู่ในเกณฑ์น้ำต่ำกว่าตลิ่ง ในส่วนของสถานการณ์ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออกพบว่ามีฝนตกหนักบริเวณจังหวัดตราดปริมาณน้ำยังอยู่ในเกณฑ์น้ำต่ำกว่าตลิ่ง โดยรวมระดับน้ำยังอยู่ในภาวะปกติ ปริมาณฝนสะสม 1 มกราคม – 3 มิถุนายน 2568 มีปริมาณฝนสะสมมากกว่าค่าปกติ 33% และปริมาณฝนคาดการณ์พบว่าในช่วงเดือน ตุลาคม – พฤศจิกายน จะมีปริมาณฝนคาดการณ์สูงกว่าค่าปกติ

ศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้า (ชั่วคราว) จะดำเนินการบูรณาการในการดำเนินการแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 7 ขั้นตอน คือ
1. ติดตามสถานการณ์ หน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ อต. สสน. ทน. ทธ. ชป. และ กฟผ.
2. จัดทำแผนที่เสี่ยงภัย หน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ GISTDA
3. วิเคราะห์ ชี้เป้าพื้นที่เสี่ยง หน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ สทนช .และ สสน.
4. ออกประกาศแจ้งเตือน หน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ สทนช.
5. จัดทำรายงานสถานการณ์น้ำ หน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ สทนช. และ สสน.
6. เตรียมความพร้อมรอบรับสถานการณ์ หน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ ปภ. กห. และ GISTDA
7. ประชาสัมพันธ์ หน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ ปชส.ดศ. และ กสทช.

โดยสถานการณ์ปัจจุบันการเตรียมความพร้อมของจังหวัดในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออกและลุ่มน้ำบางปะกง มีการดำเนินการเตรียมความพร้อมในการสำรวจทางน้ำและกำจัดวัชพืชบริเวณทางน้ำ การสำรวจความแข็งแรงของสถานที่กักเก็บน้ำ สำรวจจุดเสี่ยงและจุดอันตรายในพื้นที่ ดำเนินการเตรียมเครื่องมือเครื่องจักรในการเผชิญเหตุ และมีการเตรียมติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำ และเครื่องสูบน้ำระยะไกลในการผลักดันน้ำลงสู่ทางระบายน้ำ/คลองเพื่อให้สามารถระบายน้ำออกจากเขตเมืองและกลับเข้าสู่สถานการณ์ปกติโดยเร็ว

ข้อมูล /ภาพ : กลุ่มเกษตรชลประทาน

กลุ่มพัฒนาพื้นที่พิเศษวันที่ 27- 29 พฤษภาคม 2568 นายวุฒิศักดิ์ เพชรมีศรี ผู้อำนวยการกองส่งเสริมโครงการพระราชดำริ การจัดก...
04/06/2025

กลุ่มพัฒนาพื้นที่พิเศษ
วันที่ 27- 29 พฤษภาคม 2568 นายวุฒิศักดิ์ เพชรมีศรี ผู้อำนวยการกองส่งเสริมโครงการพระราชดำริ การจัดการพื้นที่และวิศวกรรมเกษตร มอบหมายให้นายเอกลักษณ์ ระกา นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ เข้าร่วมโครงการฝึกอบรม "ครูหญ้าแฝก" รุ่นนที่ 2/2568 โดยมีนางศศิพร ปาณิกบุตร รองเลขาธิการ กปร. เป็นประธานพิธีเปิด
โครงการฝึกอบรม “ครูหญ้าแฝก” รุ่นที่ 2/2568 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพผู้ปฏิบัติงานในโครงการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ให้สามารถปฏิบัติงานด้านหญ้าแฝกได้ถูกต้องตามหลักวิชาการ รวมถึงสามารถนำองค์ความรู้ไปถ่ายทอด เพื่อส่งเสริมต่อยอดและขยายผลให้แก่เกษตรกรได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ และทำให้มีการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือในการดำเนินงานโครงการพัฒนาและรณรงค์การใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ณ โรงแรมไมด้า เดอซี หัวหิน อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
โครงการฝึกอบรม “ครูหญ้าแฝก “รุ่นที่ 2/2568 ในครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมโครงการอบรม จำนวน 75 คน
จากหน่วยงานต่าง ๆ ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับหญ้าแฝกตามแนวพระราชดำริ 15 หน่วยงาน โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงวุฒิด้านหญ้าแฝกหลายท่านที่มาถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับหญ้าแฝก โดยมีการบรรยายพิเศษในหัวข้อ ดังนี้
1. พระราชดำริและประวัติความเป็นมาของหญ้าแฝกในประเทศไทย
2. หญ้าแฝกในประเทศและนานาชาติ และแนวโน้มในอนาคต
3. การขยายพันธุ์ และการดูแลรักษาหญ้าแฝก
4. เทคนิคและรูปแบบในพื้นที่เกษตรกรรม
5. ระบบบริหารและติดตามโครงการปลูกหญ้าแฝก
6. เทคนิคการนำเสนอ และการเป็นวิทยากร
และมีการแบ่งกลุ่มเพื่อการเรียนรู้ภาคปฏิบัติในพื้นที่ศูนย์ศึกษา
การพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี โดยมีการฝึกปฏิบัติภาคสนาม ในฐานต่างๆ ได้แก่
1. ฝึกการเพาะชำกล้าหญ้าแฝก
2. ปลูกหญ้าแฝกตามแนวลาดชัน 1
3. ปลูกหญ้าแฝกตามแนวลาดชัน 2
4. ปลูกหญ้าแฝกบริเวณบ่อน้ำ
5. ปลูกหญ้าแฝกบริเวณร่องน้ำ
6. ปลูกหญ้าแฝกร่วมกับไม้ผล
7. ปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่ดินดาน
โดยมีการนำเสนอผลงานจากการใช้องค์ความรู้ เรื่องหญ้าแฝกตามแนวพระราชดำริ ไปปรับใช้แก้ไขปัญหา ในการปฏิบัติงานในพื้นที่จริง โดยมีคณะกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ให้ข้อเสนอแนะ
ข้อมูล : กลุ่มพัฒนาพื้นที่พิเศษ
ภาพ : สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)

กลุ่มเกษตรชลประทาน*********************************     วันที่ 29 - 30 พฤษภาคม 2568 นายวุฒิศักดิ์ เพชรมีศรี ผู้อำนวยการก...
30/05/2025

กลุ่มเกษตรชลประทาน
*********************************
วันที่ 29 - 30 พฤษภาคม 2568 นายวุฒิศักดิ์ เพชรมีศรี ผู้อำนวยการกองส่งเสริมโครงการพระราชดำริ การจัดการพื้นที่และวิศวกรรมเกษตร มอบหมายให้นางวิจิตรา เชาวะเจริญ ผู้อำนวยการกลุ่มเกษตรชลประทาน นางสาวนันทวัน ทองเบ็ญญ์ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาพื้นที่พิเศษ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ เข้าร่วมงาน Huawei Thailand Digital & AI Summit 2025 "Embrace AI, Ignite Future" จัดโดยบริษัท Huawei (ประเทศไทย) ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร
วัตถุประสงค์การจัดงาน ดังนี้
1. เพื่อสำรวจและเปิดโอกาสใหม่ทางธุรกิจในยุค All Intelligence ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี AI
2. เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์และแอปพลิเคชันที่ผสานความสามารถของ AI, Cloud และ 5.5G
3. เพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบอัจฉริยะ (Intelligent Transformation) ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ
4. เพื่อสร้างความร่วมมือและเครือข่ายระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ในประเทศไทยและจีน
กิจกรรมในงาน ประกอบด้วย
1. การลงนามความร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในโครงการ Collaboration on Joint Digital & AI Innovation and Talent Development
2. การบรรยายและสัมมนา หัวข้อ Huawei Digital Government Summit, Huawei Digital Healthcare Summit Thailand Investment Roundtable, Intelligent Education Roundtable, Intelligent Finance Roundtable, Intelligent Retail, Cloud Summit, Digital Power Summit, AI for Networking, F5G-A Acceleration, Data Center Roundtable
3. นิทรรศการนำเสนอผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมที่ขับเคลื่อนด้วย AI จากประเทศไทยและจีน
โดยการบรรยายในหัวข้อ "Digital and AI Ecosystem for Intelligent Government Transformation การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและ AI เพื่อปฏิรูปภาครัฐสู่ระบบอัจฉริยะ“ ได้นำเสนอโซลูชันสำหรับการเปลี่ยนผ่านสู่ Smart Government ด้วย AI และคลาวด์ ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างรัฐบาลและเอกชน (Public-Private Partnership) ในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Intelligent City) บริการสาธารณะดิจิทัล (Digital Public Services) การกำกับดูแลด้วยข้อมูล (Data-Driven Governance) ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในด้านการศึกษา (Intelligent Education) การลงทุน (Thailand Investment Roundtable) สาธารณสุข (Intelligent Healthcare) เป็นต้น

ข้อมูล : กลุ่มเกษตรชลประทาน
ภาพ : กลุ่มเกษตรชลประทาน/ กลุ่มพัฒนาพื้นที่พิเศษ

กลุ่มพัฒนาพื้นที่พิเศษ*******************               วันที่ 30 พฤษภาคม 2568 นายวุฒิศักดิ์ เพชรมีศรี ผู้อำนวยการกองส่ง...
30/05/2025

กลุ่มพัฒนาพื้นที่พิเศษ
*******************
วันที่ 30 พฤษภาคม 2568 นายวุฒิศักดิ์ เพชรมีศรี ผู้อำนวยการกองส่งเสริมโครงการพระราชดำริ การจัดการพื้นที่และวิศวกรรมเกษตร มอบหมายให้นางสาวกัญธษิมา พิมพ์สุวรรณ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจต่อแนวทางการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินการตามนโยบายและแผนบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศและตัวชี้วัด และเกณฑ์ประเมินผลปฏิบัติงานของ คทช. ภายใต้โครงการติดตามและประเมินผลการปฎิบัติงานของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) ประจำปี 2568 ณ ห้องประชุมปรินซ์บอลรูม 1 โรงแรมปรินซ์ พาเลซ โดยมีนางสาวพิรพร เพชรทอง ผู้อำนวยการกองส่งเสริมความร่วมมือและขับเคลื่อนการบริหารจัดการที่ดิน เป็นประธานในการประชุมฯ และมีสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นที่ปรึกษาโครงการฯ สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
1. ตัวชี้วัดภายใต้นโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ (พ.ศ. 2566-2580) ที่เกี่ยวข้องกับกรมส่งเสริมการเกษตรคือ ประเด็นนโยบายด้านที่ 3 : การกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน มี 2 แนวทางการพัฒนาหลัก ได้แก่ 1) การยกระดับเครื่องมือ และกลไกกำกับควบคุมการกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรม 2) การจัดที่ดินทำกินให้ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ทั้ง 2 แนวทางหลักนี้ จะประกอบด้วย ตัวชี้วัดผลผลิต 7 ตัว ผลผลัพธ์ 4 ตัว และผลกระทบ 3 ตัว
2. ตัวชี้วัดคณะอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพและการตลาด มีตัวชี้วัดด้านผลผลิต 4 ตัว ด้านผลลัพธ์ 3 ตัว และด้านผลกระทบ 1 ตัว
3. รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะดำเนินการทบทวนตัวชี้วัดและฐานข้อมูลที่มีอยู่ว่าใช้จริงในปัจจุบันได้หรือไม่ หลังจากนั้นจะประสานหน่วยงานเพื่อขอสนับสนุนข้อมูลที่เกี่ยวข้องของแต่ละหน่วยงาน ภายในเดือนกรกฎาคม 2568 ต่อไป

ข้อมูล/ภาพ : กลุ่มพัฒนาพื้นที่พิเศษ

กลุ่มพัฒนาพื้นที่พิเศษ*********************เมื่อวันที่ 20 - 23 พฤษภาคม 2568 กลุ่มพัฒนาพื้นที่พิเศษ กองส่งเสริมโครงการพระ...
30/05/2025

กลุ่มพัฒนาพื้นที่พิเศษ
*********************
เมื่อวันที่ 20 - 23 พฤษภาคม 2568 กลุ่มพัฒนาพื้นที่พิเศษ กองส่งเสริมโครงการพระราชดำริ การจัดการพื้นที่และวิศวกรรมเกษตร ติดตามการดำเนินงานโครงการพัฒนาตามศักยภาพของพื้นที่ กิจกรรมส่งเสริมการทำการเกษตรตามการวิเคราะห์ชุมชน กิจกรรมเกษตรกรต้นแบบผสมผสานและกิจกรรมส่งเสริมการพัฒนากลุ่มเพื่อยกระดับการผลิต ณ จังหวัดสงขลา เพื่อจัดทำข้อมูลประชาสัมพันธ์ผลสัมฤทธิ์ของโครงการและแนวทางพัฒนาสู่ผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานโครงการพัฒนาตามศักยภาพของพื้นที่ โดยมีนางสุนิภา คีรีนารถ ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา เป็นประธาน พร้อมลงพื้นที่เยี่ยมเยียนเกษตรกรต้นแบบจำนวน 6 ราย และกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จำนวน 2 กลุ่ม ณ อำเภอเทพา อำเภอสะบ้าย้อยและอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ทั้งนี้ได้รับฟังปัญหาและอุปสรรคที่พบในการดำเนินงานของพื้นที่ พร้อมทั้งหาแนวทางแก้ไขเพื่อให้การดำเนินโครงการสามารถขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุตามเป้าหมายในการพัฒนาพื้นที่เกษตรในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป

ข้อมูล/ภาพ : กลุ่มพัฒนาพื้นที่พิเศษ กพวศ.

กลุ่มพัฒนาพื้นที่พิเศษ*******************               วันที่ 26 - 28 พฤษภาคม 2568 นายวุฒิศักดิ์ เพชรมีศรี ผู้อำนวยการก...
28/05/2025

กลุ่มพัฒนาพื้นที่พิเศษ
*******************
วันที่ 26 - 28 พฤษภาคม 2568 นายวุฒิศักดิ์ เพชรมีศรี ผู้อำนวยการกองส่งเสริมโครงการพระราชดำริ การจัดการพื้นที่และวิศวกรรมเกษตร มอบหมายให้นางสาวกัญธษิมา พิมพ์สุวรรณ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ เข้าร่วมอบรมหลักสูตรเตรียมความพร้อมสู่การเป็นอาสาสมัครคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (อส.คทช.) รุ่นที่ 1 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ณ ห้องประชุมสุวิทย์ศักดานนท์ ชั้น5 โรงแรม ทีเค. พาเลซ แอนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ โดยมีนายณัฐวุฒิ เปลื้องทุกข์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
1. วัตถุประสงค์ในการอบรมฯ คือให้เจ้าหน้าที่ที่มีความเกี่ยวข้องทั้งระดับท้องถิ่น ระดับจังหวัด ส่วนภูมิภาค และส่วนกลางให้เป็นกลไกหนึ่งในการสร้างการรับรู้ ความเข้าใจเป้าหมายของภารกิจคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) ตามนโยบายการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนรวมทั้งแนวทางปฎิบัติงานด้านการจัดที่ดินในระดับพื้นที่ เพื่อนำองค์ความรู้ไปถ่ายทอดให้กับประชาชนในพื้นที่คทช.ต่อไป
2. การบรรยายโดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ และชำนาญการจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องมีหัวข้อดังนี้ 1) นโยบายและแผนด้านการบริหารจัดการที่ดิน 2) กระบวนการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนในภาพรวม 3) กระบวนการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ พื้นที่ป่าชายเลน พื้นที่ปฏิรูปที่ดิน พื้นที่นิคมสร้างตนเอง ในที่สาธารณประโยชน์ และในที่ราชพัสดุ 4) กฎหมายเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดิน 5) สารสนเทศภูมิศาสตร์ในการบริหารจัดการที่ดิน
ทั้งนี้ จะได้นำนโยบายและแนวทางไปใช้ในการขับเคลื่อนงานต่อไป

ข้อมูล : กลุ่มพัฒนาพื้นที่พิเศษ
ภาพ : กลุ่มพัฒนาพื้นที่พิเศษ/ สคทช.

านผบการประเมินองค์กรคุณธรรม กพวศ. ประจำปีงบประมาณ 2568
26/05/2025

านผบการประเมินองค์กรคุณธรรม กพวศ. ประจำปีงบประมาณ 2568

Created with the Heyzine flipbook maker

26/05/2025

รายงานผลการประเมินองค์กรคุณธรรม ประจำปีงบประมาณ 2568

กลุ่มพัฒนาพื้นที่พิเศษ*******************               วันที่ 8 พฤษภาคม 2568 นายวุฒิศักดิ์ เพชรมีศรี ผู้อำนวยการกองส่งเ...
08/05/2025

กลุ่มพัฒนาพื้นที่พิเศษ
*******************
วันที่ 8 พฤษภาคม 2568 นายวุฒิศักดิ์ เพชรมีศรี ผู้อำนวยการกองส่งเสริมโครงการพระราชดำริ การจัดการพื้นที่และวิศวกรรมเกษตร มอบหมายให้นายเอกลักษณ์ ระกา นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ และนางสาวกัญธษิมา พิมพ์สุวรรณ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ เข้าร่วมประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) เพื่อรับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะตอบประเด็นยุทธศาสตร์ภายใต้แผนปฏิบัติการด้านการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรของประเทศ (พ.ศ. 2666-2570) ณ ห้อง Ballroom c ชั้น 2 โรงแรมมารวย การ์เด้น กรุงเทพฯ โดยมีนางสุขฤทัย ภคกษมา นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ เป็นประธานการประชุม และมีสถาบันบัณทิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) เป็นที่ปรึกษาโครงการฯ สรุปสาระสำคัญดังนี้
1. วัตถุประสงค์ของโครงการฯ มีดังนี้ 1) ติดตามความก้าวหน้าและประเมินผลสัมฤทธิ์แผนงาน/โครงการและตัวชี้วัด 2) จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพิ่อเพิ่มประสิทธิภาพการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการ 3) จัดทำต้นแบบการติดตามประเมินผลฯ
2. กรอบแนวปฏิบัติในการติดตามประเมินผลตัวชี้วัดมีประเด็นยุทธศาสตร์ทั้งหมด 5 ประเด็น ได้แก่
2.1 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 : การส่งเสริมความยั่งยืนของการจัดการที่ดินและระบบนิเวศ มีตัวชี้วัด 6 ตัวชี้วัด คือ 1) ความสำเร็จของการจัดทำเส้นแนวเขตที่ดินของรัฐตามเกณฑ์ One Map 2) ความสำเร็จของการพิสูจน์สิทธิ์เพื่อแก้ไขข้อพิพาทระหว่างรัฐและประชาชน 3) ที่ดินของรัฐถูกบุกรุกลดลง 4) การประกาศใช้กฎระเบียบที่ส่งเสริมให้ประชาชนบริหารจัดการ การตัดสินใจรักษา และใช้ประโยชน์ระบบนิเวศ 5) อปท./ชุมชน มีความรู้และทักษะในการใช้ประโยชน์และรักษาระบบนิเวศให้มีความยั่งยืน 6) พื้นที่ป่าธรรมชาติ และพื้นที่ป่าเศรษฐกิจเพื่อการใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้น
2.2 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 : การสร้างดุลยภาพของการใช้ประโยชน์ที่ดินและทรัพยากรดินตามศักยภาพมีตัวชี้วัด 5 ตัวชี้วัด คือ 1) ที่ดินที่ถูกทิ้งร้างของประเทศลดลงการใช้ประโยชน์ 2) ที่ดินสอดคล้องกับข้อกำหนดตามกฏหมายผังเมือง 3) การศึกษาวิจัยสัดส่วนการแบ่งพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดินเหมาะสมจำแนก ตามภาค กลุ่มจังหวัด และจังหวัด และนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการกำหนดนโยบาย 4) สัดส่วนของที่ดินได้รับการฟื้นฟูหรือพัฒนาคุณภาพเพื่อนำมาใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้น 5) พื้นที่เกษตรกรรมที่มีการบริหารจัดการตามแนวทางเกษตรกรรมยั่งยืน
2.3 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 : การพัฒนาขีดความสามารถในการใช้ประโยชน์ที่ดินและทรัพยากรดินมีตัวชี้วัด 5 ตัวชี้วัด คือ 1) การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลในกระบวนการผลิต และการจัดจำหน่ายผลผลิตของเกษตรกร 2) เกษตรกร/สถาบันเกษตรกรที่ทำการเกษตรตามแนวทางเกษตรอัจฉริยะเกษตร/แม่นยำ 3) ผลิตภาพด้านการผลิตของเกษตรกรต่อหน่วยพื้นที่เพิ่มขึ้น 4) สถานะทางการเงินเกษตรกรดีขึ้น 5) คุณภาพชีวิตของเกษตรกรในภาพรวมดีขึ้น
2.4 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 : การกระจายการถือคลองที่ดินอย่างเป็นธรรมมี 5 ตัวชี้วัด คือ 1) ผู้ได้รับการจัดที่ดินที่มีคุณสมบัติไม่เหมาะสม/หรือมีการใช้ประโยชน์ที่ดินไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ลดลง 2) ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการจัดที่ดิน 3) ระดับความพึงพอใจของผู้ได้รับการจัดที่ดินทำกิน 4) การยกระดับการรวมกลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน หรือรูปแบบอื่นที่เหมาะสมตามแนวทาง คทช. 5) การพัฒนารูปแบบทางเลือกอื่นเพื่อสร้างความเป็นธรรมในการกระจายการถือครองที่ดินของรัฐและเอกชน
2.5 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 : การบูรณาการและสร้างการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดิน มีตัวชี้วัด 4 ตัวชี้วัด คือ 1) กฎหมาย/ระเบียบที่เชื่อมโยงการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินระหว่างหน่วยงานส่วนกลาง ภูมิภาค และองค์กรณ์ปกครองส่วนท้องถิ่น 2) ระบบข้อมูลที่สามารถบูรณาการข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจของหน่วยงานทุกระดับได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3) การพัฒนาเครื่องมือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดิน 4) การพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมในการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดิน
3. รับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ รวมถึงปัญหาและอุปสรรคต่อการดำเนินการตามแผนงาน/โครงการ แต่ประเด็นยุทธศาสตร์ รวมถึงการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นที่ตามตัวชี้วัดภายใต้แผนปฏิบัติการด้านการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรที่ดินของประเทศ (พ.ศ. 2566 - 2570 )

ข้อมูล/ภาพ: กลุ่มพัฒนาพื้นที่พิเศษ

กลุ่มพัฒนาพื้นที่พิเศษ********************         วันที่ 8 พฤษภาคม 2568 เวลา 09.30 น. นายวุฒิศักดิ์ เพชรมีศรี ผู้อำนวยก...
08/05/2025

กลุ่มพัฒนาพื้นที่พิเศษ
********************
วันที่ 8 พฤษภาคม 2568 เวลา 09.30 น. นายวุฒิศักดิ์ เพชรมีศรี ผู้อำนวยการกองส่งเสริมโครงการพระราชดำริ การจัดการพื้นที่และวิศวกรรมเกษตร มอบหมายให้นางสาวนันทวัน ทองเบ็ญญ์ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาพื้นที่พิเศษ เข้าร่วมประชุมคณะทำงานพิจารณาการสนับสนุนทุน (สินเชื่อ) ให้กับเกษตรกรที่ได้รับการจัดที่ดินทำกิน ตามนโยบายรัฐบาล ในพื้นที่ดำเนินการของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2568 ณ ห้องประชุม ชั้น 6 อาคารเบญจสิริ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก กรุงเทพมหานคร และประชุมผ่านระบบ Video Conference โดยมีนายกุลพัชร ภูมิใจอวด ผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน ประธานคณะทำงาน เป็นประธานการประชุม และคณะทำงานเข้าร่วมประชุม เพื่อร่วมพิจารณาร่างประกาศสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) ดังนี้
1. ร่างประกาศสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) เรื่อง แนวทาง การทำสัญญาหรือหนังสือค้ำประกันและบุคคลค้ำประกัน
2. ร่างประกาศสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) เรื่อง แนวทาง การนำไม้ยืนต้น มาวางเป็นหลักประกันการชำระหนี้
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาเห็นชอบทั้ง 2 ร่างประกาศ และให้ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และแนวทาง เพื่อจะนำเข้าประชุมครั้งต่อไป ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2568

ข้อมูล/ภาพ : กลุ่มพัฒนาพื้นที่พิเศษ กพวศ.

กลุ่มพัฒนาพื้นที่พิเศษ*******************           วันที่ 7 พฤษภาคม 2568 นายวุฒิศักดิ์ เพชรมีศรี ผู้อำนวยการกองส่งเสริม...
07/05/2025

กลุ่มพัฒนาพื้นที่พิเศษ
*******************
วันที่ 7 พฤษภาคม 2568 นายวุฒิศักดิ์ เพชรมีศรี ผู้อำนวยการกองส่งเสริมโครงการพระราชดำริ การจัดการพื้นที่และวิศวกรรมเกษตร มอบหมายให้นางสาวนันทวัน ทองเบ็ญญ์ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาพื้นที่พิเศษ และนางสาวกัญธษิมา พิมพ์สุวรรณ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ เข้าร่วมประชุม คณะทำงานขับเคลื่อนการดำเนินการจัดที่ดินทำกินในเขตปฏิรูปที่ดินพื้นที่ หมู่ที่ 10 ตำบลรางบัว อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ครั้งที่ 1/2568 ผ่านระบบออนไลน์ โดยมีนายปรีชา ลิ้มถวิล รองเลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม สรุปสาระสำคัญดังนี้
1. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนการดำเนินการจัดที่ดินทำกินในเขตปฏิรูปที่ดินพื้นที่หมู่ที่ 10 ตำบลรางบัว อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี เพื่อขับเคลื่อนการนำที่ดินที่ได้รับคืนมาจากการตรวจสอบการถือของที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินโดยมิชอบด้วยกฏหมาย ในพื้นที่หมู่ที่ 10 ตำบลรางบัว อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี มาดำเนินการจัดที่ดินให้กับผู้ด้อยโอกาสหรือผู้ยากจนในพื้นที่จังหวัดราชบุรีให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลที่จะช่วยเหลือเกษตรกรให้สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ในที่ดินทำกิน แหล่งทุนโครงสร้างพื้นฐาน และปัจจัยต่างๆ อันจะทำให้เกษตรกรมีความเข้มแข็งและยั่งยืนในการประกอบอาชีพทางการเกษตร โดยมีรองเลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เป็นประธานคณะทำงาน และผู้อำนวยการกองส่งเสริมโครงการพระราชดำริ การจัดการพื้นที่และวิศวกรรมเกษตร เป็นคณะทำงาน
2. แนวทางการจัดที่ดินให้กับเกษตรกรผู้ยากไร้ในพื้นที่เป้าหมาย หมู่ที่ 10 ตำบลรางบัว อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ที่ ประชุมมีมติให้ดำเนินการทำจุดที่ 2 (จากจำนวน 3 จุด) จำนวน 49 แปลง มีเนื้อที่ 2,088-2-94 ไร่
3. การจัดที่ดินทำกินในพื้นที่เป้าหมาย มีกิจกรรมที่จะดำเนินการ คือ การปรับปรุงสภาพพื้นที่และโครงสร้างพื้นฐาน การคัดเลือกเกษตรกรและจัดที่ดิน และการส่งเสริมพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิต ซึ่งรูปแบบการจัดที่ดินมี 4 แบบ คือ 1) เนื้อที่ 5 ไร่ พร้อมที่อยู่อาศัย 2) เนื้อที่ 5 ไร่ ไม่มีที่อยู่อาศัย 3) เนื้อที่ 10 ไร่ พร้อมที่อยู่อาศัย 4) เนื้อที่ 10 ไร่ ไม่มีที่อยู่อาศัย โดยจะนำข้อมูลมานำเสนอและพิจารณาในการประชุมครั้งต่อไป

ข้อมูล/ภาพ: กลุ่มพัฒนาพื้นที่พิเศษ

ที่อยู่

2143/1 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร
Bangkok
10900

เวลาทำการ

จันทร์ 09:00 - 17:00
อังคาร 09:00 - 17:00
พุธ 09:00 - 17:00
พฤหัสบดี 09:00 - 17:00
ศุกร์ 09:00 - 17:00

เบอร์โทรศัพท์

+6625793804

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ กองส่งเสริมโครงการพระราชดำริ การจัดการพื้นที่และวิศวกรรมเกษตรผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

แชร์