31/12/2020
Thank you every efforts in 2020, Let's move to 2021 with hope together ❤
ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉินขอส่งความสุขท้ายปีให้กับทุกๆ ท่าน เราจะมุ่งหน้าสู่ปีใหม่ด้วยกันด้วยความหวังและความพยายามของพวกเราทุกคน
#ERRamaFamily #HappyNewYear2021
เพจนี้มีจุดประสงค์เพื่อประชาสัมพันธ์งานวิชาการและผลงานต่างๆ website: http://med.mahidol.ac.th/er/
Department of Emergency Medicine, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol Uneversity, Thailand
(6)
เปิดเหมือนปกติ
Thank you every efforts in 2020, Let's move to 2021 with hope together ❤
ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉินขอส่งความสุขท้ายปีให้กับทุกๆ ท่าน เราจะมุ่งหน้าสู่ปีใหม่ด้วยกันด้วยความหวังและความพยายามของพวกเราทุกคน
#ERRamaFamily #HappyNewYear2021
งานประชุมวิชาการภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ประจำปี 2564
"In the distancing world, let's stay connected"
เรามาเชื่อมต่อไปด้วยกัน
http://imcpcthailand.com/racem2021/
#RACEM2021 #ERRamaFamily
Final call ❗️🚑
โค้งสุดท้าย ...
รับสมัครแพทย์ประจำบ้านภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ประจำปีการศึกษา 2564
หมดเขตรับสมัคร 31 ตุลาคม 2563
***อย่าลืมกรอกใบสมัครทั้ง 3 ที่ [แพทยสภา, วฉท, รามา]
สัมภาษณ์ 2 พฤศจิกายน 2563
รายละเอียดการรับสมัคร
https://www.rama.mahidol.ac.th/er/th/news/announcement/09/29/2020-1012-th
#ERRamaFamily
Countdown 9 Days Left For New ER Resident ❗️🚑
รับสมัครแพทย์ประจำบ้านภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ประจำปีการศึกษา 2564 หมดเขตรับสมัคร 31 ตุลาคม 2563 ‼️
รายละเอียดการรับสมัคร
https://www.rama.mahidol.ac.th/er/th/news/announcement/09/29/2020-1012-th
#ERRamaFamily
พักเที่ยงแล้ว เรามา update เรื่อง pediatric sepsis and septic shock อ้างอิงจาก thai CPG 2018 กันค่ะ
Definition
😄Sepsis คือ ภาวะที่คนไข้มี infection ร่วมกับ มี SIRS
ซึ่ง SIRS ประกอบด้วย 4 ข้อ คือ
1. ไข้ มากกว่า 38.5 หรือ subtemp < 36
2. Tachycardia > 2 S.D. for age หรือ bradycardia < P10
3. RR > 2 S.D. for age หรือมี respiratory failure
4. Leukocytosis หรือ Leukopenia หรือมี band form > 10%
💥SIRS ต้องมี 2 ใน 4 ข้อขึ้นไป โดยที่หนึ่งในสองข้อที่มีนั้นจะต้องมีข้อของ temp หรือ neutrophil ด้วยเสมอ
😄Severe sepsis คือภาวะที่คนไข้มี Sepsis ร่วมกับมี 1 ใน 3 ข้อใดๆ ต่อไปนี้ คือ
1) Cardiovascular dysfunction เช่น BP drop, poor perfusion
2) ARDS
3) Organ dysfunction ตั้งแต่ 2 ระบบขึ้นไป คือ RS, Neuro, hemato, renal หรือ liver
😄Septic shock คือ ภาวะที่คนไข้มี Sepsis ร่วมกับ cardiovascular dysfunction เช่น BP drop, sign of poor perfusion ฯลฯ
😄การ management and treatment
1.start antibiotics เร็วที่สุด ภายใน 1 ชั่วโมง โดยเลือกเป็น broad-spectrum ไปก่อน
2. take hemoculture ก่อนให้ antibiotic เสมอและส่งแลปต่างๆ CBC, electrolytes, BUN, creatinine เป็นต้น (ชุดใหญ่ไฟกระพริบไปเรยย) และก็ถ้าสามารถส่ง lactate ได้ ควรส่ง เพราะการดูเทรนของ lactate จะเป็นตัวช่วยบอกความ adequate ในการ resuscitation ของเราได้ด้วย
3.การกำจัด source of infection ที่สงสัย ไม่ว่าจะเป็น catheter ต่างๆ ที่อาจจะทำให้เกิด CRBSI ได้ หรือ local infection เช่น abscess, necrotizing fasciitis พวกนี้ควรรีบ get rid โดยการเดรนออก เพื่อกำจัด source ไม่งั้นคนไข้ก็จะ sepsis ต่อไปเรื่อยๆ จาก source ที่เราไม่ได้เอาออก
4.ควรรีบเปิดเส้นให้เร็วที่สุด แนะนำว่าควรเปิด IV ให้ได้ภายใน 90 วินาที หรือ 3 attempt ถ้าไม่ได้ภายในเวลานั้น ควรเปิด IO เพื่อให้สารน้ำให้เร็วที่สุด (หลังเปิด IO แล้วสามารถใช้ได้ 24 ชั่วโมง ระหว่างนั้นควรรีบหาเส้น หรือใส่ central line แทนให้เร็วที่สุดเหมือนกัน)
5.Step แรกเริ่มต้นจากการ initial fluid resuscitation โดยเลือกเป็น crystalloid solution เช่น NSS หรือ ringer lactate ให้โดส 10-20 ml/kg/dose bolus ใน 15 นาที repeat ได้ 2-3 dose ให้ได้ถึง 60 ml/kg
** สิ่งสำคัญก่อนให้ IV fluid คือต้องประเมิน volume status คนไข้เสมอ ว่ามีภาวะ volume overload รึป่าว โดยการ ฟังปอด คลำตับม้าม ดู UlS echo **
6.ถ้าคนไข้มี volume overload แล้ว หรือโหลดครบ 60 ml/kg แล้ว แสดงว่า volume status คนไข้ตอนนี้น่าจะเพียงพอแล้ว ไม่ควรให้ load ต่อ จะข้ามไปให้ยา inotrope เลย
😄👻😄การเลือกใช้ vasoactive drug
ใน guideline ไทย แนะนำว่าควรจะประเมินก่อนว่าคนไข้มีลักษณะที่เป็น warm หรือ cold shock
warm shock คือ คนไข้มีลักษณะที่มีการลดลงของ systemic vascular resistance (SVR) ทำให้ BP drop ดังนั้นคนไข้จะมีลักษณะคือ pulse แรง (bounding pulse), มือเท้าอุ่น, wide pulse pressure --> ดังนั้น ยา vasoactive drug ที่เลือกในคนไข้ที่เป็น warm shock จึงเป็นกลุ่มที่เพิ่ม SVR (ลดความ vasodilate ของนาง) ก็คือ norepinephrine หรือ levophed เป็นตัวแรก
ส่วน cold shock คือคนไข้ที่มีลักษณะของ cardiac output ที่ไม่ดี ทำให้เลือดออกไปเลี้ยงไม่ได้ ดังนั้นคนไข้จะมีลักษณะของ poor perfusion มือเท้าเย็น cap refill ช้าๆ pulse เบา พวกนี้ต้องเลือกยากลุ่มที่เพิ่ม cardiac output เช่น adrenaline หรือ dopamine
ถ้าคนไข้ clinical แย่มากๆ คนไข้ควรมี central line ที่สามารถวัด CVP ได้เพื่อประเมิน volume status หรือถ้าไม่มีจริงๆ ก็ใช้วิธีการ U/S ดู IVC ได้เหมือนกัน (วิธีการทำเหมือนในผู้ใหญ่เลย) นอกจากนี้อาจจะต้องใช้การประเมิน cardiac output หรือ cardiac index (CI) ด้วย
ซึ่ง therapeutic goal ในการ resuscitate มีหลายข้อมาก
เช่นคนไข้ควรจะมี perfusion ที่ดีขึ้น CRT < 2 sec ฉี่ออก คลำ pulse ได้ดี มือเท้าอุ่น เป็นต้น
แต่จะมี end-point ที่สำคัญ 3 อย่าง คือ
1. Perfusion pressure คือ MAP-CVP ... perfusion pressure ควรจะได้ตามอายุ (คิดจาก 55 + 1.5*age)
2. ScvO2 > 70% (sat จาก central vein)
3. CI (cardiac index) อยู่ในช่วง 3.3-6 L/min/m2
นอกจากนี้การดู trend ของ lactate ก็จะช่วยบอกได้ว่าสิ่งที่เราทำมาทั้งหมดมัน adequate มั้ย โดยเราอยากได้ lactate ที่น้อยกว่า 2
------
Vasoactive drug ตัวอื่นๆ ที่มีใช้ เช่น
- Dobutamine เป็น vasodilator โดยเฉพาะกลุ่มที่มี myocardial dysfunction จะเห็นว่า dobu เป็น choice ในคนไข้ที่มี cardiac index < 3.3 ก็อาจจะพิจารณาเลือกตัวนี้เข้าไปช่วย แต่ต้องระวังว่าการให้ dobutamine อาจจะทำให้ BP drop ได้ด้วย เพราะมันไปลด SVR
- Milrinone เลือกใช้ในกลุ่มที่มี contractility ไม่ดี เป็นตัวที่ช่วยเพิ่ม cardiac output คล้ายๆ dobutamine ซึ่งจะลด SVR เหมือนกัน ก็จะทำให้มี BP drop ได้เหมือนกัน จะเห็นว่า milrinone เป็น choice ในคนไข้ที่เป็น compensated cold shock คือ BP ดีแล้ว แต่ยังไม่ได้ end point ที่ต้องการ ScvO2 ยังน้อยกว่า 70 เราก็อาจจะเลือกให้ตัวนี้ช่วยได้
ถ้าให้ vasoactive drug แล้วคนไข้ยัง shock อยู่ ต้องนึกถึง catecholamine resistant shock ด้วยเสมอ
😄ถ้าคิดว่าคนไข้เป็น catecholamine-resistant shock ก็สาด hydrocortisone ไปเลยจ่ะ
วิธีการให้คือ ให้ load ก่อน 50-100 mg/m2 1 dose หลังจากนั้นให้ 50-100 mg/m2/day แบ่งให้ทุก 6 ชั่วโมง
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น คือถ้าถึงจุดนี้แล้วยังไม่ดี มี risk รึเปล่าไม่แน่ใจ ก็อาจจะพิจารณาให้ไปก่อนเลยก็ได้ แต่อย่าลืมว่าต้องเก็บ cortisol ส่งก่อนให้ hydrocortisone เสมอ **
Reference:http://www.thaipediatrics.org/Media/media-20190417145929.pdf
โดย พญ.พิรญาณ์ วิเชียรสรรค์ R3 ERramathibodi
ขอแสดงความยินดีกับแพทย์ฉุกเฉินรุ่นที่ 13 ในโอกาสรับวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน ซึ่งทุกคนได้ใช้ความรู้ความสามารถในการนำพาห้องฉุกเฉินผ่านพ้นสถานการณ์วิกฤตในปีนี้ และเป็นที่พึ่งให้กับประชาชน
"The pride of ER Ramathibodi"
#AMTCEP2020 #ERRamaFamily #RAER13 #ถ่ายรูปยังไงก็ไม่ครบ
ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เปิดรับสมัครแพทย์ประจำบ้าน ปีการศึกษา 2564 ระหว่างวันที่ 1-31 ตุลาคม 2563
รายละเอียดการรับสมัคร https://www.rama.mahidol.ac.th/er/th/news/announcement/09/29/2020-1012-th
#ERResident2564 #ERRamafamily
ขอแสดงความยินดีกับรองศาสตรจารย์ พญ.สาทริยา ตระกูลศรีชัย ผู้ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่น จากวิทยาลัยฉุกเฉินแห่งประเทศไทย เป็นคนแรกในประวัติศาสตร์!!!
#PioneerEP #BestResearcher #ERRamaFamily
#Infographics by Resident ER "Dr.Supawit RAEP17" from Review of the year
September Theme: Ventilation Management
#BloodGas #Acidosis #Alkalosis #emergency #ROTY #ERRamaFamily
Are You Ready?
Ramamedic
ในนามของหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฉุกเฉินการแพทย์ ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ขอแสดงความยินดีแด่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงพรรณวิไล ตั้งกุลพานิชย์ อาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
ในโอกาสได้รับการคัดเลือกจากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ให้รับรางวัลข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานมหาวิทยาลัยดีเด่น ประจำปี 2563 ตำแหน่งพนักงานมหาวิทยาลัย ประเภทวิชาการ ที่มีระยะเวลาปฏิบัติงานติดต่อกันไม่เกิน 10 ปี
Ramamedic
รามาธิบดีฉุกเฉินการแพทย์เวชสาร
Ramathibodi Prehospital Journal (RPJ)
- จัดทำโดยภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
- วัตถุประสงค์ เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยในรูปของนิพนธ์ต้นฉบับ รายงานผู้ป่วย และบทความวิชาการทางด้านฉุกเฉินการแพทย์
- รามาธิบดีฉุกเฉินการแพทย์เวชสาร จะเริ่มตีพิมพ์ครั้งแรกเดือนมกราคม พ.ศ.2564 และพิมพ์เผยแพร่อย่างสม่ำเสมอปีละ 3 ฉบับ (ฉบับที่ 1 ช่วงเดือนมกราคมถึงเมษายน ฉบับที่ 2 ช่วงเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม และฉบับที่ 3 ช่วงเดือนกันยายนถึงธันวาคม) โดยจะตีพิมพ์ในรูปแบบวารสารอิเล็กทรอนิกส์ (E-journal) และตีพิมพ์เป็นวารสารในรูปแบบภาษาอังกฤษ
- The Ramathibodi Prehospital Journal (RPJ) was established by the Department of Emergency Medicine, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University.
- The RPJ accepts the submission in the forms of original research, review article and clinical case study which present a content of prehospital emergency care and related topics such as disaster medicine.
- The journal aims to provide knowledge about prehospital emergency care for all levels of prehospital providers and healthcare workers who work in the field of emergency medicine.
- The journal publishes every 4 months (Issue 1: January-April, Issue 2: May-August, Issue 3: September-December). The first will be published during January-April, 2021.
- All manuscripts must be submitted in English via E-journal system.
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ For more information
>>> https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RamaPrehospJ/index
เราพร้อมแล้ว...คุณพร้อมแล้วหรือยัง?
Calling for...new ER residents...😎 !!!
โปรดศึกษารายละเอียดเพื่อเตรียมความพร้อม สำหรับการสมัครเข้ารับการสัมภาษณ์ เพื่อคัดเลือกเข้าเป็นแพทย์ประจำบ้านสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ประจำปีการศึกษา 2564
#ERRamaFamily #NewMemberRecruitment #November
**โปรดติดตามกำหนดการโดยละเอียดอันจะตามมาภายหลังอีกครั้ง ประกาศนี้เป็นไปเพื่อให้ทุกคนสามารถเตรียมเอกสารที่ต้องใช้ได้ทันเวลา (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง*ภาษาอังกฤษ)
Infographic by Dr.kamonwan RAEP16
#ERRamaFamily #COPD #ROTY
#Infographics by Resident ER "Dr.Pasit RAEP15" from Review of the year
August Theme: Airway Management
#HighRiskIntubation #emergency #ROTY #ERRamaFamily
เพราะการเรียนรู้ไม่หยุดตามวันหยุดราชการ 😁
#Infographics by Resident ER "Dr.Korawee RAEP17" from Review of the year
August Theme: Airway Management
#Tracheobronchial #Trauma #emergency #ROTY #ERRamaFamily
#Infographics by Resident ER "Thammaporn RAEP17" from Review of the year
#Tracheostomy #emergency #ROTY #ERRamaFamily
#Infographics by Resident ER "CHAITHAWAT RAEP15" from Review of the year
#AsthmaInER #GINA2020 #ROTY #ERRamaFamily
เปิดรับสมัคร Elective นักศึกษาแพทย์ รายวิชาเลือก
ประสบการณ์ทางคลินิกในเวชศาสตร์ฉุกเฉินสำหรับนักศึกษาแพทย์ต่างสถาบัน (Clinical experience of Emergency Medicine for elective medical students)
***รับเฉพาะนักศึกษาที่อยู่ในประเทศไทย
*หมายเหตุ เปิดรับช่วงเดือนตุลาคม 2563 ถึง มกราคม 2564 เตรียมหน้ากากอนามัยของตัวเองมาด้วย
เปิดรับสมัครแพทย์ใช้ทุนผู้ต้องการผ่านรายวิชาเลือก ประสบการณ์การฝึกอบรมแพทย์ฉุกเฉินรามาฯ (Ramathibodi emergency medicine resident ) จำนวนจำกัด
*หมายเหตุ เปิดรับช่วงเดือนกันยายนเท่านั้น
ลงทะเบียน Elective Resident ประจำปี 2563 รอบพิเศษ คลิกที่นี่
รีรัน RAER Lunch Knowledge Sharing ในหัวข้อเรื่อง CARDS ventilator management โดย อ.พญ.ธาวินี อาจารย์แพทย์ฉุกเฉินผู้เชี่ยวชาญเวชบำบัดวิกฤต ในวันที่ 01/05/2020 สำหรับผู้ที่พลาดไปนะคะ หัวข้อสุดท้ายสำหรับเดือนแห่งการเรียนรู้ของเรา
ใครได้ฟังกัน ส่ง comment กันเข้ามาหน่อยนะคะ
https://forms.gle/gFEhDJmtRoe5vbpL8
#ERRamaFamily
"Safety in Patient Transferring"
Infographic by พญ.จีรนันท์ แพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
#ERRamaFamily
อาหารจานสุดท้ายของซีซั่นนี้ รับประกันความคุ้มค่า
"Ventilator Management" by อ.พญ.ธาวินี ไตรณรงค์สกุล
อาจารย์แพทย์ฉุกเฉินผู้เชี่ยวชาญเวชบำบัดวิกฤต
บรรยาย ทาง Webex นี้นะคะ 12.00-13.00
http://mahidol.webex.com/meet/panvilai.tan
#ERRamaFamily #LunchKnowledgeSharing #COVID19
Simple, modern video meetings for the global workforce. Join from anywhere, including your desktop, browser, mobile device, or video room device.
"Pre-hospital Operation"
Infographic by นพ.ธนภัทร แพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
#ERRamaFamily
รีรัน RAER Lunch Knowledge Sharing ในหัวข้อเรื่อง The Core Simulation Training in the Crisis โดย อ.พญ.ณัฐสินี อาจารย์แพทย์ฉุกเฉินผู้เชี่ยวชาญ simulation ในวันที่ 24/04/2020 สำหรับผู้ที่พลาดไปนะคะ
ใครได้ฟังกัน ส่ง comment กันเข้ามาหน่อยนะคะ
https://forms.gle/gFEhDJmtRoe5vbpL8
#ERRamaFamily
"CLINICAL CHARACTERISTICS AND
LABORATORY PARAMETERS AS PREDICTORS OF ADVERSE CLINICAL
OUTCOMES OF COVID-19 PATIENTS"
Infographic by พญ.ศิรดา แพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
#ERRamaFamily
Get ready!!!! พร้อมกันแล้วนะคะ
เรื่องรู้รอบเรื่องโควิท เราคัดสรรแต่ไฮไลท์ให้คุณ by ERrama resident บรรยาย ทาง Webex นี้นะคะ 12.00-13.00
http://mahidol.webex.com/meet/panvilai.tan
Simple, modern video meetings for the global workforce. Join from anywhere, including your desktop, browser, mobile device, or video room device.
Review on the Run !!!! เราคัดสรรแต่ highlight มาเพื่อคุณ
พรุ่งนี้ เชิญพบกับ review articles by ERrama resident นะคะ #รู้รอบเรื่องโควิทภายในหนึ่งชั่วโมง ถ้าคุณไม่เคยฟัง lecture ไหน หรือถ้าคุณยังไม่เข้าใจ section นี้คือคำตอบค่ะ
1.Laboratory and clinical prediction in severe COVID patients by พญ.ศิรดา จินตนาวสันต์ #Labไหนน่าส่งส่งแล้วน่าเชื่อถือแค่ไหน
2. Prehospital EMS Covid-19 Recommendation by นพ. ธนพัฒน์ พนิตนันท์ #COVIDPrehosทำอย่างไรดี
3. Patient transfer for covid19 infection by พญ.จีรนันท์ บริบูรณ์ #ส่งต่อผู้ป่วยอย่างไรทั้งคนไข้และเราถึงปลอดภัย
4.Noninvasive ventilation in critical ill patients with COVID-19 by นพ. เอกไพบูลย์ เชื้อทองฮัว #NIVใช้ได้ไหม
5. Crisis standards of care in COVID-19 outbreak by พญ.อรุณกมล พ่วงนิล #ถ้าเชื้อระบาดทำอย่างไรดี
6. Supply management in covid-19 (PPE) by พญ.มัลลิกา วิศาล #เราจะจัดการกับของใช้ไม่พออย่างไร
7. CRP,as a boimarker of covid19 by พญ.ชญานิศ โควะวินทวีวัฒน์ #biomarker
Get ready!!!! พร้อมกันแล้วนะคะ
เรื่อง "antiseptics,disinfectants & drugs used in the era of COVID-19" โดยผศ.พญ.สาทริยา ตระกูลศรีชัย
อาจารย์ค่ะ บรรยาย ทาง Webex นี้นะคะ 12.00-13.00
http://mahidol.webex.com/meet/panvilai.tan
Simple, modern video meetings for the global workforce. Join from anywhere, including your desktop, browser, mobile device, or video room device.
พรุ้งนี้พบกันแล้วนะคะ
กับเรื่อง antiseptics,disinfectants & drugs used in the era of COVID-19 กับอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญทางพิษวิทยาโดยเฉพาะโดยอาจารย์ ผศ.พญ.สาทริยา ตระกูลศรีชัย
ครั้งนี้ขอเชิญพี่ๆน้องๆชาวเวชศาสตร์ฉุกเฉินทุกท่านและผู้สนใจ เข้าร่วมชิมร่วมฟังขนมหวานในสัปดาห์นี้กันค่
พุธ-ศุกร์ 12.00-13.00 ทาง Webex ค่ะ
http://mahidol.webex.com/meet/panvilai.tan
#หวานเป็นลมขมเป็นยา แต่ขึ้นชื่อว่ายานั้นไซร้ ย่อมมีผลข้างเคียงฉันนั้น ยารักษาCOVIDสามารถเกิดผลอย่างไรบ้าง
#ระบบส่งต่อเคสCOVIDในต่างประเทศเป็นอย่างไร
#settingventilatorแบบไหนที่เหมาะสมกับคนไข้COVID
เชิญทุกท่านมารับชมรับชิมกันได้เรยค่ะ
เที่ยงแล้ว เชิญชวนมาชิมเนื้อวากิว เนื้อที่ได้รับการคัดสรรจากโคสายพันธุ์ที่ดีที่สุด การหมักซอสคลุกเคล้าเนื้อพิธีพิธันฉันใด simulation for CPR PUI patient ก็ฉันนั้น เชิญรับฟังกันได้เรยคร้า ที่
http://mahidol.webex.com/meet/panvilai.tan
Lunch Knowledge Sharing กำลังจะเริ่มแล้วนะครับ วันนี้เสนอหัวข้อ
"The Core in Simulation Training in Crisis situation" โดย อ.พญ.ณัฐสินี อธินาถรัตนพงษ์
https://mahidol.webex.com/meet/panvilai.tan
Simple, modern video meetings for the global workforce. Join from anywhere, including your desktop, browser, mobile device, or video room device.
Get Ready!
การนำเสนอ Hospital, ER, and Public Health Response in COVID-19 situation กำลังจะเริ่มในอีก 5 นาทีนี้แล้ว
ห้ามพลาดสรุปใจความสำคัญของสถานการณ์ตั้งแต่เริ่มจนปัจจุบัน
https://mahidol.webex.com/meet/panvilai.tan
ความซับซ้อนของการปั๊มหัวใจ และจำนวนผู้ช่วยเหลือที่มากกว่าปกติ...เพราะทุกคนคือคนสำคัญของเรา
https://youtu.be/TNHB_gnfa4M
แนวทางการกู้ชีพในห้องฉุกเฉินสำหรับผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นภายใต้สถานการณ์โรคระบาด Covid-19 จัดทำโดยทีมอาจารย์แ.....
270 ถ.พระราม 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี
Bangkok
10400
รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ Ramathibodi Emergency Medicine Departmentผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา
รีรัน RAER Lunch Knowledge Sharing ในหัวข้อเรื่อง CARDS ventilator management โดย อ.พญ.ธาวินี อาจารย์แพทย์ฉุกเฉินผู้เชี่ยวชาญเวชบำบัดวิกฤต ในวันที่ 01/05/2020 สำหรับผู้ที่พลาดไปนะคะ หัวข้อสุดท้ายสำหรับเดือนแห่งการเรียนรู้ของเรา ใครได้ฟังกัน ส่ง comment กันเข้ามาหน่อยนะคะ https://forms.gle/gFEhDJmtRoe5vbpL8 #ERRamaFamily
รีรัน RAER Lunch Knowledge Sharing ในหัวข้อเรื่อง The Core Simulation Training in the Crisis โดย อ.พญ.ณัฐสินี อาจารย์แพทย์ฉุกเฉินผู้เชี่ยวชาญ simulation ในวันที่ 24/04/2020 สำหรับผู้ที่พลาดไปนะคะ ใครได้ฟังกัน ส่ง comment กันเข้ามาหน่อยนะคะ https://forms.gle/gFEhDJmtRoe5vbpL8 #ERRamaFamily
รีรัน RAER Lunch Knowledge Sharing ในหัวข้อเรื่อง Criical Patient Transportation in COVID-19 Era โดย อ.พญ.พิชญ์สุชา อาจารย์แพทย์ฉุกเฉินผู้เชี่ยวชาญเวชบิบัดวิกฤตในวันที่ 16/04/2020 สำหรับผู้ที่พลาดไปนะคะ ใครได้ฟังกัน ส่ง comment กันเข้ามาหน่อยนะคะ https://forms.gle/gFEhDJmtRoe5vbpL8 #ERRamaFamily
รีรัน RAER Lunch Knowledge Sharing ในหัวข้อเรื่อง severe COVID-19 patient management โดย อ.พญ.ธาวินี อาจารย์แพทย์ฉุกเฉินผู้เชี่ยวชาญเวชบิบัดวิกฤตในวันที่ 15/04/2020 สำหรับผู้ที่พลาดไปนะคะ ใครได้ฟังกัน ส่ง comment กันเข้ามาหน่อยนะคะ https://forms.gle/gFEhDJmtRoe5vbpL8 #ERRamaFamily
รีรัน RAER Lunch Knowledge Sharing ในหัวข้อเรื่อง Pre-hospital Operation in COVID-19 situation โดย อ.พญ.กษมณฑ์ อาจารย์แพทย์ฉุกเฉินในวันที่ 14/04/2020 สำหรับผู้ที่พลาดไปนะคะ ใครได้ฟังกัน ส่ง comment กันเข้ามาหน่อยนะคะ https://forms.gle/gFEhDJmtRoe5vbpL8 #ERRamaFamily
รีรัน RAER Lunch Knowledge Sharing ในหัวข้อเรื่อง CPR & RSI ใน COVID-19 patients โดย อ.พญ.พิชญ์สุชา และ อ.พญ.ธาวินี อาจารย์แพทย์ฉุกเฉิน ผู้เชี่ยวชาญเวชบำบัดวิกฤต ในวันที่ 13/04/2020 สำหรับผู้ที่พลาดไปนะคะ #ERRamaFamily #น้อมรับคำติชมเพื่อพัฒนาค่ะ
เพราะปิ่นโต...ไม่ได้เอาไว้ใช้ส่งอาหารเพียงอย่างเดียว ขอขอบคุณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ ร่วมกับ HG.Robotics.และ Obodroid ส่งผู้ช่วยดีลิเวอร์ ส่งความปลอดภัยและความอุ่นใจ ให้ทั้งแพทย์และผู้ป่วย ต้นแบบของการประยุกต์นวัตกรรมกับผู้ใช้งานในห้องฉุกเฉิน #น้องปิ่นโตพร้อมดูแลคุณ #คนไทยเก่งที่สุด #วิศวะเก่งบอกต่อด้วย #วันนี้ฝึกงาน #ซ้อมน้องปิ่นโต
วันนี้น้องๆแพทย์ประจำบ้านได้ร่วมซ้อม pre-CLS กันอย่างตั้งใจและร่วมทั้งแรงกายแรงใจเป็นอย่างดีเยี่ยม pre-CLS คือ การฝึกปฏิบัติในการจำลองสถานการณ์คนไข้จริง เพื่อความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพซึ่งครั้งนี้เหล่าคณาจารย์ทุกท่านร่วมกันคิดสถานการณ์จำลองมาด้วยกัน 5 ฐาน ทั้ง PHTLS ATLS PALS neonatal ACLS and Toxicology แอดมินขอกล่าวคำขอบคุณทั้งคณาจารย์และแพทย์ประจำบ้านทุกๆท่านแทนผู้ป่วยทุกๆคนมา ณ ที่นี้ด้วย ดังคำมอบโอวาทของโอวาทของ ท่านเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เรืออากาศเอกนายแพทย์ อัจฉริยะ แพงมา การประชุมวิชาการการแพทย์ฉุกเฉินระดับชาติ ครั้งที่ 13 ประจำ ปี 2562มุ่งสู่ยุคใหม่การแพทย์ฉุกเฉินไทย “Next Generation EMS” #ประวัติศาสตร์ไม่ได้สร้างจากผู้มีอำนาจยิ่งใหญ่ หากแต่เกิดจากสามัญชน ประชาชนคนธรรมดาและมวลชนทุกคนในแผ่นดิน “งานบริการด้านการแพทย์ฉุกเฉิน” เป็นงานที่ก่อกำเนิดจากการมีจิตอาสาของประชาชนเคลื่อนสู่ระบบการบริหารจัดการโดยภาครัฐ อย่างไรก็ตาม ภาพที่ทุกคนเห็นเป็นเชิงประจักษ์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ณ ขณะนี้สะท้อนให้เห็นถึงการจัดการองค์ความรู้ นวัตกรรมที่ทันสมัยและเป็นประโยชน์ อันนำ ไปสู่การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานของระบบการแพทย์ฉุกเฉิน และการสร้างภาคีเครือข่ายด้านการแพทย์ฉุกเฉิน เพื่อมุ่งสู่ยุคใหม่การแพทย์ฉุกเฉินไทย
วันงานไหว้ครู ปี 2562 ของทั้งหลักสูตรนักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์(นฉพ.)และหลักสูตรเรซิเด้นท์(แพทย์ประจำบ้าน) งานนี้ของทุกๆปีแอดมินจะรู้สึกมีความสุขและปลาบปลื้มใจเสมอ ER rama family #คิดถึงERคิดถึงรามาธิบดี
จบไปแล้วกับการฝึกซ้อม PHTLS edition 9 สำหรับน้องๆ resident แอดมินก็ขอเป็นหนึ่งในกำลังใจของน้องๆ resident ตลอดไปนะคะ😃😃😃
แอดมินขอแสดงความยินดีกับภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ที่ได้ผ่านมติรับรองมาตรฐาน กรอบมาตรฐานคุณวุฒิความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน (หลักสูตรฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน) ด้วยเกณฑ์ WFME ซึ่งย่อมาจาก World Federation for Medical Education ซึ่งเป็นองค์กรสากลที่รับรองมาตรฐานหลักสูตรแพทย์ทั่วโลก จากคณะกรรมการแพทยสภา ในวันที่ 14 มีนาคม 2562 จากรายงาน หลักฐาน ตลอดจนการสัมภาษณ์ทั้งผู้เรียน ผู้สอน และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน เพื่อตรวจสอบว่าการจัดการเรียนการสอนมีมาตรฐานระดับสากลหรือไม่ ซึ่งได้ผ่านเกณฑ์มติรับรองมาตรฐานแล้ว โดยสถาบันฝึกอบรมประสงค์จะดำเนินการแผนงานฝึกอบรมดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง “สำหรับแผนงานฝึกอบรม สาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน ของสถาบันฝึกอบรมคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ถือว่าผ่านไปด้วยดี ในการตรวจประเมินด้วยเกณฑ์ WFME เนื่องจากคำนึงถึงประเด็นหลากหลายด้านของแพทย์ประจำบ้านพร้อมทั้งมีการปรับปรุงหลักสูตรอย่างต่อเนื่องพร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นของแพทย์ประจำบ้านอีกด้วย” # คิดถึง ER คิดถึง รามาธิบดี
วันพุธที่ 28 สิงหาคม ที่ผ่านมานะคะ ทางทีมอาจารย์และแพทย์ประจำบ้าน(เรสซิเด้นท์)ของแผนกเวชศาสตร์ฉุกเฉินได้จัดซ้อมและฟอร์มทีมในการรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาทางเดินหายใจในระหว่างการกู้ชีพ เช่น หายใจติดขัดหรือลำบากทั้งในเด็ก ในผู้ใหญ่ ปัญหาการใส่ท่อช่วยหายใจยาก การผ่าตัดเปิดทางเดินหายใจ โดยมีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาทักษาในการดูแลรักษาผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดียิ่งขึ้นค่ะ น้องๆเรสซิเด้นท์ทุกคนของเวชศาสตร์ฉุกเฉินรามาธิบดีทุกคนมีความตั้งใจและสามารถฝึกการทำงานเป็นทีมได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ทาง page ขอเป็นอีกหนึ่งกำลังใจให้กับแพทย์ประจำบ้านสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉินรามาธิบดีทุกท่านด้วยนะคะ
โลกออนไลน์ในขณะนี้ ถ้าใครพูดถึง 'My Ambulance’ รักฉุดใจนายฉุกเฉิน ก็คงไม่มีใครไม่รู้จัก หลายคนกล่าวถึงฉากการแพทย์ในละคร ว่าจะออกมาสมจริงมากน้อยแค่ไหนนะคะ ยังไงก็ขอฝากเพื่อนพี่ๆน้องๆผู้ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินทุกท่าน ติดตามชมกันด้วยนะคะ ทั้งนี้ทีมงานจากภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉินทุกคนมีความตั้งใจอย่างยิ่งในการช่วยเหลือนักแสดงและเหล่าผู้กำกับละคร ขอบคุณทาง Nadao series คุณบอสและคุณแตง ผู้กำกับ ทีมนักแสดงทุกคน ที่ให้โอกาสพวกเราได้ร่วมงานตลอดระยะเวลาหลายเดือนที่ผ่านมาค่ะ และขอขอบพระคุณ ศ.นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีที่ให้โอกาสในการถ่ายทำละครเรื่องนี้ ณ ศูนย์การแพทย์จักรีนริบดินทร์ค่ะ ฝากคิดตามชมกันได้ทุกวันศุกร์-เสาร์ เวลา 20:10 น. ทางช่อง One31 เริ่มวันศุกร์ที่ 6 กันยายนนี้ เป็นตอนแรกค่ะ # คิดถึง ER คิดถึงรามาธิบดี
ห้องผ่าตัดศูนย์การแพทย์สิริกิติ์ โรงพยาบาลราม
โรงพยาบาลรามาธิบดีAIMC Ramathibodi ศูนย์รังสีวินิจฉัยก้า
Ramathibodiงานสังคมสงเคราะห์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
270 ถนนพระรามที่ 6 เเขวงทุ่งพญาไทสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม - สมอ.
75/42 Rama VI Rd.สถาบันมะเร็งแห่งชาติ National Cancer Institut
268/1 ถนนพระราม 6ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
270 Faculty of Medicine,Ramathibodi Hospital Mahidol University Rama 6 Rd,Rajtheveeสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแว
118/1 ชั้น8 อาคารทิปโก้2 ถ.พระรามที่6 แขวงพญาไท เขตพญาไทThailand's Best Friends (TBF) 2011
Department of Export Promotion Ministry of Commerce Royal Thai GovernmentAdministrative Court of Thailand
120 Moo3 Chaeng Watthana RoadExcellent Center in Otolaryngology Head & Nec
2 Phayathai Rd., Phayathai, Rajtheveeสโมสรนิสิตคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาส
50 ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร