กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
(1422)

ประวัติกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

จากการพัฒนาของประเทศในด้านต่างๆ ตลอดระยะเวลาที่ผานมา เช่น การทำการประมง อุตสาหกรรม เกษตรกรรม การพัฒนาแหล่งชุมชนและอื่นๆ ทำให้มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างมาก ก่อให้เกิดการเลี่ยนแปลงและส่งผลกระทบต่อความเสื่อมโทรมของทรัพยากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการใช้ที่ดินชายฝั่งทะเลมาก จนเกิดความขัดแย้งในการใช้ประโยชน์ เกิดปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลอย่างร

ุนแรง พื้นที่ป่าชายเลนลดลงอย่างรวดเร็วเนื่องจากการบุกรุกและเปลี่ยนแปลงสภาพเพื่อประโยชน์ในด้านอื่นๆ แหล่งปะการังและหญ้าทะเลอยู่ในสภาพเสื่อมโทรม ประกอบกับสภาพแวดล้อมของแหล่งน้ำเสื่อมโทรม ซึ่งเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตและขยายพันธ์ของสัตว์น้ำ ส่งผลให้ปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้ลดลงอย่างมาก

ด้วยความตระหนักว่าการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในอดีตที่ผ่านมายังไม่มีเอกภาพ ขาดการบูรณาการและไม่มีหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง หรือมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพ จึงได้มีการปฏิรูประบบราชการและมีพระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการจัดการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จึงได้ถูกจัดตั้งขึ้น โดยรวมงานที่เกี่ยวข้องในด้านทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จากกรมประมง กรมป่าไม้ และกรมพัฒนาที่ดินในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มาอยู่ภายใต้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีภารกิจในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู บริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยเฉพาะพื้นที่ดินชายทะเล ป่าชายเลน แนวปะการัง หญ้าทะเลและสัตว์ทะเล เพื่อให้กิดความสมดุลและเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างยั่งยืน

📮 กรม ทช. เก็บข้อมูลจากเครื่องบันทึกอุณหภูมิน้ำทะเล (Temperature Data Logger)  บริเวณเกาะทะลุ เกาะเหลื่อม จังหวัดประจวบค...
21/02/2025

📮 กรม ทช. เก็บข้อมูลจากเครื่องบันทึกอุณหภูมิน้ำทะเล (Temperature Data Logger) บริเวณเกาะทะลุ เกาะเหลื่อม จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เกาะไข่ เกาะลังกาจิว จังหวัดชุมพร และเกาะพะลวย จังหวัดสุราษฎร์ธานี

วันที่ 17 – 21 กุมภาพันธ์ 2568 กลุ่มสมุทรศาสตร์และสิ่งแวดล้อมทางทะเล ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนกลาง ดำเนินการเก็บข้อมูลจากเครื่องบันทึกอุณหภูมิน้ำทะเล (Temperature Data Logger) บริเวณเกาะทะลุ เกาะเหลื่อม จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เกาะไข่ เกาะลังกาจิว จังหวัดชุมพร และเกาะพะลวย จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่าอุณหภูมิน้ำทะเล ในเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2568 มีค่าระหว่าง 24.35 °C - 29.45 °C ผลการวัดคุณภาพน้ำทะเลเบื้องต้น อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเล ประเภทที่ 1 เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งนี้จะติดตามข้อมูลดังกล่าวทุก เดือน

📮 เตือนภัย ‼️ พบการแพร่กระจายของแมงกะพรุนกะลาสีเรือตามลม แมงกะพรุนหัวขวด บริเวณชายหาดสมิหลา-ชลาทัศน์ อ. เมือง จ. สงขลา ว...
21/02/2025

📮 เตือนภัย ‼️ พบการแพร่กระจายของแมงกะพรุนกะลาสีเรือตามลม แมงกะพรุนหัวขวด บริเวณชายหาดสมิหลา-ชลาทัศน์ อ. เมือง จ. สงขลา

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2568 เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง (สงขลา) ได้ลงพื้นที่สำรวจการแพร่กระจายของแมงกะพรุนพิษบริเวณชายหาดสมิหลา-ชลาทัศน์ อ. เมือง จ. สงขลา พบการแพร่กระจายของแมงกะพรุนกะลาสีเรือตามลมชนิด Velella velella ขนาดลำตัวเฉลี่ย 3-5 ซม. จำนวน 650 ตัว/ 100 ม. และแมงกะพรุนหัวขวด (Bluebottle Jellyfish) สกุลไฟซาเลีย (Physalia sp.) ขนาดลำตัวเฉลี่ย 1-4 ซม. จำนวน 18 ตัว/ 100 ม. โดยแมงกะพรุนชนิด Velella velella เป็นแมงกะพรุนที่มีพิษเล็กน้อย ไม่เป็นอันตรายมาก แต่อาจก่อให้เกิดผื่นแดงหรือระคายเคืองในคนที่แพ้พิษได้ ในขณะที่บริเวณที่สัมผัสแมงกะพรุน Physalia sp. อาจทำให้มีรอยแผลนูนแดง ปวดแสบร้อน อาการหลังจากโดนพิษในบางรายอาจจะมีอาการรุนแรง (ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง แน่นหน้าอก หัวใจเต้นผิดปกติ หรือหมดสติ) แต่ระดับความเป็นพิษก็ขึ้นอยู่กับความต้านทานของแต่ละบุคคลและปริมาณพิษที่ได้รับ พร้อมนี้เจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ ได้ประสานสำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 5 (สงขลา) จัดเตรียมเสาน้ำส้มสายชูในพื้นที่ชายหาดท่องเที่ยว และได้ประสานแจ้งข้อมูลเบื้องต้นเข้ากลุ่มไลน์ "เฝ้าระวังบาดเจ็บชายฝั่งทะเล" ของจังหวัดสงขลา เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ช่วยกันประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่รับทราบ

📮 กรม ทช. ร่วมกับบริษัท ซิสทรอนิกส์ จำกัด สำรวจสัตว์ทะเลหายากเพื่อจัดเก็บข้อมูลการแพร่กระจายและจำนวนประชากรของสัตว์ทะเลห...
21/02/2025

📮 กรม ทช. ร่วมกับบริษัท ซิสทรอนิกส์ จำกัด สำรวจสัตว์ทะเลหายากเพื่อจัดเก็บข้อมูลการแพร่กระจายและจำนวนประชากรของสัตว์ทะเลหายาก

วันที่ 17-21 กุมภาพันธ์ 2568 เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน ร่วมกับบริษัท ซิสทรอนิกส์ จำกัด สำรวจสัตว์ทะเลหายากเพื่อจัดเก็บข้อมูลการแพร่กระจายและจำนวนประชากรของสัตว์ทะเลหายาก โดยใช้เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับแบบปีกตรึง (Fixed-wing Unmanned Aerial Vehicles) พื้นที่อ่าวไทยตอนบน บริเวณชายฝั่งทะเลจังหวัดสมุทรสาคร ฉะเชิงเทรา และชลบุรี คิดเป็นพื้นที่สำรวจทั้งสิ้น 60.1 ตารางกิโลเมตร จากการบินสำรวจ และนำภาพถ่ายทางอากาศมาวิเคราะห์
- บริเวณปากแม่น้ำท่าจีน พบสัตว์ทะเลหายาก จำนวน 2 ชนิด ได้แก่ วาฬบรูด้า (Bryde's whale: Balaenoptera edeni) ห่างจากฝั่ง 8 กิโลเมตร จำนวน 1 ตัว และโลมาอิรวดี (Irrawaddy Dolphin: Orcaella brevirostris) ห่างจากฝั่ง 3-4 กิโลเมตร จำนวน 3 ตัว
- บริเวณปากแม่น้ำบางปะกง พบสัตว์ทะเลหายาก จำนวน 1 ชนิด ได้แก่ โลมาอิรวดี (Irrawaddy Dolphin : Orcaella brevirostris) ห่างจากฝั่ง 7-10 กิโลเมตร จำนวน 4 ตัว ซึ่งข้อมูลในการสำรวจครั้งนี้จะนำไปคำนวณและวิเคราะห์จำนวนประชากรและแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเลหายากในบริเวณอ่าวไทยตอนบนต่อไป

📮 กรม ทช. ร่วมตรวจสอบพื้นที่ต้องสงสัยว่ากระทำผิด จากการลาดตระเวนด้วยอากาศยานไร้คนขับ (Drone) ในพื้นที่ป่าชายเลน ท้องที่ ...
21/02/2025

📮 กรม ทช. ร่วมตรวจสอบพื้นที่ต้องสงสัยว่ากระทำผิด จากการลาดตระเวนด้วยอากาศยานไร้คนขับ (Drone) ในพื้นที่ป่าชายเลน ท้องที่ บ้านห้วยลึก หมู่ที่ 2 ต.วังวน อ.กันตัง จ.ตรัง

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 7 โดยนายกิตติภัต ลาภชูรัต ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน พร้อมเจ้าหน้าที่ศบปล.ตรัง กำนัน ต.วังวน ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 2 ต.วังวน ร่วมกันตรวจสอบพื้นที่ต้องสงสัยว่ากระทำผิด จากการลาดตระเวนด้วยอากาศยานไร้คนขับ (Drone) ในพื้นที่ป่าชายเลน ท้องที่ บ้านห้วยลึก หมู่ที่ 2 ต.วังวน อ.กันตัง จ.ตรัง ผลการตรวจสอบปรากฏว่ามีการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ป่าชายเลน เป็นบ่อปลาและบ่อกุ้ง จำนวน 2 บ่อ พร้อมปลูกบ้านพักและขนำ ตรวจวัดเนื้อที่ประมาณ 5 ไร่ เจ้าของที่ดินได้ยื่นหลักฐานการได้มาของที่ดิน เป็นเอกสารแสดงหนังสือรับรองการใช้ประโยชน์ (น.ส.3 ข) มาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ คณะเจ้าหน้าที่ได้ร่วมกันพิจารณาแล้วเห็นว่าเพื่อความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายจึงเห็นควรนำแปลงที่ดินที่ตรวจสอบเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สิทธิในที่ดินต่อไป

📮 กรมทะเล ศึกษาชนิดและปริมาณไมโครพลาสติกที่ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมบริเวณคลองขุด จังหวัดตราด หาดแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี ค...
21/02/2025

📮 กรมทะเล ศึกษาชนิดและปริมาณไมโครพลาสติกที่ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมบริเวณคลองขุด จังหวัดตราด หาดแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี คลองน้ำหู จังหวัดระยอง ช่องแสมสาร พัทยาใต้ และหาดน้ำใส จังหวัดชลบุรี

วันที่ 17-21 กุมภาพันธ์ 2568 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก ดำเนินการศึกษาชนิดและปริมาณไมโครพลาสติกที่ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมบริเวณคลองขุด จังหวัดตราด หาดแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี คลองน้ำหู จังหวัดระยอง ช่องแสมสาร พัทยาใต้ และหาดน้ำใส จังหวัดชลบุรี เบื้องต้นพบขยะทะเลประเภทพลาสติกขนาดเล็ก โดยจะรวบรวมไปวิเคราะห์ชนิดและปริมาณในห้องปฏิบัติการต่อไป ซึ่งการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการบริหารจัดการขยะพลาสติกและการแก้ไขปัญหาการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกในระบบนิเวศ

📮 กรม ทช. ร่วมสนับสนุนภารกิจของศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล จังหวัดภูเก็ต        วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2568...
21/02/2025

📮 กรม ทช. ร่วมสนับสนุนภารกิจของศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล จังหวัดภูเก็ต

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2568 กองป้องกัน ปราบปราม และบริหารจัดการพื้นที่คุ้มครอง (กปพ.) โดยศูนย์จัดการพื้นที่คุ้มครองหมู่เกาะราชา จังหวัดภูเก็ต ส่วนบริหารจัดการพื้นที่คุ้มครอง ร่วมสนับสนุนภารกิจของศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล จังหวัดภูเก็ต จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ วันที่ 8 มกราคม 2568 ดำเนินการจัดกิจกรรมเก็บขยะใต้น้ำ เก็บขยะชายฝั่ง และซ่อมแซมทุ่นผูกเรือ ในพื้นที่เกาะราชาใหญ่ ต.ราไวย์ อ.เมือง จ.ภูเก็ต ใช้กำลังทางเรือและเจ้าหน้าที่พร้อมอาสาสมัครนักดำน้ำ จำนวน 80 คน และได้รับการสนับสนุนอาสาสมัครจากกลุ่มอนุรักษ์ปะการังเกาะราชาใหญ่ ผู้ประกอบการดำน้ำ รีสอร์ท และร้านอาหารบนเกาะราชาใหญ่ รวมผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน จำนวน 120 คน

📮 กรมทะเลชายฝั่ง บินสำรวจ และประเมินสุขภาพประชากรพะยูน บริเวณอ่าวตังเข็นวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2568 ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางท...
21/02/2025

📮 กรมทะเลชายฝั่ง บินสำรวจ และประเมินสุขภาพประชากรพะยูน บริเวณอ่าวตังเข็น

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2568 ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน (ศวอบ.) ทำการบินสำรวจ และประเมินสุขภาพประชากรพะยูน บริเวณโดยรอบ ด้วยอากาศยานไร้คนขับบริเวณอ่าวตังเข็น พบพะยูน จำนวน 4 ตัว มีพฤติกรรมการกินอาหารและว่ายน้ำตามปกติความสมบูรณ์ของร่างกาย ระดับสมบูรณ์ดี (BCS = 3/5 ) อัตราการหายใจ 3 - 5 ครั้งใน 5 นาที จำนวน 3 ตัว พบพะยูนมีความสมบูรณ์ของร่างกายระดับผอม (BCS = 2/5 ) อัตราการหายใจ 3 - 5 ครั้ง ใน 5 นาที จำนวน 1 ตัว บริเวณอ่าวป่าคลอก พบเต่าทะเล จำนวน 1 ตัว พบพะยูน จำนวน 1 ตัว บริเวณราไวย์ ไม่พบพะยูน เจ้าหน้าที่ได้ทำการติดตามเฝ้าระวัง เพื่อควบคุมป้องกันกิจกรรมที่จะทำให้เกิดความเสี่ยงและผลกระทบต่อพะยูนในพื้นที่ต่อไป

📮 “รองอุกกฤต” ร่วมเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ ในโครงการฝึกอบรมหลักสูตร “นักบริหารระดับกลางกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้...
21/02/2025

📮 “รองอุกกฤต” ร่วมเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ ในโครงการฝึกอบรมหลักสูตร “นักบริหารระดับกลางกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” รุ่นที่ 4

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2568 นายอุกกฤต สตภูมินทร์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เข้าร่วมเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ ในโครงการฝึกอบรมหลักสูตร “นักบริหารระดับกลางกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” (นบก.ทส.) รุ่นที่ 4 ให้กับบุคลากรในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวน 50 คน ผ่านระบบออนไลน์ (Zoom Application) ณ ห้องสำนักงานรองอธิบดีฯ ชั้น 9 กรม ทช. โอกาสนี้ รองอธิบดีฯ ได้บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับภารกิจของหน่วยงาน หลักการบริหารงานและแนวทางการเชื่อมโยงการทำงานอย่างบูรณาการร่วมกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวง ทส. ทั้งนี้ โครงการฝึกอบรมหลักสูตรดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างทักษะสมรรถนะให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความพร้อมในการเป็นผู้บริหาร มีความสามารถในการบริหารราชการแผ่นดิน การพัฒนายุทธศาสตร์ในส่วนที่เกี่ยวกับกระทรวงฯ ในบริบทสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง เป็นผู้นำด้านวิชาการ สามารถสร้างความตระหนักให้ประชาชนมีความเข้าใจในภารกิจงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีความเข้าใจและสามารถใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมในการติดตามเฝ้าระวังและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนที่กำหนดไว้ ต่อไป

📮 กรม ทช. บรรยายความรู้ เกี่ยวกับ ชนิดพันธุ์ไม้ป่าชายเลน ตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติวันที่ 21 กุมภาพันธ์  2568  กองจัดการชุม...
21/02/2025

📮 กรม ทช. บรรยายความรู้ เกี่ยวกับ ชนิดพันธุ์ไม้ป่าชายเลน ตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติ

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2568 กองจัดการชุมชนชายฝั่งและเครือข่าย โดยศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 2 ต้อนรับคณะครู และนักเรียน ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 โรงเรียนบ้านทวดทอง จำนวน 180 คน เดินทางมาศึกษาแหล่งเรียนรู้ป่าชายเลน โดยมีเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ ให้การต้อนรับ และบรรยายความรู้ เกี่ยวกับ ชนิดพันธุ์ไม้ป่าชายเลน ตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติ การใช้ประโยชน์จากต้นจาก เพื่อปลูกสร้างจิตสำนึกให้เยาวชนเห็นถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ

📮 กรม ทช. จัดอบรมการใช้อากาศยานไร้คนขับ (Drone LiDAR) พร้อมอุปกรณ์และระบบโปรแกรมซอฟต์แวร์      วันที่ 20-21 กุมภาพันธ์ 2...
21/02/2025

📮 กรม ทช. จัดอบรมการใช้อากาศยานไร้คนขับ (Drone LiDAR) พร้อมอุปกรณ์และระบบโปรแกรมซอฟต์แวร์

วันที่ 20-21 กุมภาพันธ์ 2568 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง โดยส่วนวิศวกรรมและฟื้นฟูชายฝั่ง จัดอบรมการใช้อากาศยานไร้คนขับ (Drone LiDAR) พร้อมอุปกรณ์และระบบโปรแกรมซอฟต์แวร์ ณ ห้องประชุมพะยูน ชั้น 8 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และสนามบินอากาศยานไร้คนขับ ตำบลไทรใหญ่ อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี โดยมี นายปรมินทร์ แสนทรงศักดิ์ ผู้อำนวยการกองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง เป็นประธานเปิดการฝึกอบรม และมีเจ้าหน้าที่ของบริษัท ซิสทรอนิกส์ จำกัด เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ การใช้งานอากาศยานไร้คนขับ (Drone) ติดตั้งระบบตรวจจับแสงและวัดระยะ (LiDAR) และการวิเคราะห์ข้อมูลจากการใช้งานอุปกรณ์ สำหรับการฝึกอบรมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้และฝึกฝนเจ้าหน้าที่กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งเกี่ยวกับการใช้งานและวิเคราะห์ข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศ (ออร์โธสี) และค่าพิกัดสามมิติ (3D Point cloud) โดยใช้อากาศยานไร้คนขับติดตั้งระบบตรวจจับแสงและวัดระยะ (Drone LiDAR) โดยในการประชุมครั้งมีผู้เข้าร่วมการอบรม รวม 18 ท่าน เป็นเจ้าหน้าที่ในสังกัด กอช. รวมทั้งสิ้น 5 ส่วน ประกอบด้วย ส่วนวิศวกรรมและฟื้นฟูชายฝั่ง ส่วนจัดการพื้นที่ชายฝั่ง ส่วนแผนงานและยุทธศาสตร์ ส่วนติดตามและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมชายฝั่ง และส่วนวิจัย พัฒนา และธรณีวิทยาชายฝั่ง

📮 กรม ทช. จัดเก็บขยะจากทุ่นกักขยะและทำการคัดแยก ตามแบบฟอร์มบันทึกข้อมูล  ICC  Data  Card        วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 256...
21/02/2025

📮 กรม ทช. จัดเก็บขยะจากทุ่นกักขยะและทำการคัดแยก ตามแบบฟอร์มบันทึกข้อมูล ICC Data Card

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2568 สทช.2 โดยส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล ร่วมกับ เทศบาลเมืองแสนสุข และกลุ่มชมรมกู้ชีพฉลามขาว (พิทักษ์ทะเล) ลงพื้นที่จัดเก็บขยะจากทุ่นกักขยะ บริเวณคลองบางโปรง ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี ได้ดำเนินการจัดเก็บขยะจากทุ่นกักขยะและทำการคัดแยก ตามแบบฟอร์มบันทึกข้อมูล ICC Data Card โดยขยะ 5 อันดับแรก ได้แก่ 1.ขวดพลาสติก 2. ถุงพลาสติก 3. ขยะอินทรีย์ รวมน้ำหนักขยะได้ทั้งสิ้น 95 กิโลกรัม ขยะที่จัดเก็บได้ทำการคัดแยกส่วนที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้จะนำกลับไปเข้ากระบวนการรีไซเคิลส่วนที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้จะนำไปกำจัดให้ถูกต้องตามหลัก วิชาการต่อไป

20/02/2025

กรมทะเล จัดเฝ้าสังเกตการเพาะพันธุ์ปะการังแบบอาศัยเพศและการแพร่กระจายของตัวอ่อนปะการัง ณ เกาะมันใน จังหวัดระยอง
วันที่ 13- 20 กุมภาพันธ์ 2568 ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ การเพาะพันธุ์ปะการังแบบอาศัยเพศและการแพร่กระจายของตัวอ่อนปะการัง ณ เกาะมันใน จังหวัดระยอง มีผู้เข้าร่วมประชุม 20 คน จากสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ศูนย์จัดการพื้นที่คุ้มครองหมู่เกาะมัน มูลนิธิรักษ์ปะการัง โดยความอุปถัมภ์ของบมจ. เอจีซี วีนิไทยจำกัด (มหาชน) และ Coral Gardeners โดยมี ผศ.ดร. เมธิณี อยู่เจริญ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ Dr. Rahul Mehrotra จาก ATMEC ร่วมเป็นวิทยากร จากการเฝ้าสังเกตในครั้งนี้พบการปล่อยเซลล์สืบพันธุ์ของปะการังหลายชนิด ระหว่างวันที่ 17-19 กุมภาพันธ์ 2568 ช่วงเวลา 20.30-21.30 น. ได้แก่ ปะการังช่องเหลี่ยม (Favites abdita) ปะการังเขากวางโต๊ะ (Acropora hyacinthus) ปะการังเขากวาง (Acropora millepora) และปะการังสมองร่องเล็ก (Platygyra sinensis) นอกจากนั้นได้ทำการเก็บรวบรวมเซลล์สืบพันธุ์ของปะการังช่องเหลี่ยมเพื่อนำไปเพาะเลี้ยงและนำไปใช้ในการฟื้นฟูแนวปะการังต่อไป

📮กรมทะเล สำรวจ ติดตาม เฝ้าระวังพะยูน และการใช้ประโยชน์ในแหล่งหญ้าทะเล รวมทั้งกิจกรรมที่อาจส่งผลกระทบต่อพะยูน ในพื้นที่อ่...
20/02/2025

📮กรมทะเล สำรวจ ติดตาม เฝ้าระวังพะยูน และการใช้ประโยชน์ในแหล่งหญ้าทะเล รวมทั้งกิจกรรมที่อาจส่งผลกระทบต่อพะยูน ในพื้นที่อ่าวตังเข็น อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต
วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 กองป้องกัน ปราบปราม และบริหารจัดการพื้นที่คุ้มครอง โดยส่วนบริหารจัดการพื้นที่คุ้มครอง ร่วมกับศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน ดำเนินการสำรวจ ติดตาม เฝ้าระวังพะยูน และการใช้ประโยชน์ในแหล่งหญ้าทะเล รวมทั้งกิจกรรมที่อาจส่งผลกระทบต่อพะยูน ในพื้นที่อ่าวตังเข็น อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ด้วยอากาศยานไร้คนขับแบบอัตโนมัติ โดยผู้ควบคุมสั่งการบินระยะไกล จำนวน 2 เที่ยว ตั้งแต่เวลา 10.30-13.30 น. ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 925 ไร่ ผลการสำรวจพบพะยูน จำนวน 2 ตัว เบื้องต้น ไม่พบกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรือส่งผลกระทบต่อสัตว์ทะเลหายาก อย่างไรก็ตามเนื่องจากวันนี้มีกระแสลมแรง จึงทำให้เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานดังกล่าว

📮รองอธิบดีกรมทะเล กล่าวเปิดการประชุมการอนุรักษ์พะยูนและแหล่งหญ้าทะเลระดับภูมิภาคเอเชีย    วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 นายอ...
20/02/2025

📮รองอธิบดีกรมทะเล กล่าวเปิดการประชุมการอนุรักษ์พะยูนและแหล่งหญ้าทะเลระดับภูมิภาคเอเชีย
วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 นายอุกกฤต สตภูมินทร์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ร่วมกล่าวเปิดการประชุมระหว่างประเทศ The First Asian Regional Dialogue on Seagrass and Dugong Conservation: From Gaps to Impactful Action ในการนี้มีนางสุรีย์ สตภูมินทร์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจัดการทรัพยากรทางทะเล นางสุมนา ขจรวัฒนากุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง นางสาวอรอุมา จรรยาปิยพงศ์ ผู้อำนวยการกองต่างประเทศ พร้อมด้วยผู้แทนจากสถาบันวิจัยฯ กองอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล และกองการต่างประเทศ ตลอดจนผู้แทนสหประชาชาติกว่า 10 ประเทศ ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมประตูน้ำ ชั้น 7 โรงแรม อมารี กรุงเทพ
การประชุมในครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อเป็นเวทีในการหารือ แลกเปลี่ยนความรู้และการดำเนินงานของผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ ผู้ปฏิบัติงานด้านการอนุรักษ์ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาใหม่ๆ และพัฒนากลยุทธ์ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงในการปกป้องและฟื้นฟูระบบนิเวศหญ้าทะเลและประชากรพะยูนในระดับภูมิภาค โดยมุ่งเน้นในการเสริมสร้างความร่วมมือระดับภูมิภาค ขยายขอบเขตโครงการอนุรักษ์หญ้าทะเล และระดมทรัพยากรที่จำเป็นเพื่อรักษาความยืดหยุ่นของระบบนิเวศที่สำคัญในระยะยาว และเสริมสร้างแรงผลักดันที่จำเป็นในการปกป้องระบบนิเวศหญ้าทะเล โอกาสนี้ ผู้แทนกรมฯ ได้ร่วมนำเสนอสถานการณ์ การดำเนินงาน ความสำเร็จและความท้าทายของประเทศไทย ร่วมกับผู้แทนประเทศต่างๆ เพื่อความร่วมมือในการรับมือ การอนุรักษ์และบริหารจัดการหญ้าทะเลและพะยูนในระดับภูมิภาคเอเชียต่อไป ทั้งนี้ การประชุมดังกล่าวจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20 – 21 กุมภาพันธ์ 2568

📮กรมทะเล ร่วมกับเครือข่ายฯ จัดเก็บขยะชายหาดพื้นที่เกาะราชาใหญ่ จังหวัดภูเก็ต     วันที่ 18-20 กุมภาพันธ์ 2568 กองป้องกัน...
20/02/2025

📮กรมทะเล ร่วมกับเครือข่ายฯ จัดเก็บขยะชายหาดพื้นที่เกาะราชาใหญ่ จังหวัดภูเก็ต
วันที่ 18-20 กุมภาพันธ์ 2568 กองป้องกัน ปราบปราม และบริหารจัดการพื้นที่คุ้มครอง (กปพ.) โดยศูนย์จัดการพื้นที่คุ้มครองหมู่เกาะราชา จังหวัดภูเก็ต ส่วนบริหารจัดการพื้นที่คุ้มครอง ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ออกปฏิบัติงานเฝ้าระวังคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พื้นที่เกาะราชาใหญ่ จังหวัดภูเก็ต และร่วมกับกลุ่มอนุรักษ์ปะการังเกาะราชาใหญ่ ดำเนินการจัดเก็บขยะชายหาด และสำรวจพื้นที่จัดเก็บขยะใต้น้ำบริเวณอ่าวพลับพลา เพื่อเตรียมดำเนินการจัดกิจกรรม เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เนื่องในโอกาสคล้ายวันประสูติ วันที่ 8 มกราคม 2568 ซึ่งจะจัดโดยศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลจังหวัดภูเก็ตในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2568 ทั้งนี้ จัดเก็บขยะชายหาด และคัดแยก เป็นประเภท ขวดพลาสติกใส 120 กก. ขวดพลาสติกขุ่น 60 กก. ขวดแก้ว 400 กก. เชือก 800 กก. เศษอวน 50 กก. อุปกรณ์ดำน้ำ 30 กก. เครื่องมือประมง 110 กก. และขยะอื่นๆ 200 กก. รวมน้ำหนักขยะที่จัดเก็บได้ 1,770 กก. การปฎิบัติงานครั้งนี้ ไม่พบการกระทำผิดกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และไม่พบการเกิดอุบัติภัยทางทะเลแต่อย่างใด

โปรดระวัง!! แมงกะพรุนกะลาสีเรือ เกยหาดตะโละสะมิแล จ.ปัตตานีตามที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง (สงขล...
19/02/2025

โปรดระวัง!! แมงกะพรุนกะลาสีเรือ เกยหาดตะโละสะมิแล จ.ปัตตานี

ตามที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง (สงขลา) ได้รับข้อมูลผ่านทางสื่อออนไลน์เฟสบุ๊ค เมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2568 จากผู้ใช้นามว่า Marco G. Tahini ได้โพสต์ลงในกลุ่ม
“นี่ตัวอะไร” ว่าได้พบสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง ที่บริเวณชายหาดตะโละสะมิแล จ.ปัตตานี มีลักษณะคล้ายแมงกะพรุน แต่ไม่ทราบชนิด ขึ้นเต็มชายหาด พร้อมส่งรูปถ่ายประกอบ

เจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ จึงได้ลงพื้นที่ดังกล่าวเพื่อตรวจสอบ พบการแพร่กระจายของแมงกะพรุนกะลาสีเรือตามลม (Velella velella) ขนาดลำตัวเฉลี่ย 3-5 ซม. จำนวนมากบริเวณพื้นที่ชายหาดตะโละสะมิแล (19,000 ตัว/ 100 ม.) โดยแมงกะพรุนชนิดนี้จัดอยู่ในกลุ่มไฮโดรซัว (Hydrozoa)

ซึ่งเป็นแมงกะพรุนที่เคยมีรายงานการพบที่จ.ภูเก็ต เเละ จ.สงขลา เป็นแมงกะพรุนที่มีพิษเล็กน้อย ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ แต่อาจก่อให้เกิดผื่นแดงหรือระคายเคืองในคนที่แพ้พิษได้

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นหากได้รับพิษจากแมงกะพรุน ให้ใช้น้ำส้มสายชูราดบริเวณที่สัมผัสอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 30 วินาที ก่อนนำตัวส่งโรงพยาบาล พร้อมนี้เจ้าหน้าที่ได้เก็บตัวอย่างเพื่อนำมาศึกษาวิจัยต่อไป

📮 กรม ทช. ลงพื้นที่ตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม กรณีแจ้งพบสาหร่ายจำนวนมาก บริเวณหาดกระทิงลาย จังหวัดชลบุรีวันที่ 19 กุมภาพัน...
19/02/2025

📮 กรม ทช. ลงพื้นที่ตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม กรณีแจ้งพบสาหร่ายจำนวนมาก บริเวณหาดกระทิงลาย จังหวัดชลบุรี

วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2568 ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก ลงพื้นที่ตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยได้รับข่าวจาก สถานีวิทยุพิทักษ์สันติราษฎร์ สวพ.FM91 กรณีแจ้งพบสาหร่ายจำนวนมาก บริเวณหาดกระทิงลาย เมืองพัทยา อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี และทำการสอบถามเพิ่มเติมจากผู้ประกอบการร้านอาหารในพื้นที่ ทราบว่าพบน้ำทะเลมีสีน้ำตาล และมีกลิ่นเหม็น เจ้าหน้าที่ทำการสำรวจเบื้องต้น 3 สถานี ได้แก่ ท่าเทียบเรือประมงนาเกลือ(KT1) หาดกระทิงลาย(KT2) และสะพานหาดกระทิงลาย(KT3) โดยหาดกระทิงลาย พบสภาพน้ำทะเลเป็นสีน้ำตาล มีกลิ่นเหม็น แต่ไม่พบสัตว์น้ำตาย พบสาหร่ายขนานชายฝั่ง 3.3 ก.ม. ส่วนสถานีใกล้เคียง พบสภาพน้ำทะเลปกติ จากนั้นทำการตรวจวัดคุณภาพน้ำทะเลเบื้องต้น พบว่ามีค่าความเป็นกรดและด่าง 7.55-8.09 อุณหภูมิ 30.0-31.2 องศาเซลเซียส ความเค็ม 31.0-31.8 ส่วนในพันส่วน และปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ 2.1-8.1 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งบริเวณหาดกระทิงลายพบปริมาณออกซิเจนละลายน้ำต่ำกว่าเกณฑ์ฯ (เกณฑ์มาตรฐานฯ ไม่ต่ำกว่า 4 มก./ล.) ทั้งนี้ เมืองพัทยาได้ลงพื้นที่ทำความสะอาดบริเวณชายหาดเรียบร้อยแล้ว ผลการตรวจสอบพบว่าสาเหตุจากการสะพรั่งของสาหร่ายสีเขียว สกุล Ulva และสกุล Cladophora เกิดจากสารอาหารไนโตรเจนและฟอสฟอรัสที่เพิ่มขึ้น ร่วมกับปัจจัยด้านอุณหภูมิและแสงแดดที่เหมาะสม และการไหลเวียนของกระแสน้ำที่ไม่ดี ส่งผลให้สาหร่ายเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เมื่อสาหร่ายตายและย่อยสลาย จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศ เช่น ภาวะขาดออกซิเจน มีกลิ่นเหม็น รวมทั้งทำลายทัศนียภาพ แนวทางการแก้ไขและป้องกันคือ การบำบัดน้ำทิ้งก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ข้อแนะนำหากเล่นน้ำอาจทำให้ระคายเคืองตามผิวหนังได้ และได้แจ้งเตือนผ่านแอปพลิเคชัน Marine warning

📮 กรม ทช. เร่งดับเพลิงไหม้หญ้าริมถนนบริเวณด้านข้างศูนย์บริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลนจังหวัดสตูล          วันนี้ (19 ก.พ....
19/02/2025

📮 กรม ทช. เร่งดับเพลิงไหม้หญ้าริมถนนบริเวณด้านข้างศูนย์บริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลนจังหวัดสตูล

วันนี้ (19 ก.พ.2568) เวลาประมาณ 17.15 น. ได้เกิดเหตุเพลิงไหม้หญ้าริมถนนบริเวณด้านข้างศูนย์บริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลนจังหวัดสตูล โดยไฟได้ลุกลามเข้ามาภายในพื้นที่ศูนย์บริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลนจังหวัดสตูล ซึ่งอยู่ด้านใต้ของลม ทำให้เพลิงไหม้อย่างรวดเร็ว ไม่สามารถควบคุมเพลิงได้ ผอ.ศูนย์ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ของศูนย์ สมาชิกในครอบครัวของ จนท. ที่พักอาศัยอยู่ภายในศูนย์ และประชาชนที่ผ่านมาเห็นเหตุการณ์ จึงได้ช่วยกันทำแนวกันไฟเพื่อควบคุมเพลิงให้อยู่ในวงจำกัด ไม่ให้ลุกลามเข้ามาบริเวณอาคารของศูนย์ พร้อมทั้งได้ประสานไปยัง อ.บ.ต.ละงู เพื่อรับการสนับสนุนเจ้าหน้าที่และรถดับเพลิง จนกระทั่งสามารถควบเพลิงไว้ได้และเพลิงดับสนิทในเวลา 17.35 น. โดยพื้นที่ศูนย์ได้ถูกเพลิงไหม้เนื้อที่ประมาณ 1 งาน ต้นไม้ถูกไฟไหม้ จำนวน 9 ต้น อาคารสำนักงานและอาคารอื่นๆ ไม่ได้รับความเสียหายแต่อย่างใด

ที่อยู่

Government Complex
Bangkok
10210

เบอร์โทรศัพท์

+6621411246

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ องค์กรนั้น

ส่งข้อความของคุณถึง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง:

วิดีโอทั้งหมด

แชร์