Clicky

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เพจของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เพื
(41)

เปิดเหมือนปกติ

วช. จัดเสวนาปลุกกระแสคนไทย “ร่วมสร้างสังคมไทยปลอดภัยจากความรุนแรง ด้วยวิจัยและนวัตกรรม”วันที่ 1 มิถุนายน 2566 สำนักงานกา...
01/06/2023

วช. จัดเสวนาปลุกกระแสคนไทย “ร่วมสร้างสังคมไทยปลอดภัยจากความรุนแรง ด้วยวิจัยและนวัตกรรม”

วันที่ 1 มิถุนายน 2566 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดการเสวนาเรื่อง “ร่วมสร้างสังคมไทยปลอดภัยจากความรุนแรง ด้วยวิจัยและนวัตกรรม” เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ และเผยแพร่ผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่ได้ให้ทุนสนับสนุน ในประเด็นด้านสังคมไทยปลอดภัยจากความรุนแรง และอยู่ร่วมกันอย่างสันติ โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
เป็นประธานกล่าวเปิดงานเสวนา ผู้ร่วมเสวนาและประเด็นที่น่าสนใจประกอบด้วยประเด็น “ลดความรุนแรงในสังคมไทย โดยใช้พลังบวก” โดย รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) ประเด็น “ความรุนแรงในสังคมไทย : ภัยเงียบที่ควรรู้” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุมนทิพย์ จิตสว่าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเด็น “นวัตกรรม...รู้ไว้ป้องกันภัยความรุนแรง” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุณีย์ กัลยะจิตร มหาวิทยาลัยมหิดล และ ประเด็น “สื่อสร้างสรรค์ รังสรรค์สังคมปลอดภัย” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.พนิดา จงสุขสมสกุล มหาวิทยาลัยนเรศวร ดำเนินรายการเสวนา โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ณ ห้องประชุมจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ถนนพหลโยธิน กรุงเทพมหานคร และผู้ร่วมรับฟังการเสวนา ผ่านรูปแบบออนไลน์สื่ออิเล็กทรอนิกส์ Zoom Meeting และ Facebook Live

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ภายใต้กระทรวง อว.
เป็นหน่วยงานหลักด้านการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ที่มีบทบาทสำคัญด้านการขับเคลื่อน และสนับสนุนการดำเนินโครงการวิจัย ที่มีความท้าทายและมีเป้าหมายชัดเจนรวมถึงการส่งเสริมและถ่ายทอดองค์ความรู้ ตลอดจนผลักดันให้เกิดการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปสู่การใช้ประโยชน์ในมิติต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดการพัฒนา และสามารถแก้ไขปัญหาสำคัญของประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งสังคมไทยไร้ความรุนแรง ถือเป็นปัญหาทางสังคมที่มีความท้าทายในการแก้ไข เพราะความรุนแรงมีหลายมิติมีความสลับซับซ้อน เช่น ความรุนแรงในครอบครัว ความรุนแรงในโรงเรียน ความรุนแรงทางสื่อ ความรุนแรงบนท้องถนน และยังมีความรุนแรงอีกหลายรูปแบบ ที่เป็นภัยแฝงอยุ่ในสังคมไทย ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับประชาชนทุกกลุ่มเพศและทุกวัย ดังนั้นการลดความรุนแรงในสังคมไทยจึงถือเป็นโจทย์ท้าทายที่สำคัญสำหรับการวิจัยและการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ทางสังคมให้กับคนไทยได้อย่างมั่นคง และสามารถนำไปสู่การลดปัญหาความรุนแรงในสังคมไทยได้อย่างยั่งยืน

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) กล่าวว่า การอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจสังคมและมีการเสริมพลังเพื่อสร้างความมั่นคงทางสังคมนั้น ครอบครัวเป็นพลังกำลังที่สำคัญ ซึ่งต้องอาศัยนโยบายหรือมาตรการเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยเป็นสิ่งขับเคลื่อนเพื่อลดความรุนแรงในสังคมไทย จึงเกิดระบบพี่เลี้ยง ที่ปรึกษา ในชุมชนด้วยจิตวิทยาเชิงบวกจิตวิทยา
พลังบวก โดยนำองค์ความรู้จากการวิจัยเพื่อพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพจิตต่อผู้ปกครองไปสู่การปฏิบัติพัฒนาระบบพี่เลี้ยงในชุมชนที่มีทั้งกระบวนการพัฒนาคนพัฒนากลไก และพัฒนากิจกรรม เพื่อพัฒนาสู่การเชื่อมโยง และการสร้างการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ เอกชนหรือตัวแทนชุมชนเอง ให้เกิดการเรียนรู้และการทำงานอย่างเป็นรูปธรรม พัฒนาศักยภาพครอบครัวในชุมชนให้มีทักษะและสามารถในการสร้างเสริมพลังบวก ปกป้อง คุ้มครองและการให้การช่วยเหลือแก้ไขป้องกันปัญหาความรุนแรงในครอบครัวเกิดกระบวนการสร้างครอบครัวเข้มแข็งในการเสริมสร้างป้องกันคุ้มครองและจัดการความรุนแรงในครอบครัว
ผ่านคณะทำงานพัฒนาครอบครัวอันจะนำไปสู่การลดความรุนแรงในสังคมไทย โดยใช้พลังบวกได้อย่างแท้จริง

ถัดมา รองศาสตราจารย์ ดร.สุมนทิพย์ จิตสว่าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่าปัญหาความรุนแรงของสังคมไทยความรุนแรงในสถานการณ์โลก พบว่าความรุนแรงต่อตนเอง พ.ศ.2566 : การฆ่าตัวตายอยู่ในอันดับ 73 ความรุนแรงในครอบครัวของสังคมไทยเกิดขึ้นไม่น้อยกว่าวันละ 1 เหตุการณ์ พ.ศ.2559 สถิติความรุนแรงต่อสตรีอยู่ในอันดับ 1 ใน 10 ของโลก พ.ศ.2542 เด็กและเยาวชนกระทำผิด อันดับ 8 ของโลก พ.ศ.2561 เด็กและเยาวชนถูกรังแกในโรงเรียนเป็นอันดับ 2 ของโลกผู้สูงอายุทั่วโลกและประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหาความรุนแรงจากคนใกล้ตัว และความรุนแรงระหว่างกลุ่ม พ.ศ.2565 : สถิติการก่อการร้ายอยู่ในลำดับที่ 22 ของโลก จากสถิติตรงนี้จะเห็นได้ว่าความรุนแรงตรงนี้ส่งผลในมิติทางเศรษฐกิจภัยเงียบที่เราควรตระหนัก

ด้านรองศาสตราจารย์ ดร.สุณีย์ กัลยะจิตร มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ความรุนแรงที่เกิดขึ้น มักเป็นเหตุสะเทือนขวัญแก่ประชาชน และสถิติต่าง ๆ ไม่ได้ลดลง นำไปสู่การออกแบบวิธีการวิจัยให้ประสบความสำเร็จและตรงตามกรอบการวิจัยเพื่อนำไปสู่การลดความรุนแรงด้วยวิจัยและนวัตกรรม โดยการพัฒนาการสร้างวีดิทัศน์ การสร้างความเข้าใจเพื่อป้องกันปัญหาการข่มขืน กระทำชำเรา และอาชญากรรม วีดิทัศน์ความปลอดภัยจากการข่มขืนจำนวน 4 เรื่อง 1) ครอบครัวอบอุ่น 2) โรงเรียนที่รัก 3) ชุมชนเป็นมิตร และ 4) กฎหมายข่มขืนทุกคนต้องรู้ และวีดิทัศน์กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมทางเพศจำนวน 2 เรื่อง 1) แนวปฏิบัติสำหรับผู้กระทำผิดในคดีข่มขึ้น 2) องค์ประกอบความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา อันจะนำไปสู่การสร้างการป้องกันภัยจากความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นในสังคมไทยให้เป็นสังคมที่น่าอยู่

สำหรับรองศาสตราจารย์ ดร.พนิดา จงสุขสมสกุล มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวว่า สื่อเป็นผู้ที่มีบทบาทในการชี้นำสังคมมีส่วนสำคัญที่จะช่วยรังสรรค์สิ่งดี ๆ การนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่มีความเกี่ยวข้องกับมิติต่าง ๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจ พลังของสื่อที่ดีจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางความคิดทัศนคติทางสังคม ซึ่งบริบทของสื่อในการสร้างความรับรู้นั้นมีส่วนสำคัญ สื่อที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์จะช่วยยกระดับสังคมไทยให้ปลอดภัยจากความรุนแรงด้วยวิจัยและนวัตกรรม

วช. ร่วมอภิปรายประเด็นท้าทายการวิจัยโลก ระหว่างการประชุมใหญ่ Global Research Council (GRC) 2023 ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แ...
01/06/2023

วช. ร่วมอภิปรายประเด็นท้าทายการวิจัยโลก ระหว่างการประชุมใหญ่ Global Research Council (GRC) 2023 ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์

ดร. วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ในฐานะ Governing Board ของ Global Research Council ได้เข้าร่วมการประชุมใหญ่ Global Research Council (GRC) 2023 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 พฤษภาคม – 2 มิถุนายน 2566 ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งในปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 11 โดยมี Dutch Research Council (NWO) ประเทศเนเธอร์แลนด์ และ São Paulo Research Foundation (FAPESP) ประเทศบราซิล ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ภายใต้หัวข้อหลัก “Rewards and Recognition” และ “Climate Change and Climate Change Initiative” โดยมีผู้บริหารและผู้แทนจากหน่วยงานให้ทุนวิจัยในภูมิภาคต่างๆทั่วโลกจำนวน 63 ประเทศเข้าร่วมการประชุม ประกอบด้วย Asia– Pacific,Europe,Americas,Middle East and North Africa และSub-Saharan Africa

การประชุมหลักของ GRC 2023 จัดขึ้นในวันที่ 31 พค.และ 1 มิย. 2566 ณ Peace Palace โดยได้รับเกียรติจาก Dr. Robbert Dijkgraaf, Minister od Education, Culture and Science in The Netherlands กล่าวปาฐกถาและเปิดการประชุมฯ
พร้อมด้วยการต้อนรับจากประธาน GRC และเจ้าภาพการจัดงาน ประกอบด้วย Prof. Katja Becker, President of German Research Foundation (DFG), Germany/ Chair of GRC Governing Board ร่วมกับ Prof. Marcel Levi, President of the Dutch Research Council (NWO), ประเทศเนเธอร์แลนด์ และ Prof. Marco Antonio Zago, President of São Paulo Research Foundation (FAPESP) ประเทศบราซิล

สำหรับการประชุมหลักใน 2 หัวข้อ คือ “Rewards and Recognition” และ “Climate Change and Climate Change Initiative” โดยมีการนำเสนอโดย Invited Speaker พร้อมด้วยการอภิปรายกลุ่ม การรายงานผล และการอภิปรายมุมมองของผู้บริหารหน่วยงาน ซึ่ง ดร.วิภารัตน์ฯ ได้ร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นในกลุ่มย่อยเกี่ยวกับรางวัลและการยกย่องนักวิจัย ได้แก่ การสร้างเส้นทางอาชีพนักวิจัย บทบาทและการมีส่วนร่วมของนักวิจัยรุ่นใหม่ในเวทีโลก รวมถึงการประเมินคุณภาพของงานวิจัยและศักยภาพของนักวิจัยเพื่อสร้างการยอมรับในระดับนานาชาติ

นอกจากนี้ ดร. วิภารัตน์ฯ ได้ร่วมเป็น Chair และ Panelist ในการอภิปรายหัวข้อ “Climate Change and Climate Change Initiative” ของช่วงการอภิปรายกลุ่มย่อย และ Panel Discussion and Reflection โดยได้เสนอบทบาทและมุมมองในฐานะหน่วยงานให้ทุนวิจัยหลักของประเทศไทย ต่อการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งเป็นปัญหาท้าทายระดับโลก พร้อมทั้งสะท้อนผลจากการอภิปรายกลุ่มที่หน่วยงานให้ทุนควรตระหนักถึงและช่วยเร่งงานวิจัยในการแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะการรวมกลุ่มเครือข่ายนานาชาติ การสนับสนุนงบประมาณการวิจัยด้าน climate change

อนึ่ง Global Research Council (GRC) เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ประกอบด้วยการรวมตัวกันของหน่วยงานให้ทุนวิจัยหลักของประเทศต่างๆทั่วโลก เพื่อการแบ่งปันข้อมูลและแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practice) และเปิดโอกาสให้ประเทศขนาดใหญ่และขนาดเล็กทำงานร่วมกันอย่างไร้พรมแดน ซึ่ง วช. เป็นหน่วยงานของประเทศไทยที่เข้าร่วม GRC ตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง โดยมีคณะกรรมการบริหาร (Governing Board) ขององค์กรประกอบไปด้วยผู้บริหารของหน่วยงานสมาชิกที่ได้รับการเลือกตั้งจากทั้ง 5 ภูมิภาค ทำหน้าที่ในการกำกับดูแลการดำเนินกิจกรรมของ GRC ตลอดจนให้ความเห็นในประเด็นสำคัญเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานให้ทุนประเทศต่างๆให้มีความเข้มแข็งเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาที่ท้าทายของโลก ซึ่ง ดร.วิภารัตน์ฯ ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารจากภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และมีวาระดำรงตำแหน่ง 3 ปี

#วช #อว

🎉สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ขอเชิญทุกท่าน ร่วมงาน มหกรรมงานวิจัยส่วน...
31/05/2023

🎉สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

ขอเชิญทุกท่าน ร่วมงาน
มหกรรมงานวิจัยส่วนภูมิภาคประจำปี 2566
🎉Regional Research Expo 2023
ภายใต้แนวคิด “วิจัย นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน ภาคใต้โมเดล”🎉�🗓วันที่ 28-30 มิถุนายน พ.ศ.2566 ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ต.ไทยบุรี อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช
�กิจกรรมภายในงานที่น่าสนใจ
📌โครงการเฉลิมพระเกียรติ
📌ผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่ได้รับการสนับสนุนจาก วช.
📌การวิจัยของหน่วยงาน/นักวิจัยในพื้นที่/เครือข่ายการวิจัยในภูมิภาค
📌อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้
📌นิทรรศการ Highlight เพื่อแสดงอัตลักษณ์ของภูมิภาค

การนำเสนอผลงานวิจัย
“วิจัย นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน ภาคใต้โมเดล”
1. ด้านการเกษตรและอาหารแนวใหม่
2. ด้านพลังานและวัสดุ
3. ด้านการท่องเที่ยว บริการและพัฒนาสังคม
4. ด้านการแพทย์และสุขภาพ

ลงทะเบียนได้ที่ https://expo2023-regis.wu.ac.th

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
สถาบันส่งเสริมการวิจัยและนวัตกรรมสู่ความเป็นเลิศ
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
222 ถ.ไทยบุรี ต.ไทยบุรี อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช 80161
โทรศัทพ์ 0 7567 3563, 0 7567 3557
Email [email protected]
https://southresearchexpo2023.wu.ac.th/

ขอเชิญร่วมฟังการเสวนา "ร่วมสร้างสังคมไทยปลอดภัยจากความรุนแรง ด้วยวิจัยและนวัตกรรม"🎯วันพฤหัสบดีที่ 1 มิถุนายน 2566 เวลา 0...
31/05/2023

ขอเชิญร่วมฟังการเสวนา
"ร่วมสร้างสังคมไทยปลอดภัยจากความรุนแรง ด้วยวิจัยและนวัตกรรม"
🎯วันพฤหัสบดีที่ 1 มิถุนายน 2566 เวลา 09.00-12.00 น.

กล่าวเปิดการเสวนา โดย
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง
ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

ผู้ดำเนินการเสวนา โดย
รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ
มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผู้ร่วมเสวนา
“ความรุนแรงในสังคมไทย : ภัยเงียบที่ควรรู้”
รศ.ดร.สุมนทิพย์ จิตสว่าง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

“ลดความรุนแรงในสังคมไทย โดยใช้พลังบวก”
รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี
ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน)

"นวัตกรรม...รู้ไว้ป้องกันภัยความรุนแรง”
รศ.ดร.สุณีย์ กัลยะจิตร
มหาวิทยาลัยมหิดล

“สื่อสร้างสรรค์ รังสรรค์สังคมปลอดภัย”
รศ.ดร.พนิดา จงสุขสมสกุล
มหาวิทยาลัยนเรศวร

🎯จัดโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

🎯ในรูปแบบออนไลน์ (VDO Conference) ผ่านโปรแกรม Zoom และ Facebook live
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

ลงทะเบียนล่วงหน้าได้ที่
https://forms.gle/cvt18StTAHavapFSA

#วช #อว #ลดความรุนแรง

วช. หนุนทีมวิจัย ม.อ. พัฒนาศักยภาพการกักเก็บข้อมูลคาร์บอน ของป่าชายเลนและหญ้าทะเลตามธรรมชาติและปลูกบริเวณภาคใต้ฝั่งอันดา...
31/05/2023

วช. หนุนทีมวิจัย ม.อ. พัฒนาศักยภาพการกักเก็บข้อมูลคาร์บอน ของป่าชายเลนและหญ้าทะเลตามธรรมชาติและปลูกบริเวณภาคใต้ฝั่งอันดามัน

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ให้การสนับสนุนทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) และมหาวิทยาลัยบูรพา (มบ.) ร่วมกับ อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ในการประเมินศักยภาพการกักเก็บคาร์บอนของป่าชายเลนและหญ้าทะเลที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ ที่ได้รับการฟื้นฟูขึ้นในบริเวณภาคใต้ฝั่งอันดามัน และจัดกิจกรรมสร้างจิตสำนึกให้แก่ชุมชน สร้างการมีส่วนร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ในการดูแลและฟื้นฟูระบบนิเวศชายฝั่ง เพื่อเพิ่มศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอนและพัฒนาต้นแบบแพลตฟอร์มภูมิสารสนเทศและปัญญาประดิษฐ์ ในการติดตามการเปลี่ยนแปลงคาร์บอนพร้อมทั้งการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้เกิดเครือข่ายอนุรักษ์พัฒนาสิ่งแวดล้อมชายฝั่งอย่างยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม นำมาซึ่งองค์ความรู้และบทความทางวิชาการเรื่องศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอนของป่าชายเลนและหญ้าทะเลของพื้นที่บริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งอันดามัน ในการสร้างนักวิจัยชุมชนสร้างผลกระทบในวงกว้างในการสร้างการมีส่วนร่วมและจิตสำนึกในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อช่วยบรรเทาและชะลอการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ภายใต้กระทรวง อว. เป็นกลไกสำคัญของรัฐในการขับเคลื่อนให้การสนับสนุนงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์คิดค้นหรือนวัตกรรมต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน รวมถึงการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม ซึ่งการกักเก็บคาร์บอนสีน้ำเงิน (Blue Carbon) จากระบบนิเวศป่าชายเลนและหญ้าทะเลนั้น มีบทบาทสำคัญในการชะลอและบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อย่างไรก็ตามความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศหญ้าทะเลและป่าชายเลนจะทำให้ความสามารถนี้ลดลง ซึ่งแนวทางสำคัญที่จะช่วยบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและฟื้นฟูบริการของระบบนิเวศชายฝั่งได้นั้น คือ การจัดการ การอนุรักษ์ และการฟื้นฟูระบบนิเวศชายฝั่งอย่างยั่งยืน สำหรับกระบวนการในการผลิตหรือการกักเก็บคาร์บอนในป่าชายเลนและหญ้าทะเลนั้น เกิดจากการตรึงแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศผ่านกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงมาสะสมในตัวพืชและดิน ทำให้ป่าชายเลนและหญ้าทะเลเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนที่ใหญ่ที่สุดในพื้นที่ชายฝั่ง มีความสามารถในการสะสมคาร์บอนมากกว่าระบบนิเวศบนบกถึง 10 เท่า (Hilmi et al., 2021)

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พลชาติ โชติการ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เปิดเผยว่า ที่ผ่านมายังไม่มีการประเมินการสะสมคาร์บอนในหญ้าทะเลหรือป่าชายเลนที่ได้รับการฟื้นฟู และการศึกษาจำนวนมากยังขาดค่าประมาณการกักเก็บคาร์บอนที่แม่นยำ งานวิจัยนี้จึงมีการเก็บข้อมูลการกักเก็บคาร์บอนของป่าชายเลนและหญ้าทะเลที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ รวมถึงที่ได้รับการฟื้นฟูขึ้นในบริเวณภาคใต้ฝั่งอันดามัน ซึ่งจังหวัดระนองมีเนื้อที่ป่าชายเลนจำนวน 103,493.42 ไร่ และจังหวัดตรังที่มีพื้นที่หญ้าทะเลมีพื้นที่หญ้าทะเลรวม 33,066.48 ไร่ ทำให้พื้นที่ทั้ง 2 มีศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอนในระดับสูงมาก การกักเก็บคาร์บอนในป่าชายเลนและหญ้าทะเลโดยทั่วไป สูงถึง 495.85 และ 244.75 เมกกะกรัมคาร์บอนต่อไร่ ตามลำดับ (Aye et al., 2023) ทางทีมวิจัยยังมีการจัดกิจกรรม Capacity Building ของนักเรียนในชุมชนท้องถิ่น เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่บ้านเกิดของตนเอง สร้างความเข้มแข็งของชุมชน รวมถึงการสร้างการมีส่วนร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ในการดูแลและฟื้นฟูระบบนิเวศชายฝั่ง เพื่อเพิ่มศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอน นอกจากนี้ทางทีมวิจัยยังได้มีการพัฒนาต้นแบบแพลตฟอร์มภูมิสารสนเทศและปัญญาประดิษฐ์ในการติดตามการเปลี่ยนแปลงคาร์บอนร่วมกับเทคนิคการรับรู้ระยะไกล (Remote Sensing) เพื่อที่จะถ่ายทอดเทคโนโลยีให้เกิดเครือข่ายอนุรักษ์พัฒนาสิ่งแวดล้อมชายฝั่งอย่างยั่งยืนและเป็นรูปธรรม งานวิจัยชิ้นนี้จะนำมาซึ่งองค์ความรู้ทางวิชาการเรื่องศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอนของป่าชายเลนและหญ้าทะเลธรรมชาติที่ได้รับการฟื้นฟู

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พลชาติ กล่าวต่อว่า ประโยชน์หรือผลลัพธ์ที่ได้จากงานวิจัยชิ้นนี้ นอกจากองค์ความรู้ทางวิชาการที่จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมนักวิจัยในระดับนานาชาติแล้ว ยังมีการสร้างการมีส่วนร่วมและจิตสำนึกในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชนท้องถิ่น เพื่อลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ สร้างโอกาสในการสร้างมูลค่าในตลาดคาร์บอน (Carbon Market) และเป็นเครื่องมือในการพัฒนา Blue Economy ในประเทศไทยอย่างยั่งยืน โดยจะมีการนำผลงานวิจัยมาต่อยอด เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้านการกักเก็บคาร์บอนสีน้ำเงินการฟื้นฟูระบบนิเวศและการบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงวิธีการประเมินการกักเก็บคาร์บอนโดยใช้เทคโนโลยีการรับรู้ระยะไกล ภูมิสารสนเทศและปัญญาประดิษฐ์

วช. ร่วมประชุมใหญ่ Global Research Council (GRC) 2023 ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ดร. วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักง...
30/05/2023

วช. ร่วมประชุมใหญ่ Global Research Council (GRC) 2023 ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์

ดร. วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และคณะ เข้าร่วมการประชุมใหญ่ Global Research Council (GRC) 2023 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 พฤษภาคม – 2 มิถุนายน 2566 ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งในปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 11 โดยมี Dutch Research Council (NWO) ประเทศเนเธอร์แลนด์ และ São Paulo Research Foundation (FAPESP) ประเทศบราซิล ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ภายใต้หัวข้อหลัก “Rewards and Recognition” และ “Climate Change and Climate Change Initiative” โดยมีผู้บริหารและผู้แทนจากหน่วยงานให้ทุนวิจัยในภูมิภาคต่างๆทั่วโลก มากกว่า 60 องค์กร เข้าร่วมการประชุม ประกอบด้วย
- Asia – Pacific - 10 ประเทศ 12 องค์กร
- Europe – 20 ประเทศ 25 องค์กร
- Americas – 6 ประเทศ 8 องค์กร
- Middle East and North Africa – 6 ประเทศ 6 องค์กร
- Sub-Saharan Africa – 12 ประเทศ 13 องค์กร

โดยในวันที่ 29 – 30 พฤษภาคม 2566 เป็นกิจกรรมการประชุม Side Events ใน 5 หัวข้อ ได้แก่
- Research integrity and security: Exploring funding agency roles in supporting responsible internationalization and reciprocity
- Leveraging Transdisciplinary Research for Community Impact: Global South Experiences
- The Race and Ethnicity dimension of Inclusion and Diversity in the Research Ecosystem
- Supporting Researchers at Risk
- Promoting Equality, Diversity, and Inclusion in Research

พร้อมนี้ ดร. วิภารัตน์ฯ ได้ร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นร่วมกับผู้บริหารจากหน่วยงานในภูมิภาคต่างๆ และได้เข้าพบ Prof. Marcel Levi, President of Dutch Research Council (NWO) ประธานในการจัดงานในปีนี้ เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นในการดำเนินงานด้านการให้ทุนวิจัย และโอกาสความร่วมมือด้านการวิจัยระหว่างประเทศเนเธอร์แลนด์และประเทศไทยในอนาคต

นอกจากนี้ รศ.ดร. อนรรฆ ขันธะชวนะ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นผู้แทนของ วช. ในการนำเสนอการประชุม Side Event ในหัวข้อ “Thailand Research to Global Research under Economic Security: Needs and Challenges” พร้อมด้วย รศ.ดร. ดุสิต อธินุวัฒน์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นผู้แทน วช. เข้าร่วมการประชุมในหัวข้อ Leveraging Transdisciplinary Research for Community Impact: Global South Experiences และ Promoting Equality, Diversity, and Inclusion in Research

ในโอกาสนี้ รศ.ดร. ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อํานวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมและคณะ ได้เข้าร่วมการประชุมใหญ่ GRC 2023 ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในวาระเดียวกันอีกด้วย

วช.หนุนทีมวิจัย มจธ.พัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมต้นแบบสำหรับการทำความสะอาดก๊าซชีวภาพและการผลิตไฮโดรเจนจากก๊าซชีวภาพสำนักงานก...
30/05/2023

วช.หนุนทีมวิจัย มจธ.พัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสม
ต้นแบบสำหรับการทำความสะอาดก๊าซชีวภาพและการผลิตไฮโดรเจนจากก๊าซชีวภาพ

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ให้การสนับสนุนทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตไฮโดรเจนจากวัตถุดิบก๊าซชีวภาพจากบ่อขยะในชุมชนโดยผ่านกระบวนการเคมีความร้อนหลายกระบวนการ ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นแหล่งพลังงานขนาดเล็กในชุมชน อย่างไม่มีข้อจำกัดในการกักเก็บพลังงาน และนำออกมาใช้เมื่อมีความต้องการใช้ไฟฟ้าโดยผ่านหอเซลล์เชื้อเพลิง และมีการทดสอบกระบวนการผลิตไฮโดรเจน ออกแบบและพัฒนาระบบการผลิต เพิ่มความบริสุทธิ์และกักเก็บไฮโดรเจนโดยใช้วัตถุดิบก๊าซชีวภาพจากบ่อขยะให้มีประสิทธิภาพสูงสุด จากนั้นทำการทดสอบความน่าเชื่อถือในการผลิตไฮโดรเจนโดยใช้วัตถุดิบก๊าซชีวภาพมีเทนจากบ่อขยะ (ทำการทดสอบระบบแบบต่อเนื่องเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 50 ชั่วโมง ที่กำลังการผลิต 20 ลิตรต่อนาที) รวมถึงสร้างความพร้อมบุคลากรให้มีความรู้และเข้าใจในกระบวนการผลิตไฮโดรเจนจนถึงการใช้งาน

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นองค์กรสำคัญของรัฐในการขับเคลื่อนสนับสนุนงานวิจัยและนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนและสังคม เสริมสร้างคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม สนับสนุนอุตสาหกรรม หรือ ภาคการผลิตต่างๆ โดยเฉพาะการส่งเสริมในการหาแหล่งพลังทดแทนเพื่อใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งผลงานจากทีมวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ในการพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมและต้นแบบสำหรับการทำความสะอาดก๊าซชีวภาพและการผลิตไฮโดรเจนจากก๊าซชีวภาพ ที่มีแหล่งที่มาจากบ่อขยะในชุมชน มาผ่านกระบวนการเพื่อนำไปใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งนอกจากเป็นการเสริมสร้างศักยภาพแหล่งพลังงานในชุมชนแล้ว ยังเป็นการเสริมสร้างคุณภาพที่ดีด้านสิ่งแวดล้อมจากพลังงานชีวภาพอีกด้วย

ศาสตราจารย์ ดร.นวดล เหล่าศิริพจน์ หัวหน้าทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เปิดเผยว่า โครงการนี้ มจธ. ได้รับการสนับสนุนทุนจาก วช. โดยมีเป้าหมายเพื่อผลิตก๊าซไฮโดรเจนจากก๊าซชีวภาพเพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าและสร้างทางเลือกให้กับก๊าซชีวภาพจากบ่อขยะของประเทศไทย โดยก๊าซไฮโดรเจนที่ได้สามารถนำไปใช้ร่วมกับเซลล์เชื้อเพลิงเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งขั้นตอนกระบวนการผลิตหลักๆ จะประกอบไปด้วยการทำความสะอาดก๊าซชีวภาพเพื่อกำจัดสิ่งปฏิกูลจำพวกซัลเฟอร์และคาร์บอนไดออกไซด์บางส่วนออก จากนั้นนำก๊าซที่ได้จากกระบวนการบำบัดไปเข้าสู่เครื่องปฏิกรณ์หลักเพื่อผลิตไฮโดรเจน โดยภายในจะทำการบรรจุตัวเร่งปฏิกิริยาที่มีศักยภาพในการแตกสลาย Volatile Organic Compounds (VOCs) การแปรสภาพมีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์ไปเป็นไฮโดรเจน และการกำจัดคาร์บอนมอนอกไซด์เพื่อเพิ่มปริมาณไฮโดรเจนในผลิตภัณฑ์

ศาสตราจารย์ ดร.นวดล กล่าวว่า ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัยนี้สามารถเพิ่มมูลค่าและทางเลือกในการใช้ก๊าซชีวภาพจากบ่อขยะเพื่อผลิตพลังงานสะอาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมรองรับนโยบายการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero GHG Emission) ของประเทศ โดยจะมีการขยายผลพัฒนาต่อยอดสร้างความร่วมมือกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) ในการนำระบบผลิตไฮโดรเจนดังกล่าวไปใช้ร่วมกับเซลล์เชื้อเพลิงเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าต่อไป

#วช #อว #ไฮโดนเจน

นักวิจัยทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัยศักยภาพสูงได้รับรางวัล “OUTSTANDING ONE HEALTH RESEARCHER IN AQUACULTURE AWARD” จาก The Fou...
30/05/2023

นักวิจัยทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัยศักยภาพสูงได้รับรางวัล “OUTSTANDING ONE HEALTH RESEARCHER IN AQUACULTURE AWARD” จาก The Foundation for Conservation of Biodiversity (FUCOBI) สาธารณรัฐเอกวาดอร์

ดร.กัลยาณ์ ศรีธัญญลักษณา–แดงติ๊บ (หัวหน้าโครงการวิจัย) และ ดร.ศุภรัตน์ แตงชัยภูมิ (นักวิจัยหลักของโครงการ) พร้อมด้วย
ศ. ดร.ทิมโมที เฟลเกล (ที่ปรึกษาโครงการ)สังกัด ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช. ได้รับทุนวิจัยในโครงการวิจัยเรื่อง “การประยุกต์ใช้องค์ความรู้ของกลไกการอยู่ร่วมกันของกุ้งและไวรัสไปใช้ประโยชน์ในการควบคุมโรคระบาดที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในกุ้ง” ภายใต้การสนับสนุนจากโครงการทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัยศักยภาพสูง ประจำปี 2565 (วช. - สวทช.) ได้รับรางวัล “THE OUTSTANDING ONE HEALTH RESEARCHER IN AQUACULTURE AWARD” ร่วมกันจาก The Foundation for Conservation of Biodiversity (FUCOBI) สาธารณรัฐเอกวาดอร์ โดย ดร. ศุภรัตน์ แตงชัยภูมิ เป็นตัวแทนไปรับรางวัลในงานประชุมวิชาการ The 115th Annual Meeting of the National Shellfisheries Association (NSA) ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2566 ณ เมืองบัลติมอร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา

จากงานวิจัยที่ได้บุกเบิกการศึกษาบทบาทและหน้าที่ของสารพันธุกรรมของไวรัสที่แทรกอยู่ในจีโนมของกุ้งหรือ Endogenous viral elements (EVEs) ที่เกี่ยวข้องกับกลไกการตอบสนองของกุ้งต่อการติดเชื้อไวรัส อันจะนำไปสู่กลไกการติดเชื้อแบบเชื้อคงอยู่ ผลจากงานวิจัยที่ได้จะนำไปสู่การนำไปใช้ประโยชน์ในการควบคุมโรคระบาดที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในกุ้งที่เป็นปัญหาสำคัญในอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งทั่วโลก
ดร.ศุภรัตน์ ได้รับเชิญให้นำเสนอความก้าวหน้าของผลงานวิจัยหัวข้อดังกล่าวเป็นเวลา 30 นาที และมีการถาม-ตอบจากผู้สนใจเป็นจำนวนมาก

ทีมวิจัยได้ทุ่มเทศึกษาวิจัยเรื่องนี้มามากกว่า 1 ทศวรรษก่อนที่จะได้เสนอขอทุนวิจัยจากโครงการทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัยศักยภาพสูงดังกล่าว เริ่มจากการค้นพบการติดเชื้อไวรัสแบบเชื้อคงอยู่ (persistent infection) ในกุ้งที่รอดตายภายหลังการติดเชื้อไวรัสเป็นระยะเวลาหนึ่ง ต่อมาพบว่าการติดเชื้อไวรัสแบบเชื้อคงอยู่นี้มีความสัมพันธ์กับการพบ EVEs ของไวรัสชนิดนั้น ๆ ในจีโนมของกุ้ง โดยตั้งสมมติฐานว่า EVEs เป็นโมเลกุลที่เกี่ยวข้องกับการจดจำไวรัสของกุ้ง และพบกลไกการทำงานของ EVEs ที่เป็นต้นแบบในการสังเคราะห์ viral copies DNA หรือ vcDNA ที่เป็นโมเลกุลที่สำคัญในการกระตุ้นกระบวนการควบคุมจำนวนไวรัส ทีมวิจัยจึงได้พัฒนาวิธีการแยก vcDNA ที่ผลิตขึ้นในกุ้ง เริ่มจาก vcDNA ของเชื้อ Infectious Hypodermal and Haematopoietic Necrosis Virus (IHHNV) ในกุ้งที่ติดเชื้อไวรัส IHHNV แบบเชื้อคงอยู่และไม่มีอาการของโรคได้เป็นผลสำเร็จ เมื่อนำมา vcDNA-IHHNV ที่เตรียมขึ้นฉีดกลับเข้าไปในกุ้งที่ติดเชื้อ สามารถลดจำนวนไวรัส IHHNV ได้อย่างมีนัยสำคัญ ทีมวิจัยอยู่ระหว่างการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม เพื่อหาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโมเลกุล vcDNAs ดังกล่าวเป็นวัคซีนต้านไวรัสสำหรับกุ้ง การค้นพบองค์ความรู้ข้างต้นเป็นประโยชน์อย่างมากในการพัฒนาสายพันธุ์กุ้งทะเลให้สามารถทนการติดเชื้อไวรัสที่มีความรุนแรง เช่น ไวรัสตัวแดงดวงขาว โดยอาศัยกลไกตามธรรมชาติ
ที่เกิดขึ้นเองในกุ้ง

วช. ดัน “ผลิตภัณฑ์กาบหมาก” ตีตลาดผลิตภัณฑ์รักษ์โลก ทดแทนโฟม – พลาสติกวันที่ 29 พฤษภาคม 2566 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช...
29/05/2023

วช. ดัน “ผลิตภัณฑ์กาบหมาก” ตีตลาดผลิตภัณฑ์รักษ์โลก ทดแทนโฟม – พลาสติก

วันที่ 29 พฤษภาคม 2566 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ได้มอบหมายให้กลุ่มสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ นำคณะสื่อมวลชน ติดตามผลสำเร็จจากการดำเนินโครงการวิจัย “การจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารจากกาบหมากแทนโฟม” ของ ดร.ธวัชไชย ลิ้มสุวรรณ วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี ซึ่งได้รับการสนับสนุนทุนอุดหนุนการทำกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการทำวิจัยและนวัตกรรม ภายใต้ทุนท้าทายไทยเพื่อการใช้ประโยชน์เชิงชุมชน สังคม จาก วช. ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนส่งเสริมอาชีพเกษตรกรชาวสวนยาง ตำบลท่าอุแท อำเภอเมืองกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ดร.ธวัชไชย ลิ้มสุวรรณ วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี หัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวว่า โลกกำลังเผชิญปัญหาวิกฤติจากขยะพลาสติกสังเคราะห์ เช่นเดียวกับประเทศไทยกำลังมีปัญหาขยะท่วมเมือง โดยเฉพาะขยะจากบรรจุภัณฑ์ ถุง ภาชนะของใช้พลาสติกนานาชนิดทำให้ประเทศไทยมีขยะในทะเลมากเป็นอันดับ 6 ของโลก เป็นอันตรายต่อระบบนิเวศ สัตว์ทะเล และห่วงโซ่อาหารของมนุษย์ ซึ่งหากมองไปที่กระแสทั่วโลกก็กำลังให้ความสำคัญกับการลดขยะพลาสติกที่กำลังคุกคามสิ่งแวดล้อมโลก ดังที่หลายประเทศได้ประกาศยกเลิกการผลิตถุงพลาสติก และอุปกรณ์พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง จึงได้เริ่มศึกษาความต้องการของตลาดภาชนะที่ย่อยสลายได้ง่าย พบว่า น่าจับตามอง และกำลังเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ซึ่งรัฐบาลหลายประเทศโดยเฉพาะสหภาพยุโรปต่างก็สนับสนุนให้ภาคเอกชนขยายการผลิตวัสดุชีวภาพ แทนพลาสติกสังเคราะห์

“ทำไมถึงเลือกกากหมาก เนื่องจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีการปลูกหมากเป็นจำนวนมาก แต่ส่วนใหญ่จะเก็บเกี่ยวเฉพาะผลหมากมาจำหน่าย หรือแปรรูปทำหมากแห้งส่วนกาบหมากก็จะทิ้งไว้ในสวน ทั้งนี้หากนำกาบหมากมาทำผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่ายก็จะเป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชนเพิ่มขึ้น ประจวบกับในสภาวะปัจจุบันราคาพืชผลทางการเกษตรมีราคาต่ำลงมาทำให้เกษตรกรมีรายได้ลดลง”

ดร.ธวัชไชย ลิ้มสุวรรณ วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี กล่าวต่อว่า จากปัญหาดังกล่าว จึงนำกาบหมากมาทำผลิตภัณฑ์แทนโฟม โดยเริ่มจากการนำกาบหมากมาตัดแต่งให้ได้ขนาด ล้างทำความสะอาดด้วยน้ำด่างทับทิม และนำไปอัดขึ้นรูปด้วยเครื่องผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารจากกาบหมาก ที่ปรับตั้งค่าอุณหภูมิไว้ที่ 100 องศาเซลเชียส เพื่อฆ่าเชื้อราและแบคทีเรีย และการคงรูปทำให้ได้รูปทรงตามที่ต้องการ จุดเด่นของภาชนะจากกาบหมากทำจากวัสดุธรรมชาติ 100 เปอร์เซ็นต์ ปราศจากสารเคมีและการฟอกสี เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่แตกหักง่าย น้ำหนักเบา ใส่อาหารได้ทุกเมนู ใส่ของเหลวได้ เข้าเตาไมโครเวฟได้ ไม่อ่อนตัว ทนความร้อนได้ดี มีกลิ่นหอม และสามารถสร้างลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ย่อยสลายได้เอง 45 วัน และจากการสำรวจความต้องการของลูกค้าในประเทศไทยมีความต้องการถึง 5 แสนชิ้นต่อเดือน แต่กำลังการผลิตสามารถผลิตได้เพียงเดือนละ 5 หมื่นชิ้น แสดงว่าความต้องการยังมีในปริมาณสูง ผู้วิจัยเล็งเห็นถึงช่องทางสร้างรายได้ให้กับชุมชน จึงลงพื้นที่นำเทคโนโลยีไปถ่ายทอดองค์ความรู้ และนำเครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อการผลิตระดับชุมชน โดยการพัฒนาเครื่องผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารจากกาบหมาก 2 แบบ คือแบบจานเหลี่ยมขนาด 6 นิ้ว x 7 นิ้ว และแบบถ้วยขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 นิ้ว โดยไม่ต้องถอดแม่พิมพ์ ซึ่งผลิตภัณฑ์ได้รับการรับรองจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์แล้ว ทั้งนี้ได้มอบให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนส่งเสริมอาชีพเกษตรกรชาวสวนยาง ตำบลท่าอุแท อำเภอเมืองกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ใช้ในการประกอบอาชีพ เพื่อผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารจากกาบหมาก ซึ่งเป็นวัสดุธรรมชาติที่มีอยู่ในชุมชนจำนวนมาก นำมาผลิตทดแทนภาชนะที่ทำจากโฟมเป็นการลดมลภาวะที่จะเกิดกับสิ่งแวดล้อม และที่สำคัญคือเป็นการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรและชุมชนอีกทางหนึ่งด้วย

นอกจากนี้ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนส่งเสริมอาชีพเกษตรกรชาวสวนยาง ตำบลท่าอุแท อำเภอเมืองกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ได้รับเครื่องผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารจากกาบหมากระบบกึ่งอัตโนมัติ จะได้นำไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ส่งเสริมการประกอบอาชีพให้กับเกษตรในชุมชน ตั้งแต่การปลูกหมาก การจำหน่ายกาบหมากสู่กระบวนการผลิต และการผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารจากกาบหมากเพื่อจำหน่ายเชิงพาณิชย์ เป็นการสร้างงาน สร้างรายได้ สร้างความอยู่ดีกินดีของสมาชิกกลุ่ม และของพี่น้องเกษตรกรตำบลอุแท อำเภอกาญจนดิษฐ์ อย่างยั่งยืนต่อไป

นายธเนศ ศรีรุ่งเรือง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าอุแท กล่าวว่า รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ วช. นำเครื่องผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารจากกาบหมากระบบกึ่งอัตโนมัติ มามอบให้ ทำให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนส่งเสริมอาชีพเกษตรกรชาวสวนยางมีอาชีพ มีรายได้เพิ่มขึ้น นอกจากการปลูกสวนยาง ปาล์มน้ำมัน และทุเรียน ด้วย

ด้าน นางสาวอัญชลี บารมีรุ่งเรือง ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนส่งเสริมอาชีพเกษตรกรชาวสวนยาง กล่าวว่า มหาวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี ได้เข้ามาส่งเสริมอาชีพเสริมการทำการผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารจากกาบหมากเพื่อจำหน่ายเชิงพาณิชย์ ทำให้เกษตรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งอยากให้ภาครัฐ และภาคเอกชนหันมาอุดหนุนผลิตภัณฑ์ฯ เพิ่มขึ้น

#วช #อว #วิสาหกิจชุมชน #ชาวสวนยาง #เกษตรกร

วช. หนุน วท.สุราษฎร์ธานี เดินหน้าส่งต่อองค์ความรู้ “เตาอบรมควันปลาเม็งระบบอัตโนมัติ” สู่ชุมชนบ้านห้วยทราย ต่อยอดแปรรูปปล...
29/05/2023

วช. หนุน วท.สุราษฎร์ธานี เดินหน้าส่งต่อองค์ความรู้ “เตาอบรมควันปลาเม็ง
ระบบอัตโนมัติ” สู่ชุมชนบ้านห้วยทราย ต่อยอดแปรรูปปลาเม็งสู่ผู้บริโภค ส่งเสริมเป็นสินค้า GI

วันที่ 29 พฤษภาคม 2566 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ได้มอบหมายให้กลุ่มสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ นำคณะสื่อมวลชน เยี่ยมชมนวัตกรรมเพื่อเกษตรชุมชน “เตาอบรมควันปลาเม็งระบบอัตโนมัติ” ของ นายเกียรติศักดิ์ เส้งพัฒน์ เป็นหัวหน้าโครงการ และนายวีระพล บุญจันทร เป็นผู้ร่วมโครงการวิจัย โดยมี ดร.ธวัช ไชย ลิ้มสุวรรณ เป็นที่ปรึกษาโครงการ และให้เกียรติมาร่วมงาน ณ วิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ปลาเม็ง หมู่ที่ 3 ตำบลทรัพย์ทวี อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัด
สุราษฎร์ธานี ซึ่งนวัตกรรมดังกล่าวได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 การประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม “Thailand New Gen Inventors Award 2023” (I-New Gen Award 2023) จาก วช.

นายวีระพล บุญจันทร ผู้ร่วมโครงการวิจัย กล่าวว่า “ปลาเม็ง ถือเป็นปลาประจำท้องถิ่นของจังหวัดสุราษฎร์ธานีที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เกษตรกรนิยมเลี้ยงปลาเม็งอย่างแพร่หลายริมแม่น้ำตาปีและร่องสวนปาล์มน้ำมัน ในพื้นที่อำเภอบ้านนาเดิม บ้านนาสาร พระแสง และเคียน ปลาเม็งเป็นปลาที่มีรสชาติดี มีลักษณะเฉพาะที่มีเนื้อเหนียวเป็นเส้น ไม่เปื่อยยุ่ย และมีรสชาติหอม หวาน สินค้าขายดี เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค โดยเฉพาะยำปลาเม็ง และต้มโคล้งปลาเม็ง อาหารขึ้นชื่อของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ราคาปลาเม็งสด ขายในราคา กิโลกรัมละ 400-600 บาท เมื่อนำมาแปรรูปเป็นปลาเม็งตากแห้ง ปลารมควัน ขายได้ในราคา กิโลกรัมละ 2,400-3,500 บาท เมื่อนำมาปรุงเป็นอาหารเมนูยำปลาเม็ง โดยใช้เนื้อปลาเม็ง 1 ขีด สามารถขายได้ในราคา 400 บาท”

จากการศึกษากระบวนการแปรรูปปลาเม็งรมควันของวิสาหกิจชุมชนศูนย์การเรียนรู้บ้านห้วยทราย พบว่า กระบวนการตากปลาในที่โล่ง ทำให้ใช้เวลาตากนาน 4 – 5 ชั่วโมง มีแมลงตอมและวางไข่ มีปัญหากลิ่นไม่พึ่งประสงค์ รวมถึงไม่สามารถตากปลาในช่วงหน้าฝนได้ และที่สำคัญสินค้าไม่มีคุณภาพ เก็บไว้นานไม่ได้ ทั้งนี้ กระบวนการรมควันประสบปัญหาหลายด้าน อาทิสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงมาก หากใช้ระบบแก๊สหรือไฟฟ้าก็สิ้นเปลืองพลังงานมาก และใช้เวลาในการอบควันนาน 3 วัน ต้องคอยพลิกกลับตลอดเวลา ทำให้ผลิตภัณฑ์ปลาเม็งรมควันแห้งไม่สม่ำเสมอ ปลาที่รมควันไหม้เสียหายจนไม่สามารถขาย หรือนำไปรับประทานได้ นอกจากนี้ กระบวนการแปรรูปแบบเปิดเพื่อรมควันปลา ทำให้ควันกระจายก่อให้เกิดมลพิษ PM 2.5 ติดตามมา และวิสาหกิจชุมชนศูนย์เรียนรู้ห้วยทรายต้องการผลักดันผลิตภัณฑ์ปลาเม็งเข้าสู่มาตรฐาน อาหารปลอดภัย และสินค้า GI รวมไปถึงการยกระดับมาตรฐาน Primary GMP และมาตรฐานอื่น ๆ ด้วย

นายวีระพล บุญจันทร ผู้ร่วมโครงการวิจัย กล่าวต่อว่า จากปัญหาดังกล่าวคณะผู้วิจัยจึงเกิดแนวคิดแก้ปัญหาโดยใช้พลังงานโซล่าเซลล์เข้ามาใช้ในกระบวนการแปรรูปเพื่อประหยัดพลังงาน โดยจุดเด่นของผลงานนวัตกรรมเตาอบรมควันปลาเม็งระบบอัตโนมัติ สามารถอบแห้งและรมควันได้ในเครื่องเดียว ช่วยประหยัดเชื้อเพลิงและพลังงาน ทดแทนการตากแดดและรมควันบนตะแกรงระบบเปิด ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ สามารถผลิตในช่วงที่ไม่มีแสงแดดหรือฝนตกได้ โดยกำลังการผลิต 30 กิโลกรัมสด ใช้เวลาอบและรมควัน 12 ชั่วโมง จะได้ปลารมควันแห้งน้ำหนัก 10 กิโลกรัม นอกจากนี้นวัตกรรมเตาอบรมควัน ยังสามารถนำไปอบสมุนไพร หรือผลิตภัณฑ์แปรรูปเนื้อสัตว์ชนิดอื่น ๆ ได้

ทั้งนี้ นวัตกรรมเตาอบรมควันปลาเม็งระบบอัตโนมัติ ได้ส่งมอบไปให้วิสาหกิจชุมชนศูนย์เรียนรู้บ้านห้วยทราย อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อให้ชุมชนแห่งนี้แปรรูปปลาได้ง่ายขึ้น ลดระยะเวลาการทำงาน และลดการฟุ้งกระจายของควัน ช่วยพัฒนาต่อยอดสินค้าอัตลักษณ์ชุมชนแบบครบวงจร ส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารพื้นบ้านสำหรับจำหน่ายเชิงพาณิชย์อย่างยั่งยืน

ด้าน นายกิตติศักดิ์ นาคกุล (ผู้ใหญ่โต) ประธานวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ปลาเม็ง กล่าวว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ปลาเม็ง ได้ร่วมกับวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี ร่วมพัฒนาต่อยอดแปรรูปปลาเม็งในเชิงธุรกิจ เช่น ต้มโคล้งปลาเม็ง ปลาเม็งย่างรมควัน และยำปลาเม็ง เป็นต้น ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรองมาตรฐาน GMP, อย. และเป็นสินค้า GI ของจังหวัดสุราษฎร์ธานีแล้ว อีกทั้งได้พัฒนาทางการตลาดเพิ่มขึ้นโดยวางจำหน่ายในเครือเซ็นทรัล ,7-11 และออนไลน์ อีกด้วย
#วช #อว #สินค้าGI #อย

ที่อยู่

196, ถนนพหลโยธิน
Bangkok
10900

เวลาทำการ

จันทร์ 08:00 - 16:00
อังคาร 08:00 - 16:00
พุธ 08:30 - 16:00
พฤหัสบดี 08:30 - 16:00
ศุกร์ 08:30 - 16:00

เบอร์โทรศัพท์

+6625612445

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ:

วิดีโอทั้งหมด

ตำแหน่งใกล้เคียง บริการภาครัฐ


องค์กรของรัฐ อื่นๆใน Bangkok

แสดงผลทั้งหมด

ความคิดเห็น

🇹🇭🆔🦅กิ๊กคลับVVip60พิเศษคอมสมุหราช สมุหราช คำสั่งด่วนพิเศษคอม กิติสิริสมบุรณ์อดุลยเดช พลังเงียบเฉียบผู้การคำสั่งด่วนพิเศษการกำกับการกองกำลังติดอาวุธcatภาค1aWNBTC980989974OAG🦅FM11/199⚡🦅🆔🇹🇭✍️@@
ขอรบกวนค่ะ จะขอหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย จากกรมบัญชีกลาง แต่เข้าระบบไม่ได้เลยค่ะ รบกวนขอหน่วยงานผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย (เนื่องจากย้ายที่อยู่ ไม่ได้รับเอกสารเลยค่ะ) ขอรบกวนด้วยนะคะ ขอบคุณมากค่ะ

โปรดส่ง เอกสารมาที่ ฐิติรัตน์ แบบวา เลขที่ 219/152 ซอย 25 ถนนบางบัวทอง ต.พิมลราช อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี 11110
ตู้ดูดความชื้นAutoDessicator"WEIFO"..รับประกัน/ดูแลหลังการขายต่อเนื่อง..สอบถามเพิ่มเติม idline:weifo1 Tel.062-4944693/092-3624299
Website:www.weifothailand.com
ขออนุญาตแอดมินค่ะ

📢📢 เปิดรับสมัครรอบใหม่ สมัครก่อน...มีสิทธิ์ก่อน
ฟรี!! คูปองดิจิทัล มูลค่าสูงสุด 10,000 บาท สำหรับ SMEs ในพื้นที่ภาคกลาง
💰💰ให้ทุนสนับสนุนในการซื้อ/ใช้บริการซอฟต์แวร์หรือฮาร์ตแวร์จาก Digital Provider ภายใต้โครงการ mini Transformation Voucher(sparkles) โดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (sparkles)

👍ติดตามข่าวสารได้ที่ :
💻 https://www.icti.fti.or.th
📱 Line OA : https://lin.ee/b1JqyoV
📱 :
https://www.facebook.com/icticlub/
🎞 https://youtube.com/channel/UC_ie2aQ7tLt0JZsF6vsuF1A
(magic wand)ลงทะเบียนจองสิทธิ์ คลิก https://forms.gle/hHUwRwescMBAqmdUA
x

องค์กรของรัฐ อื่นๆใน Bangkok (แสดงผลทั้งหมด)

National Research Council of Thailand หน่วยธนาคารเลือด โรงพยาบาลสัตว์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ Digital DOAE 4-H & Young Smart Farmer DOAE Thailand บก.ปทส. Greencop - Thailand ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสร กองประมงต่างประเทศ Fisheries Foreign Affairs สำนักฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่ สำนักป้องกัน ปราบปราม และควบ