
03/02/2023
📍 เพื่อไม่ให้พลาดคอนเทนต์ความรู้สุขภาพจิตของเด็กและผู้บกพร่องทางสติปัญญา กดติดตามเราได้ที่ "TikTok สถาบันราชานุกูล" กันได้เลย 👩🔬
👉Follow ได้ที่ : https://www.tiktok.com/
#สถาบันราชานุกูล
เผยแพร่ ข่าวสาร กิจกรรม สาระความรู้
สถาบันราชานุกูลมุ่งมั่นที่จะพัฒนาสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการและบริการด้านพัฒนาการและสติปัญญา ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย เพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมาย คือ “ผู้บกพร่องด้านพัฒนาการและสติปัญญาสามารถดำรงชีวิตด้วยตนเองได้มากที่สุดตามศักยภาพและอยู่ร่วมกับครอบครัว ชุมชนได้อย่างมีความสุข”
เปิดเหมือนปกติ
📍 เพื่อไม่ให้พลาดคอนเทนต์ความรู้สุขภาพจิตของเด็กและผู้บกพร่องทางสติปัญญา กดติดตามเราได้ที่ "TikTok สถาบันราชานุกูล" กันได้เลย 👩🔬
👉Follow ได้ที่ : https://www.tiktok.com/
#สถาบันราชานุกูล
สถาบันราชานุกูล รับสมัครบุคคลเพื่อเลือกสรรเป็นพนักงานกระทรวงสาธารณสุขทั่วไป 2 ตำแหน่ง
- เจ้าพนักงานธุรการ
- พี่เลี้ยง
เปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 1-10 กุมภาพันธ์ 2566 สามารถสมัครงานได้ทาง https://th.rajanukul.go.th/jobpost
และประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าสอบในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566 ทางเว็บไซต์ https://th.rajanukul.go.th/
อ่านรายละเอียด, คุณสมบัติในแต่ละตำแหน่งและสมัครงานเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/40ijTpk
สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต
“นิทานเสียงครอบครัวสัมพันธ์ เรื่อง เล่นสนุกกับลูกรัก” เป็นนิทานที่จะช่วยส่งเสริมการเล่นให้กับเด็กๆ ซึ่งการเล่นของเด็ก บางครั้งไม่จำเป็นจะต้องเล่นเอะอะ หรือใช้พื้นที่มากนัก โดยเฉพาะเด็กเล็กๆ การเล่นกันเบาๆอย่างอ่อนโยนบนที่นอน ก่อนการอ่านหนังสือนิทานให้ลูกฟังก่อนนอน ก็สนุกและได้เสริมสร้างพัฒนาการให้ลูกได้เช่นเดียวกับครอบครัวคุณหมี และเป็นแบบอย่างการเล่นสนุกกับลูกให้กับคุณพ่อคุณแม่อีกด้วย
สถาบันราชานุกูล จัดทำสื่อนิทานออนไลน์ชุด "นิทานเสียงครอบครัวสัมพันธ์" เพื่อสร้างความรักความผูกพันในครอบครัวผ่านการรับชมสื่อนิทานเสียงด้วยกัน และให้เด็กได้ทดลองฝึกอ่านตาม เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้การอ่านออกเสียงที่หลากหลายรูปแบบมากขึ้น ให้เวลาในการเล่นอินเตอร์เน็ตของลูก เป็นการสร้างเวลาอยู่ด้วยกันภายในครอบครัว
🎞️สามารถรับชม "นิทานเสียงครอบครัวสัมพันธ์ : เล่นสนุกกับลูกรัก" ได้ที่ https://youtu.be/JGIYwlUqycI
🙏ขอบคุณหนังสือนิทาน "เล่นสนุกกับลูกรัก” เรียบเรียงโดย ระพีพรรณ พัฒนาเวช ภาพประกอบโดย วชิราวรรณ ทับเสือ กฤษณะ กาญจนาภา
📚จัดพิมพ์และเผยแพร่โดย : มูลนิธิสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน
🎙️เล่านิทานโดย : แพทย์หญิงปาฏิโมกข์ พรหมช่วย
สามารถรับชม "นิทานเสียงครอบครัวสัมพันธ์" เรื่องอื่นๆ ได้ที่ : https://youtube.com/playlist?list=PLfXW-rsOjjmjuzmn7xkiDWX_ETbfApnTH
#นิทานเสียงครอบครัวสัมพันธ์ #เล่นสนุกกับลูกรัก #สถาบันราชานุกูล #สสส. #สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ #มูลนิธิสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน
“นิทานเสียงครอบครัวสัมพันธ์ เรื่อง เล่นสนุกกับลูกรัก” เป็นนิทานที่จะช่วยส่งเสริมการเล่นให้กับเด็กๆ ซึ่.....
สถาบันราชานุกูล ขอเชิญบุคลากรและผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับผู้บกพร่องทางสติปัญญา เข้าร่วมอบรม
“หลักสูตรการพัฒนาผู้สอนงานเพื่อเตรียมความพร้อมผู้บกพร่องทางสติปัญญาสู่การทำงาน (Job Coach)"
ระยะเวลาในการอบรม 3 วัน วันที่ 10-12 พฤษภาคม 2566
ค่าลงทะเบียน 1,800 บาท
รับจำนวนจำกัด 30 ท่าน เท่านั้น
สอบถามข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
คุณอรพรรณ ชมชื่น โทร 02-248-8900 ต่อ 70357
E-Mail : [email protected]
“นิทานเสียงครอบครัวสัมพันธ์ เรื่อง โอ้โฮ... ฮิปโปตัวใหญ่” เป็นนิทานที่จะชวนให้น้องๆ ได้จินตนาการไปด้วยกันว่า ทำไม ฮิปโปจึงตัวใหญ่ ฮิปโปเขากินอะไรจึงอุดมสมบูรณ์ และแข็งแรง โดยมีการสอนเรื่องการรับประทานอาหารในแต่ละมื้อรวมถึงการทานอาหารตามหลักโภชนาการที่ดีให้กับเด็กๆ
สถาบันราชานุกูล จัดทำสื่อนิทานออนไลน์ชุด "นิทานเสียงครอบครัวสัมพันธ์" เพื่อสร้างความรักความผูกพันในครอบครัวผ่านการรับชมสื่อนิทานเสียงด้วยกัน และให้เด็กได้ทดลองฝึกอ่านตาม เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้การอ่านออกเสียงที่หลากหลายรูปแบบมากขึ้น ให้เวลาในการเล่นอินเตอร์เน็ตของลูก เป็นการสร้างเวลาอยู่ด้วยกันภายในครอบครัว
🎞️สามารถรับชม "นิทานเสียงครอบครัวสัมพันธ์ : โอ้โฮ... ฮิปโปตัวใหญ่" ได้ที่ https://youtu.be/lPJ8eH5xU5k
🙏ขอบคุณหนังสือนิทาน "โอ้โฮ... ฮิปโปตัวใหญ่” เรื่องโดย พี่มู ภาพโดย พี่เต่าทอง
📚จัดพิมพ์และเผยแพร่โดย : มูลนิธิสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน
🎙️เล่านิทานโดย : แพทย์หญิงปาฏิโมกข์ พรหมช่วย
สามารถรับชม "นิทานเสียงครอบครัวสัมพันธ์" เรื่องอื่นๆ ได้ที่ : https://youtube.com/playlist?list=PLfXW-rsOjjmjuzmn7xkiDWX_ETbfApnTH
#นิทานเสียงครอบครัวสัมพันธ์ #โอ้โฮฮิปโปตัวใหญ่ #สถาบันราชานุกูล #สสส. #สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ #มูลนิธิสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน
“นิทานเสียงครอบครัวสัมพันธ์ เรื่อง โอ้โฮ... ฮิปโปตัวใหญ่” เป็นนิทานที่จะชวนให้น้องๆ ได้จินตนาการไปด้วยกัน....
วันที่ 23-24 และ 30 มกราคม 2566 กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพบริการ สถาบันราชานุกูล จัดกิจกรรม Quality Round ประจำปีงบประมาณ 2566 ภายใต้โครงการธำรงรักษาคุณภาพมาตรฐานของงานบริการแก่เด็กบกพร่องทางสติปัญญา ปี 2566
โดย แพทย์หญิงนพวรรณ ศรีวงค์พานิช ผู้อำนวยการสถาบันราชานุกูล พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและบุคลากรสถาบันฯ ร่วมตรวจเยี่ยมเพื่อติดตามความก้าวหน้าในการพัฒนาคุณภาพ, ปัญหาสำคัญที่พบของหน่วยงาน, ความเสี่ยงของหน่วยงาน, แนวทางในการแก้ไข, CQI ปี 2566 ที่กำลังพัฒนา และสิ่งที่ต้องการสนับสนุนจากผู้บริหาร ณ งานพยาบาลผู้ป่วยนอก, หอผู้ป่วยจิตเวชเด็กและวัยรุ่น, กลุ่มภารกิจสนับสนุนและพัฒนาเครือข่ายบริการ, กลุ่มงานการศึกษาพิเศษ, กลุ่มงานสังคมสงเคราะห์, หอผู้ป่วยออทิสติก 1, หอผู้ป่วยออทิสติก 3, งานฝึกอาชีพและชุมชน และ งานกายภาพบำบัด กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู
การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อปาก เป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการพูด ซึ่งในเด็กที่มีกล้ามเนื้อปาก ลิ้น ขากรรไกรอ่อนแรง จะส่งผลให้เด็กมีปัญหาในด้านการพูด รวมถึงการรับประทานอาหาร
🧑⚕️งานเวชศาสตร์สื่อความหมาย กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู ขอแนะนำวิธี "🗣 ฝึกการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อปาก👄" ได้แก่ การนวดกล้ามเนื้อที่ใช้ในการพูด รวมถึงแนะนำกิจกรรมในการฝึกการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อปาก
ซึ่งผู้ปกครองสามารถทำได้ด้วยตนเอง โดยการฝึกการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อปาก จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อปากของเด็ก ให้มีการประสานสัมพันธ์ระหว่างปาก ลิ้น และขากรรไกรกันมากขึ้น ทำให้สามารถพูดออกเสียงได้อย่างชัดเจน และยังช่วยในการเคี้ยวและการกลืนอาหารที่ดีขึ้นด้วยค่ะ
#ฝึกการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อปาก #งานเวชศาสตร์สื่อความหมาย #กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู #สถาบันราชานุกูล
สถาบันราชานุกูล เปิดอบรมหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพทันตบุคลากรและ สหวิชาชีพในการดูแลสุขภาพช่องปาก ผู้บกพร่องด้านพัฒนาการและสติปัญญา
อบรมวันที่ 2-3 มีนาคม 2566 ที่ กลุ่มงานทันตกรรม อาคารผู้ป่วยนอกเก่า ชั้น 3 สถาบันราชานุกูล
ค่าลงทะเบียน คนละ 2,500 บาท รับเพียง 10 คนเท่านั้น สามารถลงทะเบียนได้ที่ : https://bit.ly/3XEQrYU
ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ทพญ.ฐสรรพร เติมทอง กลุ่มงานทันตกรรม สถาบันราชานุกูล
โทร. 0-2248-8900 ต่อ 70365 E-mail: [email protected]
วันที่ 16-27 มกราคม 2566 กลุ่มภารกิจการพยาบาล จัดการอบรมหลักสูตรสุขภาพจิตและจิตเวชเด็กและวัยรุ่นภาคภาษาอังกฤษ (Mental health care in Children and adolescence)
โดยทางสถาบันฯ ได้เล็งเห็นถึงการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรด้านการพยาบาลในการให้บริการด้านสุขภาพจิตและจิตเวชเด็กและวัยรุ่นในระดับนานาชาติ จากการที่ได้มีกลุ่มภาคีเครือข่ายจากต่างประเทศได้มาศึกษาดูงานอย่างต่อเนื่อง จึงพัฒนาพร้อมทั้งจัดทำหลักสูตรการอบรมในภาคภาษาอังกฤษขึ้นมา
ภายใต้วัตถุประสงค์ เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ที่เข้ารับการอบรม มีทักษะในการปฏิบัติงานพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชเด็กและวัยรุ่นที่มีปัญหาซับซ้อนยุ่งยาก และช่วยส่งเสริม, ป้องกัน, บำบัด ฟื้นฟูสุขภาพจิตและจิตเวชเด็กและวัยรุ่น รวมถึงครอบครัวและชุมชนได้
ตลอดการอบรมหลักสูตรได้มีการถ่ายทอดความรู้ทางวิชาการผ่านการบรรยายและศึกษาดูงาน โดยทีมวิทยากรจากสถาบันราชานุกูลและโรงพยาบาลรามาธิบดี และมีบุคลากรทางการแพทย์เข้ารับการอบรมทั้งสิ้น 6 คน
วันนี้ (27 มกราคม 2566) กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพบริการ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาคุณภาพครั้งที่ 1 "3P Safety in service : ราชานุกูล ปลอดภัยในการให้บริการ" ณ หอประชุมพลานามัย สถาบันราชานุกูล
แพทย์หญิงนพวรรณ ศรีวงค์พานิช ผู้อำนวยการสถาบันราชานุกูล ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด จากนั้นในช่วงเช้า ดำเนินการบรรยายเรื่อง "3P Safety ในโรงพยาบาลกับสถานการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลง" โดย อาจารย์ภัตติมา บุรพลกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านการพัฒนาคุณภาพ สถาบันราชานุกูล และบรรยายเรื่อง "จริยธรรมการเก็บข้อมูลในมนุษย์ & CQI และเส้นทางการต่อยอดสู่งานวิจัยของสถาบันราชานุกูล" โดย อาจารย์ปรารถนา รัตนถิรวรรณ นักสังคมสงเคราะห์ชำนาญการ สถาบันราชานุกูล
ช่วงบ่าย นำเสนอ "ผลงานคุณภาพ (CQI) ของหน่วยงาน" จำนวนทั้งหมด 33 เรื่อง จากหน่วยงานภายในสถาบันราชานุกูล โดยมี อาจารย์ศุภลักษณ์ เอกอัศวิน นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ข้าราชการบำนาญ กรมสุขภาพจิต) และ อาจารย์จีรภา จรัสวณิชพงศ์ นักกายภาพบำบัดชำนาญการพิเศษ สถาบันราชานุกูล ให้คำแนะนำในการปรับปรุงผลงาน CQI ของแต่ละหน่วยงาน
ทางสถาบันราชานุกูล ยังดำเนินการพัฒนาคุณภาพการดำเนินงานให้ดียิ่งขึ้น ทั่วทั้งองค์กร ทั้งในระดับหน่วยงาน ระดับทีมคร่อมสายงาน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้บุคลากรในสถาบันได้มีโอกาสในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ ด้านการพัฒนาคุณภาพ, เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกหน่วยงานในสถาบันราชานุกูล ได้มีช่องทางนำเสนอผลงานคุณภาพให้หน่วยอื่นๆ ได้รับรู้และเรียนรู้ร่วมกัน และเป็นเวทีในการคัดเลือกผลงานคุณภาพที่โดดเด่นของสถาบัน สำหรับเผยแพร่สู่หน่วยงานภายนอกทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ
วันที่ 16-27 มกราคม 2566 งานกิจกรรมบำบัด กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู จัดการอบรมหลักสูตร “กิจกรรมบำบัดในเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรม อารมณ์ และสังคมจากความบกพร่องของการปรับตัวต่อการรับความรู้สึก” ณ ห้องประชุมนายแพทย์รสชง ทัศนาญชลี อาคารนายแพทย์รสชง, อาคารกิจกรรมบำบัด สถาบันราชานุกูล
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมทราบถึง บทบาทของนักกิจกรรมบำบัดในเด็กที่มีความต้องการพิเศษ สามารถคัดกรององค์ประกอบในการทำกิจกรรมที่มีผลกระทบต่อความบกพร่องของพัฒนาการในเด็กที่มีความต้องการพิเศษได้ และสามารถจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการทางกิจกรรมบำบัดเบื้องต้นในการแก้ไขความบกพร่องขององค์ประกอบในการทำกิจกรรมด้านการปรับตัวต่อการรับความรู้สึก ในเด็กที่มีปัญหาทางด้านพฤติกรรม อารมณ์ และสังคม ได้อย่างถูกต้อง โดยมีทีมวิทยากรนักกิจกรรมบำบัดร่วมถ่ายทอดความรู้ทั้งการบรรยายและฝึกภาคปฏิบัติแก่บุคลากรทางการแพทย์และการศึกษาที่เข้าร่วมในการอบรม
วันนี้ (27 มกราคม 2566) คุณชญานิน ปิ่นขยัน ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บจก.เมดโค้ช อินเตอร์เนชั่นแนล คอนซัลติ้ง เป็นตัวแทนกลุ่ม We volunteer Spirit Thailand ก่อตั้งขึ้นโดย บจก.เมดโค้ช อินเตอร์เนชั่นแนล คอนซัลติ้ง
เดินทางมามอบจิ๊กซอว์บล็อคไม้ เสริมพัฒนาการสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญา ซึ่งได้จัดทำขึ้นในกิจกรรม VOLUNTEER WORKSHOP โดยมีนักเรียนจิตอาสาร่วมกันประดิษฐ์จิ๊กซอว์บล็อคไม้ จำนวน 35 ชุด ณ อาคารอำนวยการ สถาบันราชานุกูล
สถาบันราชานุกูล รู้สึกซาบซึ้งและขอขอบคุณในความเอื้อเฟื้อต่อเด็กๆของเรา โดยจะดำเนินการส่งมอบของให้แก่ผู้รับบริการตามวัยของพัฒนาการต่อไป
สถาบันราชานุกูล เปิดอบรมหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพทันตบุคลากรและ สหวิชาชีพในการดูแลสุขภาพช่องปาก ผู้บกพร่องด้านพัฒนาการและสติปัญญา (ออนไลน์)
อบรมวันที่ 23-24 กุมภาพันธ์ 2566 ในรูปแบบออนไลน์ ผ่านทาง ZOOM CLOUD MEETINGS
ค่าลงทะเบียน คนละ 700 บาท รับเพียง 20 คนเท่านั้น สามารถลงทะเบียนได้ที่ : https://bit.ly/3XEQrYU
ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ทพญ.ฐสรรพร เติมทอง กลุ่มงานทันตกรรม สถาบันราชานุกูล
โทร. 0-2248-8900 ต่อ 70365 E-mail: [email protected]
วันที่ 25-26 มกราคม 2566 กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพบริการ จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "การจัดทำแบบประเมินตนเองตามมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพฉบับที่ 5" และเรื่อง "แนวทางการประเมินคุณภาพด้วย HA Scoring 2020" ณ ห้องประชุมทุนการกุศลสมเด็จย่า อาคารผู้ป่วยนอกใหม่ ชั้น 3 สถาบันราชานุกูล
แพทย์หญิงนพวรรณ ศรีวงค์พานิช ผู้อำนวยการสถาบันราชานุกูล เป็นประธานเปิดการอบรม และกล่าวรายงานโดย ทันตแพทย์หญิงภัตติมา บุรพลกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านพัฒนาคุณภาพ สถาบันราชานุกูล
วันที่ 25 มกราคม บรรยายเรื่อง “มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพฉบับที่ 5” ต่อด้วยการแบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติและนำเสนอ เรื่องการจัดทำแบบประเมินตนเองตามมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพฉบับที่ 5 โดยได้รับเกียรติวิทยากรจาก อาจารย์รตนอร จูห้อง หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาคุณภาพ และทีมพัฒนาคุณภาพจากโรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์
วันที่ 26 มกราคม บรรยายเรื่อง "แนวทางการประเมินคุณภาพด้วย HA Scoring 2020" โดย ทันตแพทย์หญิงภัตติมา บุรพลกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านพัฒนาคุณภาพ ต่อด้วยการนำเสนอและร่วมกันเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางการประเมินคุณภาพ
ทั้งนี้เพื่อให้บุคลากรมีความรู้ ความเข้าใจ ในการประเมินตนเองตามมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพฉบับที่ 5 และสามารถดำเนินงานพัฒนาคุณภาพให้เป็นตามมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับที่ 5 รวมถึงได้แนวทางการประเมินคุณภาพด้วย HA Scoring โดยมีบุคลากรเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ รวมทั้งสิ้น 60 คน
"ให้เวลาในการเล่นอินเตอร์เน็ตของลูก เป็นการสร้างเวลาอยู่ด้วยกันภายในครอบครัว"
ด้วยการรับชมสื่อนิทานออนไลน์ ชุด "นิทานเสียงครอบครัวสัมพันธ์" เพื่อเสริมสร้างความรักความผูกพันในครอบครัว รวมไปถึงทักษะทางการเรียนรู้ในด้านต่างๆ ให้กับน้องๆ เช่น ทางด้านภาษา, การสื่อสาร, การเสริมสร้างจินตนาการ เป็นต้น
🎞️ สามารถรับชม "นิทานเสียงครอบครัวสัมพันธ์" เรื่องต่างๆ ได้ที่ : https://youtube.com/playlist?list=PLfXW-rsOjjmjuzmn7xkiDWX_ETbfApnTH
#นิทานเสียงครอบครัวสัมพันธ์ #สถาบันราชานุกูล #สสส. #สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ #มูลนิธิสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน
🌎 "METAVERSE พิพิธภัณฑ์โรงพยาบาลราชานุกูล" 🌎
รับชมความเป็นมากว่า 60 ปี ของ สถาบันราชานุกูล โรงพยาบาลพิเศษเฉพาะที่ตั้งขึ้นเพื่อให้บริการด้านบำบัดรักษาแก่ผู้ที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญาแห่งแรกในประเทศไทย ผ่าน METAVERSE โลกเสมือน ที่คุณสามารถรับชมได้ทุกที่และทุกเวลาได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย เข้าชมได้สูงสุด 50 คนพร้อมกัน
💻 สามารถเข้ารับชมได้ที่ : https://www.spatial.io/s/Rajanukul-Museum-637314baa4af1400010db6ae?share=759392591236034709
📱 สำหรับรับชมบนมือถือ ให้ติดตั้ง Application "Spatial" จากนั้น ทำการค้นหาห้อง "Rajanukul Museum" เพื่อเข้ารับชม โดยสามารถดาวน์โหลด App ได้ที่ :
- App Store : https://apps.apple.com/th/app/spatial/id1528403747
- Play Store : https://play.google.com/store/apps/details?id=io.spatial.spatial
#พิพิธภัณฑ์โรงพยาบาลราชานุกูล #สถาบันราชานุกูล
สถาบันราชานุกูล ได้รับการรับรอง "GREEN & CLEAN Hospital" ระดับดีมาก จากกรมอนามัย
โดยทางสถาบันฯ ได้พัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลด้านสิ่งแวดล้อมในสถานพยาบาลตามมาตรฐานในระดับดีมาก
"นิทานเสียงครอบครัวสัมพันธ์ เรื่อง อานีสกับกอล์ฟสู้โควิด-19" หนังสือนิทานให้ความรู้เกี่ยวกับโรค COVID-19 ให้เด็กๆ ได้เข้าใจและเรียนรู้วิธีในการป้องกันตัวเองจากโรคระบาด รวมถึงป้องกันไม่นำเชื้อไปแพร่คนรอบข้างและครอบครัวที่เรารักด้วย
สถาบันราชานุกูล จัดทำสื่อนิทานออนไลน์ชุด "นิทานเสียงครอบครัวสัมพันธ์" เพื่อสร้างความรักความผูกพันในครอบครัวผ่านการรับชมสื่อนิทานเสียงด้วยกัน และให้เด็กได้ทดลองฝึกอ่านตาม เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้การอ่านออกเสียงที่หลากหลายรูปแบบมากขึ้น ให้เวลาในการเล่นอินเตอร์เน็ตของลูก เป็นการสร้างเวลาอยู่ด้วยกันภายในครอบครัว
🎞️สามารถรับชม "นิทานเสียงครอบครัวสัมพันธ์ : อานีสกับกอล์ฟสู้โควิด-19" ได้ที่ https://youtu.be/aSMMpEszeg8
🙏ขอบคุณหนังสือนิทาน "อานีสกับกอล์ฟสู้โควิด-19 โดย คุณระพีพรรณ พัฒนาเวช"
📚ตีพิมพ์และเผยแพร่โดย : มูลนิธิสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ร่วมกับ สถาบันราชานุกูล, สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และ สำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สสส.
🎙️เล่านิทานโดย : พี่บัว อนิษฎา วัฒนวันยู
สามารถรับชม "นิทานเสียงครอบครัวสัมพันธ์" เรื่องอื่นๆ ได้ที่ : https://youtube.com/playlist...
#นิทานเสียงครอบครัวสัมพันธ์ #อานีสกับกอล์ฟสู้โควิด19 #สถาบันราชานุกูล
"นิทานเสียงครอบครัวสัมพันธ์ เรื่อง อานีสกับกอล์ฟสู้โควิด-19" หนังสือนิทานให้ความรู้เกี่ยวกับโรค COVID-19 ให้เด็ก...
"นิทานเสียงครอบครัวสัมพันธ์ เรื่อง หางตุ้มกับหูตั้ง" นิทานภูมิคุ้มใจ ที่จะช่วยส่งเสริมให้เด็กรักตนเองเป็น สามารถควบคุมอารมณ์และรับมือกับเหตุการณ์ที่เข้ามากระทบต่อสภาพจิตใจได้ ผ่านภาพ เรื่องราว และถ้อยคำที่โลดแล่นอยู่ในนิทาน
สถาบันราชานุกูล จัดทำสื่อนิทานออนไลน์ชุด "นิทานเสียงครอบครัวสัมพันธ์" เพื่อสร้างความรักความผูกพันในครอบครัวผ่านการรับชมสื่อนิทานเสียงด้วยกัน และให้เด็กได้ทดลองฝึกอ่านตาม เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้การอ่านออกเสียงที่หลากหลายรูปแบบมากขึ้น ให้เวลาในการเล่นอินเตอร์เน็ตของลูก เป็นการสร้างเวลาอยู่ด้วยกันภายในครอบครัว
🎞️สามารถรับชม "นิทานเสียงครอบครัวสัมพันธ์ : หางตุ้มกับหูตั้ง" ได้ที่ : https://youtu.be/_YE1sDJERpc
🙏ขอขอบคุณหนังสือนิทาน "หางตุ้มกับหูตั้ง โดย คุณระพีพรรณ พัฒนาเวช"
📚ตีพิมพ์และเผยแพร่โดย : มูลนิธิสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ร่วมกับ สถาบันราชานุกูล และ ธนาคารจิตอาสา
🎙️เล่านิทานโดย : พี่บัว อนิษฎา วัฒนวันยู
สามารถรับชม "นิทานเสียงครอบครัวสัมพันธ์" เรื่องอื่นๆ ได้ที่ : https://youtube.com/playlist?list=PLfXW-rsOjjmjuzmn7xkiDWX_ETbfApnTH
#นิทานเสียงครอบครัวสัมพันธ์ #หางตุ้มกับหูตั้ง #สถาบันราชานุกูล #มูลนิธิสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน #ธนาคารจิตอาสา
"นิทานเสียงครอบครัวสัมพันธ์ เรื่อง หางตุ้มกับหูตั้ง" หนังสือชุดนิทานภูมิคุ้มใจ ที่จะช่วยส่งเสริมให้เด็กร...
นิทาน เป็นสื่อที่ช่วยในการเปิดโลกทัศน์แห่งการเรียนรู้ให้กับเด็กในมิติต่างๆ ทั้งทางด้านภาษา, การสื่อสาร, การเสริมสร้างจินตนาการ เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางหลักในการเข้าถึงสื่อความรู้และความบันเทิง และแทบจะทุกบ้านได้เลือกใช้สื่อเทคโนโลยีเข้ามาในการเลี้ยงลูก โดยปล่อยให้เด็กใกล้ชิดสื่อเทคโนโลยีมากจนส่งผลกระทบต่อพัฒนาการ
สถาบันราชานุกูล จึงได้จัดทำสื่อนิทานออนไลน์ชุด "นิทานเสียงครอบครัวสัมพันธ์" ขึ้น เพื่อสร้างความรักความผูกพันในครอบครัวผ่านการรับชมสื่อนิทานเสียงด้วยกัน และให้เด็กได้ทดลองฝึกอ่านตาม เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้การอ่านออกเสียงที่หลากหลายรูปแบบมากขึ้น ให้เวลาในการเล่นอินเตอร์เน็ตของลูก เป็นการสร้างเวลาอยู่ด้วยกันภายในครอบครัว
สำหรับหนังสือนิทานเรื่อง “ตุ๊กตาของลูก” มีเรื่องราวที่เกี่ยวกับการพลัดพราก ความสูญเสีย และความตาย ซึ่งยังเป็นเรื่องที่เข้าใจยากสำหรับเด็ก และบางครั้งก็ไม่สามารถอธิบายออกมาเป็นคำพูดให้เข้าใจได้ง่ายๆ จึงใช้นิทานมาช่วยอธิบายผ่านภาพ เรื่องราว และถ้อยคำ
🎞️สามารถรับชม "นิทานเสียงครอบครัวสัมพันธ์ : ตุ๊กตาของลูก" ได้ที่ : https://youtu.be/uesV7dTKCC8
🙏ขอขอบคุณหนังสือนิทาน "ตุ๊กตาของลูก โดย คุณปรีดา ปัญญาจันทร์"
📚ตีพิมพ์และเผยแพร่โดย : มูลนิธิสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ร่วมกับ สถาบันราชานุกูล และ ธนาคารจิตอาสา
🎙️เล่านิทานโดย : แพทย์หญิงปาฏิโมกข์ พรหมช่วย
#นิทานเสียงครอบครัวสัมพันธ์ #ตุ๊กตาของลูก #สถาบันราชานุกูล #มูลนิธิสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน #ธนาคารจิตอาสา
"ฝึกอ่านตามนิทานเสียง เรื่อง ตุ๊กตาของลูก" หนังสือชุดนิทานภูมิคุ้มใจ ที่จะช่วยฝึกฝนให้เด็กๆ สามารถรับมือ.....
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา พระราชทานแจกันดอกไม้มอบให้สถาบันราชานุกูล เพื่อนำไปมอบให้ผู้ป่วย เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ และให้หายป่วยโดยเร็ว โดยมีเจ้าหน้าที่ กองตำรวจวังประจำพระองค์และรับรอง โดยนางทัศอันน์ เครือขวัญ รองหัวหน้าแผนกและรรก.หัวหน้าฝ่ายธุรการแผนกตำรวจวัง พ.อัมพรสถาน เป็นผู้เชิญแจกันดอกไม้พระราชทาน มอบให้ พญ.ชดาพิมพ์ เผ่าสวัสดิ์ รองผู้อำนวยฝ่ายการแพทย์ นางจารุวรรณ ประดา รองผู้อำนวยการฝ่ายการพยาบาล นางอารัญยา รักษาสัตย์ รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร พร้อมคณะผู้บริหารและบุคลากรสถาบันราชานุกูล รับมอบ เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2566 ณ อาคารอำนวยการ สถาบันราชานุกูล เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร
การเล่นนั้นไม่เพียงแต่สร้างความสนุกสนานเท่านั้น แต่ยังเป็นโอกาสในการสร้างความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างเด็กๆ กับพ่อแม่ผู้เลี้ยงดู นอกจากนี้การเล่นยังเป็นการเสริมสร้างทักษะที่จำเป็นต่อพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม การรู้คิดรวมถึงการพัฒนาทักษะในการแก้ไขปัญหาทั่วไปในชีวิตประจำวัน
พ่อแม่ผู้เลี้ยงดูควรให้ความสำคัญในเรื่องของการเล่นกับลูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กปฐมวัยโดยสามารถใช้หลัก "3 ล : เล่นร่วมกัน, เล่นผ่านการเล่านิทาน และ เล่นผ่านการใช้สื่อหน้าจออิเล็กทรอนิกส์อย่างพอดี" เพื่อให้การเล่นแต่ละครั้งเป็นการเล่นที่มีคุณภาพได้ดังนี้
📌ล ที่ 1 เล่นร่วมกัน อย่างน้อยครั้งละ 30 นาทีอย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์
📌ล ที่ 2 เล่นผ่านการเล่านิทาน
ถือเป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมการสร้างจินตนาการผ่านการฟัง โดยการใช้เวลาเพื่อการเล่านิทานให้ลูกฟังหรืออ่านหนังสือกับลูกเพียงอย่างน้อยวันละ 10 นาที โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเล่านิทานจากพ่อแม่ที่มีการทำเสียงสูงต่ำประกอบจะสร้างความสนุกตื่นเต้นและทำให้ลูกมีความรู้สึกเกิดการมีส่วนร่วม เสริมสร้างสมาธิจดจ่อจากการฟัง ซึ่งทักษะการฟังเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการอ่านและเขียนอีกด้วย
📌ล ที่ 3 เล่นผ่านการใช้สื่อหน้าจออิเล็กทรอนิกส์อย่างพอดี
ในปัจจุบันมีสื่อการสอนดีๆ และมีเกมที่สร้างสรรค์เพื่อเสริมการเรียนรู้อย่างมากมายในอินเทอร์เน็ต แต่ไม่ใช่ทุกวัยจะสามารถใช้เครื่องมือเหล่านี้ได้อย่างอิสระ โดยมีข้อแนะนำว่าเด็กที่อายุต่ำกว่าสองปีไม่ควรใช้สื่อต่างๆ เหล่านี้ พ่อแม่ควรมีการตั้งกฏกติกากับลูกเรื่องระยะเวลาในการใช้สื่อหน้าจออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งควรมีข้อตกลงร่วมกันเพื่อพื้นที่ไร้สื่อหน้าจอโดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเวลารับประทานอาหาร หรือการเข้านอน เพื่อให้เด็กมีช่วงเวลาที่มีคุณภาพกับครอบครัว รวมถึงพ่อแม่ควรช่วยกันตรวจสอบคุณภาพของเนื้อหาให้เป็นไปตามความเหมาะสมของอายุ และพูดคุยสอดแทรกเพื่อสร้างความเข้าใจให้เด็กมีความรู้เท่าทันต่อเนื้อหาที่หลากหลายในสื่อต่างๆ ที่มีอย่างมากมายในปัจจุบัน
#วันเด็กสถาบันราชานุกูลปี2566 #รู้หน้าที่มีวินัยใฝ่ความดี #วันเด็กแห่งชาติ2566 #สถาบันราชานุกูล #เล่นกับลูกไม่ใช่เรื่องเล่นๆ #กรมสุขภาพจิต
มหัศจรรย์ของการเล่นกับลูก
จากการสำรวจสถานการณ์ระดับสติปัญญาและความฉลาดทางอารมณ์เด็กไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปี 2564 โดยกรมสุขภาพจิต พบว่า เด็กที่มีการเล่นร่วมกับครอบครัวในทุกวัน รวมถึงการเล่นอย่างมีคุณภาพสม่ำเสมอ จะมี IQ ที่ดีกว่า และเด็กมีพัฒนาการที่ดีมากยิ่งขึ้น
โดย IQ เฉลี่ยของเด็กจะอยู่ที่ 105.2 ขณะที่ เด็กที่เล่นกับครอบครัวน้อยกว่า 1 ครั้งต่อเดือน IQ เฉลี่ยจะต่ำกว่า 100
ดังนั้น อย่าลืมเล่นกับเด็กๆ อย่างสม่ำเสมอและใช้เวลาในการเล่นให้มีคุณภาพ เพราะการเล่นไม่ใช่แค่กิจกรรมเพื่อความสนุกสนานเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังช่วยเสริมสร้างทักษะที่จำเป็นต่อพัฒนาการทางด้านต่างๆ ด้วยเช่นเดียวกันค่ะ
#วันเด็กสถาบันราชานุกูลปี2566 #รู้หน้าที่มีวินัยใฝ่ความดี #วันเด็กแห่งชาติ2566 #สถาบันราชานุกูล #เล่นกับลูกไม่ใช่เรื่องเล่นๆ #กรมสุขภาพจิต
วันนี้ (13 มกราคม 2566) สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต จัดกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2566 "เล่นกับลูกไม่ใช่เรื่องเล่นๆ" เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการและทักษะทางสังคม การช่วยเหลือตนเอง ส่งเสริมความรักความผูกพันระหว่างพ่อแม่ ผู้เลี้ยงดู การสาธิตการเล่นกับลูกโดยใช้เวลาอย่างมีคุณภาพ เพื่อกระตุ้นพัฒนาการ การเติบโตสมวัยและสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว พร้อมส่งต่อความสุขด้วยชุดของขวัญแก่เด็กกลุ่มที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญา
รับชมการแสดงความสามารถของเด็กกลุ่มที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญา จำนวน 4 ชุด 1. การแสดงชุด “อร่อยเหาะ” โดย กลุ่มงานการศึกษาพิเศษ 2. การแสดงชุด “ฝนเทกระจาย” โดย จาก หอผู้ป่วยออทิสติก 2 กลุ่มภารกิจการพยาบาล, 3. ขับร้องเพลง ถ้าเธอรักใครคนหนึ่ง โดย น้องไมอามี่ การศึกษาพิเศษ 6 โรงเรียนบางชัน(ปลื้มวิทยานุสรณ์) และ 4.การแสดงมายากล ชุด นายน์เมจิคแดนซ์ โดย สมาคมผู้ปกครองคนพิการทางสติปัญญาแห่งประเทศไทย
จากนั้น แพทย์หญิงนพวรรณ ศรีวงค์พานิช ผู้อำนวยการสถาบันราชานุกูล และคณะผู้บริหาร มอบถุงของขวัญวันเด็ก สำหรับเด็กคนพิเศษ โดยการสนับสนุนจากภาคีเครือข่ายและขอขอบคุณผู้สนับสนุนของขวัญวันเด็ก โรงเรียนนานาชาติแอ๊ดเวนต์รามคำแหง, มูลนิธิ Five For All, บริษัท เอ็มบีเค จำกัด (มหาชน), บริษัท แปลน ฟอร์ คิดส์ จำกัด, คุณสุชาติ โอวาทวรรณสกุล สมาคมผู้ปกครองคนพิการทางสติปัญญาฯ, บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน), ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร ไทย-ญี่ปุ่น และ พี่เสือ ทอรัส (คุณกฤชพล อภิรักษ์โยธิน) และเพื่อนๆ / ดาราจากช่อง 7 สี, บริษัท พารากอน สตีล ซัพพลายส์ จำกัด, คุณชมชนก แสงศิริ
และเยี่ยมชมบูธนิทรรศการส่งเสริมการเล่นเพื่อการเรียนรู้ ได้แก่ "เกมดิจิทัลเกมส์พัฒนาการเรียนรู้ (Digital learning games), เล่นดี อารมณ์ดี พฤติกรรมดี (Inside Out), จินตนาการ เลิศ สร้างสรรค์ เด่น ด้วยการเล่น (Delightful imagination made by enjoyable play), อ่านเล่นเป็นเรื่อง (Reading for all) และ เรียนเล่นกับเด็กพิเศษ (Supporting child with special needs through play)
********************
กรมสุขภาพจิต จัดกิจกรรม เนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติประจำปี 2566 พร้อมแนะใช้หลัก 3 ล. เพื่อเสริมการเล่นคุณภาพ
วันนี้ (13 มกราคม 2566) กรมสุขภาพจิตมอบหมายให้สถาบันราชานุกูลจัดกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติประจำปี 2566 วันพิเศษเพื่อคนพิเศษ พร้อมเชิญชวนทุกครอบครัวให้ความสำคัญต่อการเล่นคุณภาพเพื่อกระตุ้นพัฒนาการ การเติบโตสมวัยและสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว
แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า กรมสุขภาพจิตเห็นความสำคัญของกลุ่มเด็กพิเศษหรือเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา โดยมีการพัฒนาและส่งเสริมการจัดกิจกรรมเพื่อให้เด็กเหล่านี้ได้มีพื้นที่และมีโอกาสในการแสดงออกเพื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในสังคมไม่ต่างจากคนอื่นๆ ซึ่งที่ผ่านมาเด็กเหล่านี้ได้ทำให้เห็นแล้วว่าพวกเขาเหล่านี้สามารถอยู่ในสังคมและทำกิจกรรมรวมไปถึงใช้ชีวิตได้เฉกเช่นคนทั่วไป การจัดกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติในวันนี้จึงเป็นอีกวันหนึ่งที่จะทำให้เด็กๆเหล่านี้ได้มีความรู้สึกว่าตนเองคือคนพิเศษที่สำคัญอีกครั้ง ซึ่งการส่งเสริมพัฒนาการและการบำบัดฟื้นฟูทางการแพทย์นั้นถึงแม้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องแต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการดูแลเอาใจใส่จากครอบครัว เพราะเด็กกลุ่มนี้มักใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับครอบครัวและต้องการการดูแลจากครอบครัวมากกว่าเด็กๆโดยทั่วไป ครอบครัวจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อพัฒนาการของเด็ก โดยสมาชิกทุกคนในครอบครัวสามารถเป็นผู้ส่งเสริมพัฒนาการให้กับเด็กๆได้ตลอดเวลาผ่านกิจกรรมต่างๆที่ทำร่วมกันภายในครอบครัว ผ่านการฝึกทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ และกิจกรรม ที่ควรให้สำคัญอย่างมากคือการเล่นกับลูกๆ กลุ่มเด็กพิเศษ
แพทย์หญิงอัมพร กล่าวต่ออีกว่า การเล่นนั้นไม่เพียงแต่สร้างความสนุกสนานเท่านั้น แต่ยังเป็นโอกาสในการสร้างความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างเด็กๆและพ่อแม่ผู้เลี้ยงดู นอกจากนี้การเล่นยังเป็นการเสริมสร้างทักษะที่จำเป็นต่อพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม การรู้คิดรวมถึงการพัฒนาทักษะในการแก้ไขปัญหาทั่วไปในชีวิตประจำวัน เด็กพิเศษกลุ่มนี้ก็ล้วนแต่ต้องการกิจกรรมการเล่นเช่นเดียวกับเด็กปกติ การเล่นที่มีคุณภาพและสม่ำเสมอจะช่วยกระตุ้นให้พัฒนาการของเด็กพิเศษนั้นสามารถมีพัฒนาการที่ดีขึ้นทั้งด้านร่างกายและจิตใจ และไม่ว่าจะเป็นเด็กกลุ่มใดก็ตาม พ่อแม่ผู้เลี้ยงดูควรให้ความสำคัญในเรื่องของการเล่นกับลูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กปฐมวัยโดยสามารถใช้หลักการ 3 ล เพื่อให้การเล่นแต่ละครั้งเป็นการเล่นที่มีคุณภาพได้ดังนี้ ล ที่ 1 เล่นร่วมกัน อย่างน้อยครั้งละ 30 นาทีอย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ ล ที่ 2 เล่นผ่านการเล่านิทาน ถือเป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมการสร้างจินตนาการผ่านการฟัง โดยการใช้เวลาเพื่อการเล่านิทานให้ลูกฟังหรืออ่านหนังสือกับลูกเพียงอย่างน้อยวันละ 10 นาที โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเล่านิทานจากพ่อแม่ที่มีการทำเสียงสูงต่ำประกอบจะสร้างความสนุกตื่นเต้นและทำให้ลูกมีความรู้สึกเกิดการมีส่วนร่วม เสริมสร้างสมาธิจดจ่อจากการฟัง ซึ่งทักษะการฟังเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการอ่านและเขียนอีกด้วย ล ที่ 3 เล่นผ่านการใช้สื่อหน้าจออิเล็กทรอนิกส์อย่างพอดี ในปัจจุบันมีสื่อการสอนดีๆและ มีเกมที่สร้างสรรค์เพื่อเสริมการเรียนรู้อย่างมากมายในอินเทอร์เน็ต แต่ไม่ใช่ทุกวัยจะสามารถใช้เครื่องมือเหล่านี้ได้อย่างอิสระ โดยมีข้อแนะนำว่าเด็กที่อายุต่ำกว่าสองปีไม่ควรใช้สื่อต่างๆ เหล่านี้ พ่อแม่ควรมีการตั้งกฏกติกากับลูกเรื่องระยะเวลาในการใช้สื่อหน้าจออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งควรมีข้อตกลงร่วมกันเพื่อพื้นที่ไร้สื่อหน้าจอโดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเวลารับประทานอาหาร หรือการเข้านอน เพื่อให้เด็กมีช่วงเวลาที่มีคุณภาพกับครอบครัว รวมถึงพ่อแม่ควรช่วยกันตรวจสอบคุณภาพของเนื้อหาให้เป็นไปตามความเหมาะสมของอายุ และพูดคุยสอดแทรกเพื่อสร้างความเข้าใจให้เด็กมีความรู้เท่าทันต่อเนื้อหาที่หลากหลายในสื่อต่างๆที่มีอย่างมากมายในปัจจุบัน
แพทย์หญิงนพวรรณ ศรีวงค์พานิช ผู้อำนวยการสถาบันราชานุกูล กล่าวว่า ตามที่ท่านอธิบดีกรมสุขภาพจิตมอบหมายให้สถาบันราชานุกูล จัดกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติวันพิเศษสำหรับคนพิเศษในปีนี้ สถาบันฯมีความต้องการที่จะส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีของสมาชิกในครอบครัว โดยการให้สมาชิกในครอบครัวมอบของขวัญวันเด็กให้แก่กันและกันโดยผ่านการเล่นที่เหมาะสมกับลูก เพราะเรื่องของการเล่นไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน เนื่องจากมีสื่อและอุปกรณ์สำหรับการเล่นที่น่าสนใจอย่างมากมาย แต่อย่างไรก็ตามของเล่นที่ดีที่สุดสำหรับลูกคือพ่อแม่ การมีเวลาเล่นกับลูกในแต่ละวัน โดยเน้นการเล่นให้ลูกรู้สึกสนุกสนาน เมื่อลูกรู้สึกสนุกสนานจะเกิดการเรียนรู้ที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาสมอง ซึ่งเป็นพื้นฐานในการพัฒนาความฉลาดทั้งทางสติปัญญา อารมณ์ และสังคมไปพร้อม ๆ กัน ยิ่งพ่อแม่เล่นกับลูกมากเท่าไหร่ เด็กก็จะยิ่งได้รับการพัฒนามากขึ้นเท่านั้น จึงอยากให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้เลี้ยงดู ใช้หลักการเล่นที่มีคุณภาพ ที่แนะนำไว้ข้างต้น เล่นกับลูกอย่างสม่ำเสมอเพื่อพัฒนาสมอง สร้างความสุข และกระชับความสัมพันธ์ของทุกคนในครอบครัวอันจะเป็นรากฐานสำคัญของชีวิตอีกด้วย สร้างสรรค์ สังคมไทย ส่งเสริมสุขภาพจิตเด็กไทย ให้ยั่งยืน
#วันเด็กสถาบันราชานุกูลปี2566 #รู้หน้าที่มีวินัยใฝ่ความดี #วันเด็กแห่งชาติ2566 #สถาบันราชานุกูล #เล่นกับลูกไม่ใช่เรื่องเล่นๆ #กรมสุขภาพจิต
4737 ถนนดินแดง
Bangkok
10400
จันทร์ | 08:00 - 16:00 |
อังคาร | 08:00 - 16:00 |
พุธ | 08:00 - 16:00 |
พฤหัสบดี | 08:00 - 16:00 |
ศุกร์ | 08:00 - 16:00 |
อาทิตย์ | 09:00 - 17:00 |
รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ Rajanukul Instituteผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา
ส่งข้อความของคุณถึง Rajanukul Institute:
เนื่องในวันผู้สูงอายุแห่งชาติวันที่ 13 เมษายน 2565 กรมสุขภาพจิต ขอแนะนำ "การดูแลผู้สูงวัยที่มีอาการซึมเศร้า" 👨👵 #กรมสุขภาพจิต #กองส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต #สถาบันราชานุกูล #13เมษายนวันผู้สูงอายุแห่งชาติ
เนื่องในวันผู้สูงอายุแห่งชาติวันที่ 13 เมษายน 2565 กรมสุขภาพจิต ขอแนะนำ "การดูแลผู้สูงวัย ที่มีอารมรณ์วิตกกังวล"👨👵👴 #กรมสุขภาพจิต #กองส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต #สถาบันราชานุกูล #13เมษายนวันผู้สูงอายุแห่งชาติ
เนื่องในวันผู้สูงอายุแห่งชาติวันที่ 13 เมษายน 2565 กรมสุขภาพจิต ขอแนะนำ "ดูแลจิตใจผู้สูงวัย ช่วยแก้ไขปัญหาการนอน" 👨👵👴😴 #กรมสุขภาพจิต #กองส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต #สถาบันราชานุกูล #13เมษายนวันผู้สูงอายุแห่งชาติ
เนื่องในวันผู้สูงอายุแห่งชาติวันที่ 13 เมษายน 2565 กรมสุขภาพจิต ขอแนะนำ "การดูแลผู้สูงวัย 👨👵👴ที่มีปัญหาการนอน" 😴 #กรมสุขภาพจิต #กองส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต #สถาบันราชานุกูล #13เมษายนวันผู้สูงอายุแห่งชาติ
9 กุมภาพันธ์ 2565 พลเอกวันชัย เรืองตระกูล ประธานมูลนิธิเพื่อสถาบันราชานุกูล ในพระอุปถัมภ์ฯ, คุณหญิงสรัสนันท์ เรืองตระกูล กรรมการมูลนิธิฯ, แพทย์หญิงมธุรดา สุวรรณโพธิ์ ผู้อำนวยการสถาบันราชานุกูล และบุคลากรสถาบันราชานุกูล ร่วมพิธีทำบุญเปิดอาคารศูนย์ส่งเสริมพัฒนาการเด็กราชานุกูล (คลองกุ่ม) ซึ่งอาคารเดิมได้มีการชำรุดทรุดโทรม จึงเริ่มมีการปรับปรุงรื้อถอนศูนย์เดิมที่ชำรุดทรุดโทรมในเดือนสิงหาคม 2562 และได้ดำเนินการสร้างอาคารหลังใหม่ บนเนื้อที่ 71 ตารางวา ทั้งนี้บ้านและที่ดิน ในหมู่บ้านอินทรารักษ์ 2 ถนนนวมินทร์ 75 แขวงคลองกุ่ม แห่งนี้ได้รับบริจาคให้กับสถาบันราชานุกูลเมื่อปี 2520
พิธีเปิดงานสัปดาห์สุขภาพจิตแห่งชาติ ประจำปี 2564 "สุขภาพจิตไทย วัดใจไปพร้อมกัน" ณ ศูนย์การค้า MBK center ชั้น 4 โซน A กรุงเทพมหานคร
คุยกับผู้อำนวยการกองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน เรื่องการจัดหาวัคซีนโควิด สำหรับคนทั่วไป และวัคซีนสำหรับเด็ก การระบาดของโควิด-19 ที่ยาวนานส่งผลกระทบอย่างไรกับสุขภาพจิตเด็กและพ่อแม่ต้องรับมืออย่างไร ทำความรู้จักโรงพยาบาลสนามเพื่อเด็กพิเศษและครอบครัว พื้นที่ดูแลเด็กพิเศษที่ติดเชื้อโควิด-19 ติดตามได้ใน รายการสุขหยุดโรค วันอาทิตย์ที่ 5 กันยายน 2564 เวลา 15.00 -15.30 น. ทาง TNN ช่อง 16
สั่งเสื้อที่ระลึกให้คนที่คุณรัก = ส่งต่อความห่วงใยให้กับผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มที่มีความต้องการพิเศษ เงินรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายสมทบกองทุนโควิด-19 เพื่อนำไปสนับสนุน การบริหารจัดการดูเเลผู้ป่วย บุคลากรทางการเเพทย์ โรงพยาบาลสนามราชานุกูลเพื่อเด็กพิเศษและครอบครัว ค่ะ สามารถสนับสนุนพวกเรา โดยการสั่งซื้อเสื้อได้ที่ : https://shopee.co.th/product/261465742/3396721944 #เราจะผ่านวิกฤตินี้ไปด้วยกัน #กำลังใจ #VACCINATEDTOGETHER #BHBH #สถาบันราชานุกูล
เงินไม่สามารถซื้อได้ทุกสิ่ง #ไม่ทนคนโกง ภาพยนตร์สั้นรณรงค์สังคมไม่ทนต่อการทุจริตใดๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในสังคม
"ขอบคุณนะคะที่แม่อดทนต่อสู้เพื่อหนู" คุณแม่พัชริน กลิ่นหอม : แม่ดีเด่น สถาบันราชานุกูล ปี 2563 #สถาบันราชานุกูล #วันแม่แห่งชาติ #แม่ดีเด่นสถาบันราชานุกูล
"แม่คือดวงใจของหนูนะ" คุณแม่เสมือน แจ่มใส : แม่ดีเด่น สถาบันราชานุกูล ปี 2563 #สถาบันราชานุกูล #วันแม่แห่งชาติ #แม่ดีเด่นสถาบันราชานุกูล
"ผมดีใจที่สุดที่เกิดมาเป็นลูกของแม่" คุณแม่วิยะดา ประสานศรี : แม่ดีเด่น สถาบันราชานุกูล ปี 2563 #สถาบันราชานุกูล #วันแม่แห่งชาติ #แม่ดีเด่นสถาบันราชานุกูล
"หนูจะเป็นลูกที่ดีและจะไม่ทำให้แม่เสียใจ" คุณแม่ส่งท้าย โพธิ์ศรี : แม่ดีเด่น สถาบันราชานุกูล ปี 2563 #สถาบันราชานุกูล #วันแม่แห่งชาติ #แม่ดีเด่นสถาบันราชานุกูล
"ขอบคุณครับแม่ สุขสันต์วันแม่นะครับ" คุณแม่สุธาสินี แจ่มจิตต์ : แม่ดีเด่น สถาบันราชานุกูล ปี 2563 #สถาบันราชานุกูล #วันแม่แห่งชาติ #แม่ดีเด่นสถาบันราชานุกูล
"หนูขอให้แม่มีความสุขมากๆ นะคะ" คุณแม่หยาดน้ำตา พิมทอง : แม่ดีเด่น สถาบันราชานุกูล ปี 2563 #สถาบันราชานุกูล #วันแม่แห่งชาติ #แม่ดีเด่นสถาบันราชานุกูล
"แม่คือของขวัญสุดพิเศษสำหรับหนูเลยนะ" คุณแม่มนัสนันท์ เมือนปืน : แม่ดีเด่น สถาบันราชานุกูล ปี 2563 #สถาบันราชานุกูล #วันแม่แห่งชาติ #แม่ดีเด่นสถาบันราชานุกูล
"อี้รักแม่ที่สุดในโลกเลย!" คุณแม่วรลักษณ์ ชัยโชติประเสริฐ : แม่ดีเด่น สถาบันราชานุกูล ปี 2563 #สถาบันราชานุกูล #วันแม่แห่งชาติ #แม่ดีเด่นสถาบันราชานุกูล
"หนูรักแม่มากนะ" คุณแม่จรูญ วงศ์ทหาร : แม่ดีเด่น สถาบันราชานุกูล ปี 2563 #สถาบันราชานุกูล #วันแม่แห่งชาติ #แม่ดีเด่นสถาบันราชานุกูล
"แม่คือที่สุดของชีวิตบอส" คุณแม่วันวิสา เลื่อนฤทธิ์ : แม่ดีเด่น สถาบันราชานุกูล ปี 2563 #สถาบันราชานุกูล #วันแม่แห่งชาติ #แม่ดีเด่นสถาบันราชานุกูล
ความผูกพันระหว่างพ่อแม่หรือบุคคลสำคัญที่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตกับลูก เป็นความสัมพันธ์อันลึกซึ้งทางจิตใจ ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคนที่เลี้ยงดูลูก ลูกที่พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดู เลี้ยงดูด้วยความรัก ความเข้าใจ ความเอาใจใส่ และไวต่อสัญญาณที่ลูกแสดงออกมา สามารถตอบสนอง ได้สอดคล้องกับความต้องการอย่างรวดเร็ว และสม่ำเสมอ มีความผูกพันที่เหนียวแน่น มีความใส่ใจในการปกป้องดูแลจะทำให้ลูกรู้สึกอบอุ่น รู้สึกปลอดภัยมีความมั่นใจ ที่จะทำในสิ่งต่างๆ เมื่อมีผู้ดูแลที่ลูกรู้สึกผูกพันอยู่ใกล้ๆ สิ่งเหล่านี้ที่เรียกว่า ความผูกพันทางอารมณ์ ที่จะเกิดขึ้นกับคนพิเศษเท่านั้น "ความผูกพันทางอารมณ์กับคนพิเศษ" สัมภาษณ์พิเศษ แม่ดีเด่น สถาบันราชานุกูล ประจำปี 2563 โดย นางพนิดา รัตนไพโรจน์ หัวหน้ากลุ่มการพยาบาล สถาบันราชานุกูล #สถาบันราชานุกูล #วันแม่แห่งชาติ #แม่ดีเด่นสถาบันราชานุกูล
ภาวนากับอาหาร... ของขวัญจากธรรมชาติ ใน หลักสูตรศิลปะการใช้ชีวิตด้วยลมหายใจแห่งสติ สำหรับผู้ปฎิบัติงานด้านสาธารณสุข
วันนี้คุณหมอเปรมวดี เด่นศิริอักษร (หมออ้อย) จะมาพูดคุยเรื่อง เด็ก กับ ความเสี่ยงในการติดโรค COVID-19 ซึ่งจะช่วยให้ทุกท่านเข้าใจและรับมือ เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ COVID-19 ในเด็กค่ะ #อยู่ห่างไว้ไม่แพร่เชื้อเพื่อทุกคน #สู้ไปด้วยกัน #COVIDー19 #สถาบันราชานุกูล
TOEA ศูนย์อบรมคนหางานก่อนไปทํา
กองบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศASEAN Centre for Sustainable Development Stud
Viphavadee Rangsit RoadAdministrative Court of Thailand
Moo3 Chaeng Watthana RoadSoutheast Asian Ministers of Education Organi
Sukhumvit Roadกรมสรรพสามิต :: Excise Department
ถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯITD - International Institute for Trade and D
ชั้น 8 อาคารวิทยพัฒนา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จุฬาซอย 12 ถนนพญาไท กรุงเทพฯTICA - Thailand Incentive and Convention Asso
The Legacy Viphawadi