เครือข่ายคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ

เครือข่ายคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพเพื่อประชา?
(6)

ประวัติความเป็นมา
ประเทศไทยมีจุดมุ่งหมายสูงสุดในการพัฒนากระบวนการยุติธรรม คือ การสร้างความสงบสุขให้เกิดขึ้นในสังคม โดยการป้องกันแก้ไขปัญหาอาชญากรรม การคุ้มครองความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินการป้องกันแก้ไขข้อพิพาทขัดแย้ง การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน และสิทธิมนุษยช ที่มุ่งถึงความสัมฤทธิ์ผลของความยุติธรรมบนพื้นฐานของมนุษยธรรม แต่เนื่องจากยังมีสภาพปัญหาหลายประการที่ขัดขวางมิให้ประชาชนได้มีโอกาส

เข้าถึงความยุติธรรม เช่น
1. การไม่มีความรู้ ความเข้าใจในบทบัญญัติของกฎหมาย และสิทธิเสรีภาพที่พึงมีพึงได้ โดยชอบธรรม ทำให้ประชาชนถูกเอารัดเอาเปรียบและล่วงละเมิดสิทธิจากบุคคลที่อยู่ในภาวะ ที่เหนือกว่า ดังนั้น ความยุติธรรมที่เกิดขึ้นนั้นมิได้หมายถึงการหยิบยื่นให้จากรัฐแต่เพียงฝ่ายเดียวแต่ยังขึ้นอยู่กับความสามารถในการปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพด้วยตัวของประชาชนเอง
2. ความยากจนของประชาชนที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงความยุติธรรม เนื่องจากกระบวนการดำเนินคดีนั้น คู่ความจำเป็นที่จะต้องจัดจ้างทนายเพื่อต่อสู้คดี ทำให้ประชาชนยากจนไม่สามารถดำเนินการได้
3. ประชาชนผู้เสียหายจากอาชญากรรม และจากกระบวนการยุติธรรมเป็นผู้บริสุทธิ์ไม่ได้รับการช่วยเหลือเยียวยาตามหลักสิทธิมนุษยชน หรือละเลยต่อผู้เสียหาย ซึ่งประชาชนผู้เสียหายเหล่านี้ต้องสูญเสียอิสรภาพในชีวิต ร่างกาย เกิดความพิการ หรือสูญเสียชีวิต สร้างความเสียหายต่อสิทธิประโยชน์ที่พึงมีพึงได้
4. กระบวนการยุติธรรม ขาดศักยภาพในการพัฒนาทางเลือกความยุติธรรมให้กับประชาชน กล่าวคือ แนวคิดดั้งเดิมความยุติธรรมเป็นสิ่งที่รัฐหยิบยื่นให้ประชาชนจากกระบวนการพิจารณาคดีเท่านั้น ส่งผลให้ประชาชนต้องสูญเสียโอกาสต่าง ๆ มากมาย สิ้นเปลืองเวลา ค่าใช้จ่าย สูญเสียอิสรภาพโดยมิควรและปิดกั้นโอกาสของผู้ยากจน ไม่สามารถเข้าถึงความยุติธรรมจากสถานการณ์ดังกล่าวจะพบว่า กระบวนการยุติธรรม ยังไม่มีหน่วยงานกลางในการประสานงาน เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนที่ไม่ได้รับความยุติธรรม หรือถูกล่วงละเมิดสิทธิด้วยการส่งต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือช่วยบรรเทาปัญหาในเบื้องต้นทั้งในเชิงรุกและรับ จึงทำให้ประชาชนที่ถูกละเมิดสิทธิขาดที่พึ่งในการเข้าถึงความยุติธรรม ประกอบกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ ต้องการให้มีการส่งเสริม คุ้มครอง และสร้างหลักประกันให้กับประชาชน ซึ่งรัฐบาลได้ตระหนักและเห็นความสำคัญ กอปรกับมีการปฏิรูประบบราชการใหม่ จึงได้มีการจัดตั้งกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพขึ้น ภายใต้สังกัดกระทรวงยุติธรรม เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๔๕ ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรมฯ พ.ศ. ๒๕๔๕ และใช้ชื่อภาษาอังกฤษของหน่วยงานว่า “RIGHTS AND LIBERTIES PROTECTION DEPARTMENT” มีชื่อย่อว่า “RLPD” ภายใต้วิสัยทัศน์ “เป็นองค์กรในการส่งเสริม คุ้มครองและสร้างหลักประกันสิทธิเสรีภาพ และสิทธิมนุษยชนอย่างบูรณาการ และมีนวัตกรรมสู่ความเป็นสากล
ภารกิจหลักที่สำคัญประกอบด้วย 3 ประการ คือ
ภารกิจที่ 1 ภารกิจด้านการส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพ เป็นการส่งเสริม ป้องกัน และปกป้องสิทธิ ของประชาชนไม่ให้ถูกละเมิดโดยการส่งเสริมเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพให้แก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย การประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อเผยแพร่ความรู้และการฝึกอบรมด้านเสรีภาพ การส่งเสริมและพัฒนากลไกการระงับข้อพิพาทและการจัดการความขัดแย้ง โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมถึงการติดตามประเมินผลการดำเนินการส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพภารกิจที่ 2 การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ เป็นการช่วยเหลือ เยียวยาผู้ถูกละเมิดสิทธิ ให้ได้รับการช่วยเหลืออย่างเป็นธรรม ด้วยการพัฒนาระบบ มาตรการและดำเนินการช่วยเหลือประชาชนที่ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรม
ภารกิจที่ 3 การสร้างหลักประกันตามหลักการสิทธิมนุษยชนสากล เกิดขึ้นด้วยเหตุเมื่อประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน จำนวน 7 ฉบับ ทำให้เกิดพันธะผูกพันในการปฏิบัติตามสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเข้าเป็นภาคี โดยสนธิสัญญาดังกล่าว ถือเป็นกฎหมายระหว่างประเทศ ที่ประเทศไทยต้องยึดถือปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรา 82 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ซึ่งพันธะกิจหลักของสนธิสัญญา 4 ประการที่ต้องดำเนินการคือ
1.การประกันให้เกิดสิทธิต่างๆ ตามที่ระบุไว้ในสนธิสัญญา
2.การปฏิบัติให้เกิดสิทธิตามที่รับรองไว้ในสนธิสัญญาด้วยความก้าวหน้า
3.การเผยแพร่หลักการของสิทธิ ตามสนธิสัญญา นั้นให้กว้างขวาง
4.การเสนอรายงานประเทศเกี่ยวกับผลการปฏิบัติให้เกิดสิทธิและความก้าวหน้าต่อองค์กร ตามสนธิสัญญา

ที่อยู่

เลขที่ 120 ศูนย์ราชการ อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลัก 4
Bangkok
10420

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ เครือข่ายคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

วิดีโอทั้งหมด

แชร์