02/01/2021
ETDA กับ 5 ไฮไลต์งานสำคัญในปี 63 ตอนที่ 1 Digital Governance
.
...เพราะการทำธุรกรรมหรือธุรกิจออนไลน์ อาจจะมีความเสี่ยง มีการฉ้อโกง มีการรั่วไหลของข้อมูล ฯลฯ ในโลกดิจิทัลจึงต้องมีธรรมาภิบาล หรือ Digital Governance ในการดูแลเพื่อลดความเสี่ยงต่าง ๆ
.
งานสำคัญในเรื่องนี้ ที่ ETDA ได้ผลักดันในปี 2563
.
📍 เรื่อง Digital ID ซึ่งตัวกฎหมายธุรกรรมฯ (ฉบับ 4) มีผลทางกฎหมายแล้ว โดยได้ผลักดันร่างกฎหมายลูกที่จะออกมาดูแลบริการให้น่าเชื่อถือ ในระดับพระราชกฤษฎีกา มีเนื้อหาในการเข้าไปดูแลความน่าเชื่อถือของแพลตฟอร์ม Digital ID ไปดูแลความน่าเชื่อถือของผู้ให้บริการ Digital ID หรือ IdP ตัวร่างกฎหมายนี้จะทำให้สร้างความน่าเชื่อถือ มีกลไกในการอนุญาต เพราะเรื่องการยืนยันตัวตนมีความสำคัญ ถ้ายืนยันผิด ทำธุรกรรมผิด มาสวมสิทธิ์ เกิดความเสียหาย จะเกิดผลกระทบต่อทรัพย์สิน ต่อชีวิตได้ ต่อชีวิตคืออะไร อย่างเช่น ไปโรงพยาบาล ID ตัวผิด จ่ายยาผิด เราแพ้ยา มีปัญหากับชีวต เรื่องทรัพย์สิน มีคนนำข้อมูลเราไปเปิดบัญชีธนาคาร เอาไปรับเงินโจรมา เราก็เกิดความเสียหาย ดังนั้นเรื่อง ID พอมันเป็นดิจิทัลยิ่งสำคัญ ผู้ให้บริการจึงจำเป็นต้องขออนุญาต
.
📍 เรื่องลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ หลายคนบอกว่า ทำไมยังใช้ไม่ได้ จริง ๆ ใช้ได้แล้ว มีกรณีฟ้องร้องขึ้นสู่ศาลแล้ว มีกรณีกดพินบัตรตู้เอทีเอ็ม เอาเงินออกมา ถือเป็นการทำสัญญาและลงลายมือชื่อเรียบร้อยแล้ว แต่เป็นการลงลายมือชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ โดย ETDA ได้เสนอร่าง พ.ร.ฎ. ว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจการให้บริการออกใบรับรองเพื่อสนับสนุนลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้องกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทางเทคนิคเรียกว่า Certification Authority คือผู้ประกอบการที่ออกใบรับรอง และใบรับรองนี้มาตรวจลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ และต้องมาขออนุญาตเช่นกัน โดยในปีนี้ ETDA ยังได้ประกาศข้อเสนอแนะมาตรฐานฯ แนวทางการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ด้วย
.
📍 เรื่องการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Meeting ช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา หลายคนต้อง Work from Home บริษัทเอกชนต้องประชุมผู้ถือหุ้น อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่จะประชุมในเดือนเมษายน ETDA ได้ไปมีส่วนในการผลักดันกฎหมายการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่ระดับ พระราชกำหนด ระดับประกาศกระทรวงดิจิทัลฯ และระดับประกาศของ ETDA เอง และปัจจุบันก็มีมาตรฐานออกมาเรียบร้อยแล้ว เราทำงานกับบริษัทเอกชนทั้งสัญชาติไทยและสัญชาติต่างประเทศ ตั้งแต่ให้เขาประเมินตนเองว่าทำได้ตามมาตรฐานไหม นอกจากนั้น ยังมีกลไกในการตรวจประเมินเพื่อรับรองว่าเขาทำได้ตามมาตรฐานจริง ซึ่งไม่ได้บังคับ แต่ก็จะเป็นอีกกลไกหนึ่งในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้งานได้ ว่าระบบการประชุม e-Meeting นั้น มีความน่าเชื่อถือ
.
📍 การพัฒนากลไกในการกำกับดูแล เราได้เปิด Digital Service Sandbox เพราะตัวบริการด้านดิจิทัลมีเยอแยะมากมาย และไม่ใช่ทุกบริการจะเข้าใจถึงความเสี่ยงแบบเชิงลึก ดังนั้น ใครที่ต้องการให้บริการด้านดิจิทัลหรือออนไลน์ที่ยังไม่มีกระบวนการหรือกฎหมายดูแล ETDA ก็อยากให้เข้ามาสู่ Sandbox นี้ ซึ่งรอบแรกที่เปิดรับสมัครไป มีผู้สนใจทั้งรัฐและเอกชนเข้ามาสมัคร 13 รายแล้ว ซึ่งกระบวนการ Sandbox หลายคนบอกว่า ธปท. ก็ทำ กสทช. ก็ทำ กลต. ก็ทำ และมีหน่วยงานกำกับดูแลอื่น ๆ ก็ทำ แล้วสามารถทำงานร่วมกันได้ไหม ร่วมกันได้อย่างไร ETDA ก็มีการไปคุยกับหน่วงงานอื่น ๆ ถ้าสิ่งที่ทำนั้นเกี่ยวข้องกับหลาย ๆ หน่วยงานกำกับดูแล ETDA ก็ชวนให้หน่วยงานเหล่านั้นมาคุยกัน ให้เป็น Sandbox กระบะเดียวกัน โดยในปี 2563 ได้ประกาศผู้เข้าร่วมทดสอบแล้ว 1 รายในเรื่อง Digital ID และจะทยอยประกาศในรายต่อ ๆ ไป ตามความพร้อมของผู้สมัคร
.
#DigitalGovernance #GoDigitalWithETDA