ร่วมแสดงความยินดีกับ Thailand EMT
ที่ผ่านการประเมินในระดับ Type I Fixed ตามมาตรฐานองค์การอนามัยโลก (World Health Organization - WHO)
เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2562 ที่ผ่านมา
นับเป็นประเทศแรกในภูมิภาคอาเซียน
EMT ประกอบด้วยส่วนงานสำคัญ 3 ส่วน ได้แก่
บริหารจัดการ (Management)
โลจิสติกส์ (Logistics)
การแพทย์ (Clinical)
Type I Fixed บริการผู้ป่วยนอก ไม่น้อยกว่า 100 ราย/วัน ในเวลากลางวัน
สามารถอยู่ได้ด้วยตนเองไม่น้อยกว่า 14 วัน
#ThailandEMT #who
https://youtu.be/d8m8If7j-M0
การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในระดับนานาชาติ
(International Humanitarian Assistances)
ตามกรอบขององค์การสหประชาชาติ (UN)
ตามแนวทางคณะที่ปรึกษาด้านการค้นหาและกู้ภัยระหว่างประเทศ (INSARAG)
เมื่อเกิดเหตุภัยพิบัติ
ประเทศที่ประสบภัยหรือ LEMA
จะจัดตั้งกองบัญชาการฯ แห่งชาติ
ซึ่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับด้านการแพทย์
กระทวงสาธารณสุขประเทศนั้นๆ จะดูแล
เมื่อประเทศที่ประสบภัยร้องขอความช่วยเหลือจาก UN ซึ่งช่วยเหลือในระบบ Cluster ผ่าน Virtual OSOCC
และมีการตอบรับการให้ความช่วยเหลือจากประเทศต่างๆ ผ่าน VO ตามระบบ เช่นกัน
ทีมประเมินสถานการณ์และประสานงานของ UN หรือ UNDAC
หรือทีม USAR ประเทศที่ผ่านการประเมิน INSARAG แล้ว
เข้ามาถึงเป็นประเทศที่ประสบภัยเป็นทีมแรก
จะทำการจัดตั้ง RDC ซึ่งต้องมีการประสานงานกับ LEMA
และดำเนินการจัดตั้ง OSOCC
หรือศูนย์ประสานการปฏิบัติในพื้นที่
รวมทั้งส่วนประสานการปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัย UCC
หลังจากนั้นจะดำเนินการจัดตั้งฐานปฏิบัติการหรือ BoO และออกปฏิบัติการ
ประเมินสถานการณ์บริเวณกว้างในเบื้องต้น ASR-2
ในขณะเดียวกัน ทีม USAR จากประเทศอื่นๆ จะทยอยเดินทางมาประเทศที่ประสบภัย โดยมีการแจ้งผ่านระบบ VO
ซึ่งทีมแพทย์จากต่างประเทศ FMT/EMT
ก็จะเดินทางมาลงทะเบียนที่ RDC
และประสานงานกับกระทรวงสาธารณสุขของประเทศที่ประสบภัย ตามโครงสร้างของแต่ละประเทศนั้นๆ
และดำเนินการจัดตั้ง EMTCC ขึ้น
เพื่อประสานงานด้านการแพทย์
ซึ่งอยู่ภายใต้ OSOCC เช่นกัน
ทีมต่างๆ ที่เดินทางเข้ามาก็จะผ่านกระบวนการ RDC และ OSOCC
ผ่านไปยัง UCC หรือ EMTCC
ตามบทบาทหน้าที่ ภารกิจตนเอง
และดำเนินการให้ความช่วยเหลือ
USAR ในระดับ ASR-3 และ ASR-4
เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจ
ทีม USAR ที่ให้ความช่วยเหลือจะดำเนินการถอนกำลังตามแผนการถอนกำลัง
โดยมีการประสานแผนการถอนกำลังไปยัง OSOCC และ RDC ตามลำดับ