
14/01/2017
บทบาทสถานภาพของการวิจัยและพัฒนาวัคป้องกันโรคไข้เลือดออกของโลก
โดย ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2559 ณ การประชุมคณะกรรมการบริหารคลัสเตอร์สุขภาพและการแพทย์ ครั้งที่ 5/2559 สวทช.
แหล่งข้อมูลและข่าวสารของโรคติดเชื?
บทบาทสถานภาพของการวิจัยและพัฒนาวัคป้องกันโรคไข้เลือดออกของโลก
โดย ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2559 ณ การประชุมคณะกรรมการบริหารคลัสเตอร์สุขภาพและการแพทย์ ครั้งที่ 5/2559 สวทช.
โปรแกรมเทคโนโลยีเพื่อการเตรียมพร้อมป้องกันโรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำ ขอประชาสัมพันธ์การเปิดรับข้อเสนอโครงการด้าน Lab network ครั้งที่ 2 ภายใต้หัวข้อ Pathogen Discovery โดยมีเครือข่ายที่ต้องการมี 2 ลักษณะดังนี้
1. เครือข่าย Pathogen discovery ซึ่งประกอบด้วย ทีมผู้เชี่ยวชาญทางด้านเชื้อก่อโรคชนิดใหม่ๆ และ Bio-informatician ดำเนินการโดยใช้เทคโนโลยี High-Throughput : Next Generation Sequencing (NGS) และมีเครือข่าย/ความร่วมมือกับต่างประเทศ
2. เครือข่ายห้องปฏิบัติการเพื่อการศึกษาคุณลักษณะของเชื้อก่อโรคจากสิ่งส่งตรวจ/ตัวอย่างต่างๆ (Characterization) ซึ่งประกอบด้วย ทีมผู้เชี่ยวชาญทางด้านเชื้อก่อโรค ที่สามารถทำการศึกษาคุณลักษณะเชื้อก่อโรคติดเชื้อ/โรคติดต่ออุบัติซ้ำได้ด้วยวิธีการที่เหมาะสม
การสนับสนุนงบประมาณและระยะเวลาดำเนินการวิจัย
งบประมาณโครงการวิจัย พิจารณาตามความเหมาะสม โดยไม่เกิน 10 ล้านบาท/โครงการ
ระยะเวลาการดำเนินงาน พิจารณาตามความเหมาะสม โดยไม่เกิน 3 ปี
วันที่ประกาศรับข้อเสนอโครงการ: 1 ธันวาคม2559
วันที่ปิดรับข้อเสนอโครงการ : 1 กุมภาพันธ์ 2560
ประกาศผลการพิจารณา: 30 พฤษภาคม 2560
ติดต่อสอบถาม
คุณมนต์ตา ธรรมศรัทธา และคุณศิริวรรณ บุญมา
Tel: 02 6448150 ต่อ 81830 (มนต์ตา), 81843 (ศิริวรรณ)
Fax: 02 644 8100
E-mail: [email protected] หรือ [email protected]
เรียนทุกท่าน
ตามที่ได้มีประกาศสํานักพระราชวัง เรื่อง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร สวรรคต ลงวันที่ 13 ตุลาคม 2559 นั้น
คณะผู้จัดงาน โปรแกรม โรคติดเชื้ออุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ คลัสเตอร์สุขภาพและการแพทย์ สวทช. ขอเลื่อนการจัดงานเสวนา "แนวทางการพัฒนาการรักษา โรค มือ เท้า ปาก (Enterovirus 71) เพื่อลูกรัก" ในวันที่ 17 ตุลาคม 2559 ระหว่างเวลา 14.00-16.30 น. ณ โถงกลาง ชั้น 1 อาคารพระจอมเกล้า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรุงเทพฯ ออกไป สำหรับกำหนดการใหม่จะเรียนแจ้งให้ทราบต่อไป
จึงขอเรียนแจ้งให้ทราบและขออภัยมา ณ ที่นี้
ขอแสดงความนับถือ
โปรแกรม โรคติดเชื้ออุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ
คลัสเตอร์สุขภาพและการแพทย์ สวทช.
EID NSTDA's cover photo
EID NSTDA
EID NSTDA's cover photo
ขอเชิญ เข้าร่วมการเสวนา "แนวทางการพัฒนาการรักษา โรค มือ เท้า ปาก (Enterovirus71) เพื่อลูกรัก"
ในวันที่ 17 ตุลาคม 2559 ระหว่างเวลา 14.00-16.30 น.
ณ โถงกลาง ชั้น 1 อาคารพระจอมเกล้า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรุงเทพฯ
ลงทะเบียนได้ที่ [email protected]
ขอเชิญ เข้าร่วมการเสวนา Zika...ไวรัสร้าย ภัยเงียบสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์
ในวันที่ 6 กันยายน 2559 ระหว่างเวลา 13.30-16.30 น.
ณ โถงกลาง ชั้น 1 อาคารพระจอมเกล้า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรุงเทพฯ ลงทะเบียนได้ที่ [email protected]
โปรแกรมโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ สวทช. เปิดรับข้อเสนอโครงการแบบแข่งขัน (Competitive granting) ด้านโรคติดเชื้ออุบัติใหม่และอุบัติซ้ำ
ประจำปี 2559
เพื่อผลิตองค์ความรู้สำหรับรับมือกับโรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำ โดยสามารถทำนายหรือคาดการณ์ และ/หรือป้องกัน และ/หรือควบคุมโรคติดเชื้ออุบัติใหม่และอุบัติซ้ำที่สำคัญ
กรอบการวิจัยที่เปิดรับ
1. งานวิจัยเกี่ยวกับโรคไข้ซิก้า (Zika virus) เช่น
- การพัฒนาการตรวจหา specific antibody ของ zika virus ที่ไม่เกิดปฏิกิริยาข้ามกับเด็งกี่ไวรัส และไวรัสอื่นๆ ในกลุ่ม Flavivirus
- การศึกษา cross protection และ enhancement ระหว่างไวรัสซิก้ากับเด็งกี่ไวรัส
- การศึกษาพยาธิกำเนิดของการเกิดโรคไข้ซิก้า
- การศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างเชื้อไวรัสซิกากับ vector และ mammalian host
2. การศึกษาและทดสอบความไวของยาเพื่อการรักษาโรค Leishmaniasis
3. การศึกษาและทดสอบคุณสมบัติของ Wolbachia และ biological control ที่มีประสิทธิภาพเพื่อการควบคุมยุง
4. การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศในการสำรวจและควบคุมลูกน้ำยุงลาย
5. งานวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับโรคติดเชื้ออุบัติใหม่และอุบัติซ้ำที่มีความสำคัญทางสาธารณสุขของประเทศไทย
การสนับสนุนงบประมาณและระยะเวลาดำเนินการวิจัยด้านโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ งบประมาณโครงการวิจัยไม่เกิน 2 ล้านบาท
ระยะเวลาการดำเนินงานไม่เกิน 2 ปี
วันที่ประกาศรับข้อเสนอโครงการ: 18 กุมภาพันธ์ 2559
วันที่ปิดรับข้อเสนอโครงการ : 20 เมษายน 2559
ประกาศผลการพิจารณา: 30 กรกฎาคม 2559
กระบวนการพิจารณาให้ทุน
เป็นการให้ทุนแบบแข่งขัน โดยเป็นไปตามขั้นตอนการพิจารณาของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
แห่งชาติ (สวทช.)
การส่งเอกสาร
เอกสารที่ต้องดำเนินการส่งมายัง สวทช.
1. ข้อเสนอโครงการ จำนวน 5 โดยสามารถ Download แบบฟอร์มข้อเสนอโครงการได้ที่ http://www.nstda.or.th/industrial-research
2. ซีดีบรรจุไฟล์ข้อเสนอโครงการแบบ MS Word 1 แผ่น
ส่งข้อเสนอโครงการมาที่
โปรแกรมโรคติดเชื้ออุบัติใหม่อุบัติซ้ำ ฝ่ายบริหารคลัสเตอร์และโปรแกรมวิจัย
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (อาคาร สวทช. โยธี) เลขที่ 73/1 ถ.พระราม 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี
จ.กรุงเทพฯ 10400
ส่งเอกสารได้ตั้งแต่บัดนี้ จนถึง 20 เมษายน 2559 โดยจะถือการประทับตราและการลงทะเบียนในระบบของ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เป็นสำคัญ
ติดต่อสอบถาม
คุณมนต์ตา ธรรมศรัทธา
คุณพรพิตรา ประเทศรัตน์
Tel: 02 6448150 ต่อ 81830 (มนต์ตา), 81843 (พรพิตรา)
Fax: 02 644 8100
E-mail: [email protected] หรือ [email protected]
หมายเหตุ
การเปิดรับข้อเสนอโครงการด้านโรคเรื้อรัง/โรคไม่ติดเชื้ออื่นๆ (NCD) จะเปิดรับประมาณเดือนมีนาคม-เมษายน 2559
เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ กระทรวงวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี (วท.) แถลงข่าว "ยุงลาย พ่าย วทน." โดยได้รับเกียรติจาก ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล โฆษก วท. ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการ สวทช.และ พร้อมนำผลงานวิจัยและพัฒนา เพื่อลดการระบาดของยุงลายและไข้เลือดออก เช่น ชุดตรวจไวรัสไข้เดงกี่ วัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออก จุลินทรีย์กำจัดลูกน้ำ สเปรย์นาโนอิมัลชั่น สมุนไพรไล่ยุง มุ้งนาโน หินแก้วรูพรุนไล่ยุง โปรแกรมทันระบาด การฉายรังสีในการทำหมันยุงลาย และเตรียมขึ้นบัญชีนวัตกรรมไทย ผลิตภัณฑ์ป้องกันและกำจัดลูกน้ำยุงลาย ชนิดเกล็ดซีโอไลท์ เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐจัดซื้อให้แก่ประชาชนได้
อเมริกาใต้หวังพึ่งรังสีทำหมันยุงพาหะซิกา
เวิลด์วาไรตี้ : อเมริกาใต้หวังพึ่งรังสีทำหมันยุงพาหะซิกา : โดย...วัจน พรหโมบล
โปรแกรมโรคติดเชื้ออุบัติใหม่/อุบัติซ้ำ คลัสเตอร์สุขภาพและการแพทย์ สวทช.
จัดเสวนาเรื่อง โรคติดเชื้ออุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ:
จากประสบการณ์สู่การเตรียมความพร้อมเพื่ออนาคต
(Emerging and re-emerging diseases: from experiences towards the future preparedness)
วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม 2559 เวลา 09.00-12.00 น.
ณ ห้องประชุมออดิทอเรียม ชั้น 3 อาคาร CC
อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี
SquidMan.ExE
ถ้ามีคน 170 คนที่อาจจะต้องตาย...
และ 170,000 คนต้องป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในปีนี้...
และคุณมีพลังช่วยคนเหล่านั้นได้...
#คุณจะช่วยไหม???
เริ่มด้วยการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง...
กำจัดแหล่งน้ำขังในบ้าน, ฆ่าลูกน้ำ, กำจัดยุงลาย...
และอย่าให้ตนเองและคนรอบข้างถูกยุงกัด...
#โรคไข้เลือดออกหยุดระบาดได้แน่นอน!!!
#เริ่มที่ตัวคุณ
#คิดสิคิด #คิดไม่ออกก็ให้ภาพมันช่วยคิด
ขอบคุณข้อมูลทางสถิติจาก เพจ ความรู้สนุกๆแบบหมอแมว
The “explosive” spread of the Zika virus
The World Health Organization (WHO) says it is “deeply concerning” that the Zika virus is “spreading explosively” in the Americas.
Mutant mosquitoes to be deployed to stop Zika outbreak in Brazil
A Brazilian town plans to release millions of genetically modified mosquitoes to suppress the wild mosquito population responsible for Zika and Dengue outbreaks.
เรื่องน่ารู้ของยุงซึ่งเป็นพาหะนำโรคมาลาเรีย ไข้เลือดออก
เมื่อฝนมา แหล่งน้ำต่างๆ กลายเป็นที่วางไข่ของยุง ยุงเป็นพาหะนำโรคต่างๆ เช่นมาลาเรีย ไข้เลือดออก เป็นต้น วันนี้เรามาเรียนรู้กันว่า เวลาถูกยุงกัดนั้น เกิดอะไรขึ้นกับผิวหนังของเรา ยุงชอบกัดใคร ยากันยุงและยาลดอาการคันทำงานอย่างไรกันค่ะ :)
เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2559 ที่ผ่านมา
โปรแกรมโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ
คลัสเตอร์สุขภาพและการแพทย์ สวทช.
นำโดย ศ.นพ.ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์
ประธานกรรมการบริหารคลัสเตอร์สุขภาพและการแพทย์
ได้เข้าพบเพื่อสวัสดีปีใหม่ นพ.อภิชัย มงคล
อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องการแต่งตั้งราชบัณฑิต
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
ศาสตราจารย์ ยง ภู่วรวรรณ
เป็นราชบัณฑิต ประเภทวิชาแพทยศาสตร์ และทันตแพทย์ศาสตร์
สาขาวิชากุมารเวชศาสตร์ สำนักวิทยาศาสตร์
ขอแสดงความยินดีกับอาจารย์มา ณ ที่นี้ ด้วยค่ะ
เครดิตภาพ (http://www.royin.go.th)
สวทช.เสวนารู้ทันไข้เลือดออกชี้ไม่มีอาการก็แพร่เชื้อได้
สวทช.เร่งพัฒนาเทคโนโลยีรับมือไข้เลือดออก ส่วนวัคซีนฝีมือนักวิจัยไทยต้องรออีก 10ปี เน้นประสิทธิภาพสูง ด้านที่ปรึกษากรมควบคุมโรค เตือนคนรับเชื้อเด็งกี่แม้ไม่ออกอาการ ก็แพร่เชื้อได้ ส่วนคนท้องมีโอกาสถ่ายทอดสู่ลูกได้หากเป็นไข้เลือดออกตอนใกล้คลอด
สวทช.จัดงาน 'รู้ทัน มหันตภัยร้ายไข้เลือดออก' หนุน นักวิจัยไทยพัฒนาวัคซีน
เสวนา "รู้ทัน มหันตภัยร้ายไข้เลือดออก" - ช่วงถาม-ตอบ
ช่วงถาม-ตอบในงานเสวนาเรื่อง “รู้ทัน มหันตภัยร้ายไข้เลือดออก” เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก ทั้งในเรื่องตัวไวรัส การติดต่อ กา...
เสวนา "รู้ทัน มหันตภัยร้ายไข้เลือดออก" - ดร.นัยนา สหเวชชภัณฑ์
ดร.นัยนา สหเวชชภัณฑ์ จากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ บรรยายในงานเสวนาเรื่อง “รู้ทัน มหันตภัยร้ายไข้เลือดออก” เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้...
เสวนา "รู้ทัน มหันตภัยร้ายไข้เลือดออก" - ดร.นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร
ดร.นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 13 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข บรรยายในงานเสวนาเรื่อง “รู้ทัน มหันตภัยร้ายไข้เลือดออก” เพื่อเผยแพร่คว...
เสวนา "รู้ทัน มหันตภัยร้ายไข้เลือดออก" - ศ.คลินิก (พิเศษ) พญ.สุจิตรา นิมมานนิตย์
ศ.คลินิก (พิเศษ) พญ.สุจิตรา นิมมานนิตย์ ที่ปรึกษากรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข บรรยายในงานเสวนาเรื่อง “รู้ทัน มหันตภัยร้ายไข้เลือดออก” เพื่อเผยแพร่ความรู้ควา...
เสวนา "รู้ทัน มหันตภัยร้ายไข้เลือดออก" - ศ.นพ.ประเสริฐ เอื้อวรากุล
ศ.นพ.ประเสริฐ เอื้อวรากุล ประธานคลัสเตอร์สุขภาพและการแพทย์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวเริ่มการเสวนาเรื่อง “รู้ทัน มหันตภัยร้าย...
เสวนา "รู้ทัน มหันตภัยร้ายไข้เลือดออก" - ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล
ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล กล่าวเปิดงานเสวนาเรื่อง “รู้ทัน มหันตภัยร้ายไข้เลือดออก” เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก ทั้งในเรื่องต...
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
จัดเสวนา "รู้ทัน มหันตภัยร้านไข้เลือดออก"
เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2558
วันที่ 24 พฤศจิกายน 2558 คลัสเตอร์สุขภาพและการแพทย์สวทช.
ได้จัดงานประชุมเสวนาเรื่อง "รู้ทัน มหันตภัยร้าย ไข้เลือดออก"
ณ โถงกลาง ชั้น 1 อาคารพระจอมเกล้า กระทรวงวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี กรุงเทพฯ
โดย ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ให้เกียรติกล่าวเปิดงาน ดำเนินรายการโดย ศ.นพ.ประเสริฐ เอื้อวรากุล
และไดัรับเกียรติจาก ศ.พญ.สุจิตรา นิมมานิตย์, นพ.ปรีดา มาลาสิทธิ์, ดร.นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร และ ดร.นัยนา สหเวชชภัณฑ์ เป็นวิทยากรให้ความรู้ในการประชุมครั้งนี้
ขอประชาสัมพันธ์และเชิญชวนเข้าร่วมฟังงานเสวนาวิชาการ
เรื่อง "รู้ทัน มหัยภัยร้าย ไข้เลือดออก"
ในวันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน 2558 เวลา 9.00-12.00 น
ณ โถงกลาง ชั้น 1 อาคารพระจอมเกล้า
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรุงเทพฯ
โดยไดัรับเกียรติจาก ศ.พญ.สุจิตรา นิมมานิตย์, นพ ปรีดา มาลาสิทธิ์, ดร.นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร และดร.นัยนา สหเวชชภัณฑ์
ให้เกียรติเป็นวิทยากรให้ความรู้ในการประชุมครั้งนี้
สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและลงทะเบียนการเข้าร่วมประชุมเสวนาได้ได้ทาง [email protected]
โดยศูนย์ไข้เลือดออก สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก)
ที่มา: https://www.facebook.com/thiravat.hemachudha
(ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ศาสตราจารย์สาขาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
ระวังไข้เลือดออก ทั้งหมอ และประชาชนนะครับ (share สถานการณ์ จาก อาจารย์ Ittaporn Kanacharoen แพทยสภา)
เรื่องไข้เลือดออก กลุ่มของเราทำโครงการจากทุน สวทชและทุนจากสหรัฐ (ดร สุภาภรณ์) ที่โคราช (อาจารย์เอนก) รพ ปักธงชัย (อจ ปทุมพร) คนไข้ มีไข้ไม่จำเพาะ ภายใน 3 วัน เดินได้ มาหาที่ opd อาจารย์ปทุมพร ใช้ชุด ตรวจ NS1 และทั้งหมดเราตรวจซ้ำด้วย PCR ผลในคนไข้ เกือบ 400 ราย เป็นไข้เลือดออก เกือบครึ่ง แต่ การตรวจด้วย NS1 antigen พลาดไปกว่า 40 ราย
ปัจจุบัน หมอเราใช้ ดูอาการ ถ้าสงสัย CBC tourniquet แต่ไม่ specific โดยต้อง ตรวจ เลือด ดูเม็ดเลือดแดง เกร็ดเลือด เม็ดเลือดขาว CBC เป็นระยะ แต่แม้ใช้ NS1 ก็ยังครอบคลุมไม่หมด นอกจากนั้นยังมีสาเหตุอื่น ที่ทีมกำลังตรวจต่อ ว่าเกิดจากอะไรในพวกที่เหลือ
หมอเราเป็นจำเลยจริงๆ ครับ เกิดเรื่อง ก็จะถูกกล่าวหา ทำไมไม่รู้
ที่โคราช คนที่เป็น dengue ถ้าอยู่โรงพยาบาล จะให้กางมุ้ง เช่นเดียวกับที่จังหวัดเลย ที่จะไปทำโครงการ กับหมอกรรณิการ์ ทั้ง2 แห่ง เมื่อ ทราบว่าเป็น หน่วยระบาดจะลงไปพื้นที่บอกให้ระวังตัว กะโหลก กะลา แต่น่าเสียดายที่คนในพื้นที่ไม่ได้ให้ความสนใจ ป้องกันตัวเองนัก รอให้ทางการพ่นหมอกควัน และในที่สุดก็เป็นกันไปเยอะ
ที่แพทยสภา ประกาศสิทธิ และหน้าที่ของผู้ป่วยเป็นเรื่องถูกต้องครับ เราต้องช่วยตัวเองก่อน ก่อนที่จะผลักภาระไปให้คนอื่น และเมื่อเกิดเรื่องโทษคนอื่นลูกเดียว
หมายเหตุ กระทรวงมีคู่มือการรักษา และ WHO guideline ปี 2009 ยังใช้ได้ดีครับ
รายงานสถานการณ์โรคไข้เลือกออก ปี 2558 (สัปดาห์ที่ 43) MAP, Dengue Situatin,week 43, (w39-42, 2015)สรุปสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ปี 2556
เฝ้าระวังอหิวาตกโรค 10 จังหวัด
เมื่อวันที่ 10 พ.ย. 58 กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกประกาศขอความร่วมมือในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมอหิวาตกโรค โดยมีรายงานผู้ป่วยด้วยโรคอหิวาตกโรคใน 10 จังหวัด ได้แก่ สมุทรสาคร นนทบุรี เพชรบูรณ์ ตาก ระนอง ระยอง สงขลา ยะลา มุกดาหาร และกรุงเทพมหานคร รวมทั้งสิ้น 91 ราย
กลุ่มเสี่ยงได้แก่ แรงงานต่างด้าว ลูกเรือประมง และเริ่มมีการพบผู้ป่วยชาวไทย สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการรับประทานอาหารปรุงไม่สุก โดยเฉพาะอาหารทะเล หรืออาหารค้างมื้อ จังหวัดที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ได้แก่ ชายฝั่งทะเล ชายแดนติดพม่า และชุมชนที่สุขาภิบาลไม่ดี
ทั้งนี้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร่วมกับกรมควบคุมโรค และหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องเข้าดำเนินการในพื้นที่ที่พบผู้ป่วย โดยค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมในพื้นที่แบบปูพรมทั้งหมู่บ้าน ทุกโรงงาน ทุกชุมชนแพปลา และในตำบลที่พบผู้ป่วย จากนั้นให้การรักษาและควบคุมโรค ซึ่งเบื้องต้นได้จัดหาคลอรีนสำหรับเติมน้ำอุปโภคบริโภค ล้างแพปลา พื้นเรือ สุขา ที่พบผู้ป่วยด้วยคลอรีนเข้มข้น
และจากมติข้อสั่งการที่ประชุม War Room กระทรวงสาธารณสุข โดยท่านรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย เป็นประธาน ได้กำหนดให้มีจังหวัดเสี่ยง 3 ระดับในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคให้ได้โดยเร็ว และป้องกันการพบผู้ป่วยในวงกว้าง จึงขอความร่วมมือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมอหิวาตกโรค
(cr. กระทรวงสาธารณสุข)
รายงานสถานการณ์ไข้เลือดออกระบาดหนักภาคกลางและอีสานตอนล่าง
เมื่อวันที่ 3 ต.ค. 58 กรมควบคุมโรค รายงานว่า ตั้งแต่ต้นปี 58 จนถึงปัจจุบัน พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกประมาณ 80,000 ราย เสียชีวิต 88 ราย โดยสัปดาห์ที่ผ่านมา มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 5,226 ราย และเสียชีวิต 11 ราย คาดว่า ผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกจะเพิ่มขึ้น เพราะเป็นฤดูกาลระบาดของโรค ซึ่งทั่วโลกยังไม่มีวัคซีนหรือยารักษาโรคไข้เลือดออกโดยเฉพาะ
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค แนะนำถึงมาตรการการป้องกันโรคไข้เลือดออกว่า โดยธรรมชาติของโรคไข้เลือดออกจะระบาด ปีเว้นปี หรือ เว้นสองปี ขณะนี้พื้นที่ที่มีการระบาด คือ บริเวณภาคกลางและอีสานตอนล่าง โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ๆ ซึ่งจำเป็นที่จะต้องมีการตรวจสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างสม่ำเสมอ รวมไปถึงการให้ความรู้กับชุมชน ในส่วนของวิธีการป้องกันทำได้เบื้องต้นโดยการอย่าถูกยุงกัดโดยเฉพาะยุงลาย และเนื่องจากยังไม่มียารักษาโรคไข้เลือกออกโดยตรง ฉะนั้น การดูแลรักษาผู้ป่วยต้องทำแบบประคับประคอง เพื่อให้พ้นระยะช็อกหรือเลือดออก จากนั้นผู้ป่วยก็จะกลับมาเป็นปกติ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทรสายด่วนกรมควบคุมโรค 1422
(ที่มา: กรมควบคุมโรค)
รายงานสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา
ในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก
ข้อมูลองค์การอนามัยโลก 11 กรกฎาคม 2558 รายงานสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้ออีโบลาที่แพร่ระบาดในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตกโดยประเทศที่มีการระบาดในวงกว้างได้แก่ กินี ไลบีเรียและ เซียร์ราลีโอน รวมยอด 27,773 ราย ที่ยืนยันว่าติดเชื้ออีโบลาและต้องสงสัยว่าติดเชื้อ เสียชีวิต 11,246 ราย (ข้อมูล 5 กรกฎาคม 2558) ล่าสุดพบผู้ติดเชื้ออีโบลาใหม่ 30 ราย ใน 3 ประเทศได้แก่ กินี 18 ราย ไลบีเรีย 3 ราย และ เซียร์ราลีโอน 9 ราย สำหรับการพบผู้ติดเชื้อใหม่ทั้ง 30 รายนั้นยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด
อย่างไรก็ตามสิ่งที่สำคัญและเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อการควบคุมสถานการณ์คือ ผู้ป่วยไม่เข้ารับการรักษาทำให้เกิดความยุ่งยากต่อการควบคุมและเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นพาหะ การแพร่กระจายเชื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณพื้นที่ชุมชนแออัด
แม้ว่าในประเทศไทยนั้น ยังไม่มีรายงานยืนยันการพบผู้ป่วยติดเชื้ออีโบลาแต่ประเทศไทยยังคงต้องดำเนินมาตรการเฝ้าระวังและติดตามผู้ที่เดินทางเข้าจากสามประเทศนี้อย่างเคร่งครัด
คำแนะนำ จากประกาศขององค์การอนามัยโลก ตามประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ (PHEIC) คือ
1.ติดตามสถานการณ์จากองค์การอนามัยโลกและประเทศต่างๆ ทั่วโลก เพื่อประเมินความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง
2.ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ คัดกรองผู้เดินทางที่มีประวัติเดินทางกลับมาจากประเทศที่เกิดโรค โดยการซักประวัติและวัดอุณหภูมิ
(เครดิต http://centerforvaccineethicsandpolicy.net/)
(เครดิตภาพ
https://centerforvaccineethicsandpolicy.files.wordpress.com/2009/03/cvep-global-logo_may-2015_jpg.jpg
http://doctorspainreliefsystems.com/wp-content/uploads/2014/09/ebola.jpg
http://cdn.static-economist.com/sites/default/files/images/2015/07/blogs/graphic-detail/20150711_wom999.png)
Bangkok
10400
รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ EID NSTDAผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา
ส่งข้อความของคุณถึง EID NSTDA:
กองพันทหารขนส่ง ที่ 23 กองบัญช
ค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถ, PhitsanulokMdes : กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐ
แจ้งวัฒนะEmbassy of the State of Qatar in Bangkok
Embassy of the State of Qatar 20th Floor, Athenee Tower 63 Wireless Rd., Lumpini, Phatumwan, Bangkok 10330 Kingdom of Thailand +6626601111 [email protected]