กรมส่งเสริมสหกรณ์ - CPD

กรมส่งเสริมสหกรณ์ - CPD กรมส่งเสริมสหกรณ์ (Cooperative Promotion Department)
(64)

วันที่ 27 สิงหาคม 2566 นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ “ปันน้...
27/08/2023

วันที่ 27 สิงหาคม 2566 นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ “ปันน้ำใจสู่น้อง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้” ครั้งที่ 2 โดยมี นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ นางสาวอัญมณี ถิรสุทธิ์ อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ นายอัชฌา สุวรรณ์นิตย์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ นายนิรันดร์ มูลธิดา รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ นายประวัติ แดงบรรจง รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ และคณะผู้บริหารกรมส่งเสริมสหกรณ์ ร่วมมอบอุปกรณ์การศึกษา อุปกรณ์กีฬา สิ่งของ ทุนการศึกษา และอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการเรียนการสอนให้แก่โรงเรียนราชพัฒนา (ในเขตพื้นที่นิคมสหกรณ์ปิเหล็ง) โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในจังหวัดนราธิวาส จำนวน 5 แห่ง และโรงเรียนในเขตพื้นที่นิคมสหกรณ์ปิเหล็ง จำนวน 4 แห่ง รวมมูลค่า 380,000 บาท พร้อมพบปะเยี่ยมเยียนคณะผู้บริหาร ครู และนักเรียน ณ โรงเรียนราชพัฒนา หมู่ 6 ตำบลมะรือโบออก อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
รมช.มนัญญา กล่าวว่า “โครงการปันน้ำใจสู่น้อง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นอีกหนึ่งโครงการที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของเด็กและเยาวชนของชาติ รวมทั้งเข้ามาเติมเต็มทักษะการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยการสนับสนุนอุปกรณ์การศึกษา ทั้งอุปกรณ์การเรียนสำหรับนักเรียนและครูผู้สอน อุปกรณ์การกีฬาที่จะช่วยสร้างศักยภาพของเด็กให้มีความเข้มแข็งทั้งกายและใจ รวมไปถึงทุนการศึกษาที่จะมอบโอกาสและต่อยอดการเรียนให้แก่นักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ การพัฒนาเมืองให้เติบโตโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเตรียมความพร้อมในทุกมิติ เพิ่มโอกาสและการเข้าถึงบริการของรัฐ โดยเฉพาะการศึกษา ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนจะผลักดันการดำเนินงาน การแก้ปัญหา และสร้างพื้นฐานของความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่ประชาชนได้อย่างเหมาะสม นำมาซึ่งบุคลากรที่จะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเมืองต่อไปในอนาคต”
ทั้งนี้ กรมส่งเสริมสหกรณ์ โดยสำนักงานสหกรณ์จังหวัดนราธิวาส ร่วมกับ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดปัตตานี และสำนักงานสหกรณ์จังหวัดยะลา พร้อมขบวนการเครือข่ายสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ ร่วมกันจัดทำโครงการ “ปันน้ำใจสู่น้อง 3 จังหวัดภาคใต้ชายแดน” ซึ่งมีกำหนดจัด 3 ครั้ง ในพื้นที่จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่ภาพลักษณ์ของขบวนการสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ให้องค์กรต่าง ๆ และชุมชนในพื้นที่ได้ทราบถึงบทบาทของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในการดำเนินกิจกรรมภายใต้หลักการสหกรณ์ “เอื้ออาทรต่อสังคมและชุมชน” ในการให้การแบ่งปัน การมีเมตตาต่อผู้อื่น ซึ่งถือได้ว่าเป็นการสร้างจริยธรรมในใจที่ดี รวมทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กในพื้นที่นิคมสหกรณ์ปิเหล็งที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบภายในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้รับความรัก ความอบอุ่น ความเอื้ออาทร และเติมเต็มทางด้านการศึกษาอีกด้วย

วันที่ 27 สิงหาคม 2566 นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ติดตามการ...
27/08/2023

วันที่ 27 สิงหาคม 2566 นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ติดตามการดำเนินงานและความก้าวหน้าตามนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมทั้งเป็นประธานเปิดโครงการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระของสมาชิกสหกรณ์ในจังหวัดนราธิวาส โดยมี นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ นางสาวอัญมณี ถิรสุทธิ์ อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ นายอัชฌา สุวรรณนิตย์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ นายนิรันดร์ มูลธิดา รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ นายประวัติ แดงบรรจง รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ นายสนั่น พงษ์อักษร ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส นางสาวโสภิดา ศรัทธารัตน์ สหกรณ์จังหวัดนราธิวาส คณะผู้บริหารกรมส่งเสริมสหกรณ์ นายวัน แก้วสุกใส ประธานกรรมการสหกรณ์นิคมปิเหล็ง จำกัด คณะกรรมการดำเนินการ สมาชิกสหกรณ์ และประชาชนในพื้นที่ ให้การต้อนรับ ณ สหกรณ์นิคมปิเหล็ง จำกัด หมู่ 6 ตำบลมะรือโบออก อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
ในการนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบเงินอุดหนุนโครงการแปลงสาธิตปลูกผักปลอดสารพิษ จำนวน 180,000 บาท แก่สหกรณ์นิคมปิเหล็ง จำกัด และสหกรณ์นิคมบาเจาะ จำกัด และได้มอบหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินของนิคมสหกรณ์ (กสน.3) และหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (กสน.5) ให้แก่สมาชิกสหกรณ์นิคมปิเหล็ง จำกัด และสหกรณ์นิคมบาเจาะ จำกัด จำนวน 40 ราย จากนั้น ได้พบปะเกษตรกรและสมาชิกสหกรณ์ พร้อมเยี่ยมชมบูธแสดงผลผลิตสินค้าของผู้แทนกลุ่มอาชีพในสังกัดสหกรณ์นิคมปิเหล็ง จำกัด เช่น พริก แตงกวา จากเกษตรกรผู้ปลูกผักปลอดสารพิษ ฝรั่งกิมจู มะพร้าวน้ำหอม กระท้อน มะม่วง จากเกษตรกรผู้ทำการเกษตรผสมผสาน เงาะ ลองกอง มังคุด และทุเรียน จากเกษตรกรผู้ทำสวนผลไม้ รวมทั้งผลิตภัณฑ์อื่น ๆ อีกมากมายจากเกษตรกรผู้ทำนาข้าว เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาสลิดสายพันธุ์พื้นถิ่นลุ่มน้ำบางนรา กลุ่มแม่บ้านผู้ผลิตตะกร้าสาน เกษตรกรผู้ทำสวนมะนาว เกษตรกรผู้ผลิตขนมกระหรี่ปั๊บ เกษตรกรผู้ปลูกปาล์ม เป็นต้น
ทั้งนี้ กรมส่งเสริมสหกรณ์ โดยนิคมสหกรณ์ปิเหล็งได้ส่งเสริมอาชีพให้กับสมาชิกสหกรณ์ โดยมีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ของสมาชิกสหกรณ์ และสนับสนุนเงินทุนกู้ยืม จัดอบรมให้ความรู้ และให้บริการอุปกรณ์เครื่องจักรทางการเกษตร เพื่อพัฒนาอาชีพของสมาชิก สร้างรายได้ และความมั่นคงทางอาชีพให้สมาชิกสหกรณ์มีได้เลี้ยงครอบครัวและพึ่งพาตนเองได้ ไม่ว่าจะเป็น การปลูกปาล์มน้ำมัน การเลี้ยงโค เลี้ยงปลา การปลูกผักปลอดสารพิษ รวมทั้งส่งเสริมการทำการเกษตรแบบผสมผสาน นอกจากนี้ นิคมสหกรณ์ปิเหล็ง ยังได้จัดโครงการส่งเสริมการทำเกษตรปลอดภัยในเขตนิคมสหกรณ์ ภายใต้โครงการยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ซึ่งเป็นโครงการที่ส่งเสริมพัฒนาองค์ความรู้ การผลิตพืชปลอดภัยของสมาชิกสหกรณ์นิคมนำไปสู่การได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP หรือ PGS และมาตรฐานเกษตรอินทรียขั้นสูง
สหกรณ์นิคมปิเหล็ง จำกัด ปัจจุบันมีสมาชิก จำนวน 672 คน ดำเนินธุรกิจ 5 ประเภท ได้แก่ ธุรกิจรับฝากเงิน ธุรกิจสินเชื่อ ธุรกิจรวบรวมผลผลิต ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย และธุรกิจให้บริการ ทั้งนี้ สหกรณ์ยังได้รับการส่งเสริมพัฒนาให้มีความเข้มแข็ง เพื่อให้เป็นที่พึ่งของสมาชิก และสร้างการมีส่วนร่วมของสมาชิก รวมทั้งส่งเสริมให้สมาชิกสหกรณ์ทำอาชีพเสริมเพื่อเป็นการสร้างรายได้อีกช่องทางหนึ่ง โดยสนับสนุนเงินทุนกู้ยืม อบรมให้ความรู้ และรวบรวมผลผลิตนำไปจำหน่าย นอกจากนี้ ยังมีการรวบรวมผลผลิตน้ำมันปาล์ม สหกรณ์ได้จัดซื้ออุปกรณ์พ่วงรถบรรทุก 10 ล้อ เพื่อรองรับปริมาณผลผลิตปาล์มน้ำมันของสมาชิกที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย

วันที่ 27 สิงหาคม 2566 นายอัชฌา สุวรรณนิตย์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ พร้อมด้วย นางสาวกรนภา ชัยวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านก...
27/08/2023

วันที่ 27 สิงหาคม 2566 นายอัชฌา สุวรรณนิตย์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ พร้อมด้วย นางสาวกรนภา ชัยวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการสหกรณ์ นางรอซนานี สันหมุด หัวหน้าผู้ตรวจราชการกรม และคณะ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสหกรณ์ชาวสวนบ้านโคกเคียน จำกัด โดยมี นายณัฐกิตติ์ ปิ่นทอง ประธานกรรมการ คณะกรรมการ และสมาชิกสหกรณ์ ให้การต้อนรับ ณ สหกรณ์ชาวสวนบ้านโคกเคียน จำกัด ตำบลโคกเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส
โอกาสนี้ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้รับฟังการนำเสนอผลการดำเนินงานของสหกรณ์ชาวสวนบ้านโคกเคียน จำกัด และกล่าวชื่นชมสหกรณ์ที่พึ่งพาตนเองและมีการคิดนอกกรอบ ซึ่งผู้นำกลุ่มถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะขับเคลื่อนงาน และจะต้องมีการดูแลความสะอาดของต้นยาง ไม่ให้เพาะเชื้อ ผ่านขบวนการที่ทางกลุ่มไปศึกษาด้วยตนเอง รวมทั้งนำนวัตกรรมสร้างภูมิคุ้มกันให้ยาง มีการบริหารจัดการกลุ่มจนนำมาซึ่งการประสบความสำเร็จในหลายโครงการผ่าน ”โคกเคียนโมเดล” ซึ่งเป็นโมเดลต้นแบบให้กับจังหวัดนราธิวาสนำไปขยายผลในหลายพื้นที่ อย่างไรก็ตาม สหกรณ์ได้เน้นย้ำเรื่องการตรวจสอบย้อนกลับว่าสวนยางเกษตรกรมีการปลูกรุกล้ำเขตป่าสงวนหรือไม่ ซึ่งโคกเคียนโมเดลจะใช้ระบบ GPS ตรวจจับแปลงยางสมาชิกทุกแปลงเพื่อตรวจสอบย้อนกลับ และการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการซื้อขายยางพาราด้วย ซึ่งพอสมาชิกนำมาขาย ก็จะสามารถสแกน Qr Code รู้ได้ทันทีว่าน้ำยางนี้มาจากแปลงไหน ซึ่งสหกรณ์ชาวสวนบ้านโคกเคียน จำกัด เป็นแห่งแรกที่นำระบบตัวนี้มาใช้กระบวนการตรวจสอบย้อยกลับเพื่อเข้าสู่กระบวนการซื้อขายตามมาตรฐานสากล
ทั้งนี้ สมาชิกส่วนใหญ่ทำสวนยางเป็นหลักและสวนปาล์ม โดย ”โคกเคียน โมเดล” เกิดขึ้นเมื่อปี 2562 ซึ่งในขณะนั้นเกิดปัญหาโรคใบร่วงยางพาราระบาดอย่างรุนแรง สหกรณ์ก็ได้ใช้กระบวนการสหกรณ์ระดมร่วมคิดว่าเราจะแก้ปัญหาโรคนี้อย่างไร จึงตั้งคณะทำงานขึ้นมาแล้วประสานหน่วยงานเกี่ยวข้องด้านยางพาราเพื่อมาร่วมทำกิจกรรมตรงนี้ เป็นการระเบิดจากข้างในสู่ข้างนอกเหมือนที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 พระราชทานแนวทางไว้ สหกรณ์ชาวสวนบ้านตําบลโคกเคียน จํากัด จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2560 เดิมมีสมาชิกจํานวน 30 ราย พื้นที่ 162.5 ไร่ ปัจจุบันเพิ่มสมาชิกเป็น 129 ราย พื้นที่ 367.5 ไร่ เป็นการต่อยอดมาจากวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรชาวสวนตําบลโคกเคียน ซึ่งมีกิจกรรมรวบรวมและเพื่อขายน้ำยางพารา เพื่อแก้ปัญหาของเกษตรกรผู้มีอาชีพทําสวนยางในพื้นที่ ร่วมกันแก้ไขปัญหาราคาผลผลิตยางพาราตกต่ำและการถูกเอารัดเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลาง รวมทั้งสมาชิกจะได้รับเงินปันผลและเฉลี่ยคืนเมื่อสิ้นปี ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้เกษตรกรสมาชิกมีรายได้เพิ่มขึ้น เศรษฐกิจภายในชุมชนมีการหมุนเวียน เกิดความมั่นคงอย่างยั่งยืน

วันที่ 26 สิงหาคม 2566 นายอัชฌา สุวรรณนิตย์ พร้อมด้วย นายนิรันดร์ มูลธิดา นายประวัติ แดงบรรจง รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์...
26/08/2023

วันที่ 26 สิงหาคม 2566 นายอัชฌา สุวรรณนิตย์ พร้อมด้วย นายนิรันดร์ มูลธิดา นายประวัติ แดงบรรจง รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ และคณะผู้บริหารกรมส่งเสริมสหกรณ์ ลงพื้นที่จังหวัดนราธิวาส เยี่ยมชมพื้นที่ต้นแบบบ้านฮูแตทูวอ พื้นที่ต้นแบบของจังหวัดนราธิวาส ซึ่งน้อมนำโครงการพระราชดำริมาสานต่อด้วยหลักการดำเนินงานตามรอยเบื้องพระยุคลบาท พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยมี นางนางสาวโสภิดา ศรัทธารัตน์ สหกรณ์จังหวัดนราธวิาส นายอาหามะ มะตอเฮ ประธานสหกรณ์นิคมบาเจาะ จำกัด นายสมาน ผ่านกรม ผู้อำนวยการศูนย์เรียนรู้วิสาหกิจชุมชนฮูแตทูวอ สมาชิกสหกรณ์ และเกษตรกรในพื้นที่ให้การต้อนรับ ณ ศูนย์เรียนรู้วิสาหกิจชุมชนฮูแตทูวอ ตำบลโคกเคียน อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส

วันที่ 26 สิงหาคม 2566 นายอัชฌา สุวรรณนิตย์ พร้อมด้วย นายนิรันดร์ มูลธิดา นายประวัติ แดงบรรจง รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์...
26/08/2023

วันที่ 26 สิงหาคม 2566 นายอัชฌา สุวรรณนิตย์ พร้อมด้วย นายนิรันดร์ มูลธิดา นายประวัติ แดงบรรจง รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ และคณะผู้บริหารกรมส่งเสริมสหกรณ์ ลงพื้นที่จังหวัดนราธิวาส เข้าตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของนิคมสหกรณ์บาเจาะ โดยมี นางนางสาวโสภิดา ศรัทธารัตน์ สหกรณ์จังหวัดนราธวิาส นางสาวสกันดาเรีย แวมายิ ผู้อำนวยการนิคมสหกรณ์บาเจาะ ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่นิคมสหกรณ์ฯ ให้การต้อนรับและร่วมลงพื้นที่ ณ นิคมสหกรณ์บาเจาะ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส

โอกาสนี้ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้รับฟังผลการดำเนินงานของนิคมสหกรณ์บาเจาะ รวมถึงปัญหาและอุปสรรคที่สหกรณ์พบ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปัญหาด้านการถือครองที่ดิน อาทิ ปัญหาที่ดินยังไม่ได้รังวัดรายแปลง , ผู้ถือครองไม่ได้เป็นสมาชิกนิคมสหกรณ์ ปัญหาพื้นที่ถูกชาวบ้านบุกรุกเข้าทำประโยชน์ (ทำสวนปาล์ม) รวมทั้งปัญหาด้านการขาดความรู้ ความเข้าใจในอุดมการณ์ หลักการ และวิธีการสหกรณ์ของกรรมการและสมาชิกสหกรณ์ สมาชิกขาดการมีส่วนร่วมกับสหกรณ์ จนเป็นผลให้สหกรณ์ปิดบัญชีไม่ได้ โดยรองอธิบดีได้ให้คำแนะนำแนวทางการแก้ไขปัญหาต่างๆ เน้นย้ำเรื่องการสร้างความความเข้าใจแก่คนในพื้นที่ พร้อมบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ช่วยกันหารือแก้ปัญหาเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของสมาชิกสหกรณ์และเกษตรกรในพื้นที่ให้ได้โดยเร็ว นอกจากนี้ รองอธิบดียังได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมแปลงเกษตรของสมาชิกสหกรณ์นิคมบาเจาะ จำกัด อีกด้วย

สำหรับ นิคมสหกรณ์บาเจาะ เดิมเป็นหน่วยงานสังกัดส่วนกลาง มีสำนักงานอยู่ในส่วนภูมิภาค ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2518 สังกัดกองสหกรณ์นิคม กรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปัจจุบันเป็นหน่วยงานส่วนภูมิภาค สังกัดสำนักงานสหกรณ์จังหวัดนราธิวาส (ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2539) มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดที่ดินให้แก่ราษฎรด้วยวิธีการสหกรณ์ รวมถึงให้มีการจัดตั้งสหกรณ์ เพื่อทำหน้าที่ช่วยเหลือและอำนวยประโยชน์แก่สมาชิกในการจัดหาเงินทุนกู้ยืมสำหรับประกอบอาชีพ จัดหาปัจจัยการผลิตและสิ่งของจำเป็นมาจำหน่าย ดำเนินการด้านการตลาดและการส่งเสริมด้านวิชาการเพื่อช่วยเหลือการประกอบอาชีพของสมาชิก ทั้งนี้ นิคมสหกรณ์บาเจาะ มีสหกรณ์ที่อยู่ในความรับผิดชอบ จำนวน 1 สหกรณ์ ได้แก่ สหกรณ์นิคมบาเจาะ จำกัด ซึ่งนิคมฯ ได้ดำเนินการแนะนำส่งเสริมให้สหกรณ์ดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับของสหกรณ์ โดยปัจจุบันสหกรณ์นิคมบาเจาะ จำกัด มีสมาชิกจำนวน 6,236 ราย ดำเนินธุรกิจ 4 ด้าน ประกอบด้วย ธุรกิจรวบรวมผลผลิตทางการเกษตร (ปาล์มน้ำมัน) ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย (ปุ๋ย) ธุรกิจรับฝากเงิน และธุรกิจสินเชื่อ

วันที่ 26 สิงหาคม 2566 นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ พร้อมด้วย นายนิรันต์ ศรีวิไล สหกรณ์จังหวัดสุราษฎร์ธ...
26/08/2023

วันที่ 26 สิงหาคม 2566 นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ พร้อมด้วย นายนิรันต์ ศรีวิไล สหกรณ์จังหวัดสุราษฎร์ธานี นายเจษฎา ขวัญแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ที่ 20 และคณะ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของสหกรณ์สุราษฎร์ธานี จำกัด พร้อมให้คำแนะนำในการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ เน้นย้ำการส่งเสริมให้สมาชิกเข้ามามีส่วนร่วมในธุรกิจของสหกรณ์ให้มากขึ้น โดยมี คณะกรรมการสหกรณ์ และเจ้าหน้าที่สหกรณ์ ให้การต้อนรับ ณ สหกรณ์สุราษฎร์ธานี จำกัด อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
สหกรณ์สุราษฎร์ธานี จํากัด จัดตั้งเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2539 ปัจจุบันมีสมาชิก 12,764 คน สหกรณ์ดำเนินธุรกิจหลัก ได้แก่ ธุรกิจแปรรูปผลิตผลการเกษตร ผลิตสินค้า (อาหาร) ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย และธุรกิจบริการ ให้เช่า อาคารสถานที่ ทั้งนี้ สหกรณ์ได้รับการสนับสนุนจากกรมส่งเสริมสหกรณ์ และหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำให้สหกรณ์มีเครือข่ายเพิ่มมากขึ้นทำให้สามารถเชื่อมโยง แลกเปลี่ยนสินค้า องค์ความรู้ต่าง ๆ ระหว่างกัน สหกรณ์ดำเนินธุรกิจมีผลกำไร ทำให้สมาชิกสหกรณ์มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

26/08/2023
26/08/2023

📢 Facebook : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขอเชิญรับชม Live รายการ "เกษตร...ต่อยอด"
📌📌📌 วันจันทร์ที่ 28 สิงหาคม 2566 เวลา 07.45 น. – 08.15 น. พบกับ
นายณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าว
นายสังวาลย์ มะกา ประธานกลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวบ้านแฝก-โนนสำราญ จ.นครราชสีมา
นายพสธร หมุยเฮบัว รองประธานกลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวบ้านแฝก-โนนสำราญ จ.นครราชสีมา

ในหัวข้อ
🎯 โครงการส่งเสริมการเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ข้าว ปี 2566 : มุ่งส่งเสริมพี่น้องชาวนาเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ข้าวเพื่อเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มคุณภาพข้าวให้มีมาตรฐาน

📢 ติดตามรับชมรายการได้ทาง page : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คลิ๊กลิ้งค์ >>>> https://m.facebook.com/MOACThailand/
🎯👉🏻 ฝากกด Like ติดตามเพจ ✅ กดแชร์ 📤 และเข้ารับชมกันเยอะๆ นะคะ🙏🏻🙏🏻

วันที่ 26 สิงหาคม 2566 นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมติดตามการดำเนินงานของสำนักงานสหก...
26/08/2023

วันที่ 26 สิงหาคม 2566 นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมติดตามการดำเนินงานของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมี นายนิรันต์ ศรีวิไล สหกรณ์จังหวัดสุราษฎร์ธานี นายเจษฎา ขวัญแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ที่ 20 ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ ให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุมสำนักงานสหกรณ์จังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
โอกาสนี้ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้รับฟังบรรยายผลการดำเนินงานของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมรับฟังปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน ติดตามการดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องของสหกรณ์ พร้อมให้คำแนะนำในการดำเนินงาน ร่วมกันส่งเสริม แนะนำ กำกับให้สหกรณ์ปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ กฎหมายสหกรณ์ และกฎหมายอื่น เน้นย้ำการแก้ไขปัญหาหนี้สินให้กับสมาชิก ส่งเสริมอาชีพให้กับสมาชิกเพื่อสร้างรายได้ และลดหนี้ค้างชำระสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิกได้อย่างแท้จริง นอกจากนี้ ยังได้ให้กำลังใจแก่ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ในการร่วมมือกันทำงานอย่างเต็มกำลังความสามารถ ทำงานร่วมกันเป็นทีม มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ประสบการณ์ทำงาน ร่วมกันส่งเสริมพัฒนาสหกรณ์ให้มีความเข้มแข็ง สร้างความเชื่อมั่น และพัฒนาระบบสหกรณ์ให้มีความมั่นคงต่อไป

วันที่ 26 สิงหาคม 2566 นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการฝึกอบรมคณะกรรมการ ผู้ตรว...
26/08/2023

วันที่ 26 สิงหาคม 2566 นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการฝึกอบรมคณะกรรมการ ผู้ตรวจสอบกิจการ และเจ้าหน้าที่ หลักสูตร “การจัดทำงบกระแสเงินสด” พร้อมบรรยายพิเศษให้ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานของสหกรณ์และงบกระแสเงินสด โดยมี นายนิรันต์ ศรีวิไล สหกรณ์จังหวัดสุราษฎร์ธานี นายเจษฎา ขวัญแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ที่ 20 ร.ต.อ.สุวิทย์ มากด้วง ประธานกรรมการสหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจสุราษฎร์ธานี จำกัด คณะกรรมการ ผู้ตรวจสอบกิจการ และเจ้าหน้าที่สหกรณ์ออมทรัพย์ เข้าร่วมพิธีเปิด ณ ห้องทักษิณาลัย 2 โรงแรมสยามธานี อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ในการนี้ อธิบดีฯ กล่าวว่า งบกระแสเงินสดเป็นหนึ่งในงบการเงินของสหกรณ์ที่ชี้ให้เห็นถึงทางเข้าของเงิน ทางใช้ไปของเงินสหกรณ์ และการดำเนินงานของสหกรณ์ รวมทั้งสหกรณ์สามารถใช้วางแผนทางการเงินของสหกรณ์เพื่อให้เกิดสภาพคล่อง คำนวณการให้กู้แก่สมาชิก ไปจนถึงการดำเนินนโยบายการรับฝากเงินของสหกรณ์ การระดมหุ้น การปันผล มีต้นทุนการเงินอยู่ในอัตราที่เหมาะสม รวมทั้งการดำเนินกิจการของสหกรณ์ในปัจจุบัน ต้องอาศัยความไว้เนื้อเชื่อใจ ไว้ใจกัน และที่สำคัญต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต การรวมกลุ่มกันเป็นสหกรณ์ไม่ได้ต้องการปริมาณสมาชิกจำนวนมาก แต่เน้นคุณภาพของสมาชิกที่รวมกันเป็นสหกรณ์ อยากให้สหกรณ์ออมทรัพย์ดำเนินธุรกิจโดยไม่ได้มุ่งเอารายได้จากสมาชิกเพียงอย่างเดียว ควรส่งเสริมให้สมาชิกมีรายได้ที่เพียงพอต่อการดำรงชีพ ซึ่งกลไกสำคัญในการดำเนินงานของสหกรณ์ให้เป็นไปตามอุดมคตินั้นจะต้องมีการวางแผนที่ดีตั้งแต่เริ่มต้นมี Mindset หรือทัศนคติที่ดี ซึ่งในปัจจุบันเป็นสังคมผู้สูงอายุ สหกรณ์จำเป็นต้องปรับตัว วางแผนให้สมาชิกซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุให้มีอาชีพเลี้ยงตัวเองและคงอยู่กับสหกรณ์ พร้อมทั้งสหกรณ์ต้องมีการบริหารจัดการที่ เหมาะสม มีการลงทุนที่ดี ปัจจุบันมีสหกรณ์หลายแห่งประสบปัญหาเงินล้น ทำให้ต้องนำเงินไปลงทุนภายนอก ซึ่งอาจะมีความเสี่ยงที่ค่อนข้างสูง ดังนั้นทักษะทางบัญชี งบการเงินของสหกรณ์ การดูงบทดรอง การวิเคราะห์งบกระแสเงินสด คณะกรรมการ เจ้าหน้าที่ของสหกรณ์จะต้องมีความรู้ และทักษะ อาจจะต้องศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติม ขอให้ทุกท่านที่เข้ารับการอบรมในครั้งนี้ นำความรู้ ทักษะต่าง ๆ ไปใช้ในปฏิบัติงานเพื่อให้การดำเนินงานของสหกรณ์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความมั่นคง เข้มแข็งให้สหกรณ์ต่อไป
สำหรับโครงการฝึกอบรมคณะกรรมการ ผู้ตรวจสอบกิจการ และเจ้าหน้าที่ หลักสูตร “การจัดทำงบกระแสเงินสด” ของสหกรณ์ออมทรัพย์ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 25 - 27 สิงหาคม 2566 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ประธานกรรมการสหกรณ์ คณะกรรมการ ผู้ตรวจสอบกิจการ และเจ้าหน้าที่สหกรณ์ออมทรัพย์ จำนวน 130 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คณะกรรมการ ผู้ตรวจสอบกิจการ เจ้าหน้าที่สหกรณ์ฯ ได้มีความรู้ความชำนาญในการจัดทำงบกระแสเงินสดได้อย่างถูกต้องเป็นตามมาตรฐานทางบัญชีและระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ เพื่อให้สหกรณ์ทราบถึงความสามารถในการทำกำไรของกิจการ ทำให้กิจการสามารถนำกำไรดังกล่าวไปเปรียบเทียบกับผลดำเนินงานของกิจการอื่นในลักษณะเดียวกัน และทราบถึงการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างทางการเงินของกิจการ การเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์ ความแตกต่างของกำไรสุทธิตามเกณฑ์เงินสด กับกำไรสุทธิตามเกณฑ์คงค้าง รวมทั้งเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารของสหกรณ์ สามารถนำงบกระแสเงินสดมาวิเคราะห์เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับเงินสด ได้ทราบถึงแหล่งที่มาและแหล่งใช้ไปของเงินสด ได้ทราบถึงสภาพคล่องในการดำเนินกิจการ และสามารถวางแผนการใช้จ่ายเงินของกิจการสหกรณ์ในอนาคตได้อย่างเหมาะสมต่อไป

วันที่ 25 สิงหาคม 2566 นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในการประชุมคณะอนุกรรมการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิใ...
25/08/2023

วันที่ 25 สิงหาคม 2566 นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในการประชุมคณะอนุกรรมการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติ ครั้งที่ 1/2566 โดยมี นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ นางสุวรรณี ศรีสุวรรณ์ รองอธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ นายบรรจง ชัยขุนพล ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบสนับสนุนการสหกรณ์ กรมส่งเสริมสหกรณ์ ผู้แทนสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 123 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร เพื่อพิจารณาร่างประกาศคณะอนุกรรมการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติ และเรื่องหลักเกณฑ์ คุณสมบัติ และวิธีการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติ รวมทั้งร่วมกันพิจารณาในประเด็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย

วันที่ 25 สิงหาคม 2566 นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีปิดโครงการฝึกอบรม หลักสูตร “ผู้จัดก...
25/08/2023

วันที่ 25 สิงหาคม 2566 นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีปิดโครงการฝึกอบรม หลักสูตร “ผู้จัดการสหกรณ์” รุ่นที่ 1 พร้อมมอบประกาศนียบัตรให้แก่ผู้ผ่านการฝึกอบรม โดยมี นายพิษณุ พินรอด ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ ผู้อำนวยการกลุ่ม และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมพิธีปิด ณ โรงแรม เอส.ดี. อเวนิว ถนนบรมราชชนนี เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร
โอกาสนี้ อธิบดีฯ ขอให้ผู้จัดการสหกรณ์ ปฏิบัติหน้าที่ให้สมบูรณ์แบบ มีความซื่อสัตย์สุจริต ร่วมกันดูแลสหกรณ์ สร้างความมั่นคงแก่สหกรณ์ ให้มีความเข้มแข็ง สมาชิกมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และขอให้นำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของตนเองให้มีประสิทธิภาพ ขับเคลื่อนงานนโยบาย แผนงานของสหกรณ์ให้เป็นไปตามเป้าหมาย ร่วมกันยกระดับสหกรณ์สู่ความเข้มแข็งต่อไป
สำหรับโครงการฝึกอบรม หลักสูตร “ผู้จัดการสหกรณ์” รุ่นที่ 1 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 23 - 25 สิงหาคม 2566 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรที่ดำรงตำแหน่ง ไม่เกิน 3 ปี วิทยากร และผู้สังเกตการณ์ รวม 50 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความเข้าใจในการดำเนินธุรกิจและการบริหารจัดการธุรกิจแบบสหกรณ์ ตระหนักในบทบาท อำนาจหน้าที่ ความรับผิดชอบ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีสมรรถนะการบริหารจัดการกิจการสหกรณ์ตามหลักธรรมาภิบาล สามารถขับเคลื่อนนโยบาย แผนงานของสหกรณ์ได้ตามเป้าหมายและยกระดับสหกรณ์สู่ความเข้มแข็งเพื่อประโยชน์สุขแก่สมาชิกสหกรณ์ต่อไป

วันที่ 25 สิงหาคม 2566 นายนิรันดร์ มูลธิดา รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ร่วมประชุมคณะกรรมการบริหารการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก...
25/08/2023

วันที่ 25 สิงหาคม 2566 นายนิรันดร์ มูลธิดา รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ร่วมประชุมคณะกรรมการบริหารการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดอุดรธานี พ.ศ.2569 ครั้งที่ 1/2566 โดยมี นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุม ณ ห้องประชุม 134-135 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร

ในการนี้ ที่ประชุมได้ติดตามเรื่องสืบเนื่องจากการประชุมครั้งก่อน โดยรับทราบโครงสร้างการดำเนินงานโครงการมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดอุดรธานี พ.ศ.2569 ซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการ จำนวน 2 คณะ คณะอนุกรรมการ จำนวน 2 คณะ และคณะทำงาน จำนวน 6 คณะ โดยทุกคณะทำงานจะมีการแต่งตั้งคณะทำงานย่อยเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ครอบคลุมทุกภารกิจ พร้อมทั้งรับฟังรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานของจังหวัดอุดรธานี และกรมวิชาการเกษตร ซึ่งเป็นเจ้าภาพหลักของงาน ในด้านการประชาสัมพันธ์ ด้านความพร้อมของสถานที่จัดงาน และด้านงบประมาณดำเนินการ นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้ร่วมกันพิจารณาถึงประเด็นแผนการเข้าร่วมงานมหกรรมพืชสวนโลกในประเทศต่าง ๆ การอนุมัติขยายกรอบงบประมาณโครงการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดอุดรธานี รวมทั้งพิจารณาในประเด็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย

วันที่ 24 สิงหาคม 2566 นายอัชฌา สุวรรณนิตย์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ และคณะ ตรวจเยี่ยมติดตามผลการดำเนินงานของสหกรณ์การ...
24/08/2023

วันที่ 24 สิงหาคม 2566 นายอัชฌา สุวรรณนิตย์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ และคณะ ตรวจเยี่ยมติดตามผลการดำเนินงานของสหกรณ์การเกษตรการเกษตรเหล่าสุขสันต์ จำกัด ติดตามรับฟังผลการดำเนินงานของสหกรณ์ และให้คำแนะนำแนวทางด้านการตลาดและการแก้ไขปัญหา เน้นย้ำให้มีการบริหารจัดการที่ดี มีเป้าหมายในการทำงาน วางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับการตลาด สร้างความมั่นคงให้กับพนักงาน และสมาชิกสหกรณ์ต่อไป พร้อมทั้งได้ลงเยี่ยมเยียนกลุ่มอาชีพต่างๆ โดยมี นางกุลวรา พวงใบดี ประธานกรรมการ คณะกรรมการ เจ้าหน้าที่และสมาชิกสหกรณ์ ให้การต้อนรับ ณ สหกรณ์การเกษตรเหล่าสุขสันต์ จำกัด จังหวัดสกลนคร
สหกรณ์การเกษตรเหล่าสุขสันต์ จำกัด จดทะเบียนจัดตั้งเป็นสหกรณ์ เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2546 ปัจจุบันมีสมาชิก 146 ราย มีทุนดำเนิน 2.2 ล้านบาท สหกรณ์มีโครงการส่งเสริมเสริมอาชีพให้สมาชิก เช่น การปลูกหวาย การปลูกคราม ผักหวาน การปลูกป่าเศรษฐกิจ การแปรรูปอาหาร เช่น ปลาร้า ปลาร้าบอง หน่อไม้ดอง นอกจากนี้ กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้เข้าไปสนับสนุนเงินกู้ระบบน้ำในไร่นา ระยะที่ 2 และเงินกู้กองทุนพัฒนาสหกรณ์ ให้สหกรณ์นำไปส่งเสริมให้สมาชิกมีอาชีพในการเลี้ยงตนเอง และครอบครัวอีกด้วย

วันที่ 24 สิงหาคม 2566 นายอัชฌา สุวรรณนิตย์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เข้าตรวจเยี่ยมติดตามผลการดำเนินงานของสำนักงานสหกร...
24/08/2023

วันที่ 24 สิงหาคม 2566 นายอัชฌา สุวรรณนิตย์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เข้าตรวจเยี่ยมติดตามผลการดำเนินงานของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดสกลนคร โดยมี นางสาววิลาสินี วังทะพันธ์ ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และพนักงานราชการ ให้การต้อนรับและเข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมสำนักงานสหกรณ์จังหวัดสกลนคร อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
โอกาสนี้ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้รับฟังการนำเสนอผลการปฏิบัติงานของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดสกลนคร พร้อมรับฟังปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะที่ทางสำนักงานสหกรณ์จังหวัดต้องการสะท้อนให้กับหน่วยงานส่วนกลางได้รับทราบ ในการนี้ ได้มอบนโยบายในการขับเคลื่อนงานของกรมส่งเสริมสหกรณ์ และได้เน้นย้ำให้ทุกฝ่ายปฏิบัติงานเพื่อมุ่งถึงผลสัมฤทธิ์ รวมทั้งแนะนำสหกรณ์ให้ใช้ประโยชน์จากอุปกรณ์การตลาดที่ได้รับอย่างคุ้มค่า เน้นการบริหารธุรกิจบนข้อมูลทางการเงิน นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ควรเรียนรู้เกี่ยวกับธุรกิจของสหกรณ์อย่างละเอียด เพื่อสามารถเข้าไปแนะนำส่งเสริมการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ให้เกิดผลกำไรไร และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำงาน และพัฒนาระบบสหกรณ์ให้มีความมั่นคงยั่งยืนต่อไป

วันที่ 24 สิงหาคม 2566 นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการบริหารนมทั้งระบบ คร...
24/08/2023

วันที่ 24 สิงหาคม 2566 นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการบริหารนมทั้งระบบ ครั้งที่ 2/2566 โดยมี นายสันทาน สีสา ผู้อำนวยการกองพัฒนาสหกรณ์ภาคการเกษตรและกลุ่มเกษตรกร นางสาวชัญญา จงทัน ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาธุรกิจโคนมของสหกรณ์ นางสาวภิญญดา มาเดช ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาสหกรณ์โคนมและโคเนื้อ ผู้แทนสมาคมอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหารนมไทย และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 226 กรมส่งเสริมสหกรณ์ เทเวศร์ กรุงเทพมหานคร รวมทั้งมีผู้แทนกรมปศุสัตว์ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย ชุมนุมสหกรณ์โคนมแห่งประเทศไทย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สมาคมกลุ่มเกษตรกรผู้รวบรวมน้ำนมดิบ สมาคมผู้ผลิตนมพาสเจอไรซ์ สมาคมผู้เลี้ยงโคนมไทย-โฮลสไตน์ฟรีเชียน เข้าร่วมประชุมผ่านระบบ Zoom Meeting ด้วย
สำหรับการประชุมในครั้งนี้ ได้มีการติดตามผลการดำเนินงานตามมติที่ประชุมคณะอนุกรรมการบริหารนมทั้งระบบ ครั้งที่ 1/2566 ที่ผ่านมา ชี้แจงการเตรียมความพร้อมในการขอรับรองมาตรฐาน GMP และ GAP เพื่อเข้าร่วมจัดทำบันทึกข้อตกลง MOU การซื้อขายน้ำนมโค ปี 2566/2567 ปฏิทินการจัดทำบันทึกข้อตกลงฯ ปี 2566/2567 จากนั้น ที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบและผู้ประกอบการรายใหม่ขอเข้าร่วมจัดทำบันทึกข้อตกลงฯ ปี 2566/2567 พิจารณาปริมาณน้ำนมโค รวม 9 เดือน ตั้งแต่ตุลาคม 2565 - มิถุนายน 2566 เพื่อสรุปข้อมูลปริมาณการซื้อขายที่จะนำไปใช้ในการจัดทำบันทึกข้อตกลงฯ ปี 2566/2567 พิจารณากำหนดแนวทางหรือมาตรการเพื่อให้มีน้ำนมดิบเพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค พิจารณา (ร่าง) หลักเกณฑ์ เงื่อนไข ขั้นตอน เอกสาร/หลักฐาน รูปแบบการจัดประชุม และแบบบันทึกข้อตกลงฯ ปี 2566/2567 รวมทั้งได้ร่วมกันพิจารณาเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการบริหารนมทั้งระบบจะได้จัดทำสรุปข้อพิจารณา ข้อเสนอแนะ นำเสนอในที่ประชุมคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม (Milk board) ต่อไป

วันที่ 23 สิงหาคม 2566 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินติดตามควา...
23/08/2023

วันที่ 23 สิงหาคม 2566 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ โดยมี นายนิรันดร์ มูลธิดา รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กราบบังคมทูลรายงานผลการดำเนินงานของสหกรณ์การเกษตรภูสิงห์ จำกัด พร้อมด้วย นายภาณุพงศ์ แสงคำ สหกรณ์จังหวัดศรีสะเกษ ข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานราชการ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดศรีสะเกษ ร่วมรับเสด็จ

สำหรับสหกรณ์การเกษตรภูสิงห์ จำกัด เป็นสหกรณ์ประเภทการเกษตร จดทะเบียนจัดตั้งเป็นสหกรณ์ เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2531 ปัจจุบันมีจำนวนสมาชิก 1,488 คน มีทุนดำเนินงาน 2,1646,392 บาท มีพื้นที่ดำเนินการทุกตำบลของอำเภอภูสิงห์ โดยสมาชิกส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนาเป็นหลัก ผลการดำเนินงานในปี 2566 สหกรณ์ผ่านเกณฑ์การจัดระดับความเข้มแข็งในระดับชั้น 2 มีความสามารถในการบริการสมาชิกได้ ร้อยละ 71.20 มีชั้นคุณภาพควบคุมภายในอยู่ในระดับดี ไม่พบข้อบกพร้องจากการดำเนินงาน สหกรณ์ดำเนินกิจกรรมร้านซูเปอร์มาร์เก็ตสหกรณ์ ข้าวสารตราสหกรณ์ และส่งเสริมอาชีพสมาชิกปลูกข้าวเพื่อสุขภาพ จำนวน 20 ราย 40 ไร่ และเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ สามารถสร้างรายได้ในครัวเรือนได้อย่างมั่นคง สหกรณ์จึงส่งเสริมให้สมาชิกศึกษาหาความรู้ด้านการทำเกษตรในรูปแบบต่าง ๆ จากศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์อันเนื่องมาจากพระราชดำริอีกช่องทางหนึ่งด้วย

ปัจจุบันสหกรณ์การเกษตรภูสิงห์ จำกัด ดำเนินธุรกิจหลัก 5 ด้าน ประกอบด้วย ธุรกิจเงินรับฝาก ธุรกิจสินเชื่อ ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย ธุรกิจรวบรวมผลผลิต และธุรกิจแปรรูปข้าว ปริมาณธุรกิจรวมมีมูลค่ากว่า 9,000,000 บาท ทั้งนี้ สหกรณ์ได้บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก คือ สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์จังหวัดศรีสะเกษ ในการให้คำแนะนำปรึกษาให้ความรู้ด้านการเงินการบัญชี การตรวจสอบบัญชี และการรับรองงบการเงินของสหกรณ์ รวมถึงส่งเสริมการจัดทำบัญชีครัวเรือนให้แก่สมาชิกสหกรณ์และเกษตรกรในพื้นที่อำเภอภูสิงห์อีกด้วย

วันที่ 23 สิงหาคม 2566 นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการฝึกอบรม หลักสูตร “ผู้จัด...
23/08/2023

วันที่ 23 สิงหาคม 2566 นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการฝึกอบรม หลักสูตร “ผู้จัดการสหกรณ์” รุ่นที่ 1 พร้อมบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “สหกรณ์เข้มแข็งด้วยบทบาทผู้จัดการสหกรณ์” โดยมี นายพิษณุ พินรอด ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ ผู้อำนวยการกลุ่ม และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมพิธี ณ โรงแรม เอส.ดี. อเวนิว ถนนบรมราชชนนี เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร
โอกาสนี้ อธิบดีฯ ได้กล่าวว่า ตำแหน่งผู้จัดการสหกรณ์ มีความสำคัญอย่างมาก ในยุคปัจจุบันมีผู้จัดการสหกรณ์ที่เป็นคนรุ่นใหม่เข้ามาบริหารงานสหกรณ์มากขึ้น สหกรณ์การเกษตรหลาย ๆ แห่งที่มีความเข้มแข็ง เกิดจากฝ่ายจัดการ ผู้จัดการสหกรณ์ ที่มีความรู้ความสามารถ สร้างความเติบโตให้กับสหกรณ์ได้ ซึ่งสถานการณ์ปัจจุบันของสหกรณ์การเกษตร กว่า 3,500 แห่ง สมาชิกส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ การบริหารจัดการจำเป็นต้องมีการปรับตัว ส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่เข้ามาในสหกรณ์มากขึ้น รวมทั้งปัญหาหนี้ค้างชำระในสหกรณ์การเกษตรมีสูงมากจากการดำเนินงานในอดีต และความไม่แน่นอนของราคาพืชผลการเกษตร ทำให้ภาคการเกษตรไทยอ่อนแอ ด้านการตลาดมีคู่แข่งจำนวนมาก จึงทำให้สหกรณ์จะต้องปรับตัวในหลาย ๆ เรื่อง ทั้งนี้หากสหกรณ์มีผลประกอบการที่ดีจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นในการดำเนินงานของสหกรณ์ได้และยังมีความท้าทายในการบริหารงานสหกรณ์ ฝ่ายจัดการ คณะกรรมการสหกรณ์ จะต้องสร้างความเชื่อมั่นให้สมาชิกเข้ามาใช้ประโยชน์และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ต้องส่งเสริมอาชีพสมาชิกให้สอดคล้องกับการให้สินเชื่อ เพื่อให้สมาชิกมีรายได้สามารถเลี้ยงตนเองได้ มีเงินส่งชำระหนี้สหกรณ์ รวมทั้งสหกรณ์จะต้องดำเนินการรวบรวมผลผลิตของสมาชิก ต่อยอดให้เกิดการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะต้องทำอย่างครบวงจรและต่อเนื่อง จะทำให้การดำเนินงานของสหกรณ์ประสบผลสำเร็จได้
นอกจากนี้ สหกรณ์หลาย ๆ แห่งได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระของสมาชิกมาอย่างต่อเนื่อง หากสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้จะทำให้ความเชื่อมั่นของสหกรณ์เพิ่มมากขึ้นด้วย และขอให้สหกรณ์ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยเฉพาะอุปกรณ์การตลาดที่ได้รับสนับสนุนขอให้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มศักยภาพ คุ้มค่า เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจ ทั้งนี้การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในสหกรณ์ถือเป็นเรื่องที่สำคัญ โดยเฉพาะโปรแกรมบัญชี และแอพลิเคชั่นของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ หรือของสหกรณ์เอง เป็นการสร้างความสะดวกต่อการพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ ทำให้สมาชิกรู้ข่าวสารสหกรณ์ตลอดเวลา รู้สถานการณ์ภายในของสหกรณ์และบัญชีของตนเอง ซึ่งการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยสร้างความร่วมมือ สร้างความจงรักภักดีต่อสหกรณ์ และเกิดประโยชน์ต่อสมาชิก ขอให้ผู้จัดการสหกรณ์ ปฏิบัติหน้าที่ให้สมบูรณ์แบบ มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความระมัดระวัง ร่วมกันสอดส่องดูแลสหกรณ์ สังเกตความผิดปกติเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อสหกรณ์ ร่วมกันสร้างความมั่นคงและสหกรณ์มีความเข้มแข็งมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น สมาชิกมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทั้งนี้ กรมฯ มีเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ในแต่ละจังหวัด พร้อมสนับสนุน ดูแลสหกรณ์ในพื้นที่ ขอให้ทุกท่านที่เข้ารับการอบรมในครั้งนี้นำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของตนเอง และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทักษะ รวมไปถึงการพูดคุยแลกเปลี่ยนสินค้า ผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างเครือข่ายสหกรณ์ร่วมกันต่อไป
สำหรับโครงการฝึกอบรม หลักสูตร “ผู้จัดการสหกรณ์” รุ่นที่ 1 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 23 - 25 สิงหาคม 2566 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรที่ดำรงตำแหน่ง ไม่เกิน 3 ปี วิทยากร และผู้สังเกตการณ์ รวม 50 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความเข้าใจในการดำเนินธุรกิจและการบริหารจัดการธุรกิจแบบสหกรณ์ ตระหนักในบทบาท อำนาจหน้าที่ ความรับผิดชอบ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีสมรรถนะการบริหารจัดการกิจการสหกรณ์ตามหลักธรรมาภิบาล สามารถขับเคลื่อนนโยบาย แผนงานของสหกรณ์ได้ตามเป้าหมายและยกระดับสหกรณ์สู่ความเข้มแข็งเพื่อประโยชน์สุขแก่สมาชิกสหกรณ์ต่อไป

วันที่ 23 สิงหาคม 2566 นายอัชฌา สุวรรณนิตย์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เข้าตรวจเยี่ยมติดตามผลการดำเนินงานของสำนักงานสหกร...
23/08/2023

วันที่ 23 สิงหาคม 2566 นายอัชฌา สุวรรณนิตย์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เข้าตรวจเยี่ยมติดตามผลการดำเนินงานของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดมุกดาหาร โดยมี นางบานใจ มามาก สหกรณ์จังหวัดมุกดาหาร ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และพนักงานราชการ ให้การต้อนรับและเข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมสำนักงานสหกรณ์จังหวัดมุกดาหาร อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร
ในการนี้ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ติดตามผลการปฏิบัติงานของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดมุกดาหาร เน้นย้ำในเรื่องการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการส่งเสริมสหกรณ์ ซึ่งเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ นักวิชาการสหกรณ์จะต้องมีทักษะ หมั่นศึกษาหาความรู้อยู่เสมอด้านการบริหารจัดการสหกรณ์ เพื่อนำความเปลี่ยนแปลงมาพัฒนาสหกรณ์ให้ดีขึ้น ให้อิสระในการดำเนินงานแก่สหกรณ์ ดูแลรักษากลุ่มสหกรณ์ให้ดี
นอกจากนี้ ในเรื่องเอกสารควรมีความรอบคอบในการตรวจ ต้องมีการกรองให้ดีก่อนที่จะสั่งการลงไป รวมทั้งในเรื่องการกำกับ และการส่งเสริม ต้องดำเนินการควบคู่ไปด้วยกัน มีการวิเคราะห์ช่วยเหลือการจัดทำโครงการของสหกรณ์ ติดตามการใช้เงินกู้กองทุนพัฒนาสหกรณ์ให้ตรงตามวัตถุประสงค์ พร้อมให้กำลังใจแก่ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ในการร่วมมือกันทำงานอย่างเต็มความกำลังสามารถ มีและพัฒนาระบบสหกรณ์ให้มีความมั่นคงยั่งยืนต่อไป

ที่อยู่

12 Krung Kasem Road
Bangkok
10200

เวลาทำการ

จันทร์ 08:30 - 16:30
อังคาร 08:00 - 16:30
พุธ 08:00 - 16:30
พฤหัสบดี 08:00 - 16:30
ศุกร์ 08:00 - 16:30

เบอร์โทรศัพท์

+6622813095

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ กรมส่งเสริมสหกรณ์ - CPDผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง กรมส่งเสริมสหกรณ์ - CPD:

วิดีโอทั้งหมด

แชร์

ตำแหน่งใกล้เคียง บริการภาครัฐ


องค์กรของรัฐ อื่นๆใน Bangkok

แสดงผลทั้งหมด

ความคิดเห็น

วันที่ 28 มกราคม 2565 ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการศูนย์กลางผลิตอาหารสัตว์ (Feed Center) ณ โครงการเลี้ยงโคนมในระบบชีวภาพ (วัวหลุม) ตำบลศิลาลอย อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
วันที่ 28 มกราคม 2565 นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ และคณะ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของสหกรณ์การเกษตรโกรกพระ จำกัด โดยมี ประธานกรรมการสหกรณ์ ผู้จัดการสหกรณ์ และเจ้าหน้าที่สหกรณ์ ให้การต้อนรับ ณ สหกรณ์การเกษตรโกรกพระ จำกัด อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์
โอกาสนี้ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้ให้คำแนะนำ แนวทางในการดำเนินงาน และแนวทางในการแก้ไขปัญหาของสหกรณ์ฯ เพื่อแก้ไขปัญหาการดำเนินงานต่าง ๆ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและความศรัทธาของสมาชิก ซึ่งสหกรณ์ฯ จะต้องบริหารสินทรัพย์ที่มีอยู่ให้เกิดความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด ควรลดภาระต้นทุนการดำเนินงานของสหกรณ์ กำหนดแผนงานการดำเนินงานจากที่ประชุมใหญ่ของสหกรณ์ โดยมอบหมายให้สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเข้าไปร่วมจัดทำและขับเคลื่อนแผนการดำเนินงานของสหกรณ์ให้ต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม และให้การจัดทำระบบการควบคุมภายในเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เน้นย้ำให้สหกรณ์ทำความเข้าใจกับกับสมาชิกให้เห็นความสำคัญของสหกรณ์ ประโยชน์ของการรวมกลุ่ม และการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสหกรณ์ในการจัดทำเอกสารต่าง ๆ ให้เป็นปัจจุบัน ถูกต้อง ครบถ้วน โปร่งใส ซึ่งหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องจะเข้ามาร่วมกับสหกรณ์ในการดำเนินการแก้ไขปัญหาเพื่อให้สหกรณ์สามารถดำเนินงานต่อไปได้ และได้ให้กำลังใจแก่คณะกรรมการ และพนักงานของสหกรณ์ในการปฏิบัติงานเพื่อส่งเสริมและพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิกให้อยู่ดีกินดี เป็นที่พึ่งของสมาชิกต่อไป
วันที่ 28 มกราคม 2565 ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการศูนย์กลางผลิตอาหารสัตว์ (Feed Center) พร้อมด้วย นายปรีชา พันธุ์วา รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ และคณะผู้บริหารหน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมี นายเสถียร เจริญเหรียญ ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นายสังวาล โพธิ์มี ประธานกรรมการชุมนุมสหกรณ์โคนมภาคใต้และตะวันตก จำกัด หัวหน้าส่วนราชการ และสมาชิกสหกรณ์ ให้การต้อนรับ ณ โครงการเลี้ยงโคนมในระบบชีวภาพ (วัวหลุม) ตำบลศิลาลอย อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
โอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กล่าวพบปะ พี่น้องสมาชิกสหกรณ์ที่มาร่วมงาน พร้อมเผยว่าโครงการดังกล่าว เป็นไปตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ประสงค์ให้มีการจัดตั้งศูนย์กลางการผลิตอาหารสัตว์ (Feed Center) กระจายไปตามพื้นที่ต่างๆ ที่มีการเลี้ยงโคนมเพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิต และยังเป็นการเพิ่มคุณภาพน้ำนมดิบของเกษตรกรรายย่อยให้สูงขึ้น โดยได้เน้นย้ำให้มีการบริหารจัดการที่ดีและลดต้นทุนการผลิตอาหารสัตว์ ทำควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพ อีกทั้งเกษตรกรต้องมีการพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ และยังมีอีกหนึ่งที่ที่จัดตั้งได้สำเร็จ คือ สหกรณ์โคนมไทย - เดนมาร์คประจวบคีรีขันธ์ จำกัด ซึ่งหากทั้ง 2 ที่นี้ประสบผลสำเร็จ จะเป็นการนำร่องให้กับสหกรณ์อื่นๆต่อไป ซึ่งรัฐบาลพร้อมที่จะสนับสนุนงบประมาณอุดหนุน เพื่อสร้างความมั่นคง และยั่งยืนให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมและโคเนื้อต่อไป
จากนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบป้ายโครงการศูนย์กลางผลิตอาหารสัตว์ (Feed Center) ให้กับ 3 สหกรณ์ ได้แก่ ชุมนุมสหกรณ์โคนมภาคใต้และตะวันตก จำกัด สหกรณ์โคนมไทย – เดนมาร์คประจวบคีรีขันธ์ จำกัด และสหกรณ์โคนมไทย – เดนมาร์คอ่าวน้อย จำกัด พร้อมรับชมกระบวนการผลิตอาหาร TMR จากนั้น ได้เยี่ยมชมนิทรรศการ และฐานการเรียนรู้ของหน่วยงานต่างๆ ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมปลูกต้นพะยอม
สำหรับโครงการตั้งศูนย์กลางผลิตอาหารสัตว์ (Feed Center) สำหรับโคนมและโคเนื้อ เกิดจากชุมนุมสหกรณ์โคนมภาคใต้และตะวันตก จำกัด ได้เสนอขอโครงการก่อตั้งศูนย์กลางผลิตอาหารโคนม หรือ Feed Center ผ่านกรมส่งเสริมสหกรณ์ ภายใต้โครงการปรับโครงสร้างการผลิต การรวบรวมและแปรรูปของสถาบันเกษตรกร (พ.ร.ก. เงินกู้โควิด พ.ศ. 2563) จำนวนงบประมาณทั้งสิ้น 8,455,000 บาท โดยได้รับงบประมาณอุดหนุน จำนวน 7,609,500 บาท และชุมนุมฯ จ่ายสมทบ จำนวน 845,000 บาท เพื่อใช้เป็นทุนดำเนินการก่อสร้างสถานที่ผลิตและเก็บอาหาร และจัดซื้อครุภัณฑ์ พร้อมติดตั้งอุปกรณ์กระบวนการผลิตอาหารสัตว์ TMR บ่อหมักอาหารหยาบ ตลอดจนจัดซื้ออุปกรณ์บรรจุอาหารสัตว์สูญญากาศ เครื่องผสมอาหาร TMR (Total Mixed Ration) รถตักล้อยาง และรถบรรทุก 6 ล้อ เพื่อการขนส่งอาหารที่ผลิตขึ้นไปยังฟาร์มผู้เลี้ยงเลี้ยงโคนมในเครือข่าย
ชุมนุมสหกรณ์โคนมภาคใต้และตะวันตก จำกัด จดทะเบียนจัดตั้ง เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2556 ปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 15 สหกรณ์ มีเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในเครือข่าย จำนวน 4,100 ครอบครัว มีจำนวนโคนมทั้งหมด 115,000 ตัว สามารถผลิตน้ำนมดิบได้ทั้งหมดประมาณวันละ 450 ตัน ซึ่งชุมนุมสหกรณ์โคนมภาคใต้ฯ มีการดำเนินธุรกิจหลัก 3 ด้าน ได้แก่ การผลิตอาหารโคนมอัดเม็ดและจัดหาสินค้ามาจำหน่ายให้กับสหกรณ์โคนมที่เป็นสมาชิก ซึ่งโรงงานผลิตอาหารสัตว์มีกำลังการผลิต 10 ตัน/ชั่วโมง และสามารถผลิตอาหารสัตว์ได้ถึงวันละ 700-800 ตัน เพื่อจำหน่ายให้กับเกษตรกรในราคาที่เป็นธรรม ส่งผลทำให้ต้นทุนการเลี้ยงโคนมของเกษตรกรลดลงอีกด้วย
วันที่ 28 มกราคม 2565 นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ เรื่อง “นโยบายภาครัฐกับการส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์” ภายใต้โครงการสัมมนาสันนิบาตสหกรณ์จังหวัด โดย สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย จัดขึ้นระหว่างวันที่ 27 - 29 มกราคม 2565 ณ โรงแรมแกรนด์ฮิลล์ รีสอร์ท แอนด์ สปา อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งการสัมมนาดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อให้ผู้เข้ารับการสัมมนามีความเข้าใจ ตระหนักถึงบทบาท อำนาจ หน้าที่ ของคณะกรรมการสันนิบาตสหกรณ์จังหวัด มีความเข้าใจในหลักการ อุดมการณ์สหกรณ์ รวมทั้งเป็นการสร้างความสัมพันธ์และครือข่ายความร่วมมือโดยใช้ฐานสันนิบาตสหกรณ์จังหวัด และได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ซึ่งกันและกันอีกด้วย
ในการนี้ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้กล่าวถึง การสร้างความสามารถในการแข่งขันในภาคการเกษตร ส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่ม ให้สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน พัฒนาศักยภาพในการแข่งขัน เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ระบบสหกรณ์ เกิดการพึ่งพาตนเอง เกิดพลังทางสังคม สร้างความยั่งยืนมั่นคงของภาคการเกษตรในระดับประเทศ ส่งเสริมให้เกษตรกรพัฒนาไปสู่การเป็นผู้ประกอบการที่มีความเข้มแข็ง ส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่กลับสู่ถิ่นฐานบ้านเกิด ส่งเสริมให้เป็นสมาชิกสหกรณ์ ซึ่งบุคคลเหล่านี้มีองค์ความรู้สมัยใหม่ สามารถใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการดำเนินธูรกิจต่าง ๆ ได้ โดยเฉพาะด้านการตลาด การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ฯลฯ สามารถนำองค์ความที่มีอยู่มาปรับใช้ในการบริหารจัดการสหกรณ์ พัฒนาสหกรณ์การเกษตรให้มีความเข้มแข็ง ส่งเสริมให้เกิดผู้ให้บริการสมัยใหม่ โดยพัฒนาศักยภาพสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้เข้าสู่ระบบการผลิตเกษตรแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า ซึ่งเป็น 1 ใน 13 หมุดหมาย เพื่อพลิกโฉมประเทศ ภายใต้ (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 พ.ศ.2566 - 2570 ด้วย
ทั้งนี้ กรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้มีแนวทางการสร้างความเข้มแข็งสหกรณ์ ภายใต้บทบาทหน้าที่ของกรมส่งเสริมสหกรณ์ คือ ส่งเสริมให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรมีความเข้มแข็งและผ่านมาตรฐานเพื่อเป็นกลไกในการสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรสมาชิกและเพิ่มศักยภาพให้สถาบันเกษตรกรมีความเข้มแข็งเป็นผู้ประกอบการที่สามารถแข่งขันได้ในอนาคต มีการจัดเกณฑ์ระดับความเข้มแข็งสหกรณ์ 4 ด้าน ได้แก่ ความสามารถในการให้บริการสมาชิก ประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ ประสิทธิภาพในการจัดองค์กร และประสิทธิภาพของการบริหารงาน รวมทั้งมีแผนการดำเนินงานของกรมฯ ประจำปีงบประมาณ 2565 เพื่อผลักดันให้สหกรณ์เข้มแข็งมีความสามารถในการแข่งขัน ทั้งการส่งเสริมความเข้มแข็งของสหกรณ์ด้านการบริหารจัดการ การแก้ไขและพัฒนาอาชีพ และการเพิ่มประเสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจผ่านโครงการต่าง ๆ อาทิ โครงการส่งเสริมเกษตรปลอดภัยในสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร โครงการพัฒนาศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ และโครงการส่งเสริมการพัฒนาระบบตลาดภายในสำหรับสินค้าเกษตร เป็นต้น พร้อมทั้งมุ่งเน้นการนำแอพพลิเคชันมาใช้ในการบริหารจัดการสหกรณ์ให้สมาชิกสามารถตรวจสอบสถานะของตนเองได้ และช่วยให้สหกรณ์สามารถบริหารจัดการได้ดีขึ้นอีกด้วย ทั้งนี้ ความสำเร็จของขบวนการสหกรณ์จะต้องเกิดจากความร่วมมือของทุกฝ่าย ทั้งภาครัฐบาล หน่วยงานราชการ ชุมนุมสหกรณ์ สันนิบาตสหกรณ์ คณะกรรมการ ฝ่ายจัดการ ภาคเอกชนและเครือข่ายอื่น ๆ ในการร่วมกันส่งเสริมและพัฒนาระบบสหกรณ์ของประเทศไทยให้มีความน่าเชื่อถือ ดำเนินงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต สหกรณ์มีความมั่นคง สามารถพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างยั่งยืนต่อไป
วันที่ 28 มกราคม 2565 นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมติดตามการดำเนินงานของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดนครสวรรค์ โดยมี นายสิทธิพร ปานใจ สหกรณ์จังหวัดนครสวรรค์ ข้าราชการ พนักงานราชการ และเจ้าหน้าที่ ให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุมพิทยาลงกรณ์ ตำบลนครสวรรค์ตก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
โอกาสนี้ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้รับฟังการบรรยายผลสรุปผลการดำเนินงานของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดนครสวรรค์ โดยได้กล่าวกล่าวเน้นย้ำการกำกับดูแลการดำเนินการของสหกรณ์ หมั่นเข้าไปแนะนำ ส่งเสริม สังเกตความผิดปกติ ทั้งสถานะการดำเนินงานและสภาพคล่องของสหกรณ์ เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น และให้มีแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน พยายามเข้าไปดูแลสหกรณ์ในจังหวัด โดยเฉพาะสหกรณ์ภาคการเกษตร ทั้งการพัฒนาทักษะด้านการบัญชีให้กับกรรมการและฝ่ายจัดการของสหกรณ์ การส่งเสริมและพัฒนาอาชีพของสมาชิก ควบคู่กับการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ เพื่อให้เกิดผลกำไรแล้วให้สหกรณ์นำไปพัฒนาความเป็นอยู่ของสมาชิกสหกรณ์ให้ดีขึ้น เกิดผลประโยชน์สูงสุดแก่สมาชิกอย่างแท้จริง ในการนี้ ได้ให้กำลังใจและให้แนวทางการปฏิบัติงานแก่บุคลากร ให้ปฏิบัติหน้าที่ของตนเองอย่างเต็มกำลังความสามารถ หมั่นฝึกฝน ศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ มีความพร้อมในการทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ กรมฯ พร้อมสนับสนุนงบประมาณ และเทคโนโลยีในการทำงาน เพื่อให้บุคลากรสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
วันที่ 28 มกราคม 2565 นายประกอบ เผ่าพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ลงพื้นที่ประชุมติดตามผลการดำเนินงานตามแผนปฎิบัติงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดสระแก้ว โดยมี นายพิษณุ คล้ายเจตต์ดี ผู้ตรวจราชการกรม เขตตรวจราชการที่ 8,9 นายเชาวลิต เจริญฤทธิ์ สหกรณ์จังหวัดสระแก้ว บุคคลากรสำนักงานสหกรณ์จังหวัดสระแก้ว ให้การต้อนรับและร่วมประชุม ณ ห้องประชุมกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 1 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดสระแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว
โอกาสนี้ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้มอบนโยบายในการปฏิบัติงาน และติดตามความก้าวหน้าในประเด็นที่สำคัญ คือ การปิดบัญชีสหกรณ์ การแก้ไขข้อบกพร่องของสหกรณ์ และการชำระบัญชี พร้อมทั้งให้แนวทางในการปฎิบัติงานส่งเสริม พัฒนา และแก้ไขปัญหาให้กับสหกรณ์ และให้กำลังใจแก่บุคคลลากรในการปฏิบัติงาน
วันที่ 27 มกราคม 2565 นายประกอบ เผ่าพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ พร้อมด้วย นายพงศ์สันต์ ขำปู่ ผู้อำนวยการกลุ่มจัดที่ดินนิคมสหกรณ์ กองพัฒนาระบบสนับสนุนการสหกรณ์ เข้าร่วมประชุมหารือเพื่อพิจารณาแนวทางการแก้ไข้ปัญหาตามข้อเรียกร้องของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม จำนวน 15 กรณีปัญหา โดยมี นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในการประชุม ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 อาคารสำนักงาน ก.พ. (เดิม) ทำเนียบรัฐบาล
วันที่ 27 มกราคม 2565 นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เป็นประธานประชุมคณะอนุกรรมการการลงทุน ครั้งที่ 1/2565 ซึ่งคณะอนุกรรมการการลงทุน ตั้งขึ้นตามมติของคณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติ ประกอบด้วยรองอธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ผู้แทนสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธกส.) ผู้แทนสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทยและชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย ร่วมประชุมผ่านระบบ Zoom Meeting และมีเจ้าหน้าที่และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมในห้องประชุม 226 กรมส่งเสริมสหกรณ์ ด้วย
ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการการลงทุน มีหน้าที่ในการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูล และกำหนดแนวทางการนำเงินของสหกรณ์ฝากหรือลงทุนตามมาตรา 62 (7) แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2542 และกำหนดกรอบแนวทาง และพิจารณาการฝากหรือการลงทุนของสหกรณ์นอกเหนือหรือเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้ในประกาศหรือคำสั่งคณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติ พร้อมเสนอให้คณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติพิจารณา โดยการประชุมครั้งนี้ได้มีการพิจารณาเรื่อง ขอความเห็นชอบให้สหกรณ์ลงทุนเพิ่มในบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ตามที่ทางชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย จำกัด เสนอ และได้มีการพิจารณาเรื่องการขยายขอบเขตการลงทุนในหุ้นสามัญของสหกรณ์ โดยเสนอให้สหกรณ์สามารถลงทุนในหุ้นสามัญของรัฐวิสาหกิจเพิ่มเติม และเสนอข้อกำหนดเพิ่มเติมในประกาศคณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติ ให้มีข้อกำหนดให้ลงทุนในตราสารทุนหรือหุ้นสามัญ เพื่อให้สหกรณ์สามารถลงทุนในตราสารทุนหรือหุ้นสามัญตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบให้ตั้งคณะทำงานรวบรวมข้อมูล และศึกษาถึงข้อดีข้อเสียและความเสี่ยงในการลงทุน เพื่อนำเสนอให้คณะอนุกรรมการการลงทุนได้พิจารณา ก่อนจะนำเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติ ในเดือนมีนาคม ครั้งต่อไป
อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าวระหว่างเปิดการประชุมว่า เรื่องการลงทุนของสหกรณ์นับว่ามีความจำเป็นในยุคปัจจุบัน เนื่องจากสถานการณ์ทางการเงินของสหกรณ์บางแห่ง มีเงินส่วนที่เกินจากการให้บริการแก่สมาชิก เพราะสมาชิกนำเงินมาฝากและถือหุ้น ทำให้สหกรณ์มียอดการออมเงินมากกว่าความต้องการใช้เงินของสมาชิก จึงได้มีการออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 1 กำหนดให้สหกรณ์ตั้งคณะอนุกรรมการด้านการลงทุน เพื่อพิจารณาเรื่องการลงทุนภายในสหกรณ์ และคณะกรรมการด้านความเสี่ยง เพื่อพิจารณาเรื่องความเสี่ยงในการดำเนินงานของสหกรณ์ และตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 ได้มีการออกระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ กำหนดให้สหกรณ์ต้องรายงานข้อมูลทางการเงินและการลงทุนของสหกรณ์ด้วย เพื่อให้เห็นภาพรวมการลงทุนของสหกรณ์ว่ามีเงินฝาก การลงทุน การให้กู้ให้ยืมอยู่ที่ไหนบ้าง เพื่อให้การวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเงินของสหกรณ์ในภาพรวมดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว และสามารถพิจารณาถึงทิศทางการลงทุนของสหกรณ์ในอนาคตได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
#}