Clicky

CUD4S A DESIGN COLLABORATIVE PLATFORM WITH SOCIAL PURPOSE

เปิดเหมือนปกติ

ชวนผู้สนใจร่วมโหวตต้นแบบห้องสมุดประชาชนในฝันที่อยากให้เกิดขึ้นจริง เพื่อช่วยให้ต้นแบบได้ถูกนำไปทดสอบจริงที่ห้องสมุดประชา...
12/11/2021

ชวนผู้สนใจร่วมโหวตต้นแบบห้องสมุดประชาชนในฝันที่อยากให้เกิดขึ้นจริง เพื่อช่วยให้ต้นแบบได้ถูกนำไปทดสอบจริงที่ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่นะคะ : )

เรามาถึงช่วงโค้งสุดท้ายของโครงการปรับปรุงห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่กันแล้ว! ในโอกาสนี้จึงขอชวนผู้ที่สนใจ มาร่วมโหวตต้นแบบเพื่อการทดสอบ (Prototype) ของห้องสมุดประชาชนในฝันที่ท่านอยากให้เกิดขึ้นจริง เพื่อช่วยให้ต้นแบบนั้นได้ถูกนำไปทดสอบจริงที่ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่ โดยท่านเลือกโหวตได้มากกว่า 1 ต้นแบบ จากทั้งหมด 16 ต้นแบบด้วยกัน

กิจกรรมการโหวตนี้เป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่องมาจาก Prototyping Workshop ช่วงเดือนกรกฎาคม ซึ่งเราได้ชวนผู้เกี่ยวข้องมาร่วมออกแบบโมเดลห้องสมุดสาธารณะที่อยากมาใช้งาน และกลายมาเป็นต้นแบบเพื่อการทดลองทั้ง 16 ต้นแบบนี้

สามารถร่วมโหวตต้นแบบที่ท่านอยากให้เกิดขึ้นจริงได้ที่ https://bit.ly/308Mrrj

และกิจกรรมต่อๆ ไปจะมีการจัด workshop ที่จะนำไปสู่การทดลองจริง และ public pitching ในเดือนธันวาคม เราก็จะได้รู้กันแล้วว่าการปรับปรุงด้านใดที่จะเกิดขึ้นจริงในอนาคต

เชิญผู้สนใจเข้าร่วม Prototyping Workshop ของโครงการ People Public Library ได้ที่ลิงก์ในโพสต์ด้านล่างนี้นะคะ : )
17/07/2021

เชิญผู้สนใจเข้าร่วม Prototyping Workshop ของโครงการ People Public Library ได้ที่ลิงก์ในโพสต์ด้านล่างนี้นะคะ : )

ตอนนี้ Prototyping Workshop ของเราเริ่มแล้วนะคะ ผู้ที่สนใจเชิญเข้าร่วมได้ที่ลิงก์ด้านล่างนี้เลยนะคะ : )

https://bit.ly/2UPadW8

‘ต้นแบบ’ ห้องสมุดสาธารณะที่น่าใช้งานควรมีหน้าตาแบบไหน? .เชิญผู้สนใจร่วมออกแบบต้นแบบห้องสมุดสาธารณะ ในกิจกรรม Prototyping...
02/07/2021

‘ต้นแบบ’ ห้องสมุดสาธารณะที่น่าใช้งานควรมีหน้าตาแบบไหน?
.
เชิญผู้สนใจร่วมออกแบบต้นแบบห้องสมุดสาธารณะ ในกิจกรรม Prototyping Workshop ของโครงการ People Public Library ที่เราร่วมทำกับ TK Park ในวันเสาร์ที่ 17 ก.ค. นี้ค่ะ : )

ขอเชิญผู้สนใจร่วมกิจกรรมพัฒนาต้นแบบเพื่อการทดสอบ (Prototyping Workshop) เพื่อพัฒนาไอเดียห้องสมุดในฝันที่ทุกคนร่วมแชร์มาให้กลายเป็นต้นแบบเพื่อการทดสอบ (Prototype) กันค่ะ
.
Prototyping Workshop
วันเสาร์ที่ 17 ก.ค. 2564 / 08.30-17.00
จัดแบบ online ผ่านโปรแกรม Zoom
.
เวิร์กชอปจะแบ่งตามประเด็นออกเป็น 16 sessions ดังนี้

08.30-09.00 ระบบฐานข้อมูลและการยืมคืนที่เชื่อมโยงระหว่างห้องสมุด [ONE LIBRARY]
09.00-09.30 การปรับปรุงภาพลักษณ์ของห้องสมุดให้มีความเป็นกันเอง [ FRIENDLY BRANDING]
09.30-10.00 การใส่ความเป็นธรรมชาติสู่ห้องสมุด [GREENING LIBRARY]
10.00-10.30 การจัดพื้นที่สำหรับกิจกรรมของกลุ่มบ้านเรียน [HOMESCHOOL COMMON]
10.30-11.00 ระบบแนะนำหนังสือเข้าห้องสมุด [ON-DEMAND BOOKS]
11.00-11.30 ระบบอาสาสมัครมืออาชีพ [PROFESSIONAL VOLUNTEERS]
11.30-12.00 การทำให้ห้องสมุดมีชีวิตชีวามากขึ้น [PERSONALISED LIBRARY]
12.30-13.00 ห้องสมุดสรรพสิ่ง [LIBRARY OF THINGS]
13.00-13.30 สำนักพิมพ์ในฝัน [SOCIAL PUBLISHING]
13.30-14.00 ชั้นโชว์หนังสือในกระแสนิยม [IN-TREND BOOK DISPLAY]
14.00-14.30 เรียนรู้ได้ (ยัง) ไม่ต้องอ่าน [OPEN LEARNING PACKAGE]
14.30-15.00 ระบบแลกเปลี่ยนหนังสือกันอ่าน [READERS SHARING]
15.00-15.30 กิจกรรมอ่านนอกสถานที่ [BOOK CLUB TRIP]
15.30-16.00 ระบบสมาชิกอ่านหนังสือแบ่งปัน [BOOKS SUBSCRIPTION]
16.00-16.30 ระบบรวมการจัดซื้อหนังสือ [LOCAL POOLING ORDER]
16.30-17.00 แผนที่เมืองเรียนรู้ [LEARNING CITY MAP]

เชิญทุกท่านลงทะเบียนเข้าร่วมเวิร์กชอปใน session ที่สนใจได้ที่ลิงก์ด้านล่างนี้นะคะ
https://bit.ly/3jy4ePW

และอ่านรายละเอียดโครงการ People Public Library เพิ่มได้ที่ลิงก์นี้ค่ะ http://www.cud4s.arch.chula.ac.th/people-public-library-project/

เชิญมาร่วมแชร์ไอเดียห้องสมุดในฝันกันนะคะ : )
16/06/2021

เชิญมาร่วมแชร์ไอเดียห้องสมุดในฝันกันนะคะ : )

ในที่สุดเราก็มาถึงกิจกรรมสำคัญใช่วงที่ 2 ของโครงการแล้ว
"ร่วมกันออกแบบห้องสมุดสาธารณะที่เราอยากจะมาใช้งาน"
-
ขอเชิญชวนผู้ที่สนใจเข้าร่วมการทำ Ideation Workshop ที่จะเปิดโอกาสให้คุณเข้ามาระดมความคิดเห็น เพื่อปรับปรุงห้องสมุดประชาชนสาธารณะให้มีคนอยากมาใช้งานมากยิ่งขึ้น
-
ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร คนรักหนังสือ นักศึกษา เยาวชน ภาคประชาสังคม ผู้ใช้ห้องสมุด คนทำโฮมสคูล หรือประชาชนทั่วไป ก็สามารถเข้าร่วมกิจกรรมนี้ได้ เพราะความเห็นหรือไอเดียของคุณอาจจะถูกนำมาใช้เป็นต้นแบบเพื่อนำไปปฏิบัติจริงๆ
-
กิจกรรมจัดขึ้นในวันที่ 19 มิถุนายน 2564
โดยแบ่งออกเป็นสามรอบ ได้แก่

รอบที่ 1 เวลา 10.30-12.30 กลุ่มคนรักหนังสือ
รอบที่ 2 เวลา 13.30-15.30 กลุ่มชุมชนและประชาชนทั่วไป
รอบที่ 3 เวลา 16.00-18.00 กลุ่มเด็กและเยาวชน

แลจะมีรอบพิเศษในวันที่ 20 มิถุนายน 2564
เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่ไม่สะดวกเข้าร่วมในครั้งก่อนหน้านี้

การจัดเวิร์คชอปครั้งนี้จะเป็นทั้งรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ไปพร้อมๆ กัน
ขึ้นอยู่กับความสะดวกของผู้เข้าร่วม (สถานที่เราจะแจ้งให้ผู้เข้าร่วมอีกครั้ง)

-
สำหรับผู้ที่สนใจเข้าร่วมและอยากได้รายละเอียดเพิ่มเติม เช่น ยังไม่มั่นใจว่าตนเองอยู่กลุ่มไหน อยากรู้รายละเอียดกิจกรรม สถานที่ และรูปแบบการเข้าร่วม สามารถ Inbox เข้ามาได้ที่เพจนี้ หรืออีเมลมาที่ [email protected] เพื่อรับข้อมูลเพิ่มเติม

CASE : THE FLOWER BANKต้อนรับเช้าวันจันทร์ด้วยเรื่องของ SE ร้านดอกไม้จากอังกฤษ ที่เปลี่ยนดอกไม้เหลือทิ้งเป็นช่อดอกไม้สวย...
07/06/2021
The Flower Bank ร้านดอกไม้ราคาเป็นมิตร ใช้ดอกไม้เหลือทิ้ง และมีเด็กเคยทำผิดเป็นทีมงาน

CASE : THE FLOWER BANK

ต้อนรับเช้าวันจันทร์ด้วยเรื่องของ SE ร้านดอกไม้จากอังกฤษ ที่เปลี่ยนดอกไม้เหลือทิ้งเป็นช่อดอกไม้สวยราคาเป็นมิตร และให้โอกาสเยาวชนที่เคยกระทำผิดมาร่วมเป็นทีมงาน

เรื่อง social enterprise ของนักจัดดอกไม้ชาวอังกฤษที่ช่วยให้ทุกคนเข้าถึงดอกไม้ ลดขยะ และให้โอกาสเด็กผู้กระทำผิด

เชิญผู้สนใจร่วมฟังเสวนา "โจทย์ทางสังคมกับการเกิดขึ้นขององค์กรภาคประชาสังคม"  ในวันพุธที่ 26 และวันศุกร์ที่ 28 พฤษภาคม เว...
25/05/2021

เชิญผู้สนใจร่วมฟังเสวนา "โจทย์ทางสังคมกับการเกิดขึ้นขององค์กรภาคประชาสังคม" ในวันพุธที่ 26 และวันศุกร์ที่ 28 พฤษภาคม เวลา 10.30-12.00 น.

งานนี้เป็นส่วนหนึ่งของคอร์สอบรม From non-profit to not-for-profit ที่ CUD4S ร่วมจัดค่ะ : )

อยากรู้ไหมว่าที่มาและอุดมการณ์ของการทำงานเพื่อสังคม ในยุคเริ่มต้นขององค์กรภาคประชาสังคมต่าง ๆ เกิดขึ้นได้อย่างไร ?

วันพุธที่ 26 และศุกร์ 28 พฤษภาคม 2564 นี้ ตั้งแต่เวลา 10.30 – 12.00 น. ขอเชิญติดตาม

“กิจกรรมเสวนา : โจทย์ทางสังคมกับการเกิดขึ้นขององค์กรภาคประชาสังคม”

โดย
- คุณสารี อ๋องสมหวัง : กรรมการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

- คุณพูลทรัพย์ สวนเมือง ตุลาพันธ์ : ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ (HOMENET)

- คุณสุภา ใยเมือง : ผู้อำนวยการมูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย)

- คุณมณเฑียร บุญตัน : อุปนายกสมาคม คนที่ 1สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย

มาร่วมกันแลกเปลี่ยนแนวความคิด เรื่องแนวโน้มสถานการณ์และมุมมองต่ออนาคตที่จะเกิดขึ้นกับเครือข่ายภาคประชาสังคมในประเทศไทยได้ตลอดทั้ง 2 วัน

(กิจกรรมนี้เป็นหนึ่งในกิจกรรมเพื่อประกอบการอบรมหลักสูตรบ่มเพาะ FROM NON-PROFIT TO NOT-FOR-PROFI จัดขึ้นในรูปแบบการเสวนาออนไลน์ผ่านระบบ ZOOM โดยมีการถ่ายทอดสดถ่ายทอดสดทางเเฟนเพจไทยแอ็ค
คลิก https://www.facebook.com/thethaiact )

CASE : OODI HELSINKI CENTRAL LIBRARYถ้าพูดถึงห้องสมุดที่คิดถึงประชาชนและร่วมขับเคลื่อนโดยประชาชน หนึ่งในตัวอย่างดีที่สุด...
17/05/2021

CASE : OODI HELSINKI CENTRAL LIBRARY

ถ้าพูดถึงห้องสมุดที่คิดถึงประชาชนและร่วมขับเคลื่อนโดยประชาชน หนึ่งในตัวอย่างดีที่สุดคงหนีไม่พ้น Oodi ห้องสมุดกลางของเมืองเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ ที่ได้รับเลือกเป็นห้องสมุดประจำปี 2019 โดยสหพันธ์นานาชาติแห่งสถาบันและสมาคมห้องสมุด (IFLA)
.
Oodi คือห้องสมุดที่เกิดขึ้นเพื่อฉลองวาระครบ 100 ปีของฟินแลนด์ หนึ่งในประเทศที่มีอัตราการรู้หนังสือสูงสุดในโลก ห้องสมุดที่ตั้งอยู่ตรงข้ามรัฐสภาแห่งนี้นิยามตัวเองว่า a library of a new era โดยผสมผสานห้องสมุดแบบที่เราคุ้นเคยเข้ากับองค์ประกอบใหม่ๆ ของโลกปัจจุบัน กลายเป็น a living meeting place ของประชาชน
.
ชั้นที่ 1 ของห้องสมุดได้รับการออกแบบให้เป็นสถานที่พบปะจิบกาแฟ ดูหนัง และจัดอีเวนต์ ชั้นที่ 2 เป็นพื้นที่จัดเวิร์กชอป เรียนรู้ผ่านการลงมือทำ ที่ชั้นนี้จึงมีตั้งแต่เครื่องปริ้นต์ 3 มิติไปจนถึงห้องครัว ส่วนชั้นที่ 3 มีส่วน Book heaven โซนอ่านหนังสือแบบห้องสมุดคลาสสิก มีมุมสำหรับเด็กให้ผู้ใช้ตัวจิ๋วได้เพลิดเพลินกับการเรียนรู้ รวมถึงมี Citizen’s balcony ระเบียงที่ให้ประชาชนชมวิวรัฐสภาได้เต็มตา
.
นอกจากสถานที่น่าใช้งานเป็นที่สุด ห้องสมุดแห่งนี้ยังร่วมออกแบบกับประชาชนอย่างแท้จริง ผ่านสารพัดเครื่องมือตั้งแต่การจัดอีเวนต์ ทำเวิร์กชอป จนถึงให้ชาวฟินแลนด์ร่วมแสดงความเห็นผ่านช่องทางออนไลน์ ถ้าก้าวเข้าห้องสมุด เราจะเห็นคำภาษาฟินแลนด์นับร้อยคำติดอยู่บริเวณบันได ถ้อยคำเหล่านี้คือตัวแทนกระบวนการร่วมออกแบบ เพราะมันคือความเห็นจากประชาชนที่บอกมาว่าอยากเห็นห้องสมุดในฝันเป็นอย่างไร
.
และนี่คือเรื่องของ Oodi ห้องสมุดเพื่อประชาชน โดยประชาชนของฟินแลนด์ ที่เป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจของโครงการ People Public Library ของ TK Park และ CUD4S ที่จะทดลองปรับปรุงห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่ร่วมกับผู้ใช้งานตัวจริง
.
ชาวเชียงใหม่คนไหนสนใจอยากช่วยปรับปรุงห้องสมุดด้วยกัน สามารถเข้าไปร่วมตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับห้องสมุดประชาชนในปัจจุบันของเชียงใหม่ ได้ที่ลิงก์ด้านล่างนี้เลยนะคะ : )
https://bit.ly/3vLmYOO

EXPLORE  :  งานสัมมนาออนไลน์  'Ethics, empathy and evidence at the heart of social design' ชวนฟังสัมมนาจาก Sitra กองทุนน...
15/05/2021

EXPLORE : งานสัมมนาออนไลน์ 'Ethics, empathy and evidence at the heart of social design'

ชวนฟังสัมมนาจาก Sitra กองทุนนวัตกรรมของฟินแลนด์ หัวข้อ
'Ethics, empathy and evidence at the heart of social design' ในวันอังคารที่ 18 พ.ค. นี้
.
ในงานสัมมนาดังกล่าว เราจะได้ทำความรู้จักคาแรกเตอร์พิเศษของ 'การออกแบบเพื่อสังคม' เข้าใจมากขึ้นว่าทำไมถึงน่าใส่คาแรกเตอร์เหล่านี้ลงในการออกแบบ และจะใส่มันลงไปอย่างไร โดยสปีกเกอร์ของงานคือ Melanie Wendland นักออกแบบและนักวางกลยุทธ์ระดับซีเนียร์จากเฮลซิงกิที่มีประสบการณ์ยาวนานกว่า 12 ปี
.
งานนี้จะบรรยายเป็นภาษาอังกฤษผ่านระบบ zoom และไลฟ์สดผ่านทาง youtube : SitraFund เชิญผู้สนใจลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ในลิงก์ข้างล่างนี้เลยค่ะ : )
https://www.sitra.fi/en/events/heraamo-ethics-empathy-and-evidence-at-the-heart-of-social-design/

จะเป็นอย่างไรถ้ารัฐทำงานแบบมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง?.ชวนอ่านเรื่องของ GOV.UK เว็บรัฐบาลอังกฤษที่ออกแบบด้วยแนวคิด citizen-c...
10/05/2021
GOV.UK เมื่อเว็บรัฐบาลตอบโจทย์ประชาชนจนคว้ารางวัล Design of the Year

จะเป็นอย่างไรถ้ารัฐทำงานแบบมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง?
.
ชวนอ่านเรื่องของ GOV.UK เว็บรัฐบาลอังกฤษที่ออกแบบด้วยแนวคิด citizen-centric จนคว้ารางวัลดีไซน์เดียวกับคบเพลิงโอลิมปิกมาครองค่ะ

แนวคิดเบื้องหลัง GOV.UK เว็บหน้าตาเรียบง่ายของรัฐบาลอังกฤษ ที่ออกแบบโดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง

PEOPLE PUBLIC LIBRARY TALKชวนผู้สนใจร่วมฟังเสวนาเกี่ยวกับการอ่านจากโครงการ People Public Library ของเรา ในวันอังคารที่ 1...
08/05/2021

PEOPLE PUBLIC LIBRARY TALK

ชวนผู้สนใจร่วมฟังเสวนาเกี่ยวกับการอ่านจากโครงการ People Public Library ของเรา ในวันอังคารที่ 11 พ.ค. นี้นะคะ : )

PEOPLE PUBLIC LIBRARY TALK

ชวนผู้สนใจร่วมฟังเสวนาออนไลน์ "จากกลุ่มคนชอบหนังสือ สู่ 'เชียงใหม่เมืองการอ่าน" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ People Public Library ที่จะทดลองปรับปรุงห้องสมุดประชาชนเชียงใหม่ให้ตอบโจทย์ผู้ใช้ค่ะ
.
เสวนา จากกลุ่มคนชอบหนังสือ สู่ 'เชียงใหม่เมืองการอ่าน'
11.05.2021 / 18.00-19.20
รับชมออนไลน์ผ่านระบบ zoom
.
พบกับ
-คุณทรงกลด บางยี่ขัน อดีตบรรณาธิการนิตยสาร a day และผู้บริหารเว็บไซต์ The Cloud
-คุณปิยศักดิ์ ประไพพร ผู้จัดการ 'ร้านเล่า' ร้านหนังสืออิสระเก่าแก่ของเชียงใหม่
-คุณกุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ ผู้อำนวยการโรงเรียนต้นกล้า เชียงใหม่
.
ผู้ที่สนใจลงทะเบียนรับลิงก์ zoom ได้ที่ลิงก์ด้านล่างนี้เลยค่ะ แล้วพบกันนะคะ : )
https://bit.ly/33ssZDY

PEPOLE PUBLIC LIBRARY SURVEY.ชวนชาวเชียงใหม่ตอบแบบสอบถามของโครงการ People Public Library Project - ห้องสมุดประชาชนสาธารณ...
07/05/2021

PEPOLE PUBLIC LIBRARY SURVEY
.
ชวนชาวเชียงใหม่ตอบแบบสอบถามของโครงการ People Public Library Project - ห้องสมุดประชาชนสาธารณะ ทาง qr code และลิงก์ด้านล่างนี้ เพื่อร่วมออกแบบห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่ให้ตอบโจทย์ผู้ใช้งานจริงกันนะคะ : )

https://bit.ly/3vLmYOO

OUR WORK : PEOPLE PUBLIC LIBRARY PROJECTPeople Public Library Project คือโครงการที่ CUD4S  ร่วมกับสถาบันอุทยานการเรียนรู...
01/05/2021

OUR WORK : PEOPLE PUBLIC LIBRARY PROJECT

People Public Library Project
คือโครงการที่ CUD4S ร่วมกับสถาบันอุทยานการเรียนรู้ (สอร.) ทดลองสร้างต้นแบบห้องสมุดประชาชนที่ตอบโจทย์ผู้ใช้มากขึ้น และมีศักยภาพเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับทุกคน
.
ห้องสมุดแห่งแรกที่เราตั้งใจจะทดลองปรับปรุงเป็นห้องสมุดต้นแบบคือ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่
.
เราตั้งใจจะชวนชาวเชียงใหม่และผู้ที่เกี่ยวข้องมาร่วมออกแบบห้องสมุด ด้วยเครื่องมือ Design Thinking แล้วนำไอเดียห้องสมุดที่ได้มาใช้ปรับปรุงห้องสมุดของจริงให้ตอบโจทย์ผู้ใช้ชาวเชียงใหม่
.
เชิญผู้ที่สนใจเข้าไปอ่านรายละเอียดโครงการแบบเต็มๆ กันได้ที่ลิงก์ด้านล่างนี้ และรอติดตามข้อมูลเพิ่มเติมที่เพจ People Public Library Project - ห้องสมุดประชาชนสาธารณะ นะคะ : )

http://www.cud4s.arch.chula.ac.th/people-public-library.../

CASE : PCM COOLOVERชุด PPE ช่วยป้องกันบุคลากรทางการแพทย์จากโรคโควิด-19 แต่ขณะเดียวกัน มันก็ไม่ใช่ชุดที่ใส่สบาย โดยเฉพาะป...
29/04/2021

CASE : PCM COOLOVER

ชุด PPE ช่วยป้องกันบุคลากรทางการแพทย์จากโรคโควิด-19 แต่ขณะเดียวกัน มันก็ไม่ใช่ชุดที่ใส่สบาย โดยเฉพาะปัญหาความร้อนจากการใส่ชุด หนึ่งในงานออกแบบที่พยายามช่วยแก้ปัญหานี้คือ PCM COOLOVER เสื้อกั๊กทำความเย็นที่ผลิตโดย INUTEQ บริษัทสัญชาติเนเธอร์แลนด์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเครื่องแต่งกายซึ่งช่วยให้เย็นสบาย
.
เสื้อกั๊กตัวนี้ปรับแบบมาจากเสื้อสำหรับนักกีฬาในการแข่ง Tokyo Summer Olympic Games ช่วยให้ความเย็นต่อเนื่องเหมาะสำหรับบุคลากรที่ต้องทำงานเป็นเวลานาน และป้องกัน heat stress นอกจากนี้ มันยังทำความสะอาดและฆ่าเชื้อได้ง่าย โดยวิธีใช้เสื้อตัวนี้คือ ใส่มันลงในที่ซึ่งช่วยสร้างความเย็น ตั้งแต่ถังน้ำแข็ง ตู้แช่ จนถึงตู้เย็น จากนั้นเมื่อนำมาสวม เสื้อจะเย็นต่อเนื่องได้ถึง 3 ชั่วโมงแม้ต้องทำงานในอุณภูมิสูง
.
ผลจากการทดลองให้นางพยาบาลใส่เสื้อกั๊กตัวนี้ แม้ไม่ได้ช่วยลดอุณหภูมิร่างกายอย่างมีนัยยะสำคัญ แต่แทบทุกคนรู้สึกสบายตัวมากขึ้น และบอกว่าการใส่เสื้อตัวนี้ทำงานช่วยให้รู้สึกเหมือนการทำงานปกติที่ไม่ได้ต้องใส่ชุดป้องกัน โดยปัจจุบัน PCM COOLOVER เป็นชุดทำงานที่นางพยาบาลและบุรุษพยาบาลในแผนกของศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัย Radboud ของเนเธอร์แลนด์ใส่กันเป็นปกติ
.
อ่านเกี่ยวกับ PCM COOLOVER เพิ่มได้ที่ลิงก์ข้างล่างนี้ค่ะ
healthcare-in-europe.com/en/news/keeping-a-cool-head-for-all-icu-doctors-nurses.html

CASE : DIGITAL BOOKMOBILEในช่วงโควิด-19 ระบาด อินเตอร์เน็ตกลายเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้คน ทั้งกับเด็กๆ ที่ต้องเรียนออนไลน์ ...
27/04/2021

CASE : DIGITAL BOOKMOBILE

ในช่วงโควิด-19 ระบาด อินเตอร์เน็ตกลายเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้คน ทั้งกับเด็กๆ ที่ต้องเรียนออนไลน์ และผู้ใหญ่ที่อาจต้องรับความช่วยเหลือจากภาครัฐผ่านเว็บไซต์ แต่ทั้งนี้ ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีสัญญานอินเตอร์เน็ตใช้ ตัวอย่างเช่น คนในพื้นที่ห่างไกลซึ่งหลายครอบครัวไม่มีอินเตอร์เน็ตในบ้าน
.
ที่รัฐโอกลาโฮมา ประเทศอเมริกา มีเครือข่ายห้องสมุดโดดเข้ามาช่วยแก้ปัญหานี้ โดย Southern Oklahoma Library System (SOLS) ซึ่งมีห้องสมุดเคลื่อนที่ให้บริการชุมชนห่างไกลมาตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1960s ได้ออกแบบห้องสมุดเคลื่อนที่โฉมใหม่เป็นเวอร์ชั่นดิจิทัล นอกจากหนังสือ รถห้องสมุดคันนี้ยังมีคอมพิวเตอร์และสัญญาน Wi-Fi ไว้ให้ใช้งาน
.
ทีมงานของ SOLS จัดเตรียม digital bookmobile พร้อมทำงานร่วมกับผู้นำแต่ละชุมชนเพื่อหาจุดจอดรถ ซึ่งต้องทั้งจอดได้จริง มองเห็นง่าย และมี cellular connection หลังจากนั้น ในทุกวันศุกร์ ทีมงานจะขับรถไปหา 3 ชุมชนห่างไกล จอดรถในแต่ละจุดเป็นเวลา 2 ชั่วโมง แล้วเปิดให้ผู้คนมาใช้บริการตั้งแต่ยืมคืนหนังสือ ทำการบ้าน จนถึงจัดการธุระจำเป็นบนออนไลน์
.
ห้องสมุดดิจิทัลคันนี้นับเป็นตัวช่วยให้เด็กและผู้ใหญ่ที่ขาดโอกาสมีชีวิตง่ายขึ้นในภาวะวิกฤต และเป็นตัวสะท้อนความหมายของห้องสมุด ที่กว้างขวางไปกว่าห้องซึ่งมีหนังสือเรียงอยู่เต็มชั้น

CASE : WHECATนอกจากเมืองไทยของเรา จีนเป็นอีกประเทศที่เจอปัญหามลพิษทางอากาศหนักหน่วง หนึ่งในสาเหตุใหญ่คือ การที่เกษตรกรเผ...
24/04/2021

CASE : WHECAT

นอกจากเมืองไทยของเรา จีนเป็นอีกประเทศที่เจอปัญหามลพิษทางอากาศหนักหน่วง หนึ่งในสาเหตุใหญ่คือ การที่เกษตรกรเผาฟางข้าวทิ้งเพื่อเตรียมเพาะปลูก เนื่องจากฟางข้าวย่อยสลายช้า มูลค่าน้อย และการเผาก็มีต้นทุนถูกกว่าการส่งฟางไปกำจัดแบบถูกวิธี
.
Ziren Chou เป็นนักศึกษาด้านดีไซน์ที่มองเห็นปัญหานี้ เขาเลยลองคิดแก้ไขมันด้วยงานออกแบบซึ่งเพิ่มมูลค่าให้ฟางข้าว จากการสำรวจพื้นที่ เขาพบว่าชาวบ้านหยิบฟางมาสานเป็นหมวกกันอยู่แล้ว เขาจึงต่อยอดงานฝีมือท้องถิ่น ด้วยการหยิบฟางมาสานเป็นบ้านและที่ลับเล็บน่ารักสำหรับเจ้าเหมียว โดยเน้นให้วิธีทำเรียบง่ายแบบชาวบ้านยังสานเองได้ สินค้านี้จึงทั้งถูกใจแมว เป็นช่องทางสร้างรายได้เพิ่มให้ชาวบ้าน และเมื่อพวกเขาลดการเผาลงได้ ก็เป็นการช่วยแก้ปัญหาฝุ่นควันในที่สุด
.
มากกว่านั้น Chou ยังกำลังจะร่วมมือกับสถานที่ดูแลแมวจร เพื่อทำบ้านจากฟางข้าวให้เจ้าเหมียวเร่ร่อนที่ชอบหนีหนาวไปซุกตัวในกองฟางอุ่นๆ อีกด้วย
.
ติดตาม Chou ได้ที่ลิงก์ข้างล่างนี้เลยค่ะ : )
www.zirenzhou.com

CASE : BEE HOMEชวนอ่านเรื่องงานออกแบบรังผึ้ง open-source จาก SPACE 10 หน่วยวิจัยและออกแบบสุดล้ำของอิเกีย  โดยรังผึ้งนี้ไ...
22/04/2021

CASE : BEE HOME

ชวนอ่านเรื่องงานออกแบบรังผึ้ง open-source จาก SPACE 10 หน่วยวิจัยและออกแบบสุดล้ำของอิเกีย โดยรังผึ้งนี้ไม่ใช่แค่สวยน่ารัก แต่ตั้งใจช่วยแก้ปัญหาการสูญพันธ์ของผึ้ง สิ่งมีชีวิตตัวจิ๋วที่ช่วยทำเรื่องใหญ่อย่างการผสมเกสรพืชที่เป็นแหล่งอาหารให้เรา
.
อ่านเรื่องของ Bee Home แบบเต็มๆ ได้ที่ลิงก์ด้านล่างนี้เลยค่ะ : )
https://readthecloud.co/ikea-bee-home

CASE : CPH VILLAGEชวนเติมอาหารสมองรับวันจันทร์ด้วยเคสงานออกแบบเพื่อสังคมน่าสนใจ รอบนี้มาดูกันที่เรื่องการออกแบบ "หอพัก" ...
19/04/2021

CASE : CPH VILLAGE

ชวนเติมอาหารสมองรับวันจันทร์ด้วยเคสงานออกแบบเพื่อสังคมน่าสนใจ รอบนี้มาดูกันที่เรื่องการออกแบบ "หอพัก" ในเมือง ซึ่งเป็นปัญหาชวนปวดหัวของหนุ่มสาวหลายคน เพราะการหาหอถูกและดีช่างยากเย็น
.
CPH Village คือชื่อโปรเจกต์หอพักในเมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ที่หยิบตู้คอนเทนเนอร์มาสร้างหอทำเลดี ราคาน่าคบ ยั่งยืน และอบอุ่นใจด้วยบรรยากาศแบบคอมมูนิตี้ เรียกว่าตอบโจทย์ครบทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
.
อ่านเรื่องของ CPH VILLAGE แบบเต็มๆ ได้ที่ลิงก์ข้างล่างเลยค่ะ
https://readthecloud.co/cph-village

CASE : ASPECS ปัญหาสายตานับเป็นปัญหาใหญ่ของโลก ปัญหานี้ไม่ได้หยุดอยู่แค่เรื่องสุขภาพ แต่ยังเชื่อมไปถึงคุณภาพชีวิตในด้านอ...
17/04/2021
ADSPECS การออกแบบแว่นที่ตั้งใจแก้ปัญหาสายตาให้คนด้อยโอกาส 1 พันล้านคน

CASE : ASPECS

ปัญหาสายตานับเป็นปัญหาใหญ่ของโลก ปัญหานี้ไม่ได้หยุดอยู่แค่เรื่องสุขภาพ แต่ยังเชื่อมไปถึงคุณภาพชีวิตในด้านอื่นอย่างการขาดโอกาสทางการศึกษา
.
และสำหรับหลายประเทศที่กำลังพัฒนา สาเหตุของปัญหาสายตาไม่ใช่การขาดแคลนแว่น แต่มาจากการขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญในการวัดสายตา (Optometrist) อีกทั้งยังมีอุปสรรคอื่น เช่น ราคาที่คนในประเทศเหล่านี้จ่ายเพื่อซื้อแว่นได้
.
โจทย์ปัญหาสายตาของผู้คนในประเทศกำลังพัฒนาทำให้เกิดงานออกแบบชิ้นหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหาได้จริง และมีงานวิจัยซึ่งตอบโจทย์ปัญหาสังคมนี้เป็นฐาน
.
ชวนอ่านเรื่องของแว่นตา ADSPECS ได้ที่โพสต์ข้างล่างนี้ค่ะ

เมื่ออาจารย์ฟิสิกส์ออกแบบแว่นชนิดใหม่ เพื่อช่วยให้ผู้ใหญ่และเด็กด้อยโอกาส 1 พันล้านคนเห็นอนาคตสดใสกว่า.....

CASE : CoolAnt Beehiveฤดูร้อนเมืองไทยร้อนระอุสมชื่อ ชวนให้อยากหนีไปหาแอร์เย็นฉ่ำอยู่บ่อยๆ  แต่เนื่องจากเครื่องปรับอากาศน...
14/04/2021

CASE : CoolAnt Beehive

ฤดูร้อนเมืองไทยร้อนระอุสมชื่อ ชวนให้อยากหนีไปหาแอร์เย็นฉ่ำอยู่บ่อยๆ แต่เนื่องจากเครื่องปรับอากาศนั้นสร้างผลกระทบต่อโลก วันนี้เราเลยอยากชวนคุณมารู้จัก CoolAnt Beehive นวัตกรรมงานออกแบบจากอินเดียที่หยิบกรวยดินเผารักษ์โลก และภูมิปัญญาเก่าแก่มาสร้างระบบทำความเย็นซึ่งพิสูจน์แล้วว่าเย็นใจ
.
ตามไปอ่านเรื่องนี้ได้ในคอลัมน์ Design Challenges ที่เราร่วมทำกับ The Cloud ตรงลิงก์ข้างล่างนี้เลย
https://readthecloud.co/coolant-beehive

CASE : Schoonschipเมืองไทยของเราเคยอยู่ร่วมกับน้ำได้อย่างเป็นมิตร เมื่อเห็น Schoonschip โครงการบ้านลอยน้ำสวยและยั่งยืนที...
12/04/2021

CASE : Schoonschip

เมืองไทยของเราเคยอยู่ร่วมกับน้ำได้อย่างเป็นมิตร เมื่อเห็น Schoonschip โครงการบ้านลอยน้ำสวยและยั่งยืนที่ตั้งอยู่ทางเหนือของเมืองอัมสเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์ เราจึงอดคิดไม่ได้ว่าถ้ามีแบบนี้ในบ้านเมืองเราบ้างก็คงดี
.
Schoonschip คือโครงการที่ตั้งใจทดลองแนวคิดการอยู่กับน้ำ ซึ่งนับเป็นทางเลือกสำหรับประเทศที่เจอผลจากภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง เช่น น้ำท่วมและระดับน้ำทะเลเพิ่มสูง จุดเด่นของ Schoonschip คือความยั่งยืน นอกจากบ้านสวยแต่ละหลังจะสร้างด้วยวัสดุยั่งยืน ชาวชุมชนยังจัดการน้ำ พลังงาน และขยะอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ติดโซล่าเซลล์ ใช้ฝักบัวประหยัดน้ำ จนถึงมีระบบจัดการน้ำเสีย พวกเขายังร่วมกันวางแผนและทำงานเพื่อทำให้ชุมชนยั่งยืนยิ่งขึ้น เช่น ลดการใช้รถส่วนตัวแล้วใช้รถยนต์ไฟฟ้าร่วมกันเพื่อลดมลภาวะ ที่แห่งนี้จึงนับเป็น Circular Community ของแท้
.
นอกจากทดลองสร้างที่อยู่อาศัยตอบโจทย์ความท้าทายของโลกปัจจุบัน Schoonschip ยังเป็นโครงการ Open Source ที่ร่วมงานกับองค์กรอื่นๆ เพื่อตอบโจทย์เรื่องความยั่งยืน และพร้อมแบ่งปันไอเดียกับคนทั่วโลก “เราพบว่ามันสนุกและเป็นเรื่องสำคัญที่จะแบ่งปันแนวคิดที่ยั่งยืนและเพื่อสังคมกับคนอื่น และพัฒนาความรู้และทักษะที่มี เราอยากเรียนรู้จากคนอื่นและยินดีแบ่งปันความรู้กับทุกคน” ชาวบ้านลอยน้ำของเนเธอร์แลนด์กล่าว
.
ปัจจุบันชาว Schoonschip มีอยู่ด้วยกัน 46 ครอบครัวในบ้านลอยน้ำ 30 หลัง และถ้าใครอยากลองไปใช้ชีวิตลอยน้ำที่มาพร้อมความยั่งยืน เราแอบเห็นว่าพวกเขามีการเปิดบ้านเป็น Airbnb ด้วยนะ
.
รู้จัก Schoonschip เพิ่มได้ที่ลิงก์นี้เลย
https://schoonschipamsterdam.org

CASE : CURAงานออกแบบเพื่อสังคมที่น่าพูดถึงในช่วงนี้หนีไม่พ้นงานออกแบบที่ตอบรับสถานการณ์ COVID-19 หนึ่งในเคสน่าสนใจคือ CU...
10/04/2021

CASE : CURA

งานออกแบบเพื่อสังคมที่น่าพูดถึงในช่วงนี้หนีไม่พ้นงานออกแบบที่ตอบรับสถานการณ์ COVID-19 หนึ่งในเคสน่าสนใจคือ CURA โปรเจกต์ออกแบบห้อง ICU ภาคสนามเพื่อตอบรับความต้องการห้องไอซียูที่พุ่งสูงขึ้นทั่วโลก
.
CURA (Connected Unit for Respiratory Ailments) เป็นงานออกแบบชนิด open source ที่เปิดให้คนทั่วโลกจากหลายวิชาชีพมาร่วมกันทำงาน ตั้งแต่นักออกแบบ วิศวกร จนถึงบริษัทด้านเทคโนโลยีสุขภาพ
.
พวกเขาร่วมออกแบบต้นแบบห้องไอซียูภาคสนาม ที่ทั้งเคลื่อนย้ายติดตั้งได้เร็วและปลอดภัย โดยนำตู้คอนเทนเนอร์สำหรับขนส่งสินค้ามาดัดแปลงเป็นห้องไอซียูที่ติดตั้งเสร็จได้ในไม่กี่ชั่วโมง ปลอดภัยด้วยระบบที่ช่วยให้ห้องมีความดันลบ และเชื่อมต่อกันเพื่อขยายพื้นที่ได้ด้วยทางเชื่อมแบบเป่าลม โดยแต่ละห้องจะมีอุปกรณ์การแพทย์เพียงพอสำหรับผู้ป่วย 2 ราย
.
CURA ตู้แรกถูกติดตั้งไว้ที่โรงพยาบาลชั่วคราวในอิตาลี และยังมีการเตรียมติดตั้งในอีกหลายที่ เข้าไปดูรายละเอียดโปรเจกต์นี้เพิ่มเติมได้ที่นี่เลย -> https://curapods.org

RESOURCES : The Ideal Cityเมืองในฝันของคุณเป็นแบบไหน?.สถิติปัจจุบันบอกเราว่า ผู้คน 1.5 ล้านคนจะย้ายถิ่นฐานเข้าสู่เมืองทุ...
06/04/2021

RESOURCES : The Ideal City

เมืองในฝันของคุณเป็นแบบไหน?
.
สถิติปัจจุบันบอกเราว่า ผู้คน 1.5 ล้านคนจะย้ายถิ่นฐานเข้าสู่เมืองทุกอาทิตย์ และนั่นทำให้การเห็นภาพเมืองที่ดีน่าอยู่ และวางแผนออกแบบให้มันเกิดขึ้นจริงเป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วน
.
ในวันนี้ เราจึงอยากชวนคุณพลิกอ่าน The Ideal City หนังสือเล่าเรื่อง 'เมืองในฝัน' ผ่านเคสการออกแบบจากทั่วโลก ที่จัดทำโดย SPACE 10 ทีมทดลองด้านนวัตกรรมของอิเกีย และสำนักพิมพ์ gestalten ของเยอรมัน
.
The Ideal City เชื่อว่า เมืองในฝันสำหรับผู้คนควรประกอบด้วย 5 คุณสมบัติสำคัญ นั่นคือ อุดมสมบูรณ์ (Resourceful) ทุกคนเข้าถึงได้ (Accessible) มีการแบ่งปันและความเป็นชุมชน (Shared) ปลอดภัย (Safe) และน่าอยู่ (Desirable) โดยหนังสือเล่มนี้หยิบเคสน่าสนใจที่ตอบโจทย์คุณสมบัติแต่ละข้อมาเล่าให้เราฟัง รวมถึงมีการไปสัมภาษณ์สถาปนิกผู้ออกแบบตัวจริงด้วย
.
ขณะพลิกอ่านแต่ละหน้า เราจึงมองเห็นความเป็นไปได้ที่ชวนใจเต้นและมีความหวัง ตัวอย่างเช่น ภาพที่คุณเห็นบนหน้าปกคือ โปรเจกต์ของ RMA Architects ที่หยิบเทคโนโลยี Green wall มาใช้กับพื้นที่ภายนอกของ KMC Corporate Office ในอินเดีย ช่วยให้ออฟฟิศแห่งนี้มี living facade ที่มีพืชนานาชนิดงอกงามหมุนเวียนตลอดปี และช่วยเชื่อมผู้คน 2 กลุ่มคือ พนักงานและคนทำสวนเข้าด้วยกัน
.
“ยูโทเปีย คือการสร้างสถานที่ในโลกวรรณกรรมซึ่งสมบูรณ์จนไม่อาจเกิดขึ้นจริงได้ แต่นั่นแหละคือสิ่งที่เราควรมุ่งหน้าไปหา” Bjarke Ingels สถาปนิกชื่อดังกล่าวไว้ในท่อนหนึ่งของคำนำ ซึ่งแน่นอนว่า เหล่าเคสใน The Ideal City คือเรื่องของการมุ่งหน้าสู่ที่โลกอุดมคติใบนั้น-สู่เมืองในฝันที่ดีและยั่งยืน
.
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมของหนังสือ The Ideal City ได้ที่ลิงก์ด้านล่างเลย
https://space10.com/project/the-ideal-city-exploring-urban-futures/

EXPLORE : Social Design Exhibition ‘การออกแบบเพื่อสังคม’ เป็นหัวข้อที่ต่างประเทศพูดถึงกันมานาน มีข้อมูลให้ตามไปอ่านอยู่ห...
03/04/2021

EXPLORE : Social Design Exhibition

‘การออกแบบเพื่อสังคม’ เป็นหัวข้อที่ต่างประเทศพูดถึงกันมานาน มีข้อมูลให้ตามไปอ่านอยู่หลายที่ แต่วันนี้เราอยากชวนคุณมารู้จักเรื่องนี้ผ่านรูปแบบเข้าใจง่าย นั่นคือนิทรรศการที่หยิบเอากรณีศึกษาน่าสนใจของการออกแบบเพื่อสังคมมาเล่าให้เราฟัง
.
Social Design เป็นนิทรรศการที่จัดขึ้นที่ Museum für Gestaltung Zürich ของสวิสเซอร์แลนด์ ในงานหยิบ 25 โปรเจกต์การออกแบบเพื่อสังคมจากทั่วโลกมาให้เราชม โดยงานที่จัดแสดงก็ตอบโจทย์ประเด็นสังคมหลากหลาย ตัวอย่างเช่น Solar Kiosk บริษัทที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ยกระดับชีวิตผู้คนผ่านสินค้าและบริการอย่างร้านค้าโซล่าร์เซลส์สำหรับชุมชนห่างไกล จนถึง Paper Emergency Shelters for UNHCR เต๊นท์สำหรับผู้ลี้ภัยในประเทศรวันดา ที่สร้างด้วยโครงกระดาษเพื่อลดต้นทุนและรักษาสิ่งแวดล้อม
.
“งานออกแบบตั้งอยู่ในบริบททางสังคมเสมอ ระหว่างทำนิทรรศการนี้ ความรุนแรงทางการเมืองในหลายส่วนของโลกได้ยกระดับไปในแบบที่ฉันคาดไม่ถึง ฉันดีใจที่มีนักออกแบบและความริเริ่มทำโครงการที่ตอบรับความท้าทายนี้ โดยคำนึงถึงโลกในภาพรวม” Angeli Sachs ภัณฑารักษ์ประจำนิทรรศการนี้กล่าว
.
ลองไปสำรวจนิทรรศการนี้เพิ่มเติมได้ที่ลิงก์ด้านล่าง
https://museum-gestaltung.ch/en/ausstellung/social-design/

และอ่านรีวิวนิทรรศการแบบเต็มๆ ได้ที่นี่เลย
https://xximagazine.com/c/social-design-for-beginners

CUD4S SOCIAL WORKSHOP 02เวิร์กชอปการพิสูจน์อักษร และจัดเรียงคำในต้นฉบับหนังสือพ็อกเก็ตบุ๊ก (เช่น การเคาะคำให้วรรคตอนถูกต...
10/03/2021

CUD4S SOCIAL WORKSHOP 02
เวิร์กชอปการพิสูจน์อักษร และจัดเรียงคำในต้นฉบับหนังสือพ็อกเก็ตบุ๊ก (เช่น การเคาะคำให้วรรคตอนถูกต้อง) สำหรับผู้พิการทางกายที่สนใจ
—-
ศูนย์การออกแบบเพื่อสังคม จุฬาฯ ขอเชิญกลุ่มผู้พิการทางกาย (ผู้นั่งรถเข็น) ร่วมเวิร์กชอปพิสูจน์อักษร และจัดเรียงคำของต้นฉบับหนังสือด้วยโปรแกรม Adobe InDesign ค่ะ
.
PROOFREADING WORKSHOP
วันที่ 20 มีนาคม และ 27 มีนาคม เวลา 9.00-11.00
(อบรมออนไลน์ผ่านโปรแกรม zoom ไม่เสียค่าใช้จ่าย)
.
ผู้ที่ผ่านการอบรมและสนใจทำงานกับศูนย์ฯ จะได้เข้าเป็นเครือข่ายรับงานอิสระของ CUD4S ต่อไปค่ะ
.
*เวิร์กชอปนี้รับจำนวนจำกัด โดยคัดเลือกตามลำดับการสมัคร ผู้สนใจสามารถสมัครได้ที่ลิงก์ด้านล่างนี้ หรือที่ QR Code ในภาพค่ะ : )
https://forms.gle/3ZUdMTRssBKxm5RFA

pic credit: ultimatearm

ที่อยู่

8th Floor, Faculty Of Architecture Chulalongkorn University
Bangkok

เวลาทำการ

จันทร์ 08:00 - 18:00
อังคาร 08:00 - 18:00
พุธ 08:00 - 18:00
พฤหัสบดี 08:00 - 18:00
ศุกร์ 09:00 - 18:00

เบอร์โทรศัพท์

+66(0)2 218 4316

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ CUD4Sผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง CUD4S:

วิดีโอทั้งหมด

WHAT IS CUD4S?

ศูนย์การออกแบบเพื่อสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย CHULALONGKORN UNIVERSITY DESIGN FOR SOCIETY CENTRE

MAKING AN IMPACT WITH DESIGN

ศูนย์การออกแบบเพื่อสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อตั้งขึ้นโดยคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และสมาคมนิสิตเก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวาระครบรอบ 100 ปีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เราเชื่อว่าการออกแบบสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ เราจึงตั้งใจใช้ “การออกแบบ” และ “วิธีคิดเชิงออกแบบ” ไปตอบโจทย์ความท้าทายสำคัญในสังคม โดยทำหน้าที่เป็นพื้นที่กลางและห้องทดลอง ให้ผู้คนหลากหลายภาคส่วนได้มาร่วมกันสร้างการเปลี่ยนแปลง ผลงานของเรามีรูปแบบได้หลากหลาย ตั้งแต่ผลิตภัณฑ์ บริการ จนถึงนโยบายสาธารณะ

ตำแหน่งใกล้เคียง บริการภาครัฐ


บริการสาธารณะ อื่นๆใน Bangkok

แสดงผลทั้งหมด

ความคิดเห็น

People Public Library Project คืออะไร?
.
People Public Library Project คือโครงการทดลองสร้างต้นแบบห้องสมุดประชาชนที่ตอบโจทย์ผู้ใช้มากขึ้น และมีศักยภาพเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับทุกคน
.
โครงการนี้เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างศูนย์การออกแบบเพื่อสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CUD4S) และสถาบันอุทยานการเรียนรู้ (TK Park) โดยห้องสมุดแห่งแรกที่เราจะทดลองปรับปรุงเป็นห้องสมุดต้นแบบคือ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่
.
เราตั้งใจจะชวนชาวเชียงใหม่และผู้ที่เกี่ยวข้องมาร่วมออกแบบห้องสมุด ด้วยเครื่องมือออกแบบที่เรียกว่า Design Thinking แล้วนำไอเดียห้องสมุดที่ได้มาใช้ปรับปรุงห้องสมุดของจริงให้ตอบโจทย์ชาวเชียงใหม่ทุกคน
.
เข้าไปอ่านรายละเอียดโครงการแบบเต็มๆ กันได้ที่ลิงก์ข้างล่างนี้ และเชิญผู้ที่สนใจรอติดตามข้อมูลเพิ่มเติมที่เพจนี้นะคะ : )

http://www.cud4s.arch.chula.ac.th/people-public-library-project/
‘ตอนที่ทำงานเขียนอย่างเดียว ก็สงสัยนะว่างานเรามันจะ Impact สังคมยังไง แต่พอมาทำงานสื่อสารที่ส่งเสริมงานของ Maker ก็ได้เห็นว่างานที่เราทำนั้น มีส่วนช่วยให้โปรเจคเกิดการรับรู้ในวงสังคมยังไง สิ่งที่เราทำมันเลยมีเป้าหมายและงานเขียนที่เราชอบเลยมีความหมายมากขึ้น’ - ‘ฟ้าใส - ธารริน อดุลยานนท์’
.
เมื่อพูดถึงการพัฒนาหรือแม้กระทั่งการแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่งในสังคม ทว่าเทคโนโลยีอย่างเดียวอาจไม่สามารถนำไปสู่ทางออกของปัญหาได้อย่างยั่งยืน แต่ Solution ที่จะเป็นทางออกนั้น นอกจากต้องอาศัยทั้ง ‘Technology’ และ ‘Non-Technology’ มาผสมผสานแล้ว ยังต้องทำงานภายใต้แนวคิด ‘Humanity’ ด้วย ท้ายที่สุดการออกแบบแนวทางเพื่อแก้ปัญหาก็จะสามารถตอบโจทย์ผู้ใช้งานได้จริงๆ
.
‘ฟ้าใส - ธารริน อดุลยานนท์’ หญิงสาวผู้เชื่อว่า ‘การออกแบบ’ จะสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ ฟ้าใสทำงานเบื้องหลังโปรเจคเพื่อสังคม ภายใต้ชื่อของ CUD4S โดยมีตำแหน่งงานระบุหลังชื่อว่าเป็น Social Engagement Lead หรือจะเล่าภาพรวมให้เข้าใจอย่างง่าย ก็คืองานสร้างการรับรู้ผ่านสื่อและกิจกรรมนั่นเอง แม้จะนัดกินข้าวมื้อเย็นด้วยกันบ่อยๆ แต่ก็ไม่เคยพูดคุยถึงรายละเอียดงาน แม้จะเห็นว่าหลายๆ งานที่เธอทำอยู่นั้นน่าสนใจ แต่เราก็ไม่เคยถามไถ่ถึงจุดมุ่งหมายในการขับเคลื่อนสังคมผ่านงานที่เธอทำเลย แต่พอคิดถึงรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างเราแล้วนั้น ก็ไม่แปลกใจเลยเพราะที่ผ่านมาเราโอบอุ้มกันและกันด้วย ‘ของกินอร่อย’ เสมอๆ : )
.
♡ CUD4S ทำอะไร?
CUD4S หรือศูนย์การออกแบบเพื่อสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมีสถานะเป็นบริษัทที่จุฬาฯ เป็นผู้ถือหุ้นหลักและบริหารจัดการในรูปแบบของ Social Enterprise โดยทำหน้าที่เป็น Collaborative Platform หรือเป็นพื้นที่ส่วนกลางสำหรับการทำงานร่วมกันระหว่างนิสิต นิสิตเก่า นักวิจัย และผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อมาร่วมกันแก้ปัญหา ภายใต้แนวคิดที่ใช้การออกแบบเป็นแกนหลัก ผสมผสานกับวิธีคิดเชิงออกแบบเพื่อเข้าไปตอบโจทย์ความท้าทายสำคัญของสังคม (Social Challenge) ที่ประกอบด้วย 4 โจทย์สำคัญ ได้แก่ ‘งานบริการสาธารณะ’ ‘เศรษฐกิจท้องถิ่น’ ‘สังคมที่เป็นธรรม’ และ ‘ความยั่งยืน‘
.
‘เป้าหมายจริงๆ ของเราคือ การทำให้เรื่องการออกแบบรวมถึง Design Thinking ไปสู่กระบวนการแก้ปัญหาสังคม อีกเป้าหมายหนึ่งคือการเอางานวิจัยลงจากหิ้ง เพื่อให้งานวิจัยที่เฉพาะทางมากๆ นั้น เข้าถึงคนทั่วไปได้ โดยมีหมุดหมายเพื่อถอดงานวิจัยนั้นๆ ออกไปสู่การเป็น Solution ให้กับสังคม สุดท้ายการเก็บข้อมูลจากงานวิจัยก็จะนำไปสู่การสร้าง Prototype หรือการสร้างต้นแบบเพื่อทดสอบต่อไป’ หญิงสาวขยายความหลังจากที่เธอเล่าเกี่ยวกับงานของเธอ ทั้งที่วาดฝันถึงการเข้ามาเพื่อเขียนคอนเทนต์และทำงานด้านการสื่อสาร แต่ก็อกหักนิดหน่อยเมื่อ ‘พี่หนุ่ม’ เจ้านายและเพื่อนร่วมงานคนเดียวที่เธอมีในตอนนี้ บอกกับเธอในวันแรกที่เข้ามาทำงาน ในเดือนกรกฎาคม ปี 2019 ว่า ‘งานนี้จะไม่ค่อยได้เขียนนะ’
.
♡ ‘อกหัก’ แล้วปรับตัวรับยังไง?
หญิงสาวไม่ได้บอกว่าเธออกหัก แต่เพราะ CUD4S ทำงานด้านการออกแบบเพื่อสังคมที่อาศัยความร่วมมือจากหลายๆ ภาคส่วน กระทั่งสร้างการร่วมมือกันเพื่อสร้างผลกระทบหรือการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกผ่านการออกแบบ ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ บริการ รวมไปจนถึงนโยบายสาธารณะ โดยมีกระบวนการทำงานและแบ่งเฟสการทำงานเป็น 4 รูปแบบด้วยกัน อันประกอบไปด้วย เวิร์กชอปการออกแบบอย่างมีส่วนร่วมจากฐานงานวิจัย (Research-based Co-creation Workshop)/ การสร้างต้นแบบเพื่อทดสอบ (Prototyping)/ การระดมทุนสาธารณะ (Crowdfunding) /และการสร้างปฏิสัมพันธ์กับสังคม (Social Engagement) ฉะนั้น หน้าที่หลักของฟ้าใสจึงเป็นเรื่องของการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม เพื่อให้โปรเจคในแต่ละเฟสเกิดขึ้นและเกิดการรับรู้ ผ่านการสื่อสารและการประสานงานกับผู้คน จึงทำให้เรานึกถึงงาน Community Builder ที่เคยทำและมีข้อสงสัยต่อจากนั้นว่า เมื่อต้องเจอกันคนเยอะๆ ทุกวันมากกว่าการเขียนงานอย่างสงบที่เคยทำมา ฟ้าใสรับมือยังไง?
.
‘มันเป็นหนึ่งในชาเลนจ์ของการทำงานนี้เลยหละ เพราะเราไม่ชอบเจอกันเยอะๆ พร้อมกัน ไม่ชอบเจอคนมากๆ ต่อวัน แต่กลับได้พลังจากการทำงานสัมภาษณ์แบบ Deep Conversation’ หญิงสาวย้อนกลับมาเล่าถึงตัวตนและเล่าต่อว่าช่วงที่ผ่านมาเธอใช้เวลาเกือบปีในการเข้าใจงานที่ทำและกำลังปรับตัวในการทำงานเพื่อเดินหน้าต่อ ให้ผลลัพธ์ของงานนั้นออกมาได้ตรงตามเป้าหมายในขณะที่เธอยังสามารถเป็นตัวเองได้อยู่ โดยการปรับจูนรวมไปถึงปรับรูปแบบการทำงานแต่ยังมีทิศทางเดิมคือการสื่อสารและสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมกับสังคม
.
♡ ความเชื่อและผลลัพธ์เป็นรูปธรรมที่อยากเห็น
หญิงสาวบอกว่าอยากเห็นแต่ละโปรเจคสำเร็จ หากพูดในเชิงภาพใหญ่คือ การขับเคลื่อนงานวิจัยให้ไปสู่ Prototype ตลอดไปถึงได้รับเงินระดมทุน
.
‘ตอนที่ทำงานเขียนอย่างเดียว ก็เริ่มสงสัยว่างานเรามันจะ Impact ต่อสังคมยังไง แต่พอมาทำงานนี้ที่การสื่อสารของเราได้มีส่วนในการส่งเสริมงานของ Maker ได้เห็นว่างานสื่อสารที่เราทำนั้น มีส่วนช่วยให้โปรเจคเกิดการรับรู้ในวงสังคมยังไง สิ่งที่เราทำมันเลยมีเป้าหมายและงานเขียนที่เราชอบเลยมีความหมายมากขึ้น’ เธอว่า
.
หญิงสาวเล่าย้อนกลับในวัยเด็กว่า เธอมีต้นทุนในความสนใจปัญหาสังคมมาตั้งแต่เด็กๆ เพราะพ่อแม่เป็นนักกิจกรรมทั้งคู่ การได้ไปค่ายตั้งแต่ยังเล็กทำให้ได้เห็นความแตกต่าง ได้เห็นปัญหา เธอเล่าต่อว่างานนี้สนุกเพราะได้เจาะลึกลงไปในรายละเอียดที่เป็นปัญหาสังคม ได้ลงมือทำจริงและได้เอาความชอบด้านงานเขียนมาช่วยขับเคลื่อนด้วย
.
เพราะงานออกแบบเพื่อสังคมยังเป็นสิ่งที่ใหม่สำหรับสังคมไทย งานออกแบบที่เธอทำจึงไม่ใช่แค่การออกแบบผลิตภัณฑ์เท่านั้น แต่เป็นการออกแบบเพื่อฟังก์ชันการใช้งานว่าออกแบบเพื่อใคร ใช้งานยังไง ที่สำคัญเธอต้องสื่อสารกับคนในสังคมให้ได้ว่าแต่ละงานนั้นจะเกิดประโยชน์ต่อสังคมในวงกว้างอย่างไรบ้าง ฟังใสยังอธิบายต่อว่าสิ่งที่ทำนั้น แม้จะซับซ้อนแต่เธอก็พร้อมจะย่อยรายละเอียดงานเพื่อสื่อสารให้สังคมได้เข้าใจผ่านรูปแบบการทำงานและกิจกรรมที่แตกต่างกันในแต่ละเฟส ทั้งหมดนี้ก็เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมร่วมกันด้วย
.
‘สิ่งที่ทำให้อยู่ตรงนี้ต่อ ก็น่าจะเป็นการมองภาพใหญ่มั้ง เราอยากเห็นมันสำเร็จ เราอยากเห็นมันไปต่อได้จนเกิด Impact ต่อสังคม’ เธอยังเล่าต่อด้วยแววตาประกายถึงโปรเจคล่าสุดที่เกี่ยวกับ Inclusive Society ที่ปลุกปั้นกันตั้งแต่การจัด Workshop เพื่อให้ความรู้ด้านการออกแบบแก่คนพิการ ตลอดจนช่วยให้พวกเขาสามารถต่อยอดความรู้นั้นๆ ในสายอาชีพด้านการออกแบบได้ ‘ทุกคนก็มีความฝัน เราอยากช่วยดึงศักยภาพของเขาออกมา อยากช่วยให้เขาไปถึงตรงนั้นได้ อยากเห็นภาพการ Co-create แล้วมัน Success พอหลับตาแล้วเห็นภาพเนี้ยะ จะรู้สึกว่าเออๆ ไปต่อๆ’ หญิงสาวบอกเราอย่างนั้น
.
♡ ถ้า Define งานที่ทำอยู่ใหม่ จะนิยามว่าอะไร
เพราะการขับเคลื่อนในเรื่องปัญหาสังคมนั้นต้องอาศัย Ecosystem อันประกอบไปด้วยผู้เล่นและภาคส่วนต่างๆ เราโยนคำถามไปที่หญิงสาว ‘คิดว่าตัวเองคือผู้เล่นบทบาทไหนใน Ecosystem นี้?’
.
‘เราไม่ใช่ Maker แต่คิดว่าตัวเองเป็น Supporter หรือเป็น Amplify มันคล้ายๆ กับคนที่ทำหน้าที่เป็น ‘’ล่าม’’ หรือเป็น ‘’สะพาน’’ เพื่อเชื่อมให้คนต่างๆ ได้มาทำงานร่วมกัน ยิ่งพอได้ทำงานนี้จริงๆ ยิ่งเข้าใจว่าหน้าที่นี้ไม่ใช่ใครก็ทำได้ เพราะ Maker เขาก็มีหน้าที่ของเขา เราก็ทำหน้าที่เป็นอีก Role หนึ่ง ซึ่งจุดที่ยืนอยู่มันก็ดีนะ เพราะเรารับรู้ได้ Support คนอื่นจริงๆ ได้ขับเคลื่อนโปรเจคแต่ละโปรเจคให้ไปถึงเป้าหมายได้จริงๆ’ เธอเล่าถึงวิธีการขับเคลื่อนของเธอผ่านการสื่อสารต่อว่า งานสื่อสารที่ทำมันเจาะลึกและกว้าง สิ่งที่เธอทำก็เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเพื่อพาโปรเจคนี้ออกจากจุดเริ่มต้น จนไปถึงฝั่งที่ทุกคนฝันร่วมกันได้
.
.
♡ ความ ‘ยาก’ ของการขับเคลื่อนสังคมผ่านงานนี้
‘งานทุกงานก็ยากทั้งนั้นแหละ’ เธอว่า สิ่งหนึ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำงาน จากหัวหน้าผู้เป็นอาจารย์คือการได้เรียนรู้ว่า ‘ความยาก’ ที่ว่านั้น อาจจะเกิดขึ้นมาจากความคิด ที่เราต่างคิดว่าทุกอย่างจะง่าย ซึ่งความคิดแบบนี้จะทำให้เราไปตีความกับสิ่งที่อยู่ข้างหน้าว่าเป็นเรื่องยาก ‘จริงๆ แล้วค่านิยมเราผิดนะ หมายความว่าเราออกมาสู่โลกการทำงานด้วยค่า Default ที่คิดว่าทุกอย่างควรจะง่าย ควรจะไม่เหนื่อย จริงๆ แล้วความยากต่างหากที่เป็นค่า Default ที่ถูกต้อง’
.
เราเห็นด้วยในสิ่งที่เธออธิบาย หญิงสาวเล่าว่าประสบการณ์และวัยทำให้เธอเข้าใจในแง่มุมนี้
art4d CALENDAR: Design For Society International Forum 2020
งานเสวนาที่จะชวนมาสำรวจความหมายของ "การออกแบบเพื่อสังคม"
.
เตรียมพบกับ งานเสวนาล่าสุดโดยศูนย์การออกแบบเพื่อสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CUD4S) จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบเพื่อสังคมจากนานาชาติ
.
- Deborah Szebeko ผู้ก่อตั้ง Thinkpublic เอเจนซี่ด้านการออกแบบเพื่อสังคมแห่งแรกของอังกฤษ

- Einar Sneve Martinussen ผู้ดำรงตำแหน่ง Chair of Interaction Design จาก the Oslo School of Architecture and Design (AHO)

- Tom Bloxham ผู้ก่อตั้ง Urban Splash บริษัทด้าน regenaration จากสหราชอาณาจักร ที่กวาดรางวัลมาแล้วมากถึง 419 รางวัล

- KELA สำนักงานสวัสดิการสังคมของฟินแลนด์ที่ดูแล KELA BOX นวัตกรรมกล่องของใช้สำหรับเด็กแรกเกิดซึ่งโด่งดังไปทั่วโลก

นอกจากนี้ ยังมีวิทยากรนานาชาติท่านอื่นอีก 4 คน รวมไปถึงวิทยากรชาวไทย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี
.
งานเสวนาจะมีขึ้นในวันที่ 9 - 10 พฤศจิกายน 2020
ณ ห้องสมุดคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ (ผู้ร่วมฟังสามารถถาม-ตอบกับวิทยากรได้)
และรับชมออนไลน์ ผ่านไลฟ์สตรีมมิ่งทาง Facebook: CUD4S
.
ดูตารางการเสวนา และลงทะเบียนร่วมฟังเสวนาที่ห้องสมุด / ทางออนไลน์ได้ที่
http://www.cud4s.arch.chula.ac.th/d4s-international-forum-2020-exhibition/


Design For Society International Forum 2020
.
Organized by Chulalongkorn University Design for Society Centre (CUD4S), the international forum under the topic "Design for Society: What / Why / How" will invites the international professionals speaker to share their experiences.
.
- Deborah Szebeko, Founder of Thinkpublic

- Tom Bloxham, Founder of Urban Splash

- KELA, a Finnish government agency in charge of settling benefits under national social security programs.

Included 4 other international speakers and Thai guest, Abhisit Vejjajiva, Former Prime Minister of Thailand.
.
9 - 10 November 2020
Chulalongkorn Architecture Library
and live streaming via page: CUD4S
.
For agenda & registration at
http://www.cud4s.arch.chula.ac.th/d4s-international-forum-2020-exhibition/




UddC-CEUS จับมือ CUD4S ประสานความร่วมมือโครงการเมืองปี 2564
.
8 ต.ค. 63 - ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) คุณอดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ รองผู้อำนวยการฝ่าย Urban Intelligence และคุณธนพร โอวาทวรวรัญญู ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่าย Urban Solution and Operation ต้อนรับ คุณณัฐพงษ์ จารุวรรณพงศ์ ผู้อำนวยการศูนย์การออกแบบเพื่อสังคม (CUD4S) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หารือรายละเอียดโครงการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานซึ่งจะเกิดขึ้นตลอดปี 2564
.
และในวันจันทร์ที่ 12 ต.ค. 63 ที่จะถึงนี้ ทั้ง 2 หน่วยงานร่วมกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และสมาคมนิสิตเก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จะร่วมกันจัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ THE POTENTIAL BANGKOK เชิญสถาปนิกและนักออกแบบร่วมค้นหาศักยภาพและสร้างสรรค์ไอเดียพัฒนากรุงเทพฯ โดยเปิดโอกาสให้สาธารณะร่วมมีส่วนร่วมผ่านระบบเฟซบุ๊กไลฟ์ สามารถติดตามข่าวสารได้ทางเพจ CUD4S เร็วๆนี้ ครับ
.
x

บริการสาธารณะ อื่นๆใน Bangkok (แสดงผลทั้งหมด)

ชมรม To be number one ชุมชนพัชราภา ฝ่ายบริการลูกค้า Gpbvegas สถานีวิทยุสมัครเล่นมหาวิทย สำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานค GPB ช้อปของถูก - ShopKongg ယာဥ္ေမာင္းလိုင္စင္အျမန္ဝန္ Club CABB สำนักพัฒนาและบำรุงรักษาทาง ตามหา Looking for ฟังเพลง แชร์เพลงเพราะๆ สำนักงานเขตราชเทวี Tangerine Clinic Fiscal Policy Office