เรียนรู้กฎหมายไปกับเรา
ความรู้กฎหมาย เข้าใจง่าย สำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม
😊🙏 ชื่นใจคนไทยรู้กฎหมาย 🙏😊
ความคิดเห็น
วันมหิดล
24 กันยายน วันคล้ายวันสวรรคต
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบัน
.
ด้วยรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้
ข้าพระพุทธเจ้า คณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่
สำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม
#กฎหมายใหม่49 จับกุมเด็กและเยาวชน ต้องคำนึงถึงเกณฑ์อายุ
อายุต่ำกว่า 12 - 18 ปี | รับ VS ไม่รับโทษ?
https://justicechannel.org/format/read/juvenile-justice-2022
.
กระบวนการและขั้นตอนในการจับกุมเด็กและเยาวชนนั้นมีความแตกต่างจากกระบวนการที่ใช้เมื่อจับกุมผู้ต้องหาที่เป็นผู้ใหญ่ โดยกฎหมายหลักที่ใช้ คือ
.
พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553
https://www.krisdika.go.th/librarian/get?sysid=764847&ext=pdf
.
และพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 29) พ.ศ. 2565http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/A/028/T_0001.PDF
.
#เพิ่มเกณฑ์อายุเด็กในกรณีที่เด็กกระทำความผิดอาญา เมื่อมีการจับกุมเด็กและเยาวชน (อายุต่ำกว่า 12 - 18 ปี) กำหนดให้ "ตำรวจ" ต้องแจ้งข้อกล่าวหาและสิทธิตามกฎหมายให้เด็กและเยาวชนทราบ หลังจากนั้นก็ให้นำตัวเด็กหรือเยาวชนไปที่ทำการของพนักงานสอบสวนโดยเร็ว ทำการสอบสวนสอบปากคำ ดำเนินกระบวนการตามกฏหมาย และให้ส่งตัวเด็กหรือเยาวชนที่ถูกจับไปศาลเพื่อตรวจสอบการจับกุมภายในเวลา 24 ชั่วโมง
.
| อายุต่ำกว่า 12 ปี
พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายคุ้มครองเด็ก (พม.) จะต้องดำเนินการ
- สืบเสาะและพินิจข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้อง รวมถึงกำหนดแนวทางคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก
- จัดประชุมผู้เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดแผนแก้ไขฟื้นฟูเด็ก วิธีการคุ้มครองสวัสดิภาพ การยุติการคุ้มครอง รวมถึงการเยียวยาผู้เสียหาย
.
| อายุ 12 – 15 ปี
- แจ้งผู้ปกครอง และแจ้งสถานพินิจฯ สถานพินิจฯ จะมีการสืบเสาะและจัดทำแผนแก้ไข้บำบัดฟื้นฟูส่งให้ตำรวจ/อัยการ/ศาล ภายใน 30 วัน
- นำตัวเด็กส่งต่อศาลเยาวชนและครอบครัว ภายใน 24 ชม
- ศาลเยาวชนและครอบครัวพิจารณาคดี กรณีศาลฯ เห็นว่ายังไม่เห็นสมควรพิพากษาลงโทษ จะดำเนินการว่ากล่าวตักเตือน
ปล่อยตัวชั่วคราว (มี/ไม่มีประกัน) ส่งตัวเด็กไปยังสถานศึกษา/ฝึกอบรม
มอบตัวเด็กให้อยู่กับบุคคล/องค์กรที่ศาลเห็นสมควร หรือกำหนดเงื่อนไขที่จะต้องปฏิบัติตามภานในระยะเวลาที่กำหนด
.
| อายุ 15 – 18 ปี
- กรณีศาลฯ เห็นว่า ยังไม่เห็นสมควรพิพากษาลงโทษ ให้ดำเนินการเช่นเดียวกับเด็กและเยาชนอายุ 12 - 15 ปี
- กรณีศาลฯ เห็นว่า เห็นสมควรพิพากษาลงโทษ : ลดโทษกึ่งหนึ่งของโทษทางกฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดในคดีอาญา
หรือสั่งโอนคดีไปยังศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดาได้ (ถ้าเด็กหรือเยาวชนที่ทำความผิด มีร่างกาย จิตใจ สติปัญญา และนิสัยเหมือนผู้ใหญ่)
.
* เด็กและเยาวชนแม้ไม่ได้รับโทษอาญาแต่ยังต้องรับผิดในทางแพ่งโดยพ่อแม่ต้องร่วมรับผิดชอบด้วย
.
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม>>>
https://www.oja.go.th/TH/childact/
.
กดฟัง :
https://www.youtube.com/watch?v=Uh5K0T5jd6I
.
สอบถามเพิ่มเติม : กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน 02 141 6469 หรือ
www.djop.go.th
.
#กฎหมายน่ารู้ #เด็ก #เยาวชน #ทำความผิด #คดีอาญา #กระบวนการนยุติธรรม #สำนักงานกิจการยุติธรรม #กระทรวงยุติธรรม #อินโฟกราฟิก #ความรู้กฎหมาย
จะทำอย่างไรถ้าวันนึง คุณได้ #ข้อความปริศนา แจ้งว่า “คุณ...ได้รับรางวัลใหญ่ฟรีๆ หรือหลอกให้กดลิ้งในข้อความให้กรอกข้อมูลส่วนตัว เหมือนกับเฮียเพ้งที่อยู่ๆ ก็มีข้อความเข้ามาในมือถือบอกว่า เฮียเพ้งได้รางวัลสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ล่าสุด เอ๊ะ!!!...ชักน่าสงสัยแล้วสิ เรื่องจริงหรือเรื่องหลอกกันเนี้ย!!! ติดตามได้ในการ์ตูน Animation #ชุมชนประชาธรรม ตอน ข้อความปริศนา #รู้เท่าทันอาชญากรรม
.
#สำนักงานกิจการยุติธรรม #กระทรวงยุติธรรม #กองทุนสื่อ #สื่อสร้างสรรค์โอกาสสำหรับทุกคน #สื่อสร้างสรรค์เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
.
https://youtu.be/TEA11XCLXMk
“ตระเตรียมการ” หมายถึง การกระทําการใดๆ อันจะช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวกแก่การลงมือกระทําความผิด หรือการที่ผู้กระทําได้กระทําลงไปเพื่อให้พร้อมที่จะลงมือกระทําความผิดได้สําเร็จในขั้นต่อไป
.
นักกฎหมายได้แยกการกระทำทางอาญาออกได้เป็น 3 วาระคือ
(1) วาระทางจิตใจ คือ ความคิดที่จะกระทำความผิดและการตัดสินใจกระทำความผิด
(2) วาระการเตรียมการ คือ การหาเครื่องไม้เครื่องมือหรือรวบรวมสิ่งต่างๆ สำหรับกระทำความผิด
(3) วาระลงมือกระทำ คือ ใช้เครื่องมือที่หาไว้นั้นกระทำความผิด
ตามปกติแล้วการลงโทษตามกฎหมาย จะลงโทษจากการกระทำที่อยู่ในวาระลงมือกระทำแล้ว เพราะถือว่าเป็นการกระทำที่ใกล้ชิดความผิดสำเร็จแม้ว่าความผิดจะสำเร็จหรือไม่ก็ตาม แต่อย่างไรก็ดีบางกรณีการกระทำที่อยู่ในวาระตระเตรียมการ ผู้กระทำก็อาจได้รับโทษเช่นกันถ้าเป็นกรณีความผิดที่ร้ายแรง
.
ตัวอย่างคำพิพากษา 11794/2554 >>อ่านเพิ่มเติม
https://justicechannel.org/law-in-words/law-word-section5
#กฎหมายน่ารู้ #ศัพท์กฎหมายวันละคำ #ชื่นใจคนไทยรู้กฎหมาย
ไม่ควรมองข้ามเรื่องแจ้งความ เพราะเป็นต้นทางของกระบวนการยุติธรรม
.
#ผู้เสียหาย #ผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหาย #ผู้ได้รับมอบอำนาจจากผู้เสียหาย #ร้องทุกข์ ต่อเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจรับ คำร้องทุกข์ คือ #พนักงานสอบสวน หรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ซึ่งต้องมีเจตนาให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษ โดยระบุอย่างละเอียดว่าต้องการให้ดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดตามกฎหมาย
.
#กระบวนการยุติธรรม #กฎหมายน่ารู้ #คดีอาญา #การดำเนินคดี
#ปลั๊กสามตา #สายไฟ #สวิตช์ไฟฟ้า เป็นสินค้าที่ต้องผ่านการรับรองมาตรฐานสินค้าอุตสาหกรรม หรือ มอก. เพราะเป็นเครื่องมือที่ต้องมีความปลอดภัยสูง หากตรวจสอบผู้ประกอบการผลิตไม่ปฏิบัติตามมาตรฐาน มอก. มีโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
.
อ่านเพิ่มเติม>>
https://justicechannel.org/lawget/lawget176
Q : หย่อนสมรรถภาพทางเพศ ฟ้องหย่าได้หรือไม่?
.
สามีและภรรยา ที่จดทะเบียนสมรสกันอย่างถูกต้องตามกฎหมาย หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหย่อนสมรรถภาพทางเพศ จนไม่สามารถรวมประเวณีกันได้อีก อีกฝ่ายสามารถยื่นฟ้องหย่าได้ แต่ในกรณีที่ผู้ยื่นฟ้องหย่า เป็นผู้กระทำให้อีกฝ่ายหนึ่งหย่อนสมรรถภาพทางเพศ กรณีนี้หมดสิทธิ์ฟ้องหย่าทันที >>> อ่านเพิ่มเติม
https://justicechannel.org/format/read/lawget162
.
#กฎหมายน่ารู้ #สามี #ภรรยา #ฟ้องหย่า #สมรรถภาพทางเพศ #คดีแพ่ง
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 40 ได้บัญญัติไว้ว่า
https://justicechannel.org/law-in-words/law-word-section40
"กักกัน คือการควบคุมผู้กระทำความผิดติดนิสัยไว้ภายในเขตกำหนด เพื่อป้องกันการกระทำความผิด เพื่อดัดนิสัย และเพื่อฝึกหัดอาชีพ"
ผู้กระทำความผิดติดนิสัย คือ บุคคลที่ระบุไว้ใน มาตรา 41 กล่าวคือ ผู้ที่เคยถูกศาลพิพากษาให้กักกันมาแล้ว หรือเคยถูกพิพากษาให้ลงโทษจำคุกไม่ต่ำกว่า 6 เดือนมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง ดังต่อไปนี้
ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาขน มาตรา 209-216
ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดอันตรายต่อประชาชน มาตรา 217-224
ความผิดเกี่ยวกับเงินตรา มาตรา 240-246
ความผิดเกี่ยวกับเพศ มาตรา 276-286
ความผิดต่อชีวิต มาตรา 288-290, 292-294
ความผิดต่อร่างกาย มาตรา 295-299
ความผิดต่อเสรีภาพ มาตรา 309-320
ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ มาตรา 334-340, 354 และ 357
และภายในเวลา 10 ปี นับแต่วันที่ผู้นั้นได้พ้นจากการกักกันหรือพ้นโทษแล้วแต่กรณี ผู้นั้นได้กระทำความผิดอย่างหนึ่งอย่างใด ในบรรดาที่ระบุไว้นั้นอีกจนศาลพิพากษาลงโทษจำคุกไม่ต่ำกว่า 6 เดือน สำหรับการกระทำความผิดนั้น ศาลอาจถือว่าผู้นั้นเป็นผู้กระทำความผิดติดนิสัยและจพิพากษาให้กักกัน มีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี และไม่เกิน 10 ปี ก็ได้
* ความผิดซึ่งผู้กระทำได้กระทำในขณะที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี นั้น มิให้ถือเป็นความผิดที่จะนำมาพิจารณากักกันตามมาตรานี้
ตัวอย่าง : คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 698/2563
คดีนี้โจทก์ฟ้อง ขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรและบรรยายฟ้องด้วยว่า จำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุด ให้ลงโทษจำคุกไม่ต่ำกว่าหกเดือนในความผิดฐานลักทรัพย์มาแล้ว 6 คดี หลังจากพ้นโทษทั้งหกคดีแล้ว
จำเลยกลับมากระทำความผิดคดีนี้อีก ภายในเวลาสิบปีนับแต่จำเลยพ้นโทษ ซึ่งเป็นความผิดที่ระบุไว้ ตาม ป.อ. มาตรา 41 (8) เมื่อความผิดที่โจทก์ฟ้องมิใช่ข้อหาในความผิดที่กฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น จึงไม่อยู่ในบังคับที่ศาลต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำความผิดจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง
เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพในความผิดฐานลักทรัพย์และรับว่าเคยต้องโทษจำคุกและพ้นโทษตามฟ้องจริง โจทก์จึงไม่ต้องนำพยานเข้าสืบ และศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตามคำรับสารภาพดังกล่าวได้ ทั้งเมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามคำให้การของจำเลยว่า จำเลยกระทำความผิดคดีนี้ กับเคยต้องโทษจำคุกและพ้นโทษในคดีอื่นๆ อีก 6 คดี ซึ่งศาลพิพากษาลงโทษจำคุกไม่ต่ำกว่าหกเดือนในความผิดฐานลักทรัพย์และจำเลยกระทำผิดในขณะที่มีอายุเกินกว่าสิบแปดปี จำเลยพ้นโทษในคดีดังกล่าวแล้ว
ภายในเวลาสิบปีจำเลยมากระทำผิดคดีนี้ฐานลักทรัพย์ ซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกเกินกว่าหกเดือนอีก จึงเข้าหลักเกณฑ์ที่ศาลชั้นต้นจะนำมาพิจารณากักกันจำเลย ตาม ป.อ. มาตรา 41 (8) ได้
#กฎหมายน่ารู้ #ศัพท์กฎหมายวันละคำ #ชื่นใจคนไทยรู้กฎหมาย