ความคิดเห็น
กฎใหม่ USDA ป่วนไร่กัญชง THC เกินเกณฑ์อื้อ
สหรัฐอเมริกาได้จัดทำ U.S. H**p Program เพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากพืชกัญชง แต่กฎระเบียบของกระทรวงเกษตรสหรัฐ (USDA) กลับกำหนดให้พืชกัญชงที่ผลิตต้องมีปริมาณ THC รวม ต่ำกว่า 0.3% ซึ่งกลับเป็นปัญหาต่อผู้ผลิตบางส่วน เพราะเดิมผู้ผลิตที่ต้องการผลิตกัญชงเพื่อสกัดสาร CBD จะควบคุมเฉพาะปริมาณ Delta-9 THC ที่เป็นสารสำคัญทำให้มีฤทธิ์เสพติดเท่านั้นให้ไม่เกิน 0.3% แต่เมื่อรวมกับ THC โครงสร้างอื่น ๆ ที่พืชผลิตแล้วจะทำให้ปริมาณ THC รวมเกินเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดและกลายเป็นสินค้าผิดกฎหมาย ส่งผลให้เกษตรกรจำเป็นต้องทำลายผลผลิตดังกล่าว นำมาซึ่งความสูญเสียเป็นอย่างมาก ทั้งนี้การผลิตกัญชงให้มีปริมาณสารตามกำหนดต้องอาศัยการจัดการสภาพแวดล้อมในแปลงปลูกให้เหมาะสมอย่างเข้มงวด ซึ่งเป็นไปได้ยากในสภาพแปลงเปิด จนมีการประเมินว่าพืชกัญชงที่ผลิตราว 42% มีปริมาณสาร THC รวมเกินกำหนด
อนึ่ง โครงการ Early Warning ได้เคยรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์พืชกัญชง-กัญชา ทั่วโลกไว้ในวารสารรายไตรมาส ติดตามได้ใน
https://warning.acfs.go.th/th/e-magazine/?page=67#book/page1
ที่มา : NewsChannel5 สรุปโดย : มกอช.
เคนยาระงับส่งออกอะโวกาโดปรามเก็บผลอ่อน
ผลไม้หลายชนิดจำเป็นต้องรอให้ผลสุกแก่เต็มที่ก่อนการเก็บเกี่ยว แต่การค้าขายและส่งออกสินค้าเกษตรอย่างไม่ซื่อตรงอาจชักนำให้เกษตรกรเร่งเก็บเกี่ยวก่อนเวลาเพื่อช่วงชิงพื้นที่การตลาด หนึ่งในสินค้าดังกล่าว ได้แก่ อะโวกาโด ซึ่งเป็นผลไม้ที่ต้องรอให้สุกแก่ก่อนเก็บเกี่ยว มิฉะนั้นจะไม่สามารถบริโภคได้
เคนยาก็เป็นหนึ่งในประเทศผู้ผลิตและส่งออกอะโวกาโดรายสำคัญของทวีปแอฟริกา ปัญหาการเก็บและส่งออกผลอ่อนจึงนำมาซึ่งความเสียหายต่อภาพพจน์สินค้าของประเทศ ล่าสุด ภาครัฐของเคนยาได้สั่งระงับการส่งออกอะโวกาโดตั้งแต่เมื่อช่วงปลายปี 2564 และต่ออายุมาตรการในช่วงต้นปี 2565 นี้ ครอบคลุมอะโวกาโดพันธุ์ Hass และ Fuerta โดยไม่รวมสายพันธุ์ผลใหญ่ต่าง ๆ และผลผลิตนอกฤดู นอกจากนั้นยังเตือนผู้ส่งออกให้ใช้ผู้แทนจำหน่ายหรือผู้จัดหาที่ขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องเพื่อหลีกเลี่ยงการเพิกถอนใบอนุญาต และให้ผู้ส่งออกบรรจุอะโวกาโดในภาชนะขนส่งอย่างเหมาะสม
ที่มา : CapitalFM
กฎหมายควบคุมการผลิตและจำหน่ายอาหารในประเทศต่าง ๆ ส่วนใหญ่ได้รับการกำหนดไว้ ตามระดับความเสี่ยงของอาหารแต่ละชนิดเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค
ล่าสุดนักวิจัยในฟินแลนด์ได้เปิดเผยรายงานการกระทำผิดเกี่ยวกับกฎหมายอาหารระหว่างปี 2551 – 2562 จำนวน 127 คดี พบว่า 45.7% สัมพันธ์กับความไม่ปลอดภัยของอาหาร และ 2.4 % เป็นสาเหตุต่อการเจ็บป่วยของผู้บริโภคโดยตรง โดยจาก 127 คดี เป็นการฝ่าฝืนดำเนินการโดยไม่ได้รับอนุญาต 43.3% การให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าที่ไม่ถูกต้องหรือสร้างความสับสน 39.4% เอกสารไม่ครบถ้วน 31.5%โดยสถานประกอบการผลิตอาหารเป็นผู้กระทำผิดถึงร้อยละ 51.2%
จากงานวิจัยดังกล่าว ชี้ให้เห็นความสำคัญของการตรวจสอบกำกับดูแลของหน่วยงานรับผิดชอบ ว่ามีผลอย่างยิ่งต่อความปลอดภัยอาหารในประเทศ และยังมีข้อสังเกตเพิ่มเติมว่าโทษทางอาญาเกี่ยวกับอาหารในฟินแลนด์ส่วนใหญ่กำหนดบทลงโทษปรับในจำนวนที่ไม่สูง ซึ่งแตกต่างกับกฎหมายของหลายประเทศในปัจจุบัน
FoodSafetyNews
ผึ้งเป็นแมลงที่อ่อนไหวต่อสารกำจัดศัตรูพืช งานวิจัยล่าสุดจากรวันดาได้เปิดเผยให้เห็นว่าเกษตรกรชาวรวันดาใช้สารกำจัดศัตรูพืชชนิดต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อประชากรผึ้ง เช่น ไซเพอร์เมทริน ซึ่งใช้แพร่หลายในการปลูกพืชผลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ข้าว ข้าวโพด มะเขือเทศ ฯลฯ ซึ่งสารเหล่านี้อาจตกค้างในดินและน้ำ ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อผึ้งได้ โดยพบว่าเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งบางรายสูญเสียผลผลิตไปถึง 90% จากเดิม นอกจากนั้นยังมีข้อค้นพบอีกว่าการทำลายป่าก็เป็นอีกปัจจัยที่ลดประชากรผึ้งและผลผลิตน้ำผึ้ง เพราะผึ้งต้องการดอกไม้ป่าเพื่อเป็นแหล่งอาหาร และการจัดการการเลี้ยงผึ้งที่ยังไม่ถูกต้องก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้ผลผลิตน้ำผึ้งลดลงเช่นกัน ทั้งนี้รวันดาสามารถผลิตน้ำผึ้งได้ประมาณ 4-5 พันตันต่อปี ในขณะที่ความต้องการน้ำผึ้งมีถึง 17,000 ตันต่อปี
ที่มา : Newtimes
ราคาผักตกต่ำจนเกษตรกรขาดทุน
การสร้างตลาดเตรียมไว้ก่อนการลงทุนปลูก และการแปรรูปถนอมอาหาร สร้างมูลค่าเพิ่มได้นับสิบนับร้อยเท่า และยังสร้างอำนาจต่อรองกับตลาดให้เกษตรกร
#WellnessDestination
Since 2019 until now, Covid-19 has globally impacted Social, Environment, Economic Wellness and disrupted many business operations especially tourism, food, and wellness sectors. The pandemic situation also affects the United Naitons Sustainable Development Goals and their 193 member countries including Maldives and Thailand.
While facing challenges on climate change during the pandemic situation, Maldives is one of the very few countries who are still able to demonstrate their commitment and success on Ocean Sustainability, achieving good economic performance, and able to showcase holistic wellness for business, social and environment. This presents a good opportunity to further develop the Sustainable Wellness Destination and green investment.
The signing ceremony on public private partnership today will bring more successful showcases as the business model that benefits our People, Planet, and Prosperity.
We would like to express our gratitude to
H E. Mr Ambassador
the Research & Innovation for Sustainability Center for the initiative and commitment to sustainability and Sustainable Development
Goals
and BIC Bank for contribution to Ocean Sustainability and
look forward to further collaboration.
#SDG8
#SDG12
#SDG14
ร้อยละ 70 ของออกซิเจนที่เราใช้หายใจมาจากมหาสมุทร และอาหารทะเลยังเป็นแหล่งสารอาหารที่สำคัญของมนุษย์และสรรพสัตว์ การบริโภคอย่างยั่งยืนและการท่องเที่ยวอน่างยั่งยืนจึงเริ่มจากการดูแลทะเลให้ยั่งยืน ไม่ทิ้งสารเคมีหรือพลาสติกลงในทะเล และไม่ใช้ทะเลจนเกินขีดจำกัด
#SDG14
Wishing you all a Healthy Happy Prosperous New Year 2022
#CoffeeFest2021
ศูนย์ภูฟ้าพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ จ.น่าน
#PartnershipOnSDGs
Partnership on #SustainableDevelopmentGoals
#WellnessDestination
On-demand Online Digital Platform for the Better Quality Education.
#SDG4