เฝ้าฝุ่น

เฝ้าฝุ่น ข้อมูลการติดต่อ, แผนที่และเส้นทาง,แบบฟอร์มการติดต่อ,เวลาเปิดและปิด, การบริการ,การให้คะแนนความพอใจในการบริการ,รูปภาพทั้งหมด,วิดีโอทั้งหมดและข่าวสารจาก เฝ้าฝุ่น, บริการด้านสังคม, คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยChiang Mai, Chiang Mai.

เมื่อวานนี้ วันที่ 7 มี.ค. 67 เป็นวันที่ประเทศไทยมีสถานการณ์ของฝุ่นละอองขนาดเล็กหนักจริงๆ โดยจะเห็นได้ว่า ในช่วงเช้าของว...
08/03/2024

เมื่อวานนี้ วันที่ 7 มี.ค. 67 เป็นวันที่ประเทศไทยมีสถานการณ์ของฝุ่นละอองขนาดเล็กหนักจริงๆ

โดยจะเห็นได้ว่า ในช่วงเช้าของวันมีฝุ่นที่สะสมตัวเกินค่ามาตรฐานในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง และตอนบนของภาคอีสาน ต่อมาในช่วงสายๆ ฝุ่นได้เริมแพร่กระจายมาสู่ในพื้นที่ทางตอนกลางของภาคอีสาน จนในช่วงบ่ายแก่ๆ ก็ได้เริ่มขยายปกคลุมไปเกือบทั่วทั้งพื้นที่ภาคอีสาน

โดยมีปัจจัยสนับสนุนสถานการณ์ฝุ่นดังกล่าว ด้วยการมีแหล่งกำเนิดคือการเผาชีวมวลในที่โล่งเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากทั่วทั้งประเทศไทย รวมถึงในประเทศเพื่อนบ้านข้างเคียง

ปัจจัยทางด้านสภาพอากาศที่ประเทศไทยมีอากาศร้อนจากอิทธิพลของความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมทั่วทั้งประเทศไทยส่งผลให้อากาศนิ่งไม่ค่อยมีลมพัดพาเป็นสภาวะลมสงบหรือลมอ่อนทำให้มวลอากาศนิ่งและเกิดปรากฏการณ์อากาศปิดหรืออุณหภูมิผกผัน (Temperature Inversion) ใกล้ผิวพื้นโดยเฉพาะในช่วงกลาวคืน ดังนั้น ในห้วงเวลาดังกล่าวเช่นนี้จึงเป็นสภาวะที่เอื้ออำนวยให้ฝุ่นสะสมได้สูงมากขึ้นเรื่อยๆ หากมีการเผาในที่โล่งเกิดขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก

ความเข้มข้นเชิงพื้นที่ของฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ด้วยข้อมูลดาวเทียม Himawari-9 (https://aqmrs.com) และภาพถ่ายดาวเทียม True Colour Image (http://asmc.asean.org/)

สถานการณ์ฝุ่นละอองในเช้าวันนี้...จุดเริ่มต้นของฤดูกาลหมอกควันภาคเหนือวันที่ 7 มีนาคม 2567 เวลา 09.00-10.00 น.จะเห็นได้ว่...
07/03/2024

สถานการณ์ฝุ่นละอองในเช้าวันนี้...จุดเริ่มต้นของฤดูกาลหมอกควันภาคเหนือ
วันที่ 7 มีนาคม 2567 เวลา 09.00-10.00 น.

จะเห็นได้ว่า...พื้นที่ภาคเหนือตอนบนในเกือบทุกจังหวัดมีสถานการณ์ความเข้มข้นของฝุ่นละอองขนาดเล็กเกิดค่ามาตรฐาน โดยแสดงผลเป็นสีแดงบนแผนที่ (>75.1 มคก./ลบ.ม.)

อันเป็นผลมาจากปัจจัยแหล่งกำเนิดฝุ่นจากการเผาชีวมวลในที่โล่งที่ตรวจหาได้ด้วยข้อมูลจุดความร้อนในรอบ 24 ชม. ที่ผ่านมา มีจำนวนที่มากขึ้น ทั้งจากในพื้นที่ภาคเหนือเองและจากประเทศเพื่อนบ้านข้างเคียง

ประกอบกับปัจจัยทางสภาพอากาศ พื้นที่ภาคเหนือส่วนใหญ่มีลมผิวพื้นเป็นลมสงบ (

ทางของฝุ่น...รูปแบบทางพื้นที่การเคลื่อนตัวของฝุ่นละออง ระหว่างวันที่ 7-13 ก.พ. 2567 ที่ผ่านมาโดยจะเห็นได้ว่าในช่วงวันแรก...
15/02/2024

ทางของฝุ่น...

รูปแบบทางพื้นที่การเคลื่อนตัวของฝุ่นละออง ระหว่างวันที่ 7-13 ก.พ. 2567 ที่ผ่านมา

โดยจะเห็นได้ว่าในช่วงวันแรกๆ ฝุ่นได้มีการสะสมตัวมากที่บริเวณทางใต้ของภาคอีสาน (ซึ่งมีการเผาในที่โล่งอยู่เป็นจำนวนมาก) แล้วค่อยๆ ขยับเคลื่อนตัวขึ้นไปเรื่อยๆ ในทิศทางตะวันตกเฉียงเหนือไปสู่ตอนเหนือของภาคอีสานและภาคเหนือ (เป็นพื้นที่ที่มีการเผาในที่โล่งน้อย) โดยลมที่ระดับความสูง 750 ม. น่าจะมีอิทธิพลต่อการเคลื่อนตัวของฝุ่นในห้วงเวลาดังกล่าวเป็นปัจจัยสำคัญ

ความเข้มข้นเชิงพื้นที่ของฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ด้วยข้อมูลดาวเทียม Himawari-9 (https://aqmrs.com)

โครงการยกระดับศูนย์เรียนรู้โดยชุมชนท้องถิ่นและสร้างเครือข่ายวิชาการด้านการรู้รับปรับตัวจากภัยฝุ่น PM2.5 คณะสังคมศาสตร์ ม...
29/01/2024

โครงการยกระดับศูนย์เรียนรู้โดยชุมชนท้องถิ่นและสร้างเครือข่ายวิชาการด้านการรู้รับปรับตัวจากภัยฝุ่น PM2.5 คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพบุคลากรเพื่อเป็นวิทยากรกระบวนการประจำศูนย์เรียนรู้ด้านการรู้-รับ-ปรับตัว (resilience) จากภัยฝุ่น PM2.5 (ครั้งที่ 1) ร่วมกับพื้นที่เครือข่ายได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลไหล่น่าน เทศบาลตำบลกลางเวียง และชมรมจักรยานบ้านกลางเวียง ในวันที่ 26-27 มกราคม 2567 ณ ศูนย์การเรียนรู้บ้านแสงเทียน ศูนย์การเรียนรู้โจ้โก้ ตำบลเมืองจัง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน และห้องประชุมเทศบาลตำบลกลางเวียง โดยมีวิทยากรประจำศูนย์การเรียนรู้มาให้ความรู้ ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และวิธีการเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับการเป็นศูนย์เรียนรู้โดยชุมชนท้องถิ่น เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาศักยภาพวิทยากรประจำศูนย์ในพื้นที่เครือข่ายต่อไป

พื้นที่เผาไหม้ซ้ำซาก (Burnscar) ย้อนหลัง 10 ปี ของประเทศไทย ช่วงระหว่างปี 2557 - 2566“พื้นที่เผาไหม้” บ่งบอกถึง….✅ ความเ...
23/01/2024

พื้นที่เผาไหม้ซ้ำซาก (Burnscar) ย้อนหลัง 10 ปี ของประเทศไทย ช่วงระหว่างปี 2557 - 2566

“พื้นที่เผาไหม้” บ่งบอกถึง….
✅ ความเสียหายจากการเผาไหม้พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง
✅ ด้วยการวิเคราะห์การสะท้อนของคลื่นอินฟาเรด
✅ สามารถแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของใบไม้และความชื้น เป็นตัวชี้วัดความเสียหายที่แท้จริง

🏆อันดับสูงสุดพื้นที่เผาไหม้ซ้ำซากของแต่ละภาคดังนี้🎖️
🥇 ภาคเหนือ >> แม่ฮ่องสอน
🥇 ภาคอีสาน >> ชัยภูมิ
🥇 ภาคกลาง >> อยุธยา และ สุพรรณบุรี
🎗️ ภาคใต้ >> ไม่มี
🥇 ภาคตะวันออก >> สระแก้ว
🥇 ภาคตะวันตก >> ตาก

วันอังคาร ที่ 16 มกราคม 2567 ผศ.ดร.พลภัทร เหมวรรณ (หัวหน้าโครงการ) พร้อมทีมงาน ได้จัดประชุมทำความเข้าใจและออกแบบแนวทางใน...
17/01/2024

วันอังคาร ที่ 16 มกราคม 2567 ผศ.ดร.พลภัทร เหมวรรณ (หัวหน้าโครงการ) พร้อมทีมงาน ได้จัดประชุมทำความเข้าใจและออกแบบแนวทางในการรับมือกับฝุ่นละอองขนาดเล็กระดับพื้นที่ ในพื้นที่เทศบาลตำบลสันนาเม็งและเทศบาลตำบลหนองแหย่ง อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ โดยมีเจ้าหน้าที่เทศบาลและบุคลากรที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุม เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับปัญหาฝุ่น PM2.5 และร่วมออกแบบแนวทางในการรู้รับปรับตัวจากภัยฝุ่น PM2.5 ที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ ณ ห้องประชุมกาสะลอง เทศบาลตำบลสันนาเม็ง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่

ฝุ่นยังคงถูกกักไว้และมีการสะสมตัวในพื้นที่ภาคกลาง ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลของความกดอากาศสูงที่ระดับ 1,500 ม.12 มกราคม 2567...
13/01/2024

ฝุ่นยังคงถูกกักไว้และมีการสะสมตัวในพื้นที่ภาคกลาง ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลของความกดอากาศสูงที่ระดับ 1,500 ม.
12 มกราคม 2567: 09.00-10.00 น. และค่าเฉลี่ยรายวัน
ระบบ aqmrs.com

ความเข้มข้นเชิงพื้นที่ของฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5
ด้วยข้อมูล AOD จากดาวเทียม Himawari-9, JAXA ประเทศญี่ปุ่น และภาพดาวเทียม True Colour Image: http://asmc.asean.org

🎊สวัสดีปีใหม่ และเวลคัมเข้าสู่ปี "เอลนีโญ"!!!🎊🤔ปีใหม่ปีนี้หลายคนคงสงสัยว่า..........🤔❄️ความหนาวเย็นยะเยือกที่เคยสัมผัสหา...
08/01/2024

🎊สวัสดีปีใหม่ และเวลคัมเข้าสู่ปี "เอลนีโญ"!!!🎊

🤔ปีใหม่ปีนี้หลายคนคงสงสัยว่า..........🤔
❄️ความหนาวเย็นยะเยือกที่เคยสัมผัสหายไปไหน!? ❄️
⛈️ด้วยปรากฏการณ์สภาพอากาศแปรปรวน
🤦จึงส่งผลให้ความหนาวเย็นที่ได้รอคอยนั้น มาแบบแป๊บๆ
⛰️วันนี้จะมาอธิบายให้ฟัง......

ความต่าง "เอลนีโญ" กับ "ลานีญา" และผลกระทบต่อไทย
🌎หรือกล่าวได้ว่า "เอลนีโญ"
🔸จะส่งผลให้เกิดฝนตกหนัก ในตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้
🔸และเกิดความแห้งแล้ง อากาศร้อน ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศไทย
🌏ส่วน "ลานีญา" จะเป็นปรากฏการณ์ขั้วตรงข้าม
🔹คือส่งผลให้เกิดความแห้งแล้ง ในตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้
🔹และเกิดฝนตกหนักในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศไทย

✨ซึ่ง "ลานีญา" เป็นสภาวะตรงข้าม "เอลนีโญ" (El Niño)
สามารถเกิดขึ้นได้ทุก 2-3 ปี ✨
♥️โดยปกติจะเกิดขึ้นนานประมาณ 9-12 เดือน
♥️แต่บางครั้งอาจปรากฏอยู่ได้นานถึง 2 ปี นั่นเอง......

🏰ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อปริมาณค่าฝุ่น PM2.5 ในไทย คือ
🟡สภาพอากาศแห้งแล้ง ทำให้ ไฟป่าและฝุ่น PM2.5 มีความรุนแรง
🟡ความกดอากาศ ทำให้ ฝุ่นสะสมในปริมาณมาก
🟡ฝุ่นมาเร็วและมีปริมาณมาก

✨เมื่อรู้ที่มาที่ไปของปรากฏการณ์ เอลนีโญ - ลานีญา✨
🔥จงเตรียมตัวรับมือกับสุขภาพด้วยนะจาาาาา🔥

✨คำศัพท์เกี่ยวกับฝุ่นละอองขนาดเล็ก น่ารู้… ✨ที่ช่วยให้เราเข้าใจสถานการณ์ฝุ่นมากขึ้น‼️
26/12/2023

✨คำศัพท์เกี่ยวกับฝุ่นละอองขนาดเล็ก น่ารู้… ✨

ที่ช่วยให้เราเข้าใจสถานการณ์ฝุ่นมากขึ้น‼️

ที่อยู่

คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยChiang Mai
Chiang Mai
50200

เวลาทำการ

จันทร์ 08:30 - 16:30
อังคาร 08:30 - 16:30
พุธ 08:30 - 16:30
พฤหัสบดี 08:30 - 16:30
ศุกร์ 08:30 - 16:30

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ เฝ้าฝุ่นผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ องค์กรนั้น

ส่งข้อความของคุณถึง เฝ้าฝุ่น:

แชร์