อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่: STeP

อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่: STeP อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Science & Technology Park (STeP)

อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มุ่งเป็นอุทยานวิทยาศาสตร์ชั้นนำของเอเชียที่สามารถใช้ประโยชน์ทรัพยากรของมหาวิทยาลัย เพื่อการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมและเพิ่มมูลค่าแบบองค์รวม


ให้บริการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรม ด้วยงานวิจัยร่วมกับภาคเอกชน การบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี สร้าง Startup ออกแบบบรรจุภัณฑ์นวัตกรรมและสื่อประชาสัมพันธ์ ให้คำปรึกษาแนะนำ รวมทั้งขอรับความคุ้มครองด้านทรัพย์สินทางปัญญา พร้อมบริการห้องปฏิบัติการและโรงงานต้นแบบเทคโนโลยีอย่างครบวงจร

วางกลยุทธ์ เพื่อริเริ่มสิ่งใหม่ ให้องค์กรปรับเปลี่ยน ♟️💡🌱👨‍💼ทำความรู้จัก ‘ ’ นักเพาะเมล็ดพันธุ์ของการเปลี่ยนแปลงใน STeP ...
09/09/2024

วางกลยุทธ์ เพื่อริเริ่มสิ่งใหม่ ให้องค์กรปรับเปลี่ยน ♟️💡🌱👨‍💼
ทำความรู้จัก ‘ ’ นักเพาะเมล็ดพันธุ์ของการเปลี่ยนแปลงใน STeP
______

“ถ้าอยากเปลี่ยน แต่ไม่รู้จะเริ่มยังไง เดี๋ยวเราเริ่มให้”

⠀⠀⠀ประโยคสั้น ๆ แต่เปี่ยมด้วยพลังในการขับเคลื่อนที่ช่วยยืนยันสร้างความมั่นใจให้กับผู้ฟังว่า การเปลี่ยนแปลงนั้นจะเป็นไปได้ และไม่จำเป็นต้องทำคนเดียว

ประโยคที่ว่านี้ เราได้จากการพูดคุยกับ ทีมกลยุทธ์ การริเริ่ม และการปรับเปลี่ยนองค์กร (Strategy, Initiative and Transformation) หรือทีม SIT ผู้รับหน้าที่ออกแบบและวางกลยุทธ์ในการพัฒนาการทำงานของอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (STeP) และเป็นก้าวแรกเสมอ ของการเปลี่ยนแปลงในองค์กร

⠀⠀⠀วันนี้ เราจึงอยากพาทุกคนมาทำความรู้จักงานของ ทีม SIT หรือที่มีชื่อเล่นว่า ‘ #ทีมกลยุทธ์’ ให้ดีขึ้นอีกสักนิด ในฐานะอีกหนึ่งกลุ่มคนสำคัญผู้อยู่เบื้องหลังการขับเคลื่อนของ STeP


♟️ วางกลยุทธ์

⠀⠀⠀‘การไม่หยุดอยู่กับที่’ ถือเป็นหนึ่งในคุณสมบัติสำคัญขององค์กรยุคใหม่ โดยเฉพาะในหน่วยงานอย่าง STeP ซึ่งมีขอบเขตงานเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี นวัตกรรม ธุรกิจ และการสร้างสรรค์ความเป็นไปได้ใหม่ ๆ เราจึงต้องคอยผลักดันตัวเองให้พัฒนาไปข้างหน้าอยู่เสมอ เพื่อให้คงการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุดไว้ได้อย่างต่อเนื่อง

แต่การจะพัฒนาในภาพใหญ่ขององค์กรนั้น จำเป็นต้องมีเป้าหมาย การกำหนดทิศทาง และแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจน ทำให้ทีม SIT ต้องเข้ามาทำหน้าที่ในการศึกษา วิเคราะห์-สังเคราะห์ และวางแผน เพื่อให้ได้มาซึ่งกลยุทธ์ในการพัฒนาองค์กรในด้านต่าง ๆ

⠀⠀⠀“ทรัพยากรที่สำคัญขององค์กรเราคือ ‘คน’ การพัฒนาคนเท่ากับการพัฒนาองค์กร”

⠀⠀⠀กลยุทธ์ของทีม SIT จึงเป็นการมุ่งไปที่การวางแผนเพื่อพัฒนาบุคลากรเป็นหลัก โดยมักตั้งต้นจากการสังเกตเห็นปัญหาหรือความต้องการในการทำงานของแต่ละทีม จากนั้นจึงนำมาสังเคราะห์เพื่อสร้างเป็นแผนกระบวนการที่เหมาะสมสำหรับเข้าไปอุดช่องว่างเหล่านั้น ซึ่งเป็นได้ทั้งการเสริมองค์ความรู้ การเพิ่มทักษะ การมองหาเครื่องมือหรือวิธีการทำงานใหม่ ๆ ที่สามารถเข้ามาช่วยให้ประสิทธิภาพในการทำงานของพวกเขาดีขึ้น โดยหนึ่งในความท้าทาย คือการต้องจัดการกับปัญหาและความต้องการในการทำงานของแต่ละทีมที่แตกต่างกัน และการทำอย่างไรให้พวกเขาโอบรับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น


💡 ริเริ่มสิ่งใหม่

⠀⠀⠀‘การพัฒนา’ ในบางครั้งอาจหมายถึงการปรับเปลี่ยนไปสู่สิ่งใหม่ แต่ใช่ว่าทุกการเปลี่ยนแปลงจะทำได้โดยง่าย

ทีม SIT เข้าใจเงื่อนไขข้อนี้ดี จากการจัดกิจกรรม ‘Hackathon’ ซึ่งเป็นการรวบรวมตัวแทนบุคลากรจากแต่ละทีมของ STeP เพื่อวิเคราะห์ปัญหาที่พบเจอในการทำงานร่วมกัน จากนั้นจึงนำโจทย์ที่ได้ มาหาแนวทางการแก้ไขพัฒนาให้ระบบการทำงานดีขึ้น

อย่างไรก็ตาม แม้จะได้แนวทางมาแล้ว ในบางครั้งก็ยังยากเกินไปสำหรับแต่ละทีมในการนำไปปรับใช้ ทีม SIT จึงเลือกเป็น ‘ผู้เริ่ม’ ลงมือทำก่อน โดยทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญหรือนักพัฒนาระบบต่าง ๆ ทั้งการศึกษาค้นคว้าข้อมูล การทดลองใช้เครื่องมือ ไปจนถึงการวางระบบต้นแบบ (Prototype) ที่สามารถรันกระบวนการได้ จากนั้นจึงส่งไม้ต่อไปยังทีมเจ้าของโจทย์ให้นำไปใช้ในการดำเนินงานจริง ด้วยเจตนารมณ์ที่อยากผลักดันให้แผนการพัฒนาสามารถเกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม และอีกส่วนหนึ่งก็เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ทำให้ทุกคนไม่กลัวที่สร้างการเปลี่ยนแปลง

⠀⠀⠀“เราเชื่อว่าพนักงานของเรามีศักยภาพมากกว่าที่แสดงออก เราจึงพยายามเอื้อทุกอย่างให้เขาสามารถดึงศักยภาพตัวเองออกมา อยากให้ทุกการเข้าประชุมเกิดความรู้สึกที่ว่า ‘เราทำได้สิ’”


📈 ให้องค์กรปรับเปลี่ยน

⠀⠀⠀หนึ่งในการเปลี่ยนโฉมครั้งใหญ่ของ STeP คือการปรับโครงสร้างมาใช้แนวคิดการทำงานแบบ ‘Agile’ ซึ่งแบ่งจาก 8 ทีม เป็น 22 ทีม ตามโฟกัสของงาน เพื่อให้ตอบโจทย์การทำงานส่วนใหญ่ที่มีลักษณะเป็น Project-based (งานรูปแบบโครงการ) โดยผู้ที่อยู่เบื้องหลังการปรับเปลี่ยนครั้งนี้คือทีม SIT ซึ่งปัจจุบันยังคงสานต่อการให้ความรู้เรื่องแนวคิด Agile และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่าง Scrum อย่างต่อเนื่อง ทั้งแก่บุคลากรใน STeP และบุคลากรจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อผลักดันให้องค์กรสามารถทำงานด้วยระบบ Agile อย่างเต็มรูป ไปพร้อม ๆ กับการกระจายองค์ความรู้ไปยังองค์กรใกล้เคียงเพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับองค์กรของตนเองได้

นอกจากนี้ทีม SIT ยังเป็นส่วนสำคัญในการปรับเปลี่ยนองค์กรไปสู่การเป็น Digital Transformation ซึ่งเป็นการพัฒนาโครงสร้างการทำงานภายในองค์กรผ่านการนำและประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ช่วยลดความซับซ้อนของขั้นตอนการทำงาน เพิ่มความคล่องตัวให้ระบบเอกสารต่าง ๆ โดยเฉพาะในฝั่งของการเงินและการจัดซื้อจัดจ้าง


⠀⠀⠀แผนการพัฒนา STeP ของทีม SIT ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง สะท้อนผลลัพธ์ผ่านการทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพของทีมอื่น ๆ ภายในองค์กร รวมถึงเมล็ดพันธุ์ของการพร้อมจะเป็นผู้เริ่มการเปลี่ยนแปลงให้กับทุกคน 🌱

⠀⠀⠀ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ประกอบการที่อยากพัฒนาสินค้า แต่ไม่รู้จะเริ่มยังไง นักวิจัยที่อยากจดสิทธิบัตรผลงาน แต่ไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหน เจ้าของกิจการที่อยากขยายธุรกิจ แต่ไม่รู้จะเริ่มปรึกษาใคร สามารถติดต่อบอกความต้องการของคุณได้ที่ทุกช่องทางการติดต่อของ CMU STeP หรือเดินทางมาหาเราโดยตรงได้ที่ อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ ภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่) 📍 https://maps.app.goo.gl/cskt3Qa1oU4Wbqr66

ถ้าอยากเปลี่ยน แต่ไม่รู้จะเริ่มยังไง เดี๋ยวเราเริ่มให้ เพราะ STeP เราทำอะไรได้อีกเยอะ 😁

_______

🖥️ อ่านต่อบนเว็บไซต์ : https://cmu.to/8h556
หรือทำความรู้จักทีมอื่น ๆ จาก STeP ที่ : https://cmu.to/STePKnowWhatWeDo

#กลยุทธ์องค์กร

ผู้เชี่ยวชาญชี้ ในอนาคตอันใกล้การประเมินงานวิชาการใช้ AI เป็นหลัก 📚🤖✍️ เพื่อความรวดเร็ว โดยเฉพาะวารสารทางวิทยาศาสตร์____...
09/09/2024

ผู้เชี่ยวชาญชี้ ในอนาคตอันใกล้
การประเมินงานวิชาการใช้ AI เป็นหลัก 📚🤖✍️
เพื่อความรวดเร็ว โดยเฉพาะวารสารทางวิทยาศาสตร์
____________

อย่างที่ทุกคนทราบ ว่าในปัจจุบันปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ได้แผ่ขยายบทบาทของตนไปทั่วทุกวงการแล้ว ไม่เว้นแม้กระทั่งวารสารวิชาการทางวิทยาศาตร์ ที่ล่าสุดมีผู้เชี่ยวชาญออกมาให้ความเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงนี้
Howard Bauchner, MD อดีตหัวหน้าบรรณาธิการของ Journal of the American Medical Association ได้ออกมากล่าวไว้ว่าในอนาคตอันใกล้มากๆ AI จะมีบทบาทสำคัญในการช่วยการเขียนต้นฉบับงานวิชาการทางวิทยาศาสตร์ การทบทวนวรรณกรรม และแม้กระทั่งการเข้ามาเป็นตัวช่วยแก่บรรณาธิการในการเลือกบทความที่ดีสำหรับการตีพิมพ์ในวารสาร
โดยบาวเนอร์ได้อธิบายว่าตามความเห็นของเขา AI จะได้รับบทบาทที่เพิ่มขึ้นในวงการวารสารทางวิทยาศาสตร์ในอย่างน้อยสองด้าน ได้แก่ การทบทวนคุณภาพของบทความที่แต่ก่อนทำโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และการร่างต้นฉบับ เนื่องจาก AI สามารถช่วยให้บรรณาธิการเพิ่มคุณภาพของวารสารได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อบรรณาธิการประสบปัญหาในการหาผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเหมาะสม
แต่เมื่อ AI สามารถคาดการณ์เหล่าปัจจัยที่สามารถสร้างผลกระทบต่อวารสารได้ บาวเนอร์จึงได้ตั้งคำถามต่อไปด้วย ว่าบรรณาธิการควรใช้ข้อมูลเหล่านั้นด้วยท่าทีแบบไหน ซึ่งเขาเสนอให้บรรณาธิการพิจารณาถึงวิสัยทัศน์และพันธกิจของวารสารก่อน และว่าบทความใดที่สามารถช่วยเสริมสร้างคุณค่าให้กับวารสาร ไม่ใช่เชื่อ AI แบบไม่ตั้งคำถาม เพราะไม่อย่างนั้นวารสารทุกฉบับก็จะเหมือนกันไปหมด
บาวเนอร์ยังเน้นย้ำในตอนสุดท้ายด้วย ว่า AI จะไม่เข้ามาแทนที่งานบรรณาธิการหรือผู้ทรงคุณวุฒิ แต่จะทำให้การประเมินต้นฉบับมีความรวดเร็วและมีคุณภาพมากขึ้น ดังนั้นทุกคนจึงควรตระหนักถึงประโยชน์ที่ AI มอบจะให้ได้แล้ว

นวัตกรรมหุ่นยนต์ใหม่เส้นใยเชื้อราควบคุมหุ่นยนต์ 🍄🦾🤖เพิ่มการตอบสนองให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม____________การสร้างหุ่นยนต์ต้...
08/09/2024

นวัตกรรมหุ่นยนต์ใหม่
เส้นใยเชื้อราควบคุมหุ่นยนต์ 🍄🦾🤖
เพิ่มการตอบสนองให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม
____________

การสร้างหุ่นยนต์ต้องใช้เวลาและทักษะทางเทคนิค รวมถึงวัสดุที่เหมาะสม และในบางครั้ง อาจมีการใช้ ‘เชื้อรา’ ด้วย!?
เพราะล่าสุด ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยคอร์เนลได้ออกมาบอกว่าพวกเขากำลังพัฒนาหุ่นยนต์ไบโอไฮบริด โดยใช้เส้นใยเชื้อราหรือไมซีเลียที่พบตามพื้นป่าเป็นส่วนประกอบ โดยมุ่งหวังให้เส้นใยเชื้อรานี้ช่วยให้หุ่นยนต์ตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมได้ดีกว่าหุ่นยนต์ที่ใช้วัสดุสังเคราะห์เพียงอย่างเดียว ผ่านการใช้สัญญาณไฟฟ้าจากไมซีเลียเป็นการควบคุม
บทความนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Science Robotics โดยมี Anand Mishra เป็นผู้นำทีมวิจัย และ Rob Shepherd ศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมเครื่องกลและการบินและอวกาศที่มหาวิทยาลัยคอร์เนลมาร่วมให้ความเห็น
“นี่เป็นรายงานฉบับแรกในหลายฉบับที่นำเสนอการใช้เชื้อราในการตรวจจับสภาพแวดล้อมและส่งสัญญาณคำสั่งไปยังหุ่นยนต์ เพื่อปรับปรุงการทำงาน” Shepherd กล่าว
“ด้วยการปลูกไมซีเลียให้เป็นส่วนหนึ่งของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในหุ่นยนต์ เราสามารถทำให้หุ่นยนต์ไบโอไฮบริดสามารถรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมได้ โดยในการทดลองนี้ เราใช้แสงเป็นสัญญาณนำเข้าให้ไมซีเลียรับรู้ แต่ในอนาคตเราอาจลองใช้เป็นสารเคมี ซึ่งอาจช่วยให้หุ่นยนต์สามารถประเมินเคมีในดินและตัดสินใจ ว่าเมื่อใดที่ควรใส่ปุ๋ยเพิ่มเติมเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม”
เนื่องจากไมซีเลียเป็นส่วนประกอบใต้ดินของเห็ด ซึ่งมีความสามารถในการรับรู้และตอบสนองต่อสัญญาณทางเคมีและชีวภาพต่างๆ ดังนั้นในมุมของทีมวิจัย ความเป็นไปได้นี้จึงไม่ไกลเกินเอื้อมเลย
“เพราะระบบสิ่งมีชีวิตตอบสนองต่อการสัมผัส แสง และความร้อน รวมถึงตอบสนองต่อสิ่งที่ไม่รู้ เช่น สัญญาณที่ไม่คุ้นเคย” Mishra กล่าวเสริม
“ดังนั้นเพื่อให้หุ่นยนต์ในอนาคตสามารถทำงานในสภาพแวดล้อมที่ไม่แน่นอนได้ เราควรใช้ระบบที่มีชีวิตเหล่านี้ เพราะหากมีข้อมูลใหม่เข้ามา หุ่นยนต์จะได้สามารถตอบสนองต่อมันได้ กล่าวคือหลังจากนี้แม้ว่าในสภาพแวดล้อมแบบไหน การผสานกันของสิ่งมีชีวิตและหุ่นยนต์อาจเป็นคำตอบที่ทำให้หุ่นยนต์ปรับตัวได้อย่างไม่หยุดยั้ง”

ทีมวิจัยเกาหลีใต้พัฒนาสำเร็จล้อที่สามารถปรับตัวได้ตามพื้นผิว 🛞🛞😁 สร้างประโยชน์มหาศาลต่อผู้ที่ใช้วีลแชร์____________สถาบั...
07/09/2024

ทีมวิจัยเกาหลีใต้พัฒนาสำเร็จ
ล้อที่สามารถปรับตัวได้ตามพื้นผิว 🛞🛞😁
สร้างประโยชน์มหาศาลต่อผู้ที่ใช้วีลแชร์
____________

สถาบันเครื่องจักรและวัสดุแห่งเกาหลี (KIMM) ได้พัฒนาวงล้อแบบใหม่ที่มีความสามารถในการปรับความแข็งเพื่อเอาชนะสิ่งกีดขวางได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยแรงบันดาลใจมาจากการศึกษาความตึงผิวของหยดน้ำ ทำให้วงล้อนี้มีศักยภาพที่จะปรับตัวให้เข้ากับภูมิประเทศต่าง ๆ ซึ่งสามารถนำไปใช้กับผู้ใช้วีลแชร์ได้อย่างน่าอัศจรรย์
D**g Il Park หัวหน้าศูนย์วิจัยวิทยาการหุ่นยนต์ขั้นสูงของ KIMM ได้กล่าวถึงการค้นพบนี้ ว่านี่จะเป็นเทคโนโลยีที่สามารถช่วยเอาชนะข้อจำกัดของอุปกรณ์กลไกทั่วไป เพราะล้อที่พัฒนาใหม่ไม่ต้องการเซ็นเซอร์หรือเครื่องจักรที่ซับซ้อน แต่ประกอบไปด้วยบล็อกโซ่อัจฉริยะและระบบซี่ลวด ช่วยให้ล้อสามารถปรับความแข็งได้ตามสภาพภูมิประเทศ เช่น สามารถแข็งตัวเมื่อเคลื่อนที่บนพื้นเรียบ และสามารถย้วยเปลี่ยนรูปแบบเมื่อเจอสิ่งกีดขวาง
ส่วนการทดสอบและผลลัพธ์ KIMM ได้ทำการทดสอบล้อรุ่นต้นแบบแล้ว ร่วมกับรถวีลแชร์สองล้อ โดยพบว่าล้อแบบใหม่สามารถเอาชนะอุปสรรคและปรับตัวได้ดีในพื้นที่ที่มีภูมิประเทศต่างๆ ตัวอย่างเช่น รถเข็นสามารถไต่ขั้นบันไดที่สูง 18 เซนติเมตรได้อย่างง่ายดาย นอกจากนี้ยังสามารถเอาชนะสิ่งกีดขวางที่สูงกว่ารัศมีถึง 1.3 เท่าเมื่อใช้กับรถสี่ล้ออีกด้วย
โดยการพัฒนาวงล้อนี้ถือเป็นการก้าวกระโดดที่สำคัญในด้านเทคโนโลยีการเคลื่อนที่ และมุ่งหวังที่จะปรับปรุงชีวิตประจำวันของผู้ใช้รถเข็นและเพิ่มความสะดวกสบายในการเคลื่อนที่ผ่านสิ่งกีดขวางในอนาคต

ทำไมโดยค่าเฉลี่ย ผู้หญิงถึงมีเสียงสูงมากกว่าผู้ชาย?🎙️🎤🧑👩🏻___________________ เสียงของมนุษย์มีความหลากหลาย แต่ด้วยความเข้...
06/09/2024

ทำไมโดยค่าเฉลี่ย ผู้หญิงถึงมีเสียงสูงมากกว่าผู้ชาย?
🎙️🎤🧑👩🏻
___________________
เสียงของมนุษย์มีความหลากหลาย แต่ด้วยความเข้าใจทั่วไปและตามการวิเคราะห์ทางการแพทย์ เสียงที่มาจากผู้หญิงนั้นมีค่าเฉลี่ยเสียงที่สูงกว่าผู้ชาย โดยจากทั้งปัจจัยทางกายภาพและชีววิทยาหลายประการ
ถึงกระนั้น ในบางกรณี ผู้ชายก็อาจมีเสียงที่สูงมากจนทำให้คล้ายคลึงกับเสียงของผู้หญิงหรือเกินกว่าค่าเฉลี่ยของผู้หญิงเสียอีก ดังนั้นในบทความนี้ เราจึงอยากชวนทุกคนมาสำรวจสาเหตุที่ทำให้เกิดความแตกต่างในค่าเฉลี่ยเสียงของเพศชายและเพศหญิงกัน และเหตุผลที่บางครั้งผู้ชายอาจมีเสียงสูงกว่าผู้หญิงได้
เริ่มที่คำถามแรก ทำไมผู้หญิงมีค่าเฉลี่ยเสียงที่สูงกว่าผู้ชาย❓
ว่ากันด้วยปัจจัยแรกและปัจจัยสำคัญกันก่อน นั่นคือโครงสร้างทางกายภาพของกล่องเสียง
เนื่องจากกล่องเสียง (Larynx) คืออวัยวะสำคัญในการผลิตเสียง ที่ปริมาณและความหนาของเส้นเสียง (Vocal cords) เป็นตัวระบุความสูงของเสียงได้ ตรงนี้เองที่ผู้หญิงแตกต่างกับผู้ชาย เพราะเส้นเสียงของผู้หญิงมักจะสั้นกว่าและมีความบางกว่า ทำให้สามารถผลิตความถี่เสียงที่สูงกว่า และในทางกลับกัน เส้นเสียงของผู้ชายที่หนาและยาวกว่า จึงส่งผลให้เสียงมีความต่ำกว่านั่นเอง
ส่วนปัจจัยที่สองคือฮอร์โมนเพศ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศที่เกิดขึ้นในช่วงวัยรุ่นมีผลต่อการพัฒนาเสียงในระยะยาว อย่างฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนที่เพิ่มขึ้นในผู้ชายทำให้กล่องเสียงใหญ่ขึ้นและเกิดเสียงที่ลึกกว่า ส่วนฮอร์โมนเอสโตรเจนในผู้หญิงไม่ได้ทำหน้าที่แบบนี้ จึงยังช่วยรักษาเสียงให้ยังคงสูงอยู่

ปัจจัยสุดท้ายคือพฤติกรรมทางสังคมและการพูด เพราะเสียงไม่เพียงแต่เกิดจากการสร้างทางกายภาพเท่านั้น แต่ยังถูกกำหนดโดยพฤติกรรมทางสังคม อย่างในบางวัฒนธรรม ผู้หญิงอาจรู้สึกถึงความคาดหวังในการมีเสียงที่สูงและนุ่มนวล ทำให้พวกเขาปรับเสียงให้สูงขึ้นตามสภาพแวดล้อม
จากปัจจัยทั้งหมดนี้เอง ที่ให้ในปัจจุบันความถี่เสียงเฉลี่ยในผู้ชายจะอยู่ในช่วงประมาณ 85-180 Hz ในขณะที่ผู้หญิงจะมีความถี่เสียงเฉลี่ยอยู่ที่ 165-255 Hz ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างอย่างชัดเจนในเสียงระหว่างเพศ

ทำไมในบางกรณีผู้ชายถึงมีเสียงสูงมากๆ ราวกับผู้หญิง❓
หลักๆ ของคำตอบจากคำถามนี้ คือปัจจัยทางกายภาพที่ในแต่ละบุคคลล้วนแตกต่างกันไป อย่างผู้ชายบางคนอาจมีลักษณะทางกายที่ทำให้เกิดเสียงที่สูงมาก หรืออาจมีความแตกต่างในโครงสร้างกล่องเสียงหรือเส้นเสียงที่ส่งผลให้เสียงของพวกเขาสูงขึ้น ส่วนอีกปัจจัยคือการฝึก อย่างผู้ชายบางคนที่ทำอาชีพเป็นนักร้องหรือนักแสดง พวกเขาต่างได้รับการฝึกฝนให้สามารถควบคุมเสียงของตนได้ดี ซึ่งอาจทำให้สามารถผลิตเสียงในช่วงความถี่ที่สูงได้ ส่งผลให้เกิดเสียงที่คล้ายกับเสียงของผู้หญิง นอกจากนี้ การฝึกฝนความสามารถในการใช้เสียง เช่น การร้องเพลงอาจทำให้เสียงของพวกเขามีความหลากหลายขึ้นด้วย
จะเห็นได้ว่าค่าเฉลี่ยเสียงที่สูงกว่าของผู้หญิงเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ชายเกิดจากหลายปัจจัยที่ซับซ้อน แต่ในขณะเดียวกัน ผู้ชายบางคนก็สามารถมีเสียงที่สูงเหมือนผู้หญิงได้เช่นกัน เสียงจึงเป็นเอกลักษณ์ส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน แต่ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย สูงหรือต่ำ เราเชื่อว่าทุกสรรพเสียงล้วนมีเอกลักษณ์และควรค่าแก่การถูกรับฟังทั้งนั้นนะ

🇹🇭🇱🇦 STeP ส่งมอบเทคโนโลยีควบคุมความเสี่ยงด้านอาหารสู่ประเทศเพื่อนบ้าน เร่งพัฒนานวัตกรรมอาหารปลอดภัย ในยุค New Normal ✨--...
05/09/2024

🇹🇭🇱🇦 STeP ส่งมอบเทคโนโลยีควบคุมความเสี่ยงด้านอาหารสู่ประเทศเพื่อนบ้าน เร่งพัฒนานวัตกรรมอาหารปลอดภัย ในยุค New Normal ✨
---------------------------

💡อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (STeP) เยือนหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จัดกิจกรรม Technology Dissemination ครั้งที่ 2 ในโครงการ “การควบคุมความเสี่ยงด้านความปลอดภัยและความมั่นคงด้านอาหารด้วยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมกับชีวิตวิถีใหม่ (Control in Food Safety and Security Using Appropriate Innovative Technology for New Normal Project) ภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง-ล้านช้าง ประจำปี พ.ศ.2564 เพื่อติดตามการถ่ายทอดและต่อยอดเทคโนโลยีเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์จำนวนทั้งหมด 2 เครื่องร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ ในระหว่างวันที่ 3 – 6 กันยายน 2567 ที่ผ่านมา
👉 โดยงานนี้ STeP ยังได้นำทีมสตาร์ทอัพท้องถิ่นและเทคโนโลยีเพื่อชุมชน และทีมกลยุทธ์ การริเริ่ม และการปรับเปลี่ยนองค์กร ของอุทยานฯ พร้อมด้วยอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มช. นำโดย รศ.ดร.ศิวะ อัจฉริยวิริยะ และรศ.ดร.อารีย์ อัจฉริยวิริยะ เข้าร่วมกิจกรรมฯ อีกทั้งร่วมลงพื้นที่กลุ่มเป้าหมายร่วมกับผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัยจาก Souphanouvong University ณ ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ และผู้ประกอบการต้นแบบบ้านผาโออีกด้วย
🤝♻ ซึ่งตลอดระยะเวลารวม 3 ปี ที่ผ่านมานั้น อุทยานฯ ได้ดำเนินโครงการเกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางอาหารในพื้นที่เป้าหมาย ได้แก่ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการความปลอดภัยด้านอาหารแก่ผู้ผลิตอาหารและร้านอาหารที่เข้าร่วมโครงการ และส่งมอบผลิตภัณฑ์อาหารที่มีความปลอดภัยและคุณภาพ พร้อมทั้งสร้างความยั่งยืนและโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญให้กับชุมชนท้องถิ่นและวิสาหกิจท้องถิ่น และพัฒนามาตรฐานด้านการดำเนินชีวิตของกลุ่มประเทศแม่โขงล้านช้างต่อไป


มช. ลงนาม MOU ร่วมกับ ธ.ก.ส. ยกระดับเครือข่ายสมุนไพรไทย เพิ่มโอกาสทางธุรกิจด้วยเทคโนโลยีพลังงานสะอาด------------- วันที่...
05/09/2024

มช. ลงนาม MOU ร่วมกับ ธ.ก.ส. ยกระดับเครือข่ายสมุนไพรไทย
เพิ่มโอกาสทางธุรกิจด้วยเทคโนโลยีพลังงานสะอาด
-------------

วันที่ 5 กันยายน 2567 เวลา 15.00 น. ณ Training Hall (D405) อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่) รศ.ดร.ปิติวัฒน์ วัฒนชัย ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ได้เข้าร่วมกิจกรรมลงนาม บันทึกความเข้าใจ (MOU) “โครงการยกระดับผู้ประกอบการ เกษตรกรและชุมชนภายใต้ความร่วมมือ” ระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) โดยมี ผศ.ดร.ธัญญานุภาพ อานันทนะ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคุณณรงค์ ขันติวิริยะกุล รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ร่วมลงนามดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้มีการนำเทคโนโลยีพลังงานสะอาดและนวัตกรรมมาปรับเปลี่ยนการแปรรูป จากการแปรรูปขั้นพื้นฐาน สู่การแปรรูปขั้นสูง และเพื่อยกระดับการพัฒนาเครือข่ายผู้ปลูกพืชสมุนไพร สู่การเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนวัตถุดิบ การตลาด และองค์ความรู้


#เภสัชศาสตร์ #พลังงานสะอาด #ธกส #ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

Keedoozle 🧺🏪🕹️ #ร้านขายของอัตโนมัติแรกของโลก นวัตกรรมสุดเจ๋งที่เจ๊งไม่เป็นท่าเพราะมาก่อนกาล ______⠀⠀⠀สำหรับคนที่เติบโตใน...
05/09/2024

Keedoozle 🧺🏪🕹️
#ร้านขายของอัตโนมัติแรกของโลก
นวัตกรรมสุดเจ๋งที่เจ๊งไม่เป็นท่าเพราะมาก่อนกาล
______

⠀⠀⠀สำหรับคนที่เติบโตในช่วงยุคเปลี่ยนผ่าน คงได้เห็นวิวัฒนาการของร้านขายของชำมาไม่น้อย ตั้งแต่การเป็นร้านค้าปลีกที่เราเรียกกันว่า ‘โชห่วย’ เข้าสู่ยุคของร้านสะดวกซื้อ จนมาในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนในการจับจ่ายซื้อของมากขึ้น ทำให้เราเริ่มได้เห็นร้านขายของชำอัตโนมัติที่ไร้พนักงาน ทำงานด้วยระบบเซ็นเซอร์รอบร้านที่ได้รับการพัฒนามาอย่างดี ให้ลูกค้าได้เลือกหยิบสินค้าและชำระเงินด้วยตัวเองอย่างสะดวกสบาย แม่นยำ และปลอดภัย

ร้านขายของชำอัตโนมัติ จึงเปรียบเสมือนภาพการจับจ่ายซื้อขายในโลกอนาคต ทว่านวัตกรรมนี้ก็ไม่ใช่สิ่งใหม่อีกเช่นเคย เพราะเมื่อราว 90 ปีก่อน เคยมีนักธุรกิจหัวใสที่ปิ๊งไอเดีย ตั้งร้านขายของชำอัตโนมัติแห่งแรกของโลกขึ้นมา ด้วยความมุ่งมั่นที่อยากจะพลิกโฉมการจับจ่ายของชาวอเมริกันให้ก้าวล้ำไปอีกระดับ 💡


⠀⠀⠀ร้านขายของอัตโนมัตินี้ มีชื่อว่า “ ” (ออกเสียงว่า คี-ดู-เซิล) ก่อตั้งในช่วงปี 1937 โดยคุณแคลเรนซ์ ซอนเดอร์ส (Clarence Saunders) นักธุรกิจที่อาจเรียกได้ว่าเป็นสตาร์ทอัพยุคแรก ๆ ผู้เคยพลิกโฉมวงการการจับจ่ายของชาวอเมริกันมาแล้วครั้งหนึ่ง ด้วยการก่อตั้งร้านขายของแบบบริการตัวเองแห่งแรกในสหรัฐฯ ในชื่อ “Piggly Wiggly” ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก

ด้วยวิถีเดิมในยุคนั้น ที่ลูกค้าต้องแจ้งสิ่งที่ตัวเองต้องการซื้อแล้วพนักงานจะไปเลือกหยิบมาให้ แต่ Piggly Wiggly อนุญาตให้ลูกค้าสามารถเลือกสินค้าแล้วหยิบใส่ตะกร้าด้วยตัวเอง สร้างความแปลกใหม่ สะดวกสบาย และความพึงพอใจให้ลูกค้าที่ได้รับของที่ตัวเองเลือกกับมือ

แม้ Piggly Wiggly จะประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม แต่ความผันผวนของตลาดหลักทรัพย์ในยุคนั้น ก็ทำเอาคุณซอนเดอร์เกือบสูญเสียธุรกิจทั้งหมดไป เขาจึงตั้งมั่นที่จะสร้างประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ ด้วยการต่อยอดจากไอเดียร้านขายของแบบบริการตนเองที่ลูกค้าสามารถเลือกหยิบของเอง หรือเดินไปเดินมาภายในร้านได้อย่างสะดวก ให้กลายเป็นร้านขายของอัตโนมัติที่ลูกค้าไม่ต้องยกมือขึ้นหยิบสินค้าเองเลยด้วยซ้ำ


⠀⠀⠀จึงเป็นที่มาของ “Keedoozle” ซึ่งเป็นการเล่นคำจาก “Key does all” ที่แปลตรงตัวได้ว่า “กุญแจทำให้ทุกอย่าง” นั่นก็เพราะกลไกการทำงานของร้านขายของอัตโนมัติแห่งนี้ ใช้กุญแจไฟฟ้าในการสั่งการทั้งหมด 🗝️

โดยลูกค้าจะได้รับกุญแจไฟฟ้าเมื่อเดินเข้าร้าน (ลักษณะคล้ายเครื่องพิมพ์ใบเสร็จขนาดเล็กในปัจจุบัน) ซึ่งสินค้าทุกอย่างจะถูกจัดเรียงไว้ในตู้อย่างเป็นระเบียบ โดยมีกล่องรับคำสั่งอยู่ด้านหน้า หากลูกค้าต้องการสินค้าชิ้นใด ก็เพียงแค่นำกุญแจไปเสียบไว้ที่กล่องแล้วระบุรหัสสินค้าพร้อมจำนวนที่ต้องการ จากนั้นเครื่องจักรหลังบ้านก็รับคำสั่งแล้วนำสินค้าส่งออกมาทางสายพานเพื่อไปที่เคาน์เตอร์ชำระเงินโดยอัตโนมัติ และจะถูกรีเช็คความถูกต้องอีกครั้งจากใบเสร็จบนกุญแจ

⠀⠀⠀นับเป็นนวัตกรรมที่ก้าวล้ำนำยุคสมัยจนน่าตกใจ แต่ความว้าวของ Keedoozle ก็ดึงดูดลูกค้าได้เพียงประเดี๋ยวประด๋าว ด้วยเหตุที่ว่าระบบการสั่งซื้อเช่นนี้ ยังมีความซับซ้อนเกินไปสำหรับผู้คนในยุคนั้น ทั้งยังพบข้อผิดพลาดในการรับออเดอร์ค่อนข้างมาก และอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำเอาคุณซอนเดอร์ต้องกุมขมับเลยก็คือ ลูกค้าส่วนใหญ่ยังหลงรักระบบการเลือกสินค้าด้วยตัวเองแบบร้าน Piggly Wiggly มากกว่าที่จะใช้เครื่องจักรไปทำงานแทน 🤦

Keedoozle จึงเป็นอันต้องเจ๊งไปตามระเบียง ซึ่งหากว่ากันตามตรง ก็อาจเรียกว่าเป็นร้านขายของอัตโนมัติได้ไม่เต็มปากนัก เพราะหลายสำนักข่าวก็ให้ความเห็นว่า นวัตกรรมร้านขายของนี้ คล้ายตู้ขายของหยอดเหรียญขนาดใหญ่เสียมากกว่า


⠀⠀⠀อย่างไรก็ตาม Keedoozle ก็เป็นข้อพิสูจน์ชั้นดีที่ช่วยตอกย้ำว่า นวัตกรรมที่โดดเด่น อาจไม่ใช่แค่เรื่องความล้ำหน้าของแนวคิดหรือเทคโนโลยี แต่กลับเป็นเรื่องพื้นฐานที่สุดอย่าง “มันตอบความต้องการของผู้ใช้งานในเวลานั้นได้จริงหรือไม่?” ✨

แล้วคุณล่ะ? ชอบการเดินเลือกซื้อของแบบดั่งเดิม หรืออยากซื้อของแบบสบาย ๆ ด้วยร้านค้าอัตโนมัติ 😉

________

🖥️ อ่านต่อบนเว็บไซต์ : https://cmu.to/30J49
📚 ติดตามบทความอื่นๆ ของ STeP ได้ที่ : https://cmu.to/STePArticle

#ร้านขายของอัตโนมัติ

📢📌 “นิลมังกร รอบภูมิภาค รุ่นที่ 3”  เปิดรับสมัครแล้ว 💫🩵✨💡🌟 ไม่ว่าคุณจะอยู่พื้นที่ใดในประเทศไทย จังหวัดไหนก็ตาม  หากคุณมี...
04/09/2024

📢📌 “นิลมังกร รอบภูมิภาค รุ่นที่ 3” เปิดรับสมัครแล้ว 💫🩵
✨💡🌟 ไม่ว่าคุณจะอยู่พื้นที่ใดในประเทศไทย จังหวัดไหนก็ตาม หากคุณมีความพร้อมที่จะพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมให้เติบโต และต้องการบอกให้ทุกคนรู้ว่าผลงานของคุณ สามารถเป็นความภูมิใจให้กับคนในท้องถิ่น และสามารถยกระดับธุรกิจแบบก้าวกระโดดด้วยแนวคิดนวัตกรรมได้ 💯🚀🎯


🏅🏅 สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) พร้อมด้วยภาคีเครือข่าย อุทยานวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย พร้อมที่จะส่งเสริมและสร้างโอกาสให้กับผู้ประกอบการ SMEs หรือ StartUp รุ่นใหม่หัวใจนวัตกรรม เข้าร่วมประกวดค้นหา “สุดยอดธุรกิจนวัตกรรมระดับภูมิภาค” พร้อมโอกาสในการเป็นตัวแทนภูมิภาคสู่การประกวด ในระดับชิงแชมป์ประเทศไทย และร่วมเป็นหนึ่งใน “นิลมังกร” ที่จะได้รับการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ไปทั่วประเทศและทั่วโลกแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน !!!


🏆🏆 มาร่วมค้นหาประสบการณ์ที่ท้าทาย แล้วมาบอกให้ทุกคนรู้ว่า คุณพร้อมแล้วที่จะเป็น “นิลมังกร รุ่นที่ 3” ของประเทศไทย 💎💎


📅 เปิดรับสมัครแล้ว วันนี้ – 6 พฤศจิกายน 2567

📲 สนใจเข้าร่วมกิจกรรม สมัครได้ที่

https://arc.nia.or.th/th/calendarnia/article/detail/id/2/iid/61

#สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ #นิลมังกร #สุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทย #อุทยานวิทยาศาสตร์ #นิลมังกรภาคเหนือ #นิลมังกรภาคกลาง #นิลมังกรภาคอีสาน #นิลมังกรภาคใต้

นักวิจัยพบความลับแมลงหางดีดสัตว์ที่ตีลังกากลับหลังเร็วที่สุดในโลก 🐞🙂🙃โดยทำได้มากถึง 368 ครั้งในหนึ่งวินาที ____________ง...
04/09/2024

นักวิจัยพบความลับแมลงหางดีด
สัตว์ที่ตีลังกากลับหลังเร็วที่สุดในโลก 🐞🙂🙃
โดยทำได้มากถึง 368 ครั้งในหนึ่งวินาที
____________

งานวิจัยล่าสุด ได้ค้นพบสัตว์ที่เป็นเจ้าของสถิติโลกตัวใหม่แล้ว โดยเป็นสถิติ “ตีลังกาหลับหลัง (Backflips) เร็วที่สุดในโลก” โดยสัตว์ที่มีชื่อว่า ‘แมลงหางดีด’ หรือ Globular Springtail (Dicyrtomina minuta)
ในรายงานวิจัยได้บรรยายว่า แมลงหางดีดที่โดยทั่วไปมีความยาวลำตัวเพียงไม่กี่มิลลิเมตร สามารถตีลังกากลับหลังได้สูงกว่าความยาวลำตัวของพวกมันถึง 60 เท่า ในเวลาเพียงเสี้ยววิ! หรือถ้าลองเทียบในสัดส่วนมนุษย์ที่สูง 170 เซนติเมตร ด้วยประสิทธิภาพเท่ากัน เท่ากับว่ามนุษย์คนนั้นจะต้องตีลังกากลับหลังให้ได้สูงถึง 102 เมตร หรือเท่ากับตึก 34 ชั้น!
โดยสำหรับเหตุผล ผู้ศึกษาได้อธิบายว่าที่แมลงหางดีดมีประสิทธิภาพในการกระโดดมากมายขนาดนั้น คือวิวัฒนาการในการเอาตัวรอดของสายพันธ์ เพราะเรื่องอื่นๆ ที่แมลงสายพันธ์อื่นสามารถทำได้ แมลงหางดีดจะทำไม่ได้เลย เช่น การบิน กัด หรือต่อ ดังนั้นนี่จึงเป็นวิธีการที่ทำให้สายพันธ์ของพวกมันอยู่รอดมาได้จนถึงปัจจุบัน
“และด้วยหางของพวกมันที่เหมือนสปริง พวกมันไม่เพียงแค่กระโดดเท่านั้น แต่ยังพลิกตัวในอากาศด้วย หรือพูดให้เห็นภาพ คือแมลงหางดีดกระโดดได้เหมือนโซนิคเดอะเฮดจ์ฮ็อกในชีวิตจริงเลยล่ะ” Adrian Smith ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านชีววิทยาและหัวหน้าทีมงานวิจัยกล่าว
แต่รู้ไหมว่านอกจากความจริงที่ทีมวิจัยค้นพบข้อมูลแล้ว อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ทำให้งานวิจัยนี้ได้รับการพูดถึง คือ ‘วิธีการ’ ที่ทำให้ได้มาซึ่งข้อมูล เพราะการ ‘หารายละเอียดและบันทึกภาพ’ ของแมลงหางดีดได้ คืออีกหนึ่งวิธีการสำคัญที่งานวิจัยนี้เสนอแก่โลกวิชาการ
“เพราะแมลงหางดีดกระโดดได้เร็วมากจนปกติคุณไม่สามารถสังเกตเห็นมันได้เลยแบบเรียลไทม์เลย” สมิธกล่าว "และถ้าหากคุณพยายามถ่ายภาพการกระโดดด้วยกล้องธรรมดา แมลงหางดีดจะปรากฏขึ้นในเฟรมเดียวแล้วหายไป พวกมันตีลังกากลับหลังได้เร็วขนาดนั้น แต่ด้วยข้อจำกัดตรงนี้เอง ที่ทำให้พวกเราอยากลองหาความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการบันทึกภาพ เพื่อศึกษาวิธีการกระโดดที่เราอาจเคยมองข้ามเพราะมองไม่ทัน"
โดยสมิธแก้ไขปัญหาด้วยการใช้กล้องที่ถ่ายได้ถึง 40,000 เฟรมต่อวินาที เพื่อถ่ายภาพแมลงหางดีด และศึกษาว่าพวกมันกระโดดได้เร็วและไกลแค่ไหน รวมถึงมีวิธีการลงจอดอย่างไร ซึ่งผู้ศึกษาได้ค้นพบว่าแมลงหางดีดไม่ได้ใช้ขาในการกระโดด แต่มีอวัยวะที่เรียกว่า ‘Furca’ ซึ่งพับอยู่ใต้ช่องท้องและมีโครงสร้างเป็นง่ามเล็กๆ ที่ปลาย ที่เมื่อแมลงหางดีดตีลังกา ฟูร์ก้าจะพลิกลงและปลายที่เป็นง่ามจะดันลงกับพื้น ก่อนดีดพวกมันลอยขึ้นไปไกลอย่างเหลือเชื่อ
“แมลงหางดีดใช้เวลาเพียงหนึ่งในพันวินาทีเท่านั้นในการพลิกตัวกระโดดจากพื้น หรือสามารถตีลังกาหลับหลังได้ถึง 368 รอบต่อวินาที อีกทั้งระหว่างกระโดด พวกมันยังหมุนตัวอีกด้วย ดังนั้นไม่มีสัตว์อื่นใดในโลกที่สามารถทำได้เท่ากับแมลงหางดีดอีกแล้ว
“และนี่เป็นครั้งแรกที่มนุษย์สามารถอธิบายการวัดประสิทธิภาพการกระโดดของแมลงหางดีดได้อย่างครบถ้วน ดังนั้นสำหรับพวกเรา นี่จึงเป็นตัวอย่างที่ดีของการที่มนุษย์สามารถค้นพบกลไกของสิ่งมีชีวิตที่น่าทึ่ง โดยเรายังหวังอีกด้วยว่าวิธีการดังกล่าวสามารถถูกนำไปอธิบายสิ่งที่อยู่รอบตัวเราได้เพิ่มเติม” สมิธทิ้งท้าย

อุทยานวิทย์ มช. จัดการสัมมนาชี้แนวทางสร้างความสำเร็จธุรกิจด้วยเครื่องหมายการค้า เพื่อเพิ่มศักยภาพธุรกิจ-----------------...
03/09/2024

อุทยานวิทย์ มช. จัดการสัมมนาชี้แนวทางสร้างความสำเร็จธุรกิจด้วยเครื่องหมายการค้า เพื่อเพิ่มศักยภาพธุรกิจ
-----------------

วันที่ 3 กันยายน 2567 เวลา 13.00 น. อาจารย์ ดร.ณัฐธิดา เตชะบุญ ผู้จัดการโครงการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้กล่าวต้อนรับผู้ประกอบการจำนวนกว่า 50 คน ในงานสัมมนาพิเศษหัวข้อ “เครื่องหมายการค้าสู่ความสำเร็จและการได้เปรียบเชิงธุรกิจ“ โดยผู้เชี่ยวชาญ คุณชลทิตย์ นาคปรางค์ ผู้จัดการฝ่ายเครื่องหมายการค้า บริษัท เอเค ไอพี เวนเจอร์ จำกัด ซึ่งได้มาบรรยายให้ความรู้ในเรื่อง ความสำคัญยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า, เครื่องหมายการค้าและการสร้างแบรนด์, การใช้เครื่องหมายการค้าในการทำการตลาด และการปกป้องและบังคับใช้สิทธิ์เครื่องหมายการค้า ณ Multi Purpose Room (D205) อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่) เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า รวมถึงการนำไปใช้เป็นเครื่องมือทางธุรกิจเพื่อเพิ่มศักยภาพและความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการ

นักวิจัยหาคำตอบทำไมความหวังจำเป็นกว่าสติยามมีปัญหา 😰😇🙂‍↕️อย่างน้อยขอให้มีหวัง แต่ถ้ามีทั้งคู่คือดีที่สุด ____________ถ้า...
03/09/2024

นักวิจัยหาคำตอบ
ทำไมความหวังจำเป็นกว่าสติยามมีปัญหา 😰😇🙂‍↕️
อย่างน้อยขอให้มีหวัง แต่ถ้ามีทั้งคู่คือดีที่สุด
____________

ถ้าว่ากันถึงคำจำกัดความ ‘การมีสติ’ หมายถึงความสามารถของแต่ละบุคคลในการมุ่งความสนใจไปที่ปัจจุบัน ในลักษณะที่เปิดกว้าง ใคร่รู้ และไม่ตัดสิน ซึ่งตลอดเวลาที่ผ่านมา หนึ่งในสถานการณ์ที่เรามักจะได้ยินคำนี้บ่อยๆ คือช่วงเครียดหรือมีปัญหา ที่หลายคนมักเตือนกันว่า “ให้มีสติ” เข้าไว้ เพราะเชื่อว่าจะทำให้ความเครียดบรรเทาได้
แต่ดูเหมือน Tom Zagenczyk กับทีมคณะวิจัยจากมหาวิทยาลัยรัฐนอร์ธแคโรไลนาไม่ได้คิดแบบนั้น เพราะในมุมของเขา ในยามเครียด สติอาจไม่ได้ช่วยให้สงบเสมอไป กลับกันเสียอีก ความพยายามมีสติอาจทำให้เกิดความท้าทายในจิตใจมากกว่าเดิม
“ลองนึกตามดูก็ได้ ว่ามันยากแค่ไหนที่ต้องมีสติเมื่อคุณกำลังประสบความเครียด และที่สำคัญกว่านั้น ถ้าช่วงเวลาดังกล่าว คือช่วงเวลาที่แสนยาก จะไม่ดีกว่าหรอถ้าคุณไม่ต้องจมอยู่กับประสบการณ์เล่านั้นนาน ดังนั้นเราจึงตั้งสมมติฐานขึ้นมา ว่าในช่วงที่มนุษย์มีปัญหา คุณอาจจะต้องการ ‘ความหวัง’ มากกว่าหรือเปล่า”
ซาเกนซิกอธิบายต่อไปว่าด้วยความที่ความหวังคือการมองไปข้องหน้า และการมีสติคือการอยู่กับปัจจุบัน ดังนั้นทีมวิจัยจึงอยากลองศึกษาดู ว่าทั้งสองความคิดนี้ส่งผลต่อความเป็นอยู่ที่ดีและทัศนคติของผู้คนในช่วงยากลำบากแตกต่างกันหรือไม่ โดยพวกเขาทำการทดสอบในกลุ่มทดลองกว่า 247 คน ก่อนได้ผลการทดลองที่น่าสนใจ
“โดยจากข้อมูล การศึกษาบอกเราว่า ‘ความหวัง’ เกี่ยวข้องกับการมีความสุข แต่การมีสติไม่ได้เป็นเช่นนั้น” Kristin Scott ผู้ร่วมการศึกษาและศาสตราจารย์ด้านการจัดการจากมหาวิทยาลัยเคลมสันกล่าว “และเมื่อผู้คนมีความหวังและมีความสุข พวกเขาจะได้รับความทุกข์น้อยลง มีส่วนร่วมกับงานมากขึ้น และรู้สึกตึงเครียดที่เกี่ยวข้องกับชีวิตการทำงานน้อยลง”

“เปล่าเลย เราไม่ได้จะบอกให้คนไม่มีสติ ความจริงแล้วการมีสตินั้นยังคงมีคุณค่ามหาศาล แน่นอนว่าการอยู่กับปัจจุบันย่อมมีข้อดีอย่างแน่นอน” Sharon Sheridan ผู้ร่วมเขียนการศึกษาและผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านการจัดการที่มหาวิทยาลัยเคลมสันกล่าวเสริม “แต่สิ่งสำคัญคือทุกคนยังต้องรักษาทัศนคติที่มีความหวัง โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่มีความเครียดเป็นเวลานาน ผู้คนควรมีทั้งความหวังและมีสติ
“ยึดมั่นในแนวคิดไว้ ว่าถึงเรากำลังยืนอยู่ตรงนี้ แต่เมื่อมองไปข้างหน้า มันมีแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์” ชารอนทิ้งท้าย

✨ STeP เปิดบ้านต้อนรับคณะผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา ในโอกาสเข้าเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ภายใต้โครงการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไ...
02/09/2024

✨ STeP เปิดบ้านต้อนรับคณะผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา ในโอกาสเข้าเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ภายใต้โครงการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล
—————————————
วันที่ 2 กันยายน 2567 รศ.ดร.ปิติวัฒน์ วัฒนชัย ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้การต้อนรับ รศ.ดร.บวร ปภัสราทร ผู้อำนวยการสถาบันคลังสมองของชาติ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกลุ่มสถาบันระดับอุดมศึกษา ในโอกาสเข้ารับฟังการบรรยายหัวข้อ “การยกระดับวิจัยและพัฒนาสู่นวัตกรรม” ภายใต้กิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โครงการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล กรณีศึกษา : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อสร้างการเรียนรู้และสร้างนวัตกรรมในระดับอุดมศึกษา ตลอดจนให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดและประสบการณ์เกี่ยวกับการพัฒนาอุดมศึกษาไทยสู่มหาลัยดิจิทัล ณ Conference Hall (D206) อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่)
จากนั้นคณะดังกล่าว ได้เข้าเยี่ยมชมพื้นที่ศูนย์เทคโนโลยีการขึ้นรูปชิ้นงานสามมิติแบบครบวงจร (The Brick FABLAB) และปิดท้ายด้วย NSP INNO STORE พื้นที่ทดสอบตลาดผลิตภัณฑ์นวัตกรรมของผู้ประกอบการที่เข้ารับบริการจากอุทยานฯ
—————————————


🙌🏻 หากคณคือผู้ประกอบการธุรกิจ Startup หรือ SME ที่ต้องการพิสูจน์และทดสอบไอเดียธุรกิจของคุณว่ามีความเป็นไปได้ และคุ้มค่าต...
02/09/2024

🙌🏻 หากคณคือผู้ประกอบการธุรกิจ Startup หรือ SME ที่ต้องการพิสูจน์และทดสอบไอเดียธุรกิจของคุณว่ามีความเป็นไปได้ และคุ้มค่าต่อการลงทุน โครงการนี้คือคำตอบที่คุณกำลังมองหา!

✨ กลับมาอีกครั้งกับโครงการดีๆ จาก STeP ที่มอบให้คุณ
ใน "Startup's Guide Market Validation Program 2025" โครงการบ่มเพาะผู้ประกอบการ 💪🏻

🔥 เปิดรับสมัครแล้ววันนี้! 🔥

🏃🏻‍♂️‍➡️💪🏻 พาคุณไปเรียนรู้วิธีการ "ค้นหาลูกค่าที่ใช่", "ทดสอบตลาด", "ประเมินความเป็นไปได้และปรับโมเดลธุรกิจ" เพื่อปูพื้นฐานสู่การขยายธุรกิจให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด ด้วยกิจกรรมเวิร์คช็อปสุดเข้มขัน และรับคำปรึกษาทางธุรกิจกับผู้เชี่ยวชาญระดับแถวหน้าของเมืองไทยแบบตัวต่อตัว👍✨

✅ สิ่งที่น่าสนใจในโครงการที่จะได้รับ
1. การวิเคราะห์และทดสอบโมเดลธุรกิจ 🔍
2. การทดสอบตลาดเพื่อเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จ 🎯
3. การทดสอบและวางแผนทางการเงินในธุรกิจ 📊
4. การนำเสนอแผนธุรกิจอย่างมืออาชีพ 💼
5. ได้รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญเชิงลึกแบบตัวต่อตัว 🗣️
6. ได้เรียนรู้กฎหมายเบื้องต้นสำหรับการเริ่มทำธุรกิจ ⚖️

🔥✨ งานนี้ ฟรี !! ไม่มีค่าใช้จ่าย !! พร้อมที่จะช่วยให้คุณเติบโตและประสบความสำเร็จ!!

📌 คุณสมบัติของผู้เข้าร่วม
* เป็นผู้ประกอบการที่ต้องการพิสูจน์ความเป็นไปได้ของไอเดียธุรกิจ💡
* มีผลิตภัณฑ์ต้นแบบ (MVP, Prototype) ที่พร้อมสำหรับการทดสอบตลาด 🛠️
* มีทีมที่พร้อมลงมือปฏิบัติจริง 🤝
* ไม่เคยเข้าร่วมโครงการบ่มเพาะธุรกิจวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (TBI) ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มาก่อน
* สามารถเข้าร่วมกิจกรรมตลอดระยะเวลาโครงการ 6 เดือน

📅 สามารถสมัครได้ตั้งแต่วันนี้ - 30 กันยายน 2567
🔗 สมัครเลย: https://cmu.to/Startupsguide68
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ปรัชญ์ 0949492879

📌 ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม
กดติดตาม Facebook Fanpage: Basecamp24

🌱♻️⌛ “การรับผิดชอบอย่างจริงใจ”อุทยานวิทย์ฯ มช. นำเสนอ ‘CSR’ ที่ไม่ใช่แค่การให้ แต่ร่วมสร้างปลายทางที่ยั่งยืนกับชุมชน 🌍🤝🏻...
02/09/2024

🌱♻️⌛ “การรับผิดชอบอย่างจริงใจ”
อุทยานวิทย์ฯ มช. นำเสนอ ‘CSR’ ที่ไม่ใช่แค่การให้ แต่ร่วมสร้างปลายทางที่ยั่งยืนกับชุมชน 🌍🤝🏻💡

พบกับบทสัมภาษณ์พิเศษ จาก ดร.บ่าว - ผศ.ดร.สุริยะ ทองมุณี รองผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

🙏🏻 ขอบคุณ : กรุงเทพธุรกิจ 🙏🏻

"เปิดโมเดลใหม่ CSR จากใจ ด้วยนวัตกรรมขับเคลื่อนชุมชน อุทยานวิทย์ฯ มช. ชูจุดยืนความจริงใจ พร้อมเชิญร่วมสร้างส...

ที่อยู่

ชั้น 2 (อาคาร A) อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่)
Chiang Mai
50100

เวลาทำการ

จันทร์ 08:30 - 17:00
อังคาร 08:30 - 17:00
พุธ 08:30 - 17:00
พฤหัสบดี 08:00 - 17:00
ศุกร์ 08:30 - 17:00

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่: STePผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

วิดีโอทั้งหมด

แชร์

STeP

อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Science and Technology Park, Chiang Mai University : STeP) องค์กรในกำกับของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีภารกิจหลักในการเป็นสะพานเชื่อมโยงระหว่างมหาวิทยาลัย หน่วยงานภาครัฐและภาคอุตสาหกรรม (University-Industry Linkage : UIL) เพื่อผลักดันให้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของนักวิจัย อาจารย์และผู้เชี่ยวชาญภายในมหาวิทยาลัยออกสู่เชิงพาณิชย์ โดยเน้นความต้องการของภาคเอกชนเป็นหลัก ผ่านกลไกการให้บริการที่หลากหลาย ครอบคลุมถึงการทำวิจัยร่วมกับภาคเอกชน การบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี (Teach Startups) การถ่ายทอดเทคโนโลยี การอนุญาตให้ใช้สิทธิ์เทคโนโลยี การออกแบบนวัตกรรม การให้บริการห้องปฏิบัติการและเครื่องมือปฏิบัติการ การให้บริการโรงงานต้นแบบเทคโนโลยี โดยมีมหาวิทยาลัยเป็นฐานสำคัญในการขับเคลื่อน เพื่อสร้างฐานความรู้และนวัตกรรม ยกระดับเศรษฐกิจ พร้อมลดความเหลื่อมล้ำในระดับภูมิภาค

ตำแหน่งใกล้เคียง บริการภาครัฐ