
ข้อมูลการติดต่อ, แผนที่และเส้นทาง,แบบฟอร์มการติดต่อ,เวลาเปิดและปิด, การบริการ,การให้คะแนนความพอใจในการบริการ,รูปภาพทั้งหมด,วิดีโอทั้งหมดและข่าวสารจาก Urban Climate Resilience-Thailand, หน่วยงานราชการ, Non Buri.
(3)


24/08/2023
ศิลปะกับ climate change 🌏🌎🌍

11/08/2023
SDG 11 และ New Urban Agenda (NUA) ถึงไหนแล้วนะคะ ... เค้าติดตามกันอย่างไร ตัวชี้วัดอะไร
มาฝากค่ะ วันสุข (ศุกร์ดีดี)
การติดตาม SDGs และ NUA มีเครื่องมือที่เรียกว่า Urban monitoring frameworks (UMF) จัดทำขึ้นโดย UN- Habitat เค้าวัดผลลัพธ์ในองค์ประกอบของเมือง เรื่อง
1. สังคม (Society) 2. เศรษฐศาสตร์ (Economy) 3. สิ่งแวดล้อม (Environment) 4. วัฒนธรรม (Cultural) 5. ธรรมาภิบาลและการนำไปใช้ (Governance and Implementation)
และตามวัตถุประสงค์ของเมืองใน 4 เรื่อง คือ 1. ความปลอดภัย ( Safe & Peaceful) 2. ความเสมอภาค ( Inclusive) 3. ความพร้อมรับปรับตัว (Resilient) และ 4. ความยั่งยืน (Sustainable)
.
UMF & SDG11 (เป้าหมายด้านเมือง) ใช้ตัวชี้วัดอะไรบ้าง
: การเข้าถึงระบบขนส่งมวลชน UMF-10
:สัดส่วนของคนเมืองในชุมชนแออัด UMF -23
:การจัดการขยะชุมชน UMF-41
:พื้นที่โล่งที่คนทุกคนเข้าถึงได้ UMF-44
:การมีส่วนร่วมของประชาชน UMF-67
ตัวชี้วัดข้างต้น มีแนวคิด ที่มา และแหล่งข้อมูลนะคะ
UMF เป็นหนึ่งเครื่องมือที่มีการศึกษาในประเทศไทยแล้ว และกำลังจะมีการสัมมนา ในวันที่ 16 สิงหาคม 2566 ที่จะถึงนี้ สามารถฟังผ่าน Facebook live ได้ ตามโปสเตอร์ที่แนบมา
ขอบคุณค่ะ (^_^)
ปล. ความสุขส่งให้ในวนนี้ ใครเดินทางกันดีดี สบาย ๆ

25/07/2023
ความเจริญที่แตกต่าง💸💸💸
“ถนนสุทธิสาร” เมื่อ 60 ปีก่อน
…
“ถนนสุทธิสารวินิจฉัย” หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า ถนนสุทธิสาร มีความยาวประมาณ 4.5 กิโลเมตร โดยหัวถนนเริ่มต้นที่ถนนพหลโยธินช่วงใกล้แยกสะพานควาย ส่วนจุดสิ้นสุดอยู่ที่สะพานข้ามคลองลาดพร้าวในซอยลาดพร้าว 64
ในภาพเก่า (ภาพบน) เป็นถนนสุทธิสารวินิฉัยซึ่งในปัจจุบันคือช่วงซอยอินทามระ 24 จะเห็นว่าในอดีตยังเป็นยังเป็นเพียงถนนลูกรังบดอัด ข้างถนนด้านขวามือมีคูน้ำ มีอาคารคอนกรีตตั้งอยู่โดดเดี่ยวเพียงหลังเดียว ภาพนี้ถ่ายโดยทหารอเมริกันนายหนึ่งที่เข้ามาปฏิบัติภารกิจในยุคนั้น
ภาพปัจจุบัน (ภาพล่าง) อาคารหลังเดิม (สีส้ม) ยังคงอยู่ โดยเปิดให้บริการเป็นร้านนวดเพื่อสุขภาพ ด้านหลังเป็นคอนโดสูง อาคารสีเขียวเข้มฝั่งตรงข้ามกำลังจะเปิดเป็นโฮสเทล ส่วนที่เห็นโลโก้ของธนาคารกรุงเทพคืออาคารวิริยะถาวร เป็นที่ตั้งสำนักงานบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน)
…
ที่มาภาพ
ภาพบน : ถ่ายโดย Gary Kay เมื่อ พ.ศ. 2506
ภาพล่าง : ถ่ายโดย เพน เมื่อ พ.ศ. 2566
ที่มาคุณ Pane somnuek jirasakanon
==================
#เพจภาพและเรื่องราวต่างๆที่น่าสนใจ

25/07/2023
ให้ภาพเล่าเรื่อง😂😂😂😂
คลองรังสิตฯ ทุ่งรังสิต กรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. 2493 หรือ 73 ปีก่อน
มุมมองทางอากาศของทุ่งนา มองไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือทั่วที่ราบกรุงเทพมหานคร ไร่นาแยกเป็นสัดส่วนล้อมรอบด้วยต้นไผ่มีหนามสูงและหนาแน่น ทางทิศใต้ของสนามบินอรุณเมือง [สนามบินดอนเมือง]
และทางทิศเหนือของสถานีทดลองบางเขน [สถานีทดลองเกษตรบางเขน] คลองเพิ่งถูกขุดให้ลึกขึ้นด้วยเรือขุด ภาคกลางของประเทศไทย. พฤษภาคม 2483
ภาพถ่ายจากเครื่องบินตอนขึ้นจากสนามบินดอนเมืองมองไปทางสะพานใหม่
สะพานขาวๆตรงนั้นคือข้ามคลองสองหรือคลองถนน และถนนพหลโยธิน ซึ่งเป็นสะพานเดิมก่อนจะเปลี่ยนเป็นสะพานปัจจุบัน และเส้นขาวๆด้านบนขึ้นไปอีกนั้นคือคลองลำผักชี
เครดิต :: ดร. โรเบิร์ต ลาริมอร์ เพนเดิลตัน (Dr. Robert Larimore Pendleton) นักวิทยาศาสตร์ทางดินและการเกษตร ชาวอเมริกัน ซึ่งเข้ามาปฏิบัติงานในฐานะที่ปรึกษาของกรมเกษตรและการประมง กระทรวงเกษตราธิการในขณะนั้น. University of Wisconsin-Milwaukee Libraries, ประเทศไทย 2493
=====================
#เพจภาพเเละเรื่องราวต่างๆที่น่าสนใจ

24/07/2023

12/07/2023

06/07/2023
Home Knowledge Libraries Climate Change เข้าใจความแตกต่างระหว่าง Climate Resilience VS Adaptation VS Mitigation Topic All AGM Anti-Corruption Auditing Awards BCG Board Diversity Board Effectiveness Board Evaluation Board Meeting Board Roles & Responsib...

06/07/2023
https://theurbanis.com/public-realm/26/06/2023/14584
กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองที่โตเดียวของประเทศไทย และแน่นอนว่าสิ่งที่มีมากตามการเติบโตของเมืองคือ “แรงงาน”...

06/07/2023
กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองที่โตเดียวของประเทศไทย และแน่นอนว่าสิ่งที่มีมากตามการเติบโตของเมืองคือ “แรงงาน”...

06/07/2023
ความมั่นคงทางภูมิอากาศ : ภาวะโลกร้อนกับอิสรภาพของอินโดแปซิฟิก (ตอนที่ 2)
เขียนโดย Hide Sakaguchi
วันที่ 22 สิงหาคม 2021
แปลและเรียบเรียงโดย ปิโยรส ปานยงค์
ภาพประกอบโดย Tokai Education Research Institute
อ้างอิง ISBN978-4-924523-27-2 C3031
(ต่อจากวันเสาร์ที่แล้ว)
นอกจากนี้ในการจัดการกับปัญหาที่อาจนำไปสู่ความสูญเสียแห่งชีวิตของประชาชนและความมั่นคงของชาติ ญี่ปุ่นจะต้องเร่งสืบสวนสาเหตุปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและดำเนินการขจัดความเสี่ยงล่วงหน้าเพื่อป้องกันความสูญเสีย มิใช่คอยแก้ไขเหตุที่เกิดขึ้นแล้ว
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าภาวะโลกร้อนจะเป็นประเด็นสำคัญที่ได้รับความสนใจทั้งในประเทศและต่างประเทศมาหลายปี แต่ในประเทศญี่ปุ่นกลับมิใช่เช่นนั้น แม้ว่าสื่อจะประโคมข่าวถึงภัยพิบัติที่อาจเกิดจากภาวะโลกร้อนเช่นไร ชาวญี่ปุ่นก็ยังคงกระทำตนเหมือนว่าเป็นปัญหาของคนอื่นเช่นเคย จนกระทั่งแนวปฏิบัติเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) กลายเป็นหัวข้อที่ทั่วโลกยอมรับและนำไปปฏิบัติ ญี่ปุ่นจึงค่อยหันมาให้ความสนใจในประเด็นปัญหาโลกร้อนในระดับนานาชาติ
ชาวญี่ปุ่นยังขาดความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อประเด็นปัญหาเบื้องหลังความยั่งยืนที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตผู้คน
เมื่อเราพิจารณาถึงสถานการณ์ในปัจจุบันของประเทศญี่ปุ่น ฤดูร้อนยาวนานขึ้นและร้อนมากขึ้นตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา สภาพอากาศบนหมู่เกาะทางตอนล่างของประเทศร้อนขึ้นจนกลายเป็นภูมิอากาศแบบร้อนชื้น ทำให้การใช้พลังงานไฟฟ้าพุ่งสูงขึ้นจากการใช้เครื่องปรับอากาศ และจำนวนผู้เสียชีวิตจากภาวะฮีทสโตรกก็เพิ่มขึ้นทุกปี นอกจากนี้ภัยธรรมชาติอย่างพายุไต้ฝุ่นและอุทกภัยก็เกิดบ่อยขึ้นและรุนแรงขึ้นจนผิดสังเกต
แนวทางรับมือภัยธรรมชาติที่ดีที่สุดคือการเตรียมการและป้องกัน ดังที่นาย Torahiko Terada นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นได้เตือนไว้ว่าภัยธรรมชาติจะเกิดขึ้นซ้ำสองตรงจุดเดิมเสมอเมื่อเราลืมผลกระทบที่เกิดขึ้นในครั้งแรกและไม่เรียนรู้ในการหาทางป้องกันล่วงหน้า ในอดีตที่ผ่านมา ระยะห่างระหว่างภัยพิบัติแต่ละครั้งมักยาวนานพอที่จะทำให้ผู้คนลืม ดังนั้นนักอุตุนิยมวิทยาจึงมักใช้คำเตือนให้ผู้คนระวังป้องกันภัยธรรมชาติอย่างเช่น “อุทกภัยมักเกิดขึ้นทุก ๆ ยี่สิบปี” หรือ “ความเป็นไปได้ที่ฝนจะตกถึง 200 มิลิเมตรมีทุก ๆ หนึ่งร้อยปี” เพื่อไม่ให้ประชาชนลืม
อย่างไรก็ตาม 11 จังหวัดในญี่ปุ่นได้รับคำเตือนพิเศษว่าฝนจะตกหนัก (เป็นครั้งแรกในรอบสิบปี) ถึงสองครั้งในเดือนมิถุนายน 2021 ผู้เชี่ยวชาญชี้ให้เห็นว่าฝนที่ตกหนักเกิดจากไอน้ำในอากาศมีมากขึ้นเนื่องจากอุณหภูมิในบรรยากาศโลกเพิ่มสูงขึ้นด้วยอัตรา 1.24 องศาเซลเซียสทุก ๆ หนึ่งร้อยปี และอุณหภูมิของน้ำทะเลญี่ปุ่นและทะเลจีนใต้ที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งหมายความว่าต่อไปนี้ญี่ปุ่นจะมีฝนตกหนักทุกปี ไม่เว้นช่วงให้ประชาชนลืมเหมือนเช่นในอดีต
ส่วนในระดับสากลนั้น ระดับอุณหภูมิของน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นไม่ได้นำไปสู่ปัญหาเรื่องฝนตกหนักเพียงอย่างเดียว แต่ยังทำให้น้ำเค็มรุกพื้นที่เพาะปลูกและน้ำแข็งขั้วโลกละลาย ระดับน้ำทะเลกำลังสูงขึ้นทั่วโลก ทำให้ชุมชนบนเกาะและตามแนวชายฝั่งต้องสูญเสียพื้นที่อยู่อาศัยและทำกินจากอุทกภัยและชายฝั่งที่ถูกกัดเซาะจนอาจต้องอพยพย้ายถิ่นในอนาคต
นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อทรัพยากรทางทะเลเนื่องจากระดับความเค็มและทิศทางของกระแสน้ำเปลี่ยนไป ชาวประมงพบว่าหอยนางรม สาหร่าย และปะการังหลาย ๆ ชนิดสูญหายไปเพราะไม่สามารถว่ายหนีน้ำทะเลที่ร้อนขึ้นได้เช่นเดียวกับปลา การสูญเสียสาหร่ายหมายถึงการเสียสมดุลของระบบนิเวศและระบบอาหาร
คำว่า “ชายฝั่งที่กลายเป็นหิน” หมายความถึงสาหร่ายและปลาที่หายไปเพราะน้ำทะเลร้อนขึ้น การที่ประชากรปลาลดลงเช่นนี้ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อชาวประมงที่จะทำผิดกฎหมายและข้อตกลงนานาชาติว่าด้วยเขตแดนทางน้ำและปริมาณปลาที่อนุญาตให้จับเพราะต้องออกไปหาปลาไกลขึ้น จึงเสี่ยงต่อการรุกรานเขตแดนและจับปลาทีละมาก ๆ อย่างผิดกฎหมายเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย
จะเห็นได้ว่าภาวะโลกร้อนทำให้ทรัพยากรธรรมชาติลดปริมาณลงและส่งผลต่อความอยู่รอดของประชากรของแต่ละประเทศ ซึ่งนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างประเทศอีกทีหนึ่ง ดังนั้นญี่ปุ่นจะต้องเตรียมความพร้อมรับมือต่อภัยธรรมชาติด้วยการเสริมความแข็งแรงให้แก่ระบบอย่างทันต่อเหตุการณ์ เพื่อรักษาความปลอดภัยให้แก่ประชาชนและป้องกันมิให้เกิดความขัดแย้งที่อาจเกิดมีขึ้น มิใช่รอให้เกิดเหตุก่อนแล้วจึงเยียวยาดังเช่นที่ผ่านมา
ดังนั้น ประชาคมโลกจึงหันมาใส่ใจกับคำว่า “ความมั่นคงทางภูมิอากาศ” ในการแก้ปัญหาระดับน้ำทะเลจากภาวะโลกร้อน ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและเยียวยาสาธารณภัยเมื่อเกิดวิกฤติสิ่งแวดล้อม
ประการต่อมา ภาวะโลกร้อนยังส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติและการป้องกันประเทศเนื่องจากอุณหภูมิและระดับความเค็มของน้ำทะเลที่เปลี่ยนแปลงไปส่งผลต่อการทำงานของโซนาร์และระบบสื่อสารของเรือดำน้ำ ทำให้ข้อมูลลักษณะของพื้นที่ใต้ทะเลในภูมิภาคต่างๆ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบใกล้เส้นศูนย์สูตร) ที่เคยเก็บไว้นั้นใช้การไม่ได้ นอกจากนี้ ฐานทัพตามแนวชายฝั่งและบนหมู่เกาะก็จะถูกน้ำท่วมและกัดเซาะจนตลิ่งถล่มจนไม่สามารถปฏิบัติภารกิจได้
ประเทศที่มีฐานปฏิบัติการทางทหารอยู่ในเขตเปราะบางต่อสภาพภูมิอากาศจะต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ทนทานต่อภัยธรรมชาติ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสร้างความมั่นคงทางภูมิอากาศ หากภัยธรรมชาติเกิดบ่อยครั้งขึ้น อาจมีความจำเป็นต้องย้ายฐานทัพ ซึ่งจะต้องคำนึงถึงดุลอำนาจในพื้นที่ที่จะเปลี่ยนไปและเกิดภัยต่อความมั่นคงของชาติ
ผลกระทบต่าง ๆ เหล่านี้ทำเราต้องพิจารณาภาวะโลกร้อนในภาพรวม นอกจากผลกระทบทางเกษตร ประมง และเศรษฐกิจแล้ว ยังส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและดุลอำนาจของประเทศมหาอำนาจอีกด้วย
ลักษณะทางภูมิรัฐศาสตร์อาจเปลี่ยนแปลงไปและนานาชาติอาจต้องทบทวนกลยุทธ์ด้านความมั่นคงของตนเองซึ่งจะต้องอาศัยข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำในการสร้างเสถียรภาพในสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป
ภัยธรรมชาติที่เกิดจากภาวะโลกร้อนจะมีลักษณะที่ไม่ใช่เหตุการณ์ที่นาน ๆ เกิดครั้งหนึ่งอย่างแผ่นดินไหว และก็ไม่ใช่ปรากฏการณ์ตามฤดูกาล แต่เป็นการสะสมของแรงเฉื่อยที่ไม่สามารถหยุดยั้งได้โดยง่าย และคาดว่าจะรุนแรงขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป
40 ปีข้างหน้า แม้ว่าเราจะสามารถบรรลุเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกได้สำเร็จ เราก็ไม่สามารถลดอุณหภูมิโลกลงให้เป็นปกติได้
จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมสถาบันวิจัยนโยบายทางทะเลของ Sasakawa Peace Foundation จึงให้ความสนใจต่อการศึกษาเกี่ยวกับภัยต่อสังคมมนุษย์และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกิดจากภาวะโลกร้อนในมหาสมุทรเพื่อประกอบรายงานที่จะนำเสนอในช่วงหัวข้อความมั่นคงทางภูมิอากาศ ในการประชุมสุดยอดผู้นำด้านภูมิอากาศที่จะจัดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกาในเดือนเมษายนปี 2021 ทีผ่านมา ซึ่งผู้อ่านสามารถติดตามอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับความมั่นคงทางภูมิอากาศนี้ต่อได้ในวันพฤหัสบดี
03/07/2023
แผนที่ผลลัพธ์ Outcome mapping กับการบริหารจัดการงานวิจัย
https://www.youtube.com/watch?v=ijVcA9kTACU
02/07/2023
วันนี้ทีมSUCCESSอุดรธานี เมืองหนองสำโรง ได้เดินมาถึงบันไดขั้นที่2 เก็บข้อมูลทำผังภูมิเวศเบื้องต้น
ขอบคุณตัวแทนอาสาสมัครชุมชนไทยสมุทร 1,2,3 ทุกท่านที่ร่วมใจกันสะท้อนปัญหา ข้อมูลชุมชนที่เป็นประโยชน์ สำหรับแก้ไขปัญหาน้ำท่วมชุมชน เพื่อนำเสนอท้องถิ่นและเวทีสาธารณะต่อไป🤝🤝🤝

30/06/2023
🥹🥹🥹มีความผูกพัน ไม่อยากไปไหน อยู่มานานแล้ว กลัวไม่มีม่องอยู่.....🏚🏚🏚🏚
ชุมชนมิตรภาพ จ.ขอนแก่น หลายร้อยครอบครัว กำลังจะถูกเวียนคืนจากทางการรถไฟเพื่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ชาวบ้า....
30/06/2023
เด็กไทยเผชิญ “ความเสี่ยงสูง” จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
https://www.thaipbs.or.th/news/content/326056

30/06/2023
https://www.youtube.com/watch?v=lsf8CZ_8MNE
ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการแล้ว ขณะที่ในปีนี้เริ่มมีพายุแล้วอย่างน้อย 2 ลูก คือ พายุไซโคลนโมคา .....

29/06/2023
สภาพภูมิอากาศของโลกกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางทั้งต่.....

29/06/2023
กลุ่มเปราะบางกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศของโลกกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางทั้งต่.....

29/06/2023

29/06/2023
ผลของการประเมินความเสี่ยงจากภาวะโลกร้อนโดยศูนย์ความมั่นคงทางภูมิอากาศ
เขียนโดย Elsa Barron และ Patricia Parera
วันที่ 22 มิถุนายน 2023
แปลและเรียบเรียงโดย ปิโยรส ปานยงค์
ภาพประกอบโดย https://www.cfr.org/backgrounder/imf-worlds-controversial-financial-firefighter
อ้างอิง https://climateandsecurity.org/
ในปี 2022 US National Security Strategy (NSS) ได้กำหนดให้ภาวะโลกร้อน “คือวิกฤติที่มีอยู่จริงในช่วงชีวิตของเรา”
คำประกาศนี้เน้นย้ำถึงความเร่งด้วนของวาระการแก้ปัญหาโลกร้อน เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสันติภาพ พัฒนาการ และชีวิตของทุกคน จึงกำหนดให้เป็นวาระสำคัญในการประชุม World Bank Group (WBG) และการประชุม International Monetary Fund (IMF) ในปี 2023
ภาวะโลกร้อนก่อให้เกิดผลกระทบที่ไม่เท่าเทียมกันในแต่ละภูมิภาค และเมื่อผลกระทบรุนแรงขึ้น ความเสี่ยงต่อชีวิตและทรัพย์สิน การสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติ การอพยพ ความวุ่นวายทางการเมือง ความแตกแยกทางสังคม การเติบโตขององค์กรหัวรุนแรง ความไม่เป็นธรรมจากรัฐและนายทุน และการใช้กำลังทหารเข้าจัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติ เหล่านี้ก็จะสะสมและทวีความรุนแรงขึ้นเป็นเงาตามตัว
หนึ่งในแนวทางที่ดีที่สุดที่จะป้องกันผลกระทบเหล่านี้ได้แก่การลงทุนเพื่อสร้างความเข้มแข็งและความสามารถในการตั้งรับปรับตัวให้แก่ชุมชนท้องถิ่น ธนาคารเพื่อการพัฒนาอย่าง WBG หรือ IMF คือแหล่งทรัพยากรที่จะกระตุ้นการลงทุนในความมั่นคงด้านสิ่งแวดล้อมในขณะที่ภาวะโลกร้อนทวีความรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ
ในการประชุมของ WBG ตอนหนึ่งมีใจความว่า “กระบวนการออกแบบ Evolution Roadmap ของเรากำลังคืบหน้า แผนที่นำทางนี้ถูกออกแบบขึ้นเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของ WBG ในการรับมือกับแผนพัฒนาที่ซับซ้อนและเพิ่มทุนในกระบวนการป้องกันและแก้ไขวิกฤติอย่างโลกร้อน โรคระบาด และความเปราะบางในด้านต่าง ๆ”
การที่ธนาคารเพื่อการพัฒนาร่วมมือกันเผชิญหน้ากับวิกฤติระดับโลกเช่นนี้จะโน้มน้าวภาคเอกชนให้ลงทุนในโครงการเพื่อสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ
การประชุมนี้เป็นการตรวจสอบความก้าวหน้าของการออกแบบ Evolution Roadmap ที่ตระหนักว่า “ผลกระทบที่เกิดจากภาวะโลกร้อน เช่น อุทกภัย ภัยแล้ง ศัตรูพืชระบาด ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อวิถีชีวิตของผู้คนนับล้าน ทำให้เกิดความหิวโหย ความขัดแย้ง ซึ่งนำไปอยู่การอพยพ” และบรรจุประเด็นเหล่านี้เข้าไว้ในภารกิจหลักของ World Bank
ต่อไปนี้เป็นรายละเอียดในหัวข้อสำคัญของการประชุม Spring Meeting
การลงทุนด้านความมั่นคงทางอาหารและแหล่งน้ำ
ความมั่นคงของประชาคมโลกขึ้นอยู่กับความมั่นคงของทรัพยากรน้ำ Dr. Nadeem Javaid นักเศรษฐศาสตร์ชาวปากีสถานและ Dr. Claudia Sadoff กรรมการบริหารของ CGIAR อธิบายในที่ประชุม “การลงทุนเพื่ออนุรักษ์แหล่งน้ำในวิกฤติสิ่งแวดล้อม” ว่าภาวะขาดแคลนน้ำมักเป็นภัยธรรมชาติอันดับแรกที่ชุมชนจะต้องประสบจากภาวะโลกร้อน ดังนั้น ในการแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำในระยะสั้น รัฐบาลและเอกชนจะต้องมองให้ไกลกว่าการช่วยเหลือเพื่อมนุษยธรรมแบบเดิมซึ่งมักเกิดขึ้นหลังจากวิกฤติได้เกิดขึ้นแล้ว
นอกจากนี้ นักวิชาการทั้งสองท่านยังชี้ให้เห็นว่ากองทุนเพื่อการพัฒนาสามารถทำให้เกิดระบบพยากรณ์ ป้องกัน และบรรเทาภัยพิบัติทางธรรมชาติได้ ยกตัวอย่างเช่น งานวิจัยเพื่อกำหนดนโยบายที่เกี่ยวกับน้ำ เช่นการพยากรณ์และระบบเตือนอุทกภัยที่แม่นยำขึ้น กรมธรรม์ประกันพืชผล การอนุรักษ์คุณภาพดินและระบบจัดการน้ำทิ้ง การเพาะเมล็ดพันธุ์ที่ทนต่อภัยแล้งและน้ำเค็ม และระบบชลประทานที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ที่ใช้กันแพร่หลายในเอเชียใต้
ภัยพิบัติทางธรรมชาติจากภาวะโลกร้อนทำให้เราต้องแบ่งภารกิจออกเป็นกลุ่ม ๆ ได้แก่ สภาพภูมิอากาศ ความมั่นคง มนุษยธรรม และการพัฒนา เพื่อวางแผนและดำเนินการแก้ไขปัญหา
การสร้างความสามารถในการตั้งรับปรับตัวและความมั่นคง
ในช่วงการอภิปรายตอนหนึ่ง นาย Dan Jørgensen รัฐมนตรีว่าการกระทรวงนโยบายสิ่งแวดล้อมได้อธิบายว่า การตั้งรับปรับตัวต่อภาวะโลกร้อนและการหลีกเลี่ยงความขัดแย้งเป็นเรื่องเดียวกัน โดยชี้ให้เห็นตัวอย่างว่าคณะกรรมการความมั่นคงของสหรัฐฯได้กำหนดให้ภาวะโลกร้อนเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติหลายสิบปีก่อนที่โลกจะนำ SDG มาใช้เสียอีก
การออกแบบการตั้งรับปรับตัวต่อภาวะโลกร้อนที่สนับสนุนสันติภาพด้วยนั้น จะต้องพิจารณาเรื่องการอพยพหนีภัยธรรมชาติซึ่งเริ่มเกิดบ่อยครั้งขึ้นว่าอาจนำไปสู่ความขัดแย้งทางทหาร ความรุนแรง และระบบเศรษฐกิจผันผวนเนื่องจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากการอพยพ ดังนั้น การวางแผนนโยบายที่จะรับมือกับการอพยพจึงมีความสำคัญต่อชุมชนเดิมเป็นอย่างสูง
ในปัจจุบัน บางประเทศหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกเริ่มอพยพประชากรของตนแล้ว ผู้แทนของประเทศฟิจิในการประชุมการตั้งรับปรับตัวของประเทศในเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกต่อภาวะโลกร้อนแจ้งว่า ได้กำหนดให้การอพยพเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายการตั้งรับปรับตัวต่อภาวะโลกร้อน ปี 2021 ของประเทศ
อย่างไรก็ตาม แผนอพยพก่อให้เกิดคำถามหลายข้อเกี่ยวกับการปกป้องอธิปไตยและวัฒนธรรมของประเทศปลายทาง เพราะความมั่นคงของประเทศประกอบไปด้วยชาติ ประชาชน และวัฒนธรรมที่สั่งสมกันมาเป็นเวลานาน และการลงทุนในแผนการตั้งรับปรับตัวจะช่วยให้ประเทศปลายทางรักษาความมั่นคงนี้ไว้ได้
ทุนและหนี้สินที่เกี่ยวกับภาวะโลกร้อน
ศาสตราจารย์ Ulrich Volz แห่งภาควิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยลอนดอนกล่าวไว้ว่า ภาวะหนี้สินและภัยธรรมชาติมีความสัมพันธ์ทางตรงต่อกัน อุทกภัยในปากีสถานในปี 2022 แสดงให้เห็นถึงวิกฤติที่กำลังจะมาถึง ต้นทุนทางมนุษยธรรมและเศรษฐกิจของวิกฤติครั้งนี้คำนวณออกมาได้เป็นการสูญเสียชีวิตคนสองพันคน คนไร้บ้านแปดล้านคน ความสูญเสียด้านการเงินห้าหมื่นล้านดอลล่าร์ และความสูญเสียต้นทุนทางเศรษฐกิจที่สะสมมาด้วยความยากลำบากนับทศวรรษ
ในกรณีเช่นนี้ การฟื้นฟูประเทศย่อมนำมาซึ่งหนี้ก้อนโตและเสียโอกาสในการลงทุนเพื่อตั้งรับปรับตัวต่อวิกฤติที่จะเกินขึ้นอีกในอนาคต
เช่นเดียวกับหลาย ๆ ประเทศที่จะต้องจัดการกับปัญหาหนี้สินก่อนที่จะพูดถึงการวางแผนเพื่ออนาคต ประเทศต้องการสภาพคล่องทางการเงินเพื่อปรับโครงสร้างระบบพลังงาน เตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติทางธรรมชาติ และสร้างความมั่นคงสำหรับอนาคต การปฏิรูปธนาคารเพื่อการพัฒนาเป็นโอกาสที่จะลดภาระหนี้สินให้แก่ประเทศที่กำลังเผชิญกับภัยธรรมชาติและต้องการสร้างความมั่นคงปลอดภัยให้แก่ประเทศ
ในสภาวะที่หลายประเทศกำลังประสบปัญหาด้านการตั้งรับปรับตัวต่อปัญหาโลกร้อนและภาระหนี้สิน กลุ่ม World Bank และ IMF จะต้องนำการวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านภูมิอากาศเข้ามาเป็นปัจจัยในการตัดสินใจลงทุน นำผู้มีส่วนได้เสียในภาวะโลกร้อน ความมั่นคง มนุษยธรรม และการพัฒนาเข้าร่วมในกระบวนการ และเร่งแก้ปัญหาให้แก่ประเทศที่เปราะบางต่อภาวะโลกร้อนมากที่สุดเป็นการด่วน (จบ)
ที่อยู่
Non Buri
11120
เวลาทำการ
จันทร์ | 08:00 - 17:00 |
อังคาร | 08:00 - 17:00 |
พุธ | 08:00 - 17:00 |
พฤหัสบดี | 08:00 - 17:00 |
ศุกร์ | 08:00 - 17:00 |
เว็บไซต์
แจ้งเตือน
รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ Urban Climate Resilience-Thailandผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา
ติดต่อ ธุรกิจของเรา
ส่งข้อความของคุณถึง Urban Climate Resilience-Thailand:
วิดีโอทั้งหมด

Value of networking
The Value of networking and opportunities to share knowledge (in clip - Dr.Thanapauge Chamaratana, Faculty of Humanity and Social Sciences, Khon Kaen University) - Follow on Youtube - https://www.youtube.com/watch?v=C3fPtJbwZLE

Thoughts on urbanization
Lessons on urbanization and community participation from visiting the Dawei Special Economic Zone - Follow on Youtube: https://www.youtube.com/watch?v=pFg7eA-J9KU

Special Economic Zone and Urbanization in Thailand and Myanmar
Special Economic Zone and Urbanization in Thailand and Myanmar (in clip - Dr.Thanapauge Chamaratana, Faculty of Humanity and Social Sciences, Khon Kaen University) - Follow on Youtube : https://www.youtube.com/watch?v=pFg7eA-J9KU

ข่าวประชาสัมพันธ์จากเมืองเชียงราย วันนี้ 13 กันยายน 2559 เทศบาลนครเชียงราย โดยนายวันชัย จงสุทธานามณี นายกเทศมนตรีนครเชียงราย พร้อมด้วย นายทวีศักดิ์ กาญจนศักดิ์ชัย ผู้อำนวยการกองช่าง นายประพันธ์ ช่างแก้ว หัวหน้าฝ่ายปกครอง สำนักปลัดเทศบาลนครเชียงราย ลงพื้นที่ตรวจดูการแก้ไขน้ำท่วมภายในเขตเทศบาลนครเชียงราย โดยเฉพาะการระบายน้ำในพื้นที่ในเขตเทศบาลนครเชียงราย บริเวณถนนพหลโยธินสายเก่าหน้าสำนักงานการบินไทย เพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินโครงการก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนเมืองเชียงรายในระยะที่ 2 ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักสนับสนุนและพัฒนาตามผังเมือง กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทยเพื่อปรับปรุง 1) การปรับปรุงการระบายน้ำบริเวณคลองร่องปลาค้าว 2) การปรับปรุงระบบระบายน้ำตั้งแต่บริเวณแยกวัดเชตุพนถึงสี่แยกโรงเรียนบ้านสันโค้งฯ 3) การปรับปรุงระบบระบายน้ำช่วงสี่แยกหมอพีระไปจนถึงสะพาน 99 และ 4) การปรับปรุงระบบระบายน้ำช่วงสี่แยกหมอพีระบริเวณชุมชนสันคอกช้างไปจนถึงถนนพหลโยธินสายใหม่ เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในเขตเทศบาลนครเชียงรายได้อย่างเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพต่อไป เครดิต คุณกฤษณะ ใจแก้ว นักวิชาการประชาสัมพันธ์ เทศบาลนครเชียงราย

ข่าวประชาสัมพันธ์จากเมืองเชียงราย วันนี้ 13 กันยายน 2559 เทศบาลนครเชียงราย โดยนายวันชัย จงสุทธานามณี นายกเทศมนตรีนครเชียงราย พร้อมด้วย นายทวีศักดิ์ กาญจนศักดิ์ชัย ผู้อำนวยการกองช่าง นายประพันธ์ ช่างแก้ว หัวหน้าฝ่ายปกครอง สำนักปลัดเทศบาลนครเชียงราย ลงพื้นที่ตรวจดูการแก้ไขน้ำท่วมภายในเขตเทศบาลนครเชียงราย โดยเฉพาะการระบายน้ำในพื้นที่ในเขตเทศบาลนครเชียงราย บริเวณถนนพหลโยธินสายเก่าหน้าสำนักงานการบินไทย เพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินโครงการก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนเมืองเชียงรายในระยะที่ 2 ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักสนับสนุนและพัฒนาตามผังเมือง กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทยเพื่อปรับปรุง 1) การปรับปรุงการระบายน้ำบริเวณคลองร่องปลาค้าว 2) การปรับปรุงระบบระบายน้ำตั้งแต่บริเวณแยกวัดเชตุพนถึงสี่แยกโรงเรียนบ้านสันโค้งฯ 3) การปรับปรุงระบบระบายน้ำช่วงสี่แยกหมอพีระไปจนถึงสะพาน 99 และ 4) การปรับปรุงระบบระบายน้ำช่วงสี่แยกหมอพีระบริเวณชุมชนสันคอกช้างไปจนถึงถนนพหลโยธินสายใหม่ เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในเขตเทศบาลนครเชียงรายได้อย่างเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพต่อไป เครดิต คุณกฤษณะ ใจแก้ว นักวิชาการประชาสัมพันธ์ เทศบาลนครเชียงราย

ข่าวประชาสัมพันธ์จากเมืองเชียงราย ระหว่างวันที่ 23 - 24 สิงหาคม 2559 เทศบาลนครเชียงราย โดย ดร.ปรีชา อนุรักษ์ รองนายกเทศมนตรีนครเชียงราย และนางสุรนิตย์ อ่องฬะ ปลัดเทศบาลนครเชียงราย เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการเวทียกย่องเชิดชูเกียรติและเผยแพร่นวัตกรรมเมืองต้นแบบการจัดการสิ่งแวดล้อมยั่งยืนสู่อาเซียน : เทศบาลตำบลเชียงเคี่ยน จังหวัดเชียงราย จัดโดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ASEAN Secretariat,Institute for Global Environmental Strategles (IGES) และ Japan - ASEAN Intergation Fund (JAIF) ในการดำเนินโครงการเมืองต้นแบบด้านสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนในภูมิภาคอาเซียน ปีที่ 3 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับการจัดการสิ่งแวดล้อมท้องถิ่นสู่เมืองต้นแบบสิ่งแวดล้อมยั่งยืนในระดับภูมิภาคอาเซียน ณ โรงแรมคงการ์เด้นวิวรีสอร์ทเชียงราย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงรายและที่เทศบาลตำบลเชียงเคี่ยน อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย เครดิต คุณกฤษณะ ใจแก้ว นักวิชาการประชาสัมพันธ์ชำนาญการ เทศบาลนครเชียงราย

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มเครือข่ายประชาคมสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาเมืองป่าตองสู้การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตอนที่ 1 กิจกรรมการรับมือฯ เมืองป่าตอง เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ทีมงานรายการ "รู้สู้ภัยพิบัติ" ช่อง Thai PBS ลงพื้นที่เมืองป่าตองเพื่อถ่ายทำกิจกรรมขยายผลด้านการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภายใต้โครงการ M-BRACE โดยมีนายกเฉลิมรักษ์ เก็บทรัพย์ นายกเทศบาลเมืองป่าตองอาสาลงพื้นที่ถ่ายทำรายการ อาทิเช่น การดำน้ำเก็บขยะ จากอาสาสมัครดำน้ำจังหวัดภูเก็ตและเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองป่าตอง การสาธิตการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล จากชมรมไดรการ์ดและชมรมเจ็ทสกี เป็นต้น กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Share Learning Dialoge:SLD) จากนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม ผ่านการขับเคลื่อนกิจกรรมสู่กระบวนการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อพัฒนาเมืองป่าตองให้เป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีความพร้อมด้านการรับมือฯ อย่างยั่งยืน ให้กับประชาชนทุกคนและนักท่องเที่ยวต่อไป โปรดติดตามตอนต่อไป ตอนที่ 2 ศูนย์ประชาคมสิ่งแวดล้อมเมืองป่าตอง เครดิต: ภาพ จากนายสันทัศน์ ปานบ้านแพ้ว ผู้อำนวยการสถานีอุตุนิยมวิทยา, นายศิวรัชพณ บุญแก้ว ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองป่าตอง และทีมงานเทศบาลเมืองป่าตอง

ข่าวประชาสัมพันธ์จากเมืองเชียงราย วันนี้ 4 สิงหาคม 2559 เทศบาลนครเชียงราย โดยนางสุรนิตย์ อ่องฬะ ปลัดเทศบาลนครเชียงราย นำคณะทำงาน ACCCRN เทศบาลนครเชียงราย เข้าร่วมในการประชุมสัมมนา “การผสานความร่วมมือของเกษตรเมือง เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเมืองเชียงรายและเมืองหาดใหญ่” ณ แปลงเกษตรสาธิตชุมชนป่างิ้ว อ.เมือง จ.เชียงราย ซึ่งจัดโดยสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย โดยมีตัวแทนคณะทำงานทั้งในส่วนของจังหวัดเชียงราย เมืองหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และตัวแทนจากประเทศอินเดีย มาร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำเกษตรในพื้นที่เมืองเชียงรายและหาดใหญ่ สำหรับรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการพัฒนาเมือง รวมทั้งหารือแนวทางการพัฒนากิจกรรมและการพัฒนาเครือข่ายเกษตร ในเมืองและผักปลอดสารพิษ เพื่อให้ทราบทิศทางความร่วมมือในการพัฒนาการทำเกษตรในเมืองต่อไป เครดิต: คุณกฤษณะ ใจแก้ว เทศบาลนครเชียงราย
ทางลัด
ประเภท
ตำแหน่งใกล้เคียง บริการภาครัฐ
-
11100
-
11000
-
11000
-
11000
-
Muang Nonta Buri 11000
-
11000
-
11000
-
ทรานซิสเตอร์กําลัง - power transistor
Bangkok 11000
องค์กรของรัฐ อื่นๆใน Non Buri
-
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
บำราศนราดูร ถ. ติวานนท์ ต. ตลาดขวัญ อ. เมือง จ. นนทบุรี -
11120
-
สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนนทบุ
หมู่6 ต. ทวีวัฒนา อ. ไทรน้อย จ. นนทบุรี โทร 02 525 -
11000