28/02/2020
😱 ทำไงดี ถ้าจะต้อง Refer คนไข้ที่สงสัย COVID-19 : Ambulance Infection Control
✅ ควรใช้หลักการ Safe Patient & Safe Healthcare Worker ป้องกันตัวผู้ป่วย ผู้ป่วยท่านอื่น และเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์
🧑🏻⚕️ บุคลากรที่ Refer
🧑🏻⚕️ จำกัดบุคลากรให้มีจำนวนน้อยที่สุดตามความเหมาะสม ควรยืนห่างจากผู้ป่วยอย่างน้อย 6 Feet (1.8 เมตร) นั่งอยู่บนรถทางด้านศีรษะของผู้ป่วย ล้างมือบ่อยๆ และห้ามเอามือแตะหน้า
🧑🏻⚕️ บุคลากรในห้องผู้โดยสารใส่ PPE Level C ป้องกัน Aerosol Precaution (เชื้อขนาดเล็กที่ลอยอยู่ในอากาศได้นาน) ได้แก่ หน้ากาก N95, Face shield, หมวก, แว่นตา, ชุดหมีกันน้ำ, ผ้ากันเปื้อนแบบพลาสติก, ถุงมือยางใช้แล้วทิ้ง 2 ชั้น, รองเท้าบูทและ Shoe Cover เมื่อถอดชุด PPE เสร็จควรอาบน้ำแล้วเปลี่ยนชุดใหม่
🧑🏻⚕️ หากห้องคนขับและห้องผู้โดยสารแยกกัน ให้พนักงานขับรถสวม Surgical Mask (แต่ถ้าห้องไม่แยกส่วนกัน ให้ใส่ N95) คนขับไม่ควรยุ่งเกี่ยวกับผู้ป่วย ไม่ช่วยในการเคลื่อนย้าย และเป็นคนถือเอกสาร Refer ส่งให้เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลปลายทาง (ห้ามคนที่ใส่ชุดหมีแตะเอกสาร)
🧑🏻⚕️ คนไข้ใส่ Surgical Mask
❌ ไม่ควรให้ญาติขึ้นไปบนรถพยาบาล ควรให้ขึ้นรถอีกคัน หากจำเป็นต้องไปด้วย ให้ญาติสวม Surgical Mask + ล้างมือ
🚑 การเตรียมรถก่อนนำส่งผู้ป่วย
🚑 กำหนดรถพยาบาล 1 คันเพื่อใช้ในการ refer ผู้ป่วย โดยหยิบอุปกรณ์ทั้งหมดที่ไม่จำเป็นออกจากรถ
🚑 ปิดกระจกที่กั้นระหว่างคนขับและห้องผู้โดยสาร เปิดตัวดูดอากาศเหนือหลังคารถ ทำเช่นนี้ในทั้งขาไปและขากลับ
🚑 อุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น กระเป๋า Emer + ยา ควรใส่ไว้ในกระเป๋า วางไว้ในตู้วางของ ถ้าไม่จำเป็นไม่ต้องหยิบมาใช้
💦 หัตถการที่ทำให้เกิด Aerosol
💦 เช่น การใส่ท่อช่วยหายใจ, การ Suction, การพ่นยา, CPAP, BIPAP, Bag Mask Ventilation และ CPR ดังนั้นในเคส COVID-19 จึงแนะนำให้ทำ Rapid Sequence Intubation
💦 หากผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ แนะนำใช้ HEPA filter กรองอากาศที่หายใจออกด้วย
☢️ จุดที่ Contaminate
☢️ บริเวณที่สัมผัสผิวหนัง สารคัดหลั่ง และเลือดของผู้ป่วย เพราะเชื้อสามารถเกาะอยู่บนวัสดุได้นานหลายวัน
☢️ จุดที่เสี่ยงมาก เช่น Steth, เครื่องวัด BP + Cuff, Monitor, Laryngoscope Blade, Stretcher, Backboard, อุปกรณ์ยึดตรึง Immobilization, ที่นั่ง, เข็มขัดนิรภัย, ชั้นวางของ, ด้ามจับประตู, วิทยุ
☢️ จุดที่เสี่ยงน้อย เช่น พื้น เพดาน ผนัง หน้าต่าง ตู้
🛁 การทำความสะอาดรถ
🛁 เมื่อถึงโรงจอดรถ ให้ทำความสะอาดรถทันที เปิดประตู หน้าต่าง ท้ายรถ ผู้ทำความสะอาดใส่ชุดหมี รองเท้าบูท N95 แว่นตา ถุงมือ 1-2 ชั้น มีแผ่น Check List สำหรับทำความสะอาด ทำความสะอาดจุดที่ปนเปื้อนน้อยที่สุด ไปจุดที่ปนเปื้อนมากที่สุด
🛁 เอาอุปกรณ์และ Stretcher ออกจากรถให้หมด
🛁 เช็ดสารคัดหลั่งและเลือดออกด้วยกระดาษชำระ (การเช็ดไม่ฆ่าเชื้อ แต่จะลดปริมาณ) และใช้น้ำ + น้ำยาทำความสะอาดถูและขัดเศษที่เกาะอยู่ตามพื้นผิว เช็ดด้วยผ้าอย่างน้อย 10-12 ผืน ไม่ใช้ผ้าผืนเดิมเช็ด ผ้าที่เช็ดแล้วให้ทิ้งในขยะติดเชื้อ ห้ามนำมาใช้ใหม่
🛁 แล้วจึงใช้ 0.1% Sodium Hypochlorite (เช่นไฮเตอร์, ไฮยีน, Chlorox, HighRox) หรือ 70% Alcohol เช็ด ทิ้งไว้นาน 30 นาที แล้วเช็ดถูตามปกติ (ถ้าเป็นอุปกรณ์ ให้แช่ในน้ำยาทำลายเชื้อ)
🛁 อุปกรณ์ที่ใช้แล้วให้ทิ้งในถุงขยะติดเชื้อ มัดปากถุงให้แน่น ใส่ถุงขยะ 2 ชั้น ปิดเทปเหนียว นำไปทิ้งในห้องพักขยะ ห้ามวางไว้ภายในอาคารโรงพยาบาล (ห้ามทิ้งในถัง ให้ทิ้งในถุง)
🛁 ระบายอากาศในรถ เปิดประตูและกระจกทิ้งไว้
❤️ สรุป ❤️
สำหรับเชื้อ COVID-19 แนะนำให้ใช้ Standard, Contact และ Airborne Precaution + Eye Protection ควรเตรียมรถพยาบาลให้พร้อมสำหรับการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย และลดจำนวนคนที่ต้องสัมผัสผู้ป่วยให้น้อยที่สุด
https://solotraveller.food.blog/2020/02/28/😱-ทำไงดี-ถ้าจะต้อง-refer-คนไข/
Reference
- Infection Prevention and Control Guidance for Providers. Metropolitan Chicago Healthcare Council. 2012.
- EMS Infectious Disease Playbook. Assistant Secretary for Preparedness and Response. 2017
- COVID-19 EMS Practitioner Guidance (v3.0). New York State Department of Health. 14 February 2020.
- แนวทางการปฏิบัติงานของศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ และหน่วยปฏิบัติการ กรณีโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. แบับที่ 8.1 วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2563 และ ฉบับที่ 2 วันที่ 31 มกราคม 2563